สศก. รายงานสถานการณ์ การตลาด การผลิต กระชายดำ พบว่าอนาคตไม่สดใส เนื่องผลตามแทนที่ได้ยังไม่คุ้มทุน ไม่มีโรงงานแปรรูป ไม่มีผู้วิจัย และยังไม่มีตลาดรองรับที่ชัดเจน ทำให้พื้นที่การปลูกกระชายดำลดลงทุกขณะ หากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไปคาดว่าอนาคตกระชายดำซึ่งเห็นพืชสมุนไพรไทยที่สำคัญก็อาจไม่มีให้ลูกหลานได้รู้จักต่อไป
นายสุรศักดิ์ พันธ์นพ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 3 จังหวัดอุดรธานี สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) รายงานสถานการณ์การผลิตกระชายดำ จังหวัดเลย อำเภอนาแห้วเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดที่ปลูกกระชายดำมากที่สุดและมีคุณภาพดี ประกอบด้วย 5 ตำบล คือ ตำบลนาแห้ว ตำบลนาพึง ตำบลแสงภา ตำบลนามาลา และตำบลเหล่ากอหอ มีเกษตรกรรวม 1,530 ราย มีพื้นที่เพาะปลูก ปี 2544/2545 ทั้งหมด 2,158 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 800 กิโลกรัมไร่ ราคากิโลกรัมละ 300 บาท นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปภาคอีสานจะแวะไปอำเภอนาแห้วเพื่อหาซื้อผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกระชายดำ ซึ่งเชื่อว่ามีสรรพคุณหลายด้าน เช่น ช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศของผู้ชาย ซื้อกินเองและเป็นของฝาก ราคาจูงใจทำให้ขยายพื้นที่เพาะปลูกทั้งจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียง เช่น จังหวัดพิษณุโลก เพชรบูรณ์
สถานการณ์การผลิต ปีเพาะปลูก 2547/2548 พบว่าพื้นที่เพาะปลูกลดลง คงเหลือประมาณ 1,200 ไร่ คาดว่าจะมีพื้นที่เก็บเกี่ยวประมาณ 30% เนื่องจากราคาขายปลีก — ขายส่ง ในช่วงเวลาที่ผ่านมาลดลง เหลือกิโลกรัมละ 40 — 50 บาท และ 15 — 20 บาท ตามลำดับ ในขณะที่ต้นทุนเฉลี่ยต่อไร่ 25,000 บาท ถ้าขุดจะไม่คุ้มกับค่าจ้างแรงงาน
นอกจากนี้ สาเหตุสำคัญที่ทำให้พื้นที่เพาะปลูกลดลง ก็เนื่องจากไม่มีโรงงานแปรรูปรองรับ ดังนั้นจึงส่งผลผลิตจำหน่ายจำกัดอยู่ในกลุ่มแม่บ้าน ที่นิยมนำมาทำสมุนไพรในรูปแคปซูล หรือกระชายดำตากแห้งเท่านั้น จึงทำให้ผลผลิตที่ผลิตได้เกินความต้องการของตลาด ส่วนด้านสรรพคุณก็ยังไม่มีผู้วิจัย หรือผู้รองรับ ในขณะที่ผู้บริโภคตั้งความหวังไว้สูง เมื่อบริโภคแล้วไม่ได้ตามที่คาดหวัง ส่งผลให้เสื่อมความนิยม คาดการณ์ว่าในอนาคตพื้นที่เพาะปลูกจะลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่อง
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายสุรศักดิ์ พันธ์นพ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 3 จังหวัดอุดรธานี สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) รายงานสถานการณ์การผลิตกระชายดำ จังหวัดเลย อำเภอนาแห้วเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดที่ปลูกกระชายดำมากที่สุดและมีคุณภาพดี ประกอบด้วย 5 ตำบล คือ ตำบลนาแห้ว ตำบลนาพึง ตำบลแสงภา ตำบลนามาลา และตำบลเหล่ากอหอ มีเกษตรกรรวม 1,530 ราย มีพื้นที่เพาะปลูก ปี 2544/2545 ทั้งหมด 2,158 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 800 กิโลกรัมไร่ ราคากิโลกรัมละ 300 บาท นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปภาคอีสานจะแวะไปอำเภอนาแห้วเพื่อหาซื้อผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกระชายดำ ซึ่งเชื่อว่ามีสรรพคุณหลายด้าน เช่น ช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศของผู้ชาย ซื้อกินเองและเป็นของฝาก ราคาจูงใจทำให้ขยายพื้นที่เพาะปลูกทั้งจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียง เช่น จังหวัดพิษณุโลก เพชรบูรณ์
สถานการณ์การผลิต ปีเพาะปลูก 2547/2548 พบว่าพื้นที่เพาะปลูกลดลง คงเหลือประมาณ 1,200 ไร่ คาดว่าจะมีพื้นที่เก็บเกี่ยวประมาณ 30% เนื่องจากราคาขายปลีก — ขายส่ง ในช่วงเวลาที่ผ่านมาลดลง เหลือกิโลกรัมละ 40 — 50 บาท และ 15 — 20 บาท ตามลำดับ ในขณะที่ต้นทุนเฉลี่ยต่อไร่ 25,000 บาท ถ้าขุดจะไม่คุ้มกับค่าจ้างแรงงาน
นอกจากนี้ สาเหตุสำคัญที่ทำให้พื้นที่เพาะปลูกลดลง ก็เนื่องจากไม่มีโรงงานแปรรูปรองรับ ดังนั้นจึงส่งผลผลิตจำหน่ายจำกัดอยู่ในกลุ่มแม่บ้าน ที่นิยมนำมาทำสมุนไพรในรูปแคปซูล หรือกระชายดำตากแห้งเท่านั้น จึงทำให้ผลผลิตที่ผลิตได้เกินความต้องการของตลาด ส่วนด้านสรรพคุณก็ยังไม่มีผู้วิจัย หรือผู้รองรับ ในขณะที่ผู้บริโภคตั้งความหวังไว้สูง เมื่อบริโภคแล้วไม่ได้ตามที่คาดหวัง ส่งผลให้เสื่อมความนิยม คาดการณ์ว่าในอนาคตพื้นที่เพาะปลูกจะลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่อง
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-