ขณะนี้ เหลือเวลา อีก 16 วัน จะถึงกำหนดการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก ที่จัดประชุมระหว่างวันที่ 9-13 พฤศจิกายน 2544 ณ. เมือง โดฮา ประเทศกาตาร์
ที่ประชุมรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ 13 ระหว่างวันที่ 17-18 ตุลาคม 2544 ณ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ยืนยันสนับสนุนการจัดประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก ครั้งที่ 4 ตามกำหนดการเดิม คือ วันที่ 9-13 พฤศจิกายน 2544 ที่ เมืองโดฮา ประเทศกาตาร์ไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ นายไมค์ มัวร์ ได้ยืนยัน เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ศกนี้ หลังการหารือกับเจ้าหน้าที่ของกาตาร์ ว่าจะเดินหน้าต่อไป และมั่นใจว่าจะดำเนินการไปตามแผนที่กำหนด
ในส่วนของไทย เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐฯอาหรับเอมิเรตส์และกาตาร์ได้เดินทางไปราชการ ณ ประเทศกาตาร์ ระหว่างวันที่ 19-21 ตุลาคม ศกนี้ และได้ถือโอกาสนี้พบกับรองประธานคณะกรรมการผู้จัดการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ 4 (Qatar's Organizing Committee for the 4th MC) และเจ้าหน้าที่ WTO จากเจนีวา ที่ไปติดต่อประสานงานกับประเทศเจ้าภาพล่วงหน้า และได้รับการยืนยันว่า การประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ 4 จะจัดที่กาตาร์แน่นอน พร้อมทั้งประเมินความพร้อมสำหรับการเตรียมการเป็นเจ้าภาพของกาตาร์ว่า ไม่เห็นเหตุผลใดๆเกี่ยวกับความไม่ปลอดภัย สถานการณ์ในกาตาร์และการดำเนินชีวิตของคนทั่วไปเป็นไปโดยปกติเช่นที่ผ่านมา และกาตาร์จัดเป็นประเทศหนึ่งที่มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินสูงที่สุดในโลก
สำหรับการเตรียมการที่เจนีวา ประเทศสมาชิกได้พิจารณาร่างปฏิญญารัฐมนตรีองค์การการค้าโลกฉบับที่ 1 ที่ประธานคณะมนตรีทั่วไปได้จัดทำขึ้นแล้ว ในชั้นนี้ ในภาพรวม สมาชิกยังแสดงท่าทีสูงสุดโดยยื่นข้อเสนอปรับปรุงสาระในร่างปฏิญญาฯ ในประเด็นที่ผลัดกัน และคาดว่านาย Harbinson ประธานคณะมนตรีทั่วไป จะเสนอร่างปฏิญญาฯ ที่ปรับปรุงใหม่ภายหลังจากการหารือกับสมาชิกแล้ว หรือร่างฉบับที่ 2 ได้ในต้นสัปดาห์หน้า
เรื่องที่เป็นปัญหา และคาดว่าจะต้องนำไปตัดสินใจที่การประชุมรัฐมนตรีที่โดฮา ได้แก่ เรื่องการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามพันธกรณีความตกลงรอบอุรุกวัยของประเทศกำลังพัฒนา (implementation) ซึ่งเป็นเรื่องที่ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ให้ความสำคัญมาก และตั้งเป็นเงื่อนไขว่า จะต้องมีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้เสร็จจึงจะยอมรับการเปิดการเจรจารอบใหม่ที่มีเรื่องใหม่ๆ ได้
ในเรื่องเกษตร โดยกลุ่มเคร์นส์เห็นว่า หากจะมีการเจรจารอบใหม่ที่รวมเรื่องการลงทุน และการแข่งขัน ก็ควรให้รัฐมนตรีมีมติที่เกินกว่าประกาศเริ่มการเจรจาเกษตรรอบใหม่ อาทิ ควรมีการกำหนดเวลาสิ้นสุดของการปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตรเพื่อที่จะทำให้สินค้าเกษตรได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกับสินค้าอุตสาหกรรม เช่น ยกเลิกการอุดหนุนส่งออก เป็นต้น
เรื่องสิ่งแวดล้อม สหภาพยุโรปต้องการให้แก้ไขกฎกติกาของ WTO ในเรื่องสิ่งแวดล้อมที่สามารถใช้มาตรการห้ามนำเข้าได้โดยไม่ต้องมีหลักฐาน หรือข้อมูลที่มีน้ำหนักเพียงพอว่า สินค้าดังกล่าวทำลายสภาวะแวดล้อมจริง หรือไม่ (precautionary measures) ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาและสหรัฐฯ คัดค้าน
เรื่องการลงทุน และนโยบายการแข่งขัน สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และเกาหลี เป็นผู้ผลักดัน โดยเสนอว่าให้เริ่มเจรจาไปก่อน และท้ายที่สุดเมื่อเสร็จสิ้นการเจรจาแล้ว หากประเทศใดเห็นว่าไม่สามารถเข้าเป็นสมาชิกได้ ก็สามารถตัดสินใจที่จะไม่เข้าเป็นสมาชิกได้ เรียกว่าวิธีการ opt out ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่เห็นว่า ยังไม่มีความพร้อมที่จะเจรจาจัดทำความตกลงในเรื่องนี้ และขอให้ศึกษานัยของเรื่องดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้ สำหรับในเรื่องการลงทุน สหรัฐฯ เสนอให้ขยายขอบเขตการเจรจาให้ครอบคลุม portfolio investment และขยายเรื่องการยุติข้อพิพาทให้ครอบคลุมข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชนด้วย ซึ่งข้อเสนอของสหรัฐฯ มีผลให้มีผู้คัดค้านเรื่องนี้มากขึ้น
เรื่องการทุ่มตลาด และการอุดหนุน ไทยเป็นสมาชิกกลุ่ม AD Friends ซึ่งประกอบด้วยญี่ปุ่นเกาหลี สวิตเซอร์แลนด์ ชิลี ผลักดันเพื่อให้มีการเจรจาปรับปรุงความตกลงที่เกี่ยวข้องในฐานะส่วนหนึ่งของการเจรจารอบใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ให้ได้กฎเกณฑ์ที่เป็นธรรม และสมดุล แต่สหรัฐฯคัดค้านการเจรจาในเรื่องนี้ เนื่องจากคองเกรสมีท่าทีแข็งกร้าวว่า จะต้องปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ ทั้งนี้ สหรัฐฯ ได้เสนอการดำเนินการ 2 ระยะ (2 stages approach) คือ ในช่วงแรกให้ประเทศสมาชิกยื่นข้อเสนอว่าต้องการเจรจาแก้ไขประเด็นใดบ้าง จากนั้นจึงเริ่มการเจรจาในการประชุมรัฐมนตรี ครั้งที่ 5 ในอีก 2 ปีข้างหน้า
สำหรับประเด็นที่ว่า การเปิดการเจรจาการค้ารอบใหม่จะมีโอกาสมากน้อยเพียงใดนั้น ขณะนี้สหรัฐฯ และสหภาพ ยุโรปมีการหารือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อลดความแตกต่างในท่าทีของทั้ง 2 ฝ่าย โดยสหรัฐฯ มีท่าทีรับเรื่องการลงทุน และนโยบายการแข่งขันในกรอบแคบได้ และปรับลดท่าทีเรื่องเกษตรลงมาจากสมัยเมื่อการประชุมที่ซีแอตเติล ในขณะที่สหภาพยุโรป ยอมรับการเจรจาเกษตรมากขึ้น และลดท่าทีเรื่องการลงทุน และนโยบายการแข่งขัน
ปัญหาขณะนี้อยู่ที่เรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งสหภาพยุโรป และสมาชิกอื่นยังมีท่าทีที่แตกต่างกันมาก โดยสหภาพยุโรปต้องการให้มีการเจรจาเรื่องสิ่งแวดล้อมเพราะต้องการใช้มาตรการห้ามนำเข้าโดยอ้างเหตุผลด้านสิ่งแวดล้อมได้ง่าย โดยไม่ต้องมีหลักฐานต่างๆ สนับสนุนว่า มีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม (precautionary measure) ซึ่งสหรัฐฯ ไม่สามารถรับได้ เพราะมีการผลิตสินค้าเทคโนโลยีชีวภาพจำนวนมาก และประเทศกำลังพัฒนาให้การสนับสนุนสหรัฐฯเนื่องจากเห็นว่าข้อเสนอของ สหภาพยุโรปจะเป็นการเปิดให้ใช้เป็นเครื่องมือในการกีดกันการนำเข้าได้
นอกจากนี้ ญี่ปุ่น และเกาหลียังไม่ยอมรับที่จะผ่อนปรนท่าทีเรื่องเกษตรลง ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาต้องการให้มีการแก้ไขในเรื่องที่มีปัญหา เช่น เรื่องยาจำเป็นที่มีราคาแพง เนื่องจากมีสิทธิบัตร เรื่องการทุ่มตลาด การอุดหนุน การระงับข้อพิพาท อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า และมาตรการสุขอนามัย เป็นต้น ซึ่งการเจรจาดังกล่าว ไม่มีความคืบหน้ามากนัก เพราะสิ่งที่ประเทศกำลังพัฒนาเรียกร้องในบางเรื่อง จะต้องแก้ไขความตกลง ซึ่งประเทศพัฒนาแล้วเห็นว่า การแก้ไขความตกลงควรเป็นเรื่องของการเจรจาการค้ารอบใหม่
สหรัฐฯ ได้พยายามโน้มน้าวประเทศที่หัวแข็ง เช่น อินเดีย ปากีสถาน โดยเห็นว่า หากโน้มน้าวประเทศเหล่านี้ให้ยอมผ่อนปรนได้ โอกาสในการเจรจาการค้ารอบใหม่จะเป็นไปได้มาก ทั้งนี้ ขณะนี้ประเทศหัวแข็งเหล่านี้เริ่มมีท่าทีอ่อนลง โดยเฉพาะหลังจากเหตุการณ์วันที่ 11 กันยายน 2544 สหรัฐฯ ได้ให้การช่วยเหลือทางการเงิน และวิชาการ รวมทั้งให้สิทธิพิเศษด้านศุลกากร (GSP)
งานที่จะต้องดำเนินการในช่วงนี้จนถึงการประชุมที่โดฮา คือเจรจาเพื่อหาข้อยุติในร่างปฏิญญารัฐมนตรี(declaration) และข้อตัดสินใจของรัฐมนตรี ที่ทุกประเทศยอมรับได้ โดยให้เหลือประเด็นที่มีข้อขัดแย้งน้อยที่สุด
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
ที่ประชุมรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ 13 ระหว่างวันที่ 17-18 ตุลาคม 2544 ณ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ยืนยันสนับสนุนการจัดประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก ครั้งที่ 4 ตามกำหนดการเดิม คือ วันที่ 9-13 พฤศจิกายน 2544 ที่ เมืองโดฮา ประเทศกาตาร์ไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ นายไมค์ มัวร์ ได้ยืนยัน เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ศกนี้ หลังการหารือกับเจ้าหน้าที่ของกาตาร์ ว่าจะเดินหน้าต่อไป และมั่นใจว่าจะดำเนินการไปตามแผนที่กำหนด
ในส่วนของไทย เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐฯอาหรับเอมิเรตส์และกาตาร์ได้เดินทางไปราชการ ณ ประเทศกาตาร์ ระหว่างวันที่ 19-21 ตุลาคม ศกนี้ และได้ถือโอกาสนี้พบกับรองประธานคณะกรรมการผู้จัดการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ 4 (Qatar's Organizing Committee for the 4th MC) และเจ้าหน้าที่ WTO จากเจนีวา ที่ไปติดต่อประสานงานกับประเทศเจ้าภาพล่วงหน้า และได้รับการยืนยันว่า การประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ 4 จะจัดที่กาตาร์แน่นอน พร้อมทั้งประเมินความพร้อมสำหรับการเตรียมการเป็นเจ้าภาพของกาตาร์ว่า ไม่เห็นเหตุผลใดๆเกี่ยวกับความไม่ปลอดภัย สถานการณ์ในกาตาร์และการดำเนินชีวิตของคนทั่วไปเป็นไปโดยปกติเช่นที่ผ่านมา และกาตาร์จัดเป็นประเทศหนึ่งที่มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินสูงที่สุดในโลก
สำหรับการเตรียมการที่เจนีวา ประเทศสมาชิกได้พิจารณาร่างปฏิญญารัฐมนตรีองค์การการค้าโลกฉบับที่ 1 ที่ประธานคณะมนตรีทั่วไปได้จัดทำขึ้นแล้ว ในชั้นนี้ ในภาพรวม สมาชิกยังแสดงท่าทีสูงสุดโดยยื่นข้อเสนอปรับปรุงสาระในร่างปฏิญญาฯ ในประเด็นที่ผลัดกัน และคาดว่านาย Harbinson ประธานคณะมนตรีทั่วไป จะเสนอร่างปฏิญญาฯ ที่ปรับปรุงใหม่ภายหลังจากการหารือกับสมาชิกแล้ว หรือร่างฉบับที่ 2 ได้ในต้นสัปดาห์หน้า
เรื่องที่เป็นปัญหา และคาดว่าจะต้องนำไปตัดสินใจที่การประชุมรัฐมนตรีที่โดฮา ได้แก่ เรื่องการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามพันธกรณีความตกลงรอบอุรุกวัยของประเทศกำลังพัฒนา (implementation) ซึ่งเป็นเรื่องที่ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ให้ความสำคัญมาก และตั้งเป็นเงื่อนไขว่า จะต้องมีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้เสร็จจึงจะยอมรับการเปิดการเจรจารอบใหม่ที่มีเรื่องใหม่ๆ ได้
ในเรื่องเกษตร โดยกลุ่มเคร์นส์เห็นว่า หากจะมีการเจรจารอบใหม่ที่รวมเรื่องการลงทุน และการแข่งขัน ก็ควรให้รัฐมนตรีมีมติที่เกินกว่าประกาศเริ่มการเจรจาเกษตรรอบใหม่ อาทิ ควรมีการกำหนดเวลาสิ้นสุดของการปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตรเพื่อที่จะทำให้สินค้าเกษตรได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกับสินค้าอุตสาหกรรม เช่น ยกเลิกการอุดหนุนส่งออก เป็นต้น
เรื่องสิ่งแวดล้อม สหภาพยุโรปต้องการให้แก้ไขกฎกติกาของ WTO ในเรื่องสิ่งแวดล้อมที่สามารถใช้มาตรการห้ามนำเข้าได้โดยไม่ต้องมีหลักฐาน หรือข้อมูลที่มีน้ำหนักเพียงพอว่า สินค้าดังกล่าวทำลายสภาวะแวดล้อมจริง หรือไม่ (precautionary measures) ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาและสหรัฐฯ คัดค้าน
เรื่องการลงทุน และนโยบายการแข่งขัน สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และเกาหลี เป็นผู้ผลักดัน โดยเสนอว่าให้เริ่มเจรจาไปก่อน และท้ายที่สุดเมื่อเสร็จสิ้นการเจรจาแล้ว หากประเทศใดเห็นว่าไม่สามารถเข้าเป็นสมาชิกได้ ก็สามารถตัดสินใจที่จะไม่เข้าเป็นสมาชิกได้ เรียกว่าวิธีการ opt out ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่เห็นว่า ยังไม่มีความพร้อมที่จะเจรจาจัดทำความตกลงในเรื่องนี้ และขอให้ศึกษานัยของเรื่องดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้ สำหรับในเรื่องการลงทุน สหรัฐฯ เสนอให้ขยายขอบเขตการเจรจาให้ครอบคลุม portfolio investment และขยายเรื่องการยุติข้อพิพาทให้ครอบคลุมข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชนด้วย ซึ่งข้อเสนอของสหรัฐฯ มีผลให้มีผู้คัดค้านเรื่องนี้มากขึ้น
เรื่องการทุ่มตลาด และการอุดหนุน ไทยเป็นสมาชิกกลุ่ม AD Friends ซึ่งประกอบด้วยญี่ปุ่นเกาหลี สวิตเซอร์แลนด์ ชิลี ผลักดันเพื่อให้มีการเจรจาปรับปรุงความตกลงที่เกี่ยวข้องในฐานะส่วนหนึ่งของการเจรจารอบใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ให้ได้กฎเกณฑ์ที่เป็นธรรม และสมดุล แต่สหรัฐฯคัดค้านการเจรจาในเรื่องนี้ เนื่องจากคองเกรสมีท่าทีแข็งกร้าวว่า จะต้องปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ ทั้งนี้ สหรัฐฯ ได้เสนอการดำเนินการ 2 ระยะ (2 stages approach) คือ ในช่วงแรกให้ประเทศสมาชิกยื่นข้อเสนอว่าต้องการเจรจาแก้ไขประเด็นใดบ้าง จากนั้นจึงเริ่มการเจรจาในการประชุมรัฐมนตรี ครั้งที่ 5 ในอีก 2 ปีข้างหน้า
สำหรับประเด็นที่ว่า การเปิดการเจรจาการค้ารอบใหม่จะมีโอกาสมากน้อยเพียงใดนั้น ขณะนี้สหรัฐฯ และสหภาพ ยุโรปมีการหารือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อลดความแตกต่างในท่าทีของทั้ง 2 ฝ่าย โดยสหรัฐฯ มีท่าทีรับเรื่องการลงทุน และนโยบายการแข่งขันในกรอบแคบได้ และปรับลดท่าทีเรื่องเกษตรลงมาจากสมัยเมื่อการประชุมที่ซีแอตเติล ในขณะที่สหภาพยุโรป ยอมรับการเจรจาเกษตรมากขึ้น และลดท่าทีเรื่องการลงทุน และนโยบายการแข่งขัน
ปัญหาขณะนี้อยู่ที่เรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งสหภาพยุโรป และสมาชิกอื่นยังมีท่าทีที่แตกต่างกันมาก โดยสหภาพยุโรปต้องการให้มีการเจรจาเรื่องสิ่งแวดล้อมเพราะต้องการใช้มาตรการห้ามนำเข้าโดยอ้างเหตุผลด้านสิ่งแวดล้อมได้ง่าย โดยไม่ต้องมีหลักฐานต่างๆ สนับสนุนว่า มีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม (precautionary measure) ซึ่งสหรัฐฯ ไม่สามารถรับได้ เพราะมีการผลิตสินค้าเทคโนโลยีชีวภาพจำนวนมาก และประเทศกำลังพัฒนาให้การสนับสนุนสหรัฐฯเนื่องจากเห็นว่าข้อเสนอของ สหภาพยุโรปจะเป็นการเปิดให้ใช้เป็นเครื่องมือในการกีดกันการนำเข้าได้
นอกจากนี้ ญี่ปุ่น และเกาหลียังไม่ยอมรับที่จะผ่อนปรนท่าทีเรื่องเกษตรลง ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาต้องการให้มีการแก้ไขในเรื่องที่มีปัญหา เช่น เรื่องยาจำเป็นที่มีราคาแพง เนื่องจากมีสิทธิบัตร เรื่องการทุ่มตลาด การอุดหนุน การระงับข้อพิพาท อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า และมาตรการสุขอนามัย เป็นต้น ซึ่งการเจรจาดังกล่าว ไม่มีความคืบหน้ามากนัก เพราะสิ่งที่ประเทศกำลังพัฒนาเรียกร้องในบางเรื่อง จะต้องแก้ไขความตกลง ซึ่งประเทศพัฒนาแล้วเห็นว่า การแก้ไขความตกลงควรเป็นเรื่องของการเจรจาการค้ารอบใหม่
สหรัฐฯ ได้พยายามโน้มน้าวประเทศที่หัวแข็ง เช่น อินเดีย ปากีสถาน โดยเห็นว่า หากโน้มน้าวประเทศเหล่านี้ให้ยอมผ่อนปรนได้ โอกาสในการเจรจาการค้ารอบใหม่จะเป็นไปได้มาก ทั้งนี้ ขณะนี้ประเทศหัวแข็งเหล่านี้เริ่มมีท่าทีอ่อนลง โดยเฉพาะหลังจากเหตุการณ์วันที่ 11 กันยายน 2544 สหรัฐฯ ได้ให้การช่วยเหลือทางการเงิน และวิชาการ รวมทั้งให้สิทธิพิเศษด้านศุลกากร (GSP)
งานที่จะต้องดำเนินการในช่วงนี้จนถึงการประชุมที่โดฮา คือเจรจาเพื่อหาข้อยุติในร่างปฏิญญารัฐมนตรี(declaration) และข้อตัดสินใจของรัฐมนตรี ที่ทุกประเทศยอมรับได้ โดยให้เหลือประเด็นที่มีข้อขัดแย้งน้อยที่สุด
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-