ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นมากส่วนหนึ่งเพราะภาษีสรรพสามิต
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือนเมษายน 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.6 และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ร้อยละ 0.8 ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.7 และหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารร้อยละ 0.8 โดยหมวดอาหารและเครื่องดื่ม หมวดผักและผลไม้เพิ่มขึ้นมากที่สุด (ร้อยละ 5.7) เนื่องจาก สภาพอากาศร้อนทำให้พืชผักบางชนิด เจริญเติบโตช้าและเสียหายง่าย กอปรกับเป็นช่วงที่ผลไม้บางชนิดเริ่มออกสู่ตลาด รองลงมาได้แก่ หมวดเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ (ร้อยละ 0.8) ตามปริมาณผลผลิตสุกรและเนื้อไก่ที่ลดลงในช่วง ฤดูร้อน สำหรับหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหาร ราคาหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นสูงสุด (ร้อยละ 7.8) เนื่องจาก รัฐบาลปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตสินค้าประเภทสุราและยาสูบ รองลงมา ได้แก่ หมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร (ร้อยละ 0.9) เนื่องจาก ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับสูงขึ้นตามราคาน้ำมัน ในตลาดโลก และผู้ค้ารถบรรทุกเล็กปรับราคาจำหน่ายสูงขึ้น
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเดือนเมษายน 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.5 และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 0.5
ดัชนีราคาผู้ผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น
ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนเมษายน 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะ เดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.4 และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 1.6 โดยราคาหมวดผลผลิตเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ขณะที่ราคาหมวดผลิตภัณฑ์แร่ลดลงร้อยละ -0.9 สำหรับหมวดผลผลิตเกษตรกรรม ราคาหมวดผลผลิตเกษตร ปศุสัตว์และป่าไม้เพิ่มขึ้นมากที่สุด (ร้อยละ 2.8) เนื่องจาก อยู่ในช่วงปลายฤดู ผลผลิตพืชไร่ออกสู่ตลาดน้อยลง ประกอบกับสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยทำให้ปริมาณพืชผักและไม้ดอก สุกรและไก่ เข้าสู่ตลาดน้อย หมวด ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สินค้าหมวดย่อยที่ราคาสูงขึ้นมาก ได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (ร้อยละ 10.5) ตามต้นทุนราคาน้ำมัน ที่เพิ่มขึ้น หมวดเครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 2.8) เป็นผลจากค่าเงินบาทที่อ่อนลง หมวดผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่มและยาสูบ (ร้อยละ 2.5) ตามความต้องการเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์แป้ง และวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้น กอปรกับการ ปรับขึ้นภาษีสรรพสามิต ส่งผลให้ราคาบุหรี่ปรับสูงขึ้น ขณะที่หมวด ผลิตภัณฑ์แร่ ราคาหมวดแร่โลหะและแร่อื่นๆ ลดลงมากที่สุด (ร้อยละ -1.5)
--ทีมพยากรณ์และนโยบาย/ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือนเมษายน 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.6 และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ร้อยละ 0.8 ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.7 และหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารร้อยละ 0.8 โดยหมวดอาหารและเครื่องดื่ม หมวดผักและผลไม้เพิ่มขึ้นมากที่สุด (ร้อยละ 5.7) เนื่องจาก สภาพอากาศร้อนทำให้พืชผักบางชนิด เจริญเติบโตช้าและเสียหายง่าย กอปรกับเป็นช่วงที่ผลไม้บางชนิดเริ่มออกสู่ตลาด รองลงมาได้แก่ หมวดเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ (ร้อยละ 0.8) ตามปริมาณผลผลิตสุกรและเนื้อไก่ที่ลดลงในช่วง ฤดูร้อน สำหรับหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหาร ราคาหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นสูงสุด (ร้อยละ 7.8) เนื่องจาก รัฐบาลปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตสินค้าประเภทสุราและยาสูบ รองลงมา ได้แก่ หมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร (ร้อยละ 0.9) เนื่องจาก ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับสูงขึ้นตามราคาน้ำมัน ในตลาดโลก และผู้ค้ารถบรรทุกเล็กปรับราคาจำหน่ายสูงขึ้น
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเดือนเมษายน 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.5 และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 0.5
ดัชนีราคาผู้ผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น
ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนเมษายน 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะ เดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.4 และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 1.6 โดยราคาหมวดผลผลิตเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ขณะที่ราคาหมวดผลิตภัณฑ์แร่ลดลงร้อยละ -0.9 สำหรับหมวดผลผลิตเกษตรกรรม ราคาหมวดผลผลิตเกษตร ปศุสัตว์และป่าไม้เพิ่มขึ้นมากที่สุด (ร้อยละ 2.8) เนื่องจาก อยู่ในช่วงปลายฤดู ผลผลิตพืชไร่ออกสู่ตลาดน้อยลง ประกอบกับสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยทำให้ปริมาณพืชผักและไม้ดอก สุกรและไก่ เข้าสู่ตลาดน้อย หมวด ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สินค้าหมวดย่อยที่ราคาสูงขึ้นมาก ได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (ร้อยละ 10.5) ตามต้นทุนราคาน้ำมัน ที่เพิ่มขึ้น หมวดเครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 2.8) เป็นผลจากค่าเงินบาทที่อ่อนลง หมวดผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่มและยาสูบ (ร้อยละ 2.5) ตามความต้องการเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์แป้ง และวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้น กอปรกับการ ปรับขึ้นภาษีสรรพสามิต ส่งผลให้ราคาบุหรี่ปรับสูงขึ้น ขณะที่หมวด ผลิตภัณฑ์แร่ ราคาหมวดแร่โลหะและแร่อื่นๆ ลดลงมากที่สุด (ร้อยละ -1.5)
--ทีมพยากรณ์และนโยบาย/ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-