ระบบ RAS เป็นกลไกเพื่อรองรับมาตรการใน White Paper ของสหภาพยุโรป โดยกำหนดให้ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป 15 ประเทศ และสมาชิก EEA 4 ประเทศ (ซึ่งประกอบด้วยสวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย ฟินแลนด์ และนอร์เวย์) มีหน้าที่แจ้งคณะกรรมาธิการยุโรปทราบ เมื่อพบปัญหาในสินค้าอาหารที่นำเข้าตลาดสหภาพยุโรปจากประเทศที่สาม ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่เกิดจากการไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานของสหภาพยุโรปหรือปัญหาเกี่ยวกับสุขอนามัยโดยอิงตามมาตรฐานในระดับสหภาพยุโรปหรือมาตรฐานของประเทศผู้นำเข้า (Port of Entry) ในกรณีที่ไม่มีมาตรฐานในระดับสหภาพยุโรป (Harmonised EU Regulation) รองรับ ทั้งนี้สหภาพยุโรปได้ออก Council Directive 92/59/EEC ลงวันที่ 29 มิถุนายน ค.ศ. 1992 เพื่อรองรับการจัดตั้งระบบ RAS ขึ้นมา
หลังจากได้รับแจ้งปัญหาสินค้าอาหารจากประเทศผู้นำเข้าหรือประเทศผู้แจ้งปัญหา (Notifying Country) แล้ว คณะกรรมาธิการฯ จะแจ้งประเทศสมาชิกอื่น ๆ ทราบด้วย เพื่อเตรียมมาตรการภายในของตน โดยการห้ามนำเข้าสินค้าที่มีปัญหาดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ระบบ RAS มิได้กำหนดให้แจ้งหน้าที่ผู้มีอำนาจ (Competent Authority) ของประเทศ Notifying Country แจ้งปัญหาโดยตรงต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบของประเทศที่สามที่ส่งสินค้ามีปัญหาเข้าตลาดสห- ภาพยุโรป ดังนั้น ในทางปฏิบัติจึงมีสมาชิกสหภาพยุโรปบางประเทศเท่านั้น ที่แจ้งสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศนั้น ๆ ทราบเกี่ยวกับการพบปัญหาในสินค้านำเข้า
สำหรับฝ่ายไทยคณะกรรมาธิการฯ ได้จัดให้ไทยอยู่ในระบบ RAS ด้วย และจะแจ้ง (Notify) คณะผู้แทนไทยฯ ทุกครั้งที่ได้รับแจ้งจากประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปว่าสินค้าอาหารจากไทยมีปัญหา ทั้งนี้โดยถือว่าคณะผู้แทนไทยฯ เป็นจุดติดต่อ (Contact Point) ของระบบ RAS ของสหภาพยุโรป และคณะผู้แทนไทยฯ จะกระจายข้อมูลที่ได้รับแจ้งจาก RAS ไปสู่หน่วยงานต่าง ๆ ของไทยอย่างรวดเร็วสถานะปัจจุบัน
คณะกรรมาธิการฯ ได้ปรับปรุงระบบ RAS เมื่อปลายเดือนมีนาคมศกนี้ และขณะนี้ยังคงมีรายละเอียดบางเรื่องที่อยู่ระหว่างการทดลอง ดังนั้น หากฝ่ายไทยพบว่าการแจ้งปัญหาของคณะกรรมาธิการฯ ผ่านระบบ RAS มีข้อบกพร่อง เช่น ข้อมูลไม่ชัดเจน ไม่ครบถ้วน หรือควรจะให้เพิ่มข้อมูลในการแจ้งปัญหา ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาสำหรับฝ่ายไทย เช่น วันที่สินค้ามาถึง Port of Entry หรือวันที่ได้มีการวิเคราะห์สินค้าเสร็จสิ้นแล้ว (ซึ่งจะใช้เวลาในการวิเคราะห์ประมาณ 1 สัปดาห์) รวมทั้งชื่อประเทศปลายทางที่พบปัญหา และเป็น Notifying Country เป็นต้น นั้น ฝ่ายไทยอาจพิจารณาแจ้งข้อคิดเห็นต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ให้คณะกรรมาธิการฯ พิจารณาปรับปรุงต่อไป
คณะกรรมาธิการฯ กำลังพิจารณาอยู่ว่า สำหรับโรงงานผู้ผลิตสินค้าส่งออกที่ได้รับการรับรองให้ส่งสินค้าไปยังตลาดสหภาพยุโรปได้ หรือ Establishment ที่ส่งสินค้าที่มีปัญหาหลายครั้ง ควรจะกำหนดเพดานจำนวนครั้งสูงสุดที่จะส่งสินค้ามีปัญหาเข้าตลาดสหภาพยุโรปได้กี่ครั้งจนกว่าจะถูกถอนชื่อออกจากบัญชีรายชื่อ Establishments ซึ่งคณะผู้แทนไทยฯ ได้รับทราบเป็นการภายในว่าคณะกรรมาธิการฯ มีแนวโน้มที่จะกำหนดเพดานดังกล่าวที่จำนวน 2 ครั้ง คือ หากโรงงานใดส่งสินค้าเข้าตลาดสหภาพยุโรปแล้วพบปัญหา 2 ครั้ง ก็จะห้ามการนำเข้าจากโรงงานดังกล่าวอีกต่อไป
นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการฯ กำลังพิจารณาว่าจะมีมาตรการอย่างไรต่อประเทศที่สามซึ่งส่งสินค้าที่มีปัญหาหลายครั้งไปยังตลาดสหภาพยุโรป ทั้งนี้หมายถึงการพบปัญหาในสินค้าอาหารทุกชนิดในภาพรวม
(ที่มา : กรมยุโรป กระทรวงการต่างประเทศ)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 14/2543 วันที่ 31 กรกฎาคม 2543--
-อน-
หลังจากได้รับแจ้งปัญหาสินค้าอาหารจากประเทศผู้นำเข้าหรือประเทศผู้แจ้งปัญหา (Notifying Country) แล้ว คณะกรรมาธิการฯ จะแจ้งประเทศสมาชิกอื่น ๆ ทราบด้วย เพื่อเตรียมมาตรการภายในของตน โดยการห้ามนำเข้าสินค้าที่มีปัญหาดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ระบบ RAS มิได้กำหนดให้แจ้งหน้าที่ผู้มีอำนาจ (Competent Authority) ของประเทศ Notifying Country แจ้งปัญหาโดยตรงต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบของประเทศที่สามที่ส่งสินค้ามีปัญหาเข้าตลาดสห- ภาพยุโรป ดังนั้น ในทางปฏิบัติจึงมีสมาชิกสหภาพยุโรปบางประเทศเท่านั้น ที่แจ้งสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศนั้น ๆ ทราบเกี่ยวกับการพบปัญหาในสินค้านำเข้า
สำหรับฝ่ายไทยคณะกรรมาธิการฯ ได้จัดให้ไทยอยู่ในระบบ RAS ด้วย และจะแจ้ง (Notify) คณะผู้แทนไทยฯ ทุกครั้งที่ได้รับแจ้งจากประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปว่าสินค้าอาหารจากไทยมีปัญหา ทั้งนี้โดยถือว่าคณะผู้แทนไทยฯ เป็นจุดติดต่อ (Contact Point) ของระบบ RAS ของสหภาพยุโรป และคณะผู้แทนไทยฯ จะกระจายข้อมูลที่ได้รับแจ้งจาก RAS ไปสู่หน่วยงานต่าง ๆ ของไทยอย่างรวดเร็วสถานะปัจจุบัน
คณะกรรมาธิการฯ ได้ปรับปรุงระบบ RAS เมื่อปลายเดือนมีนาคมศกนี้ และขณะนี้ยังคงมีรายละเอียดบางเรื่องที่อยู่ระหว่างการทดลอง ดังนั้น หากฝ่ายไทยพบว่าการแจ้งปัญหาของคณะกรรมาธิการฯ ผ่านระบบ RAS มีข้อบกพร่อง เช่น ข้อมูลไม่ชัดเจน ไม่ครบถ้วน หรือควรจะให้เพิ่มข้อมูลในการแจ้งปัญหา ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาสำหรับฝ่ายไทย เช่น วันที่สินค้ามาถึง Port of Entry หรือวันที่ได้มีการวิเคราะห์สินค้าเสร็จสิ้นแล้ว (ซึ่งจะใช้เวลาในการวิเคราะห์ประมาณ 1 สัปดาห์) รวมทั้งชื่อประเทศปลายทางที่พบปัญหา และเป็น Notifying Country เป็นต้น นั้น ฝ่ายไทยอาจพิจารณาแจ้งข้อคิดเห็นต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ให้คณะกรรมาธิการฯ พิจารณาปรับปรุงต่อไป
คณะกรรมาธิการฯ กำลังพิจารณาอยู่ว่า สำหรับโรงงานผู้ผลิตสินค้าส่งออกที่ได้รับการรับรองให้ส่งสินค้าไปยังตลาดสหภาพยุโรปได้ หรือ Establishment ที่ส่งสินค้าที่มีปัญหาหลายครั้ง ควรจะกำหนดเพดานจำนวนครั้งสูงสุดที่จะส่งสินค้ามีปัญหาเข้าตลาดสหภาพยุโรปได้กี่ครั้งจนกว่าจะถูกถอนชื่อออกจากบัญชีรายชื่อ Establishments ซึ่งคณะผู้แทนไทยฯ ได้รับทราบเป็นการภายในว่าคณะกรรมาธิการฯ มีแนวโน้มที่จะกำหนดเพดานดังกล่าวที่จำนวน 2 ครั้ง คือ หากโรงงานใดส่งสินค้าเข้าตลาดสหภาพยุโรปแล้วพบปัญหา 2 ครั้ง ก็จะห้ามการนำเข้าจากโรงงานดังกล่าวอีกต่อไป
นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการฯ กำลังพิจารณาว่าจะมีมาตรการอย่างไรต่อประเทศที่สามซึ่งส่งสินค้าที่มีปัญหาหลายครั้งไปยังตลาดสหภาพยุโรป ทั้งนี้หมายถึงการพบปัญหาในสินค้าอาหารทุกชนิดในภาพรวม
(ที่มา : กรมยุโรป กระทรวงการต่างประเทศ)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 14/2543 วันที่ 31 กรกฎาคม 2543--
-อน-