ประเด็นน่ารู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจภาคเหนือ : อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือ

ข่าวเศรษฐกิจ Friday September 15, 2000 11:31 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

          อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือ
บริษัทผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศให้ความสนใจลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน ตั้งแต่ช่วงปี 2530
โดยเริ่มจากบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น ย้ายฐานการผลิตอุปกรณ์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาเพราะปัญหาค่าเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นรวมทั้งค่าจ้างแรงงาน
ในประเทศสูงทำให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง จึงย้ายฐานการผลิตสู่ประเทศที่มี ศักยภาพ โดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชียใต้ เช่น
มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ซึ่งมีค่าจ้างแรงงานถูกและเป็นประเทศกำลังพัฒนา ที่เปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศ โดยบริษัทผลิต
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ย้ายฐานการผลิตเข้ามาในภาคเหนือ ส่วนใหญ่ตั้งโรงงานอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมฯ ปัจจุบันมีบริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
ตั้งโรงงานอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมฯจำนวน 22 บริษัท เป็นบริษัทที่ชาวญี่ปุ่นถือหุ้นทั้งหมด 12 บริษัท ชาวเกาหลี 2 บริษัท ส่วนที่เหลืออีก 8 บริษัท
เป็นบริษัทร่วมทุน
บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ
บริษัท ผู้ถือหุ้น
เขตอุตสาหกรรมทั่วไป
1 L.T.E.C. Co., Ltd. ญี่ปุ่น/ดัชต์/สิงคโปร์
เขตอุตสาหกรรมส่งออก
2 Adflex (Thailand) Co., Ltd อเมริกัน/ไทย
3 Cheval electronics enclosure Co., Ltd. ญี่ปุ่น
4 Electro Ceramics (Thailand) Co., Ltd. ญี่ปุ่น
5 Farsonics solid state (Thailand) Co., Ltd. ไต้หวัน/ญี่ปุ่น
6 Fukushima futaba (Thailand) Co., Ltd. ญี่ปุ่น
7 Hana microelectronics (Public) Co., Ltd. ไทย/ฮ่องกง/อื่นๆ
8 K.V.technology Co., Ltd. ญี่ปุ่น/ไทย
9 KEC (Thailand) Co., Ltd. เกาหลี
10 KSS electronics (Thailand) Co., Ltd. ญี่ปุ่น
11 Lumphun shindengen Co., Ltd. ญี่ปุ่น
12 Murata electronics (Thailand) Co., Ltd. ญี่ปุ่น
13 Namiki precision (Thailand) Co., Ltd. ญี่ปุ่น
14 Oki precision (Thailand) Co., Ltd. ญี่ปุ่น
15 Schaffner E.M.C. Co., Ltd. สวิตเซอร์แลนด์/ไทย
16 Takano (Thailand) Co., Ltd. ญี่ปุ่น
17 Tasuk precision (Thailand) Co., Ltd. เกาหลี
18 Thai asahi electronics device Co., Ltd. สิงคโปร์/ไทย
19 Thai joetsu electric Corporation Ltd. ญี่ปุ่น
20 Thai N.J.R. Co., Ltd. ญี่ปุ่น/สิงคโปร์/ไทย
21 Tokyo coils engineer (Thailand) Co., Ltd. ญี่ปุ่น
22 Tokyo Try (Thailand) Co., Ltd. ญี่ปุ่น
หมายเหตุ : เฉพาะบริษัทที่ผลิต Electronic component
ปัจจัยสำคัญที่จูงใจให้บริษัทผู้ผลิตเข้ามาตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือเกิดจากการตั้งนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ
ซึ่งเป็นผลจาก นโยบายของรัฐบาลที่ต้องการกระจายอุตสาหกรรมไปสู่ภูมิภาคเพื่อส่งเสริมการจ้างงานและรายได้แก่ประชาชนในท้องถิ่น รวม
ทั้งพัฒนาเมืองหลักและเมืองรอง ของภูมิภาคทำให้พื้นที่ภาคเหนือได้รับการพัฒนาสาธารณูปโภคจนมีขีดความสามารถรองรับอุตสาหกรรมสมัยใหม่
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) จึงได้จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือที่จังหวัดลำพูน โดยเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี 2526 แล้ว
เสร็จปี 2528 และได้กำหนดเขตอุตสาหกรรมส่งออก (export processing zone : EPZ) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการใน
การนำเข้าวัตถุดิบและส่งออกสินค้า รวมทั้งให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกอบการ ตามพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
พ.ศ. 2522 นอกจากนั้นผู้ประกอบการที่ตั้งโรงงานในพื้นที่นี้ยังได้รับสิทธิประโยชน์ เพิ่มเติมจากสำนักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุน
ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 สร้างแรงจูงใจแก่นักลงทุนมากขึ้น
อีกปัจจัยเกิดจากค่าจ้างแรงงานราคาถูก แรงงานในพื้นที่มีจำนวนมากและคุณภาพดี สามารถฝึกฝนให้เกิดความชำนาญได้ง่าย
นอกจากนั้นความสะดวกและรวดเร็ว ในการนำเข้า และส่งออกเป็นอีกปัจจัยที่สำคัญเนื่องจากอุตสาหกรรมนี้มีการแข่งขันสูง ความคล่องตัวและ
รวดเร็วในการนำเข้าวัตถุดิบและการส่งมอบสินค้าเป็นสิ่งสำคัญ พื้นที่นี้สามารถตอบสนองได้เป็นอย่างดีเนื่องจากมีช่องทางนำเข้าและส่งออกผ่าน
ท่าอากาศยานเชียงใหม่ มีเส้นทางคมนาคมที่สะดวกและคุณลักษณะของสินค้า ทำให้ต้นทุนค่าขนส่งต่ำ
ยังมีปัจจัยสนับสนุนอื่นๆ เช่น การตั้งโรงงานในพื้นที่นี้อยู่ในจุดศูนย์กลางและสามารถเข้าถึงตลาดทุกประเทศในภูมิภาคน ี้สภาพ
อากาศที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรม เพราะมีฝุ่นละอองน้อยและอยู่ห่างไกลทะเลทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องความชื้น ปัญหาการจราจรที่น้อยกว่ากรุงเทพฯ
และปริมณฑลมากทำ ให้สะดวกในการเดินทาง ปัจจัยเหล่านี้ช่วยสนับสนุนให้พื้นที่ในภาคเหนือมีความน่าลงทุนมากขึ้น
ลักษณะของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือเป็นอุตสาหกรรมชิ้นส่วน และมีมูลค่าเพิ่มไม่สูงนักเมื่อเทียบกับมูลค่าของสินค้า
ส่วนใหญ่ผลิตโดยนำเข้าส่วนประกอบและส่งออกในลักษณะของชิ้นส่วน รายการสินค้าที่แต่ละโรงงาน ผลิตแตกต่างกันไป เช่น transistor,
condenser, transformer, ceramic filter, coil, delay line, TV tuner, quartz crystal tuning, printed
circuit board assembly : PCBA, membrane switch, semiconductor, ชิ้นส่วน hard disk และ optic fiber cable
เป็นต้น โดยมีตลาดส่งออกสำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฮ่องกง และสหรัฐอเมริกา
จากข้อมูลการขอรับบัตรส่งเสริมการลงทุนพบว่าการ ลงทุนในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือเติบโตเป็นลำดับ มีการ
ขยายเพิ่มกำลังการผลิต และขอรับบัตรส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่ขอรับบัตรส่งเสริมการ
ลงทุนเพิ่มเติมในรายการ ที่แต่ละโรงงานมีความชำนาญในการผลิตอยู่หรือบางครั้งเป็นรายการสินค้าใหม่ที่ย้ายฐานการผลิตมาจากต่างประเทศ
โดยแต่ละโครงการที่ขอรับการส่งเสริม การลงทุนเป็นโครงการที่มีวงเงินลงทุนและการจ้างงานสูง
รายการ 2537 2538 2539 2540 2541 2542
ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน 8 13 10 7 19 12
เงินลงทุน (ล้านบาท) 1,397 2,933 1,879 1,169 5,074 3,526
การจ้างงาน 947 3,416 3,112 1,248 3,498 3,788
เปิดดำเนินการ 4 6 6 7 10 10
เงินลงทุน (ล้านบาท) 1,066 1,736 597 1,618 4,686 3,451
การจ้างงาน 2,314 2,942 670 798 2,997 2,169
ที่มา : ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคเหนือ
อุตสาหกรรมนี้เป็นการลงทุนโดยบริษัทขนาดใหญ่ที่มีฐานการผลิตเดิมในต่างประเทศและเข้ามาตั้งโรงงานในรูปของบริษัทในเครือ
แหล่งเงินทุนส่วนใหญ่จึงได้รับการสนับสนุนจากบริษัทแม่ บางบริษัทใช้เงินกู้จากธนาคารต่างชาติโดยเฉพาะธนาคารที่มีสัญชาติเดียวกับผู้ลงทุน
ส่วนเทคโนโลยีการผลิตนำเข้ามาจากบริษัทแม่หรือจากต่างประเทศเป็นหลัก และยังไม่มีการพัฒนาขึ้นเอง โดยเทคโนโลยีการ
ผลิตที่ใช้ค่อนข้างใหม่ เพราะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ ขณะที่ตัวสินค้าที่ผลิตเป็นสินค้าที่มีเทคโนโลยีไม่สูงนักเนื่องจากเป็นการย้ายฐานการผลิต
เฉพาะรายการที่เผชิญการแข่งขันสูงเข้ามา ส่วนสินค้าใหม่ๆ ที่มีเทคโนโลยีสูงและการผลิตในประเทศของผู้ลงทุนยังมีความสามารถในการแข่ง
ขันอยู่ก็จะผลิตในประเทศของผู้ลงทุนเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมามีการย้ายสายการผลิตรายการสินค้าต่างๆ เข้ามาผลิตเพิ่มเป็นลำดับ
วัตถุดิบการผลิตมากกว่าร้อยละ 90 เป็นวัตถุดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศ เนื่องจากวัตถุดิบส่วนใหญ่ต้องใช้เทคโนโลยีสูงใน
การผลิต จึงยังไม่มีการผลิตภายในประเทศและบางส่วนต้องใช้วัตถุดิบนำเข้าตามความต้องการของลูกค้า
ช่องทางการตลาดส่วนใหญ่เป็นการผลิตสินค้าตามความต้องการของบริษัทแม่หรือบริษัทในเครือเป็นหลัก (intra-firm trade)
โดยคู่แข่งสำคัญยังคงเป็นบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นด้วยกันเอง รองลงมาจะเป็นบริษัทไต้หวัน เกาหลี และ สิงคโปร์ ตลาดสำคัญในเอเชียคือญี่ปุ่นและสิงคโปร์
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือเป็นอุตสาหกรรมส่งออกที่เติบโตอย่างรวดเร็ว การส่งออกและนำเข้าผ่านท่าอากาศยาน
เชียงใหม่ คาดว่ามูลค่าส่งออกและนำเข้าสินค้า อิเล็กทรอนิกส์ในปี 2542 มีมูลค่าประมาณ 45,000 ล้านบาท
มูลค่าสินค้าผ่านด่านนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ
อุปสรรคสำคัญต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือ ได้แก่ การขาดอุตสาหกรรมสนับสนุนภายในประเทศทำ
ให้ต้องนำเข้าวัตถุดิบ มีต้นทุนด้านการบริหาร ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน พื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมฯ เหลืออยู่จำกัดทำให้ทางเลือกและแรง
จูงใจในการลงทุนลดลง แรงงานมีการเข้าออกงานสูงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาแรงงานให้มีความชำนาญเฉพาะด้าน และค่าแรงโดยเปรียบเทียบ
สูงกว่าประเทศที่กำลัง ส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลกสูง เนื่องจากเป็น
การลงทุน โดยบริษัทขนาดใหญ่จากต่างประเทศ มีการบริหารจัดการที่ดี เทคโนโลยีการผลิตได้รับการพัฒนาต่อเนื่องโดยบริษัทแม่ในต่างประเทศ
สินค้าที่นำมาผลิตเหมาะสมกับความได้เปรียบของพื้นที่ และเป็นกิจการขนาดใหญ่ที่มีการประหยัดจากขนาดการผลิต อนาคตของอุตสาหกรรมอิเล็ก
ทรอนิกส์ ในภาคเหนือจึงมีโอกาสเติบโตต่อไป อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือยังคงเป็นการผลิตที่ใช้แรงงานเข้มข้นและ
อาศัย ความได้เปรียบทางด้านแรงงานราคาถูก ความสามารถในการแข่งขันจึงขึ้นอยู่กับค่าแรงโดยเปรียบเทียบเป็นสำคัญ ดังนั้นในระยะยาว
อุตสาหกรรมน ี้จึงมีโอกาสที่จะโยกย้ายไปสู่ประเทศที่มีค่าแรงถูกกว่าหากไม่สามารถรักษาความได้เปรียบด้านต้นทุนหรือสร้างความได้เปรียบใน
ด้านอื่นทดแทนได้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ