แท็ก
เงินบาท
ในช่วงครึ่งแรกของปี ค่าเงินบาทปรับตัว อ่อนลงอย่างต่อเนื่องและเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 42.29 — 45.73 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. โดยในไตรมาสแรกและไตรมาสที่ 2 มีค่าเฉลี่ย 43.21 และ 45.39 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ
ปัจจัยภายในประเทศที่ส่งผลให้ค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนลง ได้แก่ การที่ตลาดยังคงมองว่ารัฐบาลยอมให้เงินบาทปรับตัวอ่อนลงเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อภาคการส่งออก ความสับสนในทิศทางนโยบายอัตรา ดอกเบี้ยจากการเปลี่ยนตัวผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับรายงานตารางแนบ ธต.40 ที่ถูกเลื่อนออกไปไม่มีกำหนด ขณะเดียวกัน ยังมีผลจากปัจจัยทางการเมือง โดยเฉพาะนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ที่ยังไม่มีความชัดเจน รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจของไทยที่ชะลอตัว ต่อเนื่อง
ส่วนปัจจัยภายในประเทศที่มีผลให้ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งขึ้นในช่วงไตรมาสแรก และช่วงกลางเดือนพฤษภาคม และต้นเดือนมิถุนายน ได้แก่ ผลจากการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ที่พรรคไทยรักไทยเป็นเสียง ข้างมาก การที่ตลาดคาดการณ์ว่า ธปท. อาจจะเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินให้เข้มงวดขึ้น รวมทั้งมีความกังวลว่า ธปท. อาจจะเพิ่มความเข้มงวดในการโอนเงินบาทระหว่างบัญชีของ Non-resident ทำให้สถาบันการเงินในต่างประเทศทยอยขายดอลลาร์ สรอ. ออกมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เงินบาทปรับตัวแข็งขึ้นค่อนข้างมาก
สำหรับปัจจัยภายนอกประเทศที่มีผลต่อ การอ่อนค่าลงของเงินบาท ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่นซึ่งยังคงแสดงการชะลอตัว ส่งผลให้ค่าเงินเยน อ่อนตัวลงอย่างเห็นได้ชัด ขณะเดียวกันการปรับตัวลงของค่าเงินในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง อาทิ เปโซฟิลิปปินส์ ที่ปรับตัวอ่อนลงไปมากจากปัญหาการเมืองภายในประเทศ การเปลี่ยนแปลงตัวประธานาธิบดี และ เหตุการณ์ความไม่สงบภายในประเทศ ขณะที่ค่าเงิน รูเปีย ก็ปรับตัวอ่อนลงจากการที่ IMF ได้ออกมาเตือน
เรื่องภาวะเศรษฐกิจและการไม่ได้แจ้งกำหนดการการปล่อยวงเงินกู้จำนวน 400 ล้านดอลลาร์ สรอ. ที่ได้ดำเนินการระงับมาครั้งหนึ่งแล้ว นอกจากนี้ แรงกดดันจากค่าเงินในภูมิภาคที่ปรับตัวอ่อนลงมีมากขึ้นจากการที่ดอลลาร์สิงคโปร์ได้ปรับตัวอ่อนลงต่ำสุดในช่วงเดือนพฤษภาคม เป็นผล มาจากข่าวการดำเนินการควบรวมกิจการของภาคธุรกิจ ขณะที่ดอลลาร์ไต้หวันได้รับแรงกดดันจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง โดยมีการคาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตของไต้หวันจะลดลง เนื่องจากความสามารถในการ ส่งออก การใช้จ่ายและการลงทุนของภาคเอกชนที่ ตกต่ำลง รวมทั้งการที่ S&P ได้ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือทั้งหนี้สกุลเงินท้องถิ่นและหนี้สกุลเงินต่างประเทศ
ส่วนปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการแข็งขึ้นของค่าเงินบาท ได้แก่ การลดอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ของธนาคารกลางสหรัฐฯอย่างต่อเนื่อง ทำให้ตลาดมองว่า ทางการสหรัฐฯ ตอบสนองต่อการชะลอตัวทางเศรษฐกิจอย่างทันท่วงที และน่าจะเป็นการป้องกันเศรษฐกิจจากการหดตัวอย่างรุนแรงได้ รวมทั้งการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะฟื้นตัวได้ในเร็ววันนี้
กล่าวโดยสรุป ค่าเงินบาทในช่วง 6 เดือนแรกปรับตัวอ่อนลงอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับผลกระทบทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ ทั้งนี้ การอ่อนตัวของเงินบาทในไตรมาสแรก เป็นไป ในระดับที่น้อยกว่าการอ่อนตัวของค่าเงินบางสกุล ในภูมิภาค อาทิ รูเปียอินโดนีเซีย วอนเกาหลีใต้ และดอลลาร์สิงคโปร์ อย่างไรก็ตามค่าเงินบาทในช่วงเดือนมิถุนายนปรับตัวแข็งขึ้นจากปัจจัยภายในประเทศโดยเฉพาะการที่ตลาดคาดการณ์ว่า ธปท. อาจจะปรับนโยบายการเงินให้เข้มงวดขึ้น รวมทั้ง มีความกังวลว่า ธปท. อาจจะเพิ่มความเข้มงวด ในการโอนเงินบาทระหว่างบัญชีของ Non-resident เป็นสำคัญ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ปส-
ปัจจัยภายในประเทศที่ส่งผลให้ค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนลง ได้แก่ การที่ตลาดยังคงมองว่ารัฐบาลยอมให้เงินบาทปรับตัวอ่อนลงเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อภาคการส่งออก ความสับสนในทิศทางนโยบายอัตรา ดอกเบี้ยจากการเปลี่ยนตัวผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับรายงานตารางแนบ ธต.40 ที่ถูกเลื่อนออกไปไม่มีกำหนด ขณะเดียวกัน ยังมีผลจากปัจจัยทางการเมือง โดยเฉพาะนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ที่ยังไม่มีความชัดเจน รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจของไทยที่ชะลอตัว ต่อเนื่อง
ส่วนปัจจัยภายในประเทศที่มีผลให้ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งขึ้นในช่วงไตรมาสแรก และช่วงกลางเดือนพฤษภาคม และต้นเดือนมิถุนายน ได้แก่ ผลจากการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ที่พรรคไทยรักไทยเป็นเสียง ข้างมาก การที่ตลาดคาดการณ์ว่า ธปท. อาจจะเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินให้เข้มงวดขึ้น รวมทั้งมีความกังวลว่า ธปท. อาจจะเพิ่มความเข้มงวดในการโอนเงินบาทระหว่างบัญชีของ Non-resident ทำให้สถาบันการเงินในต่างประเทศทยอยขายดอลลาร์ สรอ. ออกมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เงินบาทปรับตัวแข็งขึ้นค่อนข้างมาก
สำหรับปัจจัยภายนอกประเทศที่มีผลต่อ การอ่อนค่าลงของเงินบาท ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่นซึ่งยังคงแสดงการชะลอตัว ส่งผลให้ค่าเงินเยน อ่อนตัวลงอย่างเห็นได้ชัด ขณะเดียวกันการปรับตัวลงของค่าเงินในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง อาทิ เปโซฟิลิปปินส์ ที่ปรับตัวอ่อนลงไปมากจากปัญหาการเมืองภายในประเทศ การเปลี่ยนแปลงตัวประธานาธิบดี และ เหตุการณ์ความไม่สงบภายในประเทศ ขณะที่ค่าเงิน รูเปีย ก็ปรับตัวอ่อนลงจากการที่ IMF ได้ออกมาเตือน
เรื่องภาวะเศรษฐกิจและการไม่ได้แจ้งกำหนดการการปล่อยวงเงินกู้จำนวน 400 ล้านดอลลาร์ สรอ. ที่ได้ดำเนินการระงับมาครั้งหนึ่งแล้ว นอกจากนี้ แรงกดดันจากค่าเงินในภูมิภาคที่ปรับตัวอ่อนลงมีมากขึ้นจากการที่ดอลลาร์สิงคโปร์ได้ปรับตัวอ่อนลงต่ำสุดในช่วงเดือนพฤษภาคม เป็นผล มาจากข่าวการดำเนินการควบรวมกิจการของภาคธุรกิจ ขณะที่ดอลลาร์ไต้หวันได้รับแรงกดดันจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง โดยมีการคาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตของไต้หวันจะลดลง เนื่องจากความสามารถในการ ส่งออก การใช้จ่ายและการลงทุนของภาคเอกชนที่ ตกต่ำลง รวมทั้งการที่ S&P ได้ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือทั้งหนี้สกุลเงินท้องถิ่นและหนี้สกุลเงินต่างประเทศ
ส่วนปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการแข็งขึ้นของค่าเงินบาท ได้แก่ การลดอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ของธนาคารกลางสหรัฐฯอย่างต่อเนื่อง ทำให้ตลาดมองว่า ทางการสหรัฐฯ ตอบสนองต่อการชะลอตัวทางเศรษฐกิจอย่างทันท่วงที และน่าจะเป็นการป้องกันเศรษฐกิจจากการหดตัวอย่างรุนแรงได้ รวมทั้งการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะฟื้นตัวได้ในเร็ววันนี้
กล่าวโดยสรุป ค่าเงินบาทในช่วง 6 เดือนแรกปรับตัวอ่อนลงอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับผลกระทบทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ ทั้งนี้ การอ่อนตัวของเงินบาทในไตรมาสแรก เป็นไป ในระดับที่น้อยกว่าการอ่อนตัวของค่าเงินบางสกุล ในภูมิภาค อาทิ รูเปียอินโดนีเซีย วอนเกาหลีใต้ และดอลลาร์สิงคโปร์ อย่างไรก็ตามค่าเงินบาทในช่วงเดือนมิถุนายนปรับตัวแข็งขึ้นจากปัจจัยภายในประเทศโดยเฉพาะการที่ตลาดคาดการณ์ว่า ธปท. อาจจะปรับนโยบายการเงินให้เข้มงวดขึ้น รวมทั้ง มีความกังวลว่า ธปท. อาจจะเพิ่มความเข้มงวด ในการโอนเงินบาทระหว่างบัญชีของ Non-resident เป็นสำคัญ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ปส-