1.การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
ในเดือนธันวาคม 2547 ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน(เบื้องต้น)ลดลงร้อยละ 1.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 3.4 ในเดือนพฤศจิกายน ส่วนหนึ่งเนื่องจากฐานในปีก่อนสูง ประกอบกับแนวโน้มการชะลอตัวของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน รวมทั้งการลดการฉลองและท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลปีใหม่ภายหลังเหตุการณ์ภัยธรรมชาติใน 6 จังหวัดภาคใต้ชายฝั่งทะเลอันดามันสอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลงในเดือนนี้
เครื่องชี้ในกลุ่มสินค้าคงทน(ยานพาหนะ)ชะลอตัวลงตามปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่ง ส่วนหนึ่งเพราะผู้บริโภคได้ทยอยซื้อรถยนต์นั่งไปแล้วตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2547 ที่มีการปรับลดราคารถยนต์นั่งขนาดเล็ก รวมทั้งเป็นผลจากฐานสูงในปีก่อน ขณะที่ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขยายตัวในเกณฑ์ดีต่อเนื่องจากเดือนก่อน
เครื่องชี้ในกลุ่มสินค้าไม่คงทน(ไม่ใช่ยานพาหนะ)โดยรวมขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง โดยมีมูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาคงที่และปริมาณจำหน่ายน้ำมันเบนซินในประเทศลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งเนื่องจากราคาเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ดี ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่และปริมาณจำหน่ายไฟฟ้าเพื่อที่อยู่อาศัยยังคงขยายตัว
ในปี 2547ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน(เบื้องต้น)ขยายตัวร้อยละ3.7ชะลอลงเมื่อเทียบกับร้อยละ 5.4 ในปี 2546 โดยเป็นการชะลอตัวของการอุปโภคบริโภคทั้งสินค้าคงทนและสินค้าไม่คงทน ซึ่งเป็นผลจากจากรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตลอดจนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลงต่อเนื่องเกือบทั้งปี
2.การลงทุนภาคเอกชน
ในเดือนธันวาคม 2547 ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน(เบื้องต้น)อยู่ที่ระดับ 59.3 ลดลงร้อยละ 7.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 11.7ในเดือนพฤศจิกายน โดยเป็นผลจากการลดลงของการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรตามปริมาณการนำเข้าสินค้าทุน ส่วนหนึ่งเพราะราคานำเข้าสินค้าทุนปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง กอปรกับฐานในปีก่อนสูงอย่างไรก็ดี ยอดจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ยังขยายตัวในเกณฑ์ดีจากมาตรการส่งเสริมการขายและการออกรถยนต์รุ่นใหม่
ส่วนการก่อสร้างภาคเอกชนขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อน สะท้อนจากการชะลอตัวของพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล อย่างไรก็ดีปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศยังขยายตัวในเกณฑ์ดี
ในปี 2547 ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน(เบื้องต้น)ขยายตัวร้อยละ 12.9 ชะลอลงเล็กน้อยจากร้อยละ 13.6 ในปี 2546 ทั้งนี้ กิจกรรมการลงทุนขยายตัวค่อนข้างสูงในช่วงครึ่งแรกของปี แต่เริ่มชะลอตัวในไตรมาสที่ 3 และชะลอตัวต่อเนื่องในไตรมาสสุดท้ายของปี เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลต่อต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะราคาน้ำมัน ตลอดจนค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น เหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้และการกลับมาระบาดของโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก
3.ภาคการคลัง
รายได้รัฐบาล ในเดือนธันวาคม 2547 รัฐบาลมีรายได้จัดเก็บ 96.9 พันล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.1 โดยรายได้ภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 แต่รายได้ที่มิใช่ภาษีลดลงร้อยละ 74.2 เนื่องจากในเดือนเดียวกันปีก่อนมีรายได้พิเศษจากการขายหุ้นตามโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนขั้นที่ 1 ให้แก่กองทุนวายุภักษ์(หนึ่ง)
รายได้ภาษีที่สำคัญได้แก่(1)ภาษีบนฐานรายได้ซึ่งจัดเก็บได้ใกล้เคียงกับปีก่อน โดยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลลดลงร้อยละ 9.3 และร้อยละ 1.3 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเพราะฐานสูงจากเดือนเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายของมาตรการลดอัตราภาษีและค่าธรรมเนียมเพื่อกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ ทำให้มีธุรกรรมการโอนอสังหาริมทรัพย์มากเป็นพิเศษในเดือนนั้นอย่างไรก็ดี ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเพิ่มขึ้นมาก และ(2)ภาษีบนฐานการบริโภคซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 ตามภาษีธุรกิจเฉพาะที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 126.2 สำหรับภาษีบนฐานการค้าระหว่างประเทศลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.8
รายได้ที่มิใช่ภาษีลดลงร้อยละ 74.2 ตามรายได้อื่นๆ ซึ่งลดลงร้อยละ 87.6 เนื่องจากในเดือนเดียวกันปีก่อนมีรายได้พิเศษจากการขายหุ้นตามโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนขั้นที่ 1 ให้แก่กองทุนวายุภักษ์(หนึ่ง)จำนวน 25.1 พันล้านบาท สำหรับรายได้รัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 123.1 เนื่องจากมีการนำส่งรายได้ที่สำคัญได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 3.0 พันล้านบาท
ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2548 รัฐบาลจัดเก็บรายได้ได้ 293.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน
ดุลเงินสดในเดือนธันวาคม 2547 รัฐบาลขาดดุลเงินสด 17.9 พันล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลได้ชดเชยการขาดดุลดังกล่าวและชำระคืนเงินกู้ในประเทศและต่างประเทศอีก 0.4 พันล้านบาท โดยการประมูลตั๋วเงินคลังสุทธิ 7.6 พันล้านบาทและใช้เงินคงคลัง 10.7 พันล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลังลดลงจาก 61.3 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน เป็น 50.6 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2547
ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2548 รัฐบาลขาดดุลเงินสด 46.7 พันล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลได้ใช้เงินคงคลังเพื่อชดเชยการขาดดุลรวมทั้งชำระเงินกู้ โดยได้ชำระคืนเงินกู้ในประเทศสุทธิ 42.7 พันล้านบาท(ไถ่ถอนตั๋วเงินคลังสุทธิ 18.7 พันล้านบาท ไถ่ถอนพันธบัตรออมทรัพย์ 10.0 พันล้านบาท และถอนคืนเงินฝากของธปท.ที่คลังจังหวัด 14.0 พันล้านบาท)และชำระคืนเงินกู้ต่างประเทศสุทธิ 7.2 พันล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลังลดลงจาก 147.2 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนกันยายน 2547 เป็น 50.6 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2547
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
ในเดือนธันวาคม 2547 ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน(เบื้องต้น)ลดลงร้อยละ 1.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 3.4 ในเดือนพฤศจิกายน ส่วนหนึ่งเนื่องจากฐานในปีก่อนสูง ประกอบกับแนวโน้มการชะลอตัวของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน รวมทั้งการลดการฉลองและท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลปีใหม่ภายหลังเหตุการณ์ภัยธรรมชาติใน 6 จังหวัดภาคใต้ชายฝั่งทะเลอันดามันสอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลงในเดือนนี้
เครื่องชี้ในกลุ่มสินค้าคงทน(ยานพาหนะ)ชะลอตัวลงตามปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่ง ส่วนหนึ่งเพราะผู้บริโภคได้ทยอยซื้อรถยนต์นั่งไปแล้วตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2547 ที่มีการปรับลดราคารถยนต์นั่งขนาดเล็ก รวมทั้งเป็นผลจากฐานสูงในปีก่อน ขณะที่ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขยายตัวในเกณฑ์ดีต่อเนื่องจากเดือนก่อน
เครื่องชี้ในกลุ่มสินค้าไม่คงทน(ไม่ใช่ยานพาหนะ)โดยรวมขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง โดยมีมูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาคงที่และปริมาณจำหน่ายน้ำมันเบนซินในประเทศลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งเนื่องจากราคาเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ดี ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่และปริมาณจำหน่ายไฟฟ้าเพื่อที่อยู่อาศัยยังคงขยายตัว
ในปี 2547ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน(เบื้องต้น)ขยายตัวร้อยละ3.7ชะลอลงเมื่อเทียบกับร้อยละ 5.4 ในปี 2546 โดยเป็นการชะลอตัวของการอุปโภคบริโภคทั้งสินค้าคงทนและสินค้าไม่คงทน ซึ่งเป็นผลจากจากรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตลอดจนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลงต่อเนื่องเกือบทั้งปี
2.การลงทุนภาคเอกชน
ในเดือนธันวาคม 2547 ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน(เบื้องต้น)อยู่ที่ระดับ 59.3 ลดลงร้อยละ 7.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 11.7ในเดือนพฤศจิกายน โดยเป็นผลจากการลดลงของการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรตามปริมาณการนำเข้าสินค้าทุน ส่วนหนึ่งเพราะราคานำเข้าสินค้าทุนปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง กอปรกับฐานในปีก่อนสูงอย่างไรก็ดี ยอดจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ยังขยายตัวในเกณฑ์ดีจากมาตรการส่งเสริมการขายและการออกรถยนต์รุ่นใหม่
ส่วนการก่อสร้างภาคเอกชนขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อน สะท้อนจากการชะลอตัวของพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล อย่างไรก็ดีปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศยังขยายตัวในเกณฑ์ดี
ในปี 2547 ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน(เบื้องต้น)ขยายตัวร้อยละ 12.9 ชะลอลงเล็กน้อยจากร้อยละ 13.6 ในปี 2546 ทั้งนี้ กิจกรรมการลงทุนขยายตัวค่อนข้างสูงในช่วงครึ่งแรกของปี แต่เริ่มชะลอตัวในไตรมาสที่ 3 และชะลอตัวต่อเนื่องในไตรมาสสุดท้ายของปี เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลต่อต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะราคาน้ำมัน ตลอดจนค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น เหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้และการกลับมาระบาดของโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก
3.ภาคการคลัง
รายได้รัฐบาล ในเดือนธันวาคม 2547 รัฐบาลมีรายได้จัดเก็บ 96.9 พันล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.1 โดยรายได้ภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 แต่รายได้ที่มิใช่ภาษีลดลงร้อยละ 74.2 เนื่องจากในเดือนเดียวกันปีก่อนมีรายได้พิเศษจากการขายหุ้นตามโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนขั้นที่ 1 ให้แก่กองทุนวายุภักษ์(หนึ่ง)
รายได้ภาษีที่สำคัญได้แก่(1)ภาษีบนฐานรายได้ซึ่งจัดเก็บได้ใกล้เคียงกับปีก่อน โดยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลลดลงร้อยละ 9.3 และร้อยละ 1.3 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเพราะฐานสูงจากเดือนเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายของมาตรการลดอัตราภาษีและค่าธรรมเนียมเพื่อกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ ทำให้มีธุรกรรมการโอนอสังหาริมทรัพย์มากเป็นพิเศษในเดือนนั้นอย่างไรก็ดี ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเพิ่มขึ้นมาก และ(2)ภาษีบนฐานการบริโภคซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 ตามภาษีธุรกิจเฉพาะที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 126.2 สำหรับภาษีบนฐานการค้าระหว่างประเทศลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.8
รายได้ที่มิใช่ภาษีลดลงร้อยละ 74.2 ตามรายได้อื่นๆ ซึ่งลดลงร้อยละ 87.6 เนื่องจากในเดือนเดียวกันปีก่อนมีรายได้พิเศษจากการขายหุ้นตามโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนขั้นที่ 1 ให้แก่กองทุนวายุภักษ์(หนึ่ง)จำนวน 25.1 พันล้านบาท สำหรับรายได้รัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 123.1 เนื่องจากมีการนำส่งรายได้ที่สำคัญได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 3.0 พันล้านบาท
ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2548 รัฐบาลจัดเก็บรายได้ได้ 293.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน
ดุลเงินสดในเดือนธันวาคม 2547 รัฐบาลขาดดุลเงินสด 17.9 พันล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลได้ชดเชยการขาดดุลดังกล่าวและชำระคืนเงินกู้ในประเทศและต่างประเทศอีก 0.4 พันล้านบาท โดยการประมูลตั๋วเงินคลังสุทธิ 7.6 พันล้านบาทและใช้เงินคงคลัง 10.7 พันล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลังลดลงจาก 61.3 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน เป็น 50.6 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2547
ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2548 รัฐบาลขาดดุลเงินสด 46.7 พันล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลได้ใช้เงินคงคลังเพื่อชดเชยการขาดดุลรวมทั้งชำระเงินกู้ โดยได้ชำระคืนเงินกู้ในประเทศสุทธิ 42.7 พันล้านบาท(ไถ่ถอนตั๋วเงินคลังสุทธิ 18.7 พันล้านบาท ไถ่ถอนพันธบัตรออมทรัพย์ 10.0 พันล้านบาท และถอนคืนเงินฝากของธปท.ที่คลังจังหวัด 14.0 พันล้านบาท)และชำระคืนเงินกู้ต่างประเทศสุทธิ 7.2 พันล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลังลดลงจาก 147.2 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนกันยายน 2547 เป็น 50.6 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2547
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--