ม.ค. - ก.ย.
2543 2544
ความเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(หน่วย : ร้อยละต่อปี)
เงินฝาก
ประจำ 12 เดือน 3.00-4.50 2.50-4.50
ประจำ 6 เดือน 2.50-4.00 2.25-3.75
ประจำ 3 เดือน 2.50-4.00 2.25-3.75
ออมทรัพย์ 2.25-3.25 1.75-3.00
สินเชื่อ
ลูกค้าทั่วไป 11.00-13.25 10.25-13.25
MLR 7.50-9.75 7.25-9.00
MRR 8.00-10.50 7.75-9.75
ที่มา : ธนาคารพาณิชย์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้อยู่ระหว่างร้อยละ 2.50-4.50 ต่อปี ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่อยู่ระหว่างร้อยละ 3.00-4.50 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ อยู่ระหว่างร้อยละ 1.75-3.00 ต่อปี ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่อยู่ระหว่างร้อยละ 2.25-3.25 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าทั่วไปอยู่ระหว่างร้อยละ 10.25-13.25 ต่อปี ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่อยู่ระหว่างร้อยละ 11.00-13.25 ต่อปี อัตราดอกเบี้ย MLR อยู่ระหว่างร้อยละ 7.25-9.00 ต่อปี ลดลงจากปีก่อนที่อยู่ระหว่างร้อยละ 7.50-9.75 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ย MRR อยู่ระหว่างร้อยละ 7.75-9.75 ต่อปี ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่อยู่ระหว่างร้อยละ 8.00-10.50 ต่อปี
9 เดือนแรกของปี 2544 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชีทั้งสิ้น 3,005,683 ฉบับ เป็นเงินมูลค่า 247,768.3 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนมีปริมาณเช็คเรียกเก็บเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 และปริมาณเงินสั่งจ่ายตามเช็คเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากนักธุรกิจเริ่มมีความมั่นใจในเครดิตของคู่ค้ามากขึ้น สำหรับปริมาณเช็คคืนมีทั้งสิ้น 97,210 ฉบับ เป็นเงินมูลค่า 7,820.1 ล้านบาท ปริมาณเช็คคืนลดลง ร้อยละ 11.3 และมูลค่าลดลงร้อยละ 3.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทำให้อัตราส่วนเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บลดลงจากปีก่อน โดยที่จำนวนฉบับลดลงจากร้อยละ 3.7 ในปีก่อน มาอยู่ที่ร้อยละ 3.2 ในปีนี้ และในด้านมูลค่าลดลงจากร้อยละ 3.4 ของปีก่อน มาอยู่ที่ร้อยละ 3.2 ในปีนี้
เช็คคืนเพราะไม่มีเงินในช่วง 9 เดือนแรกปีนี้มีทั้งสิ้น 52,513 ฉบับ เป็นเงินมูลค่า 2,911.5 ล้านบาท จำนวนฉบับของเช็คคืนเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 และมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทำให้อัตราส่วนเช็คคืนเพราะไม่มีเงินต่อเช็คเรียกเก็บปีนี้ อยู่ที่ร้อยละ 1.7 และ ร้อยละ 1.2 ของจำนวนฉบับและมูลค่าตามลำดับ
เป็นที่น่าสังเกตว่ามูลค่าเช็คคืนทั้งสิ้นต่อเช็คเรียกเก็บในภาคฯ ลดลงในขณะที่เช็คคืนเพราะไม่มีเงินต่อเช็คเรียกเก็บ (หรือเช็คเด้ง) กลับเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการขาดสภาพคล่องของผู้ประกอบการบางกลุ่มที่เริ่มมีมากขึ้น
จากข้อมูลเบื้องต้นในช่วง 9 เดือนแรกปีนี้มีปริมาณเงินโอนจากแรงงานไทยในต่างประเทศทั้งสิ้น 25,234.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีเงินโอนกลับมาทั้งสิ้น 22,661.7 ล้านบาท
อนึ่ง ปริมาณเงินโอนจากแรงงานไทยในต่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงจากสาเหตุหลายประการ ในด้านปัจจัยลบ ได้แก่ การลดจำนวนแรงงานจากต่างประเทศในไต้หวัน ไต้หวันได้วางแผนจำกัดจำนวนคนงานต่างชาติที่ช่วยทำงานบ้านไม่ให้เกิน 120,000 คน และลดจำนวนคนงานต่างด้าวที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการก่อสร้างลงปีละ 15,000 คน เพื่อให้ชาวไต้หวันมีงานทำมากขึ้น รวมถึงมาตรการลดค่าแรงงานสำหรับแรงงานต่างประเทศในไต้หวันลดประมาณร้อยละ 16 ของค่าจ้างเดิม โดยเริ่มตั้งแต่เดือนกันยายนนี้เพื่อให้อุตสาหกรรมในท้องถิ่น สามารถลดต้นทุนลงท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจไต้หวันที่ชะลอตัว อย่างไรก็ตามไต้หวันก็ได้มีมาตรการที่จะชดเชยให้แรงงานต่างประเทศด้วยการลดค่านายหน้าจากบริษัทจัดหางานให้ลดลง ประกอบกับเหตุการณ์สงครามที่ประเทศอัฟกานิสถาน ทำให้สถานการณ์การเดินทางไปทำงานในประเทศตะวันออกกลางมีแนวโน้มลดลง โดยปัจจุบันมีแรงงานจากประเทศไทยไปทำงานอยู่ในประเทศซาอุดิอาระเบีย ประมาณ 37,723 คน อิสราเอล 27,222 คน คูเวต 3,974 คน บาห์เรน 2,848 คน กาตาร์ 2,778 สหรัฐฯ อาหรับอิมิเรตส์ 1,494 คน โอมาน 322 คน และประเทศอื่น ๆ อีก 1,252 คน รวมทั้งสิ้น 77,613 คน ซึ่งจากผลกระทบดังกล่าวจะส่งผลทำให้แนวโน้มการส่งเงินกลับภูมิลำเนาลดลง อย่างไรก็ตามในด้านปัจจัยบวกคือค่าเงินบาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลง โดยเฉพาะตั้งแต่เดือนเมษายน - กันยายน 2544 ที่เฉลี่ยอยู่ที่ 45.19 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่ช่วงเดือนมกราคม — มีนาคม 2544 เฉลี่ยอยู่ที่ 43.22 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเมื่อเทียบกับทั้งปี 2543 เฉลี่ยอยู่ที่ 40.16 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งจะส่งผลทำให้ปริมาณเงินโอนฯ สูงขึ้นเล็กน้อย และคาดว่าจะทำให้ปริมาณเงินโอนฯ โดยรวมในปี 2544 ทั้งปี จะทรงตัวหรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีก่อน
ธนาคารออมสิน
ในช่วง 9 เดือนแรกปีนี้สาขาธนาคารออมสินในภาคฯมีทั้งสิ้น 134 สาขา มีปริมาณเงินรับฝาก 63,802.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 70.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน มีปริมาณเงินถอน 50,502.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และมีปริมาณเงินฝากคงค้าง 45,135.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สาเหตุที่ปริมาณเงินฝากเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2544 เนื่องจากผู้ที่เข้าร่วมโครงการธนาคารประชาชนต้องเปิดบัญชีเงินฝากเผื่อเรียกเพื่อใช้ในการผ่านเงินที่จะชำระเงินกู้จากโครงการดังกล่าว จึงทำให้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-กันยายนมีเงินฝากเพิ่มขึ้นมาก
โครงการธนาคารประชาชนของธนาคารออมสิน เริ่มเปิดโครงการเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2544 เป็นโครงการที่รัฐบาลมีนโยบายมุ่งเน้นให้ประชาชนสามารถใช้บริการทางการเงินอย่างเท่าเทียมกันเพื่อเป็นการส่งเสริมการประกอบอาชีพรายย่อย โดยให้ธนาคารออมสินเป็นผู้ดำเนินการสินเชื่อดังกล่าว ซึ่งครั้งแรกจะให้สินเชื่อไม่เกินรายละ 15,000 บาท และวงเงินกู้ครั้งต่อไปไม่เกินรายละ 30,000 บาท โดยคิดอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ร้อยละ 1 ต่อเดือน ณ สิ้นเดือนกันยายน 2544 โครงการธนาคารประชาชน ของธนาคารออมสินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสมาชิกทั้งสิ้น 127,076 ราย อนุมัติวงเงินกู้แล้วทั้งสิ้น 60,895 ราย รวมเป็นสินเชื่อคงค้าง 814.2 ล้านบาท
เงินฝากธนาคารออมสิน
(หน่วย : ล้านบาท)
ม.ค. - ก.ย.
2543 2544 P
เงินรับฝาก 37,519.50 63,802.60
-1.7 -70.1
เงินถอน 32,980.60 50,502.40
(-4.9) -53.1
เงินฝากคงค้าง 34,000.40 45,135.10
-14.5 -32.7
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
P ตัวเลขเบื้องต้น
ที่มา : ธนาคารออมสิน
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ในช่วง 9 เดือนแรกปีนี้มีการจ่ายเงินกู้ไปทั้งสิ้น 51,926.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ยอดรับชำระคืนทั้งสิ้น 46,411.4 ล้านบาท และมียอดสินเชื่อคงค้าง 80,507.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 จากช่วงเดียวกันก่อน
ในด้านเงินฝากของ ธ.ก.ส. ในภาคฯณ สิ้นกันยายน เงินฝากออมทรัพย์มียอดคงค้าง 36,741.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.6 จากปีก่อน เงินฝากประจำ 5,283.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 เงินฝากออมทรัพย์ทวีสิน 1,747.9 ล้านบาท และเงินฝากกระแสรายวัน 205.4 ล้านบาท และมียอดรวมเงินฝากทั้งสิ้น 43,978.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
โครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยของ ธ.ก.ส. เป็นโครงการที่รัฐบาลมีนโยบายช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อย ในการช่วยฟื้นฟูให้เกษตรกรให้มีเงินออมและเงินลงทุนเพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนาอาชีพจนมีรายได้เพิ่มขึ้นเพียงพอที่จะชำระหนี้เงินกู้คืน ธ.ก.ส. และดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติเมื่อสิ้นสุดโครงการ
จากข้อมูล ณ สิ้นกันยายน 2544 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 1,147,537 ราย โดยแยกเป็นผู้เข้าโครงการพักชำระหนี้ 592,991 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 23,430.1 ล้านบาท และเป็นผู้เข้าโครงการลดภาระหนี้ 554,546 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 17,767.9 ล้านบาท ทั้งนี้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีผู้เข้าร่วมโครงการดังกล่าวเป็นอัตราส่วนร้อยละ 49.7 ของผู้เข้าร่วมโครงการทั้งประเทศ
เงินฝากสินเชื่อธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(หน่วย : ล้านบาท)
ม.ค.-ก.ย.
2543 2544
ให้กู้ 43,075.20 51,926.40
-9.5 -20.6
ชำระคืน 38,144.40 46,411.40
-13.4 -21.7
คงค้าง 75,372.70 80,507.30
-7.1 -6.8
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ที่มา : ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารอาคารสงเคราะห์
9 เดือนแรกของปีนี้ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ในภาคฯ มีเงินฝากคงค้าง 3,321.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และสินเชื่อคงค้าง 26,620.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนไม่มากนัก แต่ในไตรมาสสุดท้ายคาดว่าจะมีการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นจากโครงการที่ ธ.อ.ส. ได้ให้สิทธิแก่ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจซื้อที่อยู่อาศัยที่เจ้าของโครงการได้โอนกรรมสิทธิ์ให้กับ ธ.อ.ส. ในราคาส่วนลดร้อยละ 20 และสามารถกู้เงินได้เต็มวงเงิน
เงินฝาก-สินเชื่อธนาคารอาคารสงเคราะห์
(หน่วย : ล้านบาท)
ม.ค.-ก.ย.
2543 2544
เงินฝากคงค้าง 3,341.70 3,321.20
-43.3 (-0.6)
สินเชื่อคงค้าง 26,298.70 26,620.20
(-2.0) -1.2
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ที่มา : ธนาคารอาคารสงเคราะห์
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IFCT)
9 เดือนแรกของปีนี้ IFCT ให้สินเชื่อทั้งสิ้น 152 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีการให้สินเชื่อ 111 ราย ในปีนี้มีการอนุมัติสินเชื่อทั้งสิ้น 2,061.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้เนื่องจากนโยบายของ IFCT ที่เพิ่มการสนับสนุนทางการเงินแก่กิจการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อกระตุ้นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพให้มากขึ้น
สำหรับสินเชื่อสำคัญที่มีการอนุมัติ ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตอาหาร 40 ราย สินเชื่อที่อนุมัติ 645.9 ล้านบาท อุตสาหกรรมผลิตโลหะมูลฐาน 25 ราย สินเชื่อที่อนุมัติ 485.0 ล้านบาท อุตสาหกรรมผลิตจากอโลหะ 15 ราย สินเชื่อที่อนุมัติ 205.0 ล้านบาท อุตสาหกรรมการผลิตเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี 13 ราย สินเชื่อที่อนุมัติ 86.5 ล้านบาท อุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอ 10 ราย สินเชื่อที่อนุมัติ 116.6 ล้านบาท และในด้านเกษตรอุตสาหกรรม 10 ราย สินเชื่อที่อนุมัติ 116.5 ล้านบาท เป็นต้น
จำนวนโครงการและเงินให้กู้บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ม.ค.-ก.ย.
2543 2544
จำนวน (โครงการ) 111 152
-29.1 -36.9
เงินให้กู้ (ล้านบาท) 1,684.90 2,061.80
-71.1 -22.4
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ที่มา : บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.)
จากข้อมูลเบื้องต้น บอย. ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้อนุมัติวงเงินสินเชื่อในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ทั้งสิ้น 79 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 92.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นเงินทั้งสิ้น 570.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.7 เท่าหรือร้อยละ 165.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อนโดยส่วนใหญ่เป็นการให้สินเชื่อในธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดย่อม ธุรกิจการค้า อู่ซ่อมรถ ตัดเย็บเสื้อผ้าและเครื่องหนัง บริการ โรงเรียน โรงแรม/รีสอร์ท และหอพัก สำหรับแนวโน้มในไตรมาส 4 คาดว่าจะมีเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจาก บอย. มีโครงการนโยบาย 3 ประสาน ในช่วงที่เหลือของปีนี้ โดยเป็นการเร่งให้สินเชื่อกับร้านค้าปลีก วิสาหกิจชุมชน และผู้ส่งออก
จำนวนโครงการและเงินให้กู้บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม
ม.ค.-ก.ย.
2543 2544
จำนวน (โครงการ) 41 79
-64 -92.7
เงินให้กู้ (ล้านบาท) 215.3 570.5
-86.1 -165
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ที่มา : บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม
การซื้อขายหลักทรัพย์ในภาคฯ
ช่วง 9 เดือนแรกปีนี้ในภาคฯ มียอดซื้อหลักทรัพย์ทั้งสิ้น 23,168.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 82.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ยอดขายหลักทรัพย์ทั้งสิ้น 22,689.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 93.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมีมูลค่าซื้อขายหลักทรัพย์รวมทั้งสิ้น 45,858.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 88.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
การคลัง
ในช่วง 9 เดือนแรกปี 2544 รายได้รัฐบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดเก็บได้ 10,129.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.1 เทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 10,341.6 ล้านบาท เนื่องจากการจัดเก็บภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก 544.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 29.8 จากช่วงเดียวกัน ของปีก่อน 774.8 ล้านบาท ผลจากอัตราดอกเบี้ยลดลง และภาษีสุรา 3,043.9 ล้านบาท ลดลง ร้อยละ 8.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 3,333.8 ล้านบาท จากการจัดเก็บภาษีจากเบียร์ลดลง เป็นสำคัญ ส่วนภาษีที่จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 1,938.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.2 เนื่องจากการขยายฐานภาษีและการเพิ่มประสิทธิภาพในการหักภาษี ณ ที่จ่ายรัดกุมมากขึ้น ประกอบกับการจัดเก็บภาษีจากชาวไร่อ้อยเพิ่มขึ้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม 2,216.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 19.9 ผลจากการขยายฐานภาษี ประกอบกับบริษัทขอนแก่นบริวเวอรี่ จำกัด (ในเครือบุญรอด) เริ่มชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ท้องถิ่นตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา และภาษีเงินได้นิติบุคคล 1,282.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 เนื่องจากอยู่ในช่วงครบกำหนดการยื่นชำระภาษีตามแบบ ภ.ง.ด.51
ทางด้านรายจ่าย 118,711.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 113,078.7 ล้านบาท แบ่งเป็นรายจ่ายลงทุน 42,304.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 จากช่วง เดียวกันของปีก่อน 38,261.7 ล้านบาท เป็นผลจากการเบิกจ่ายของหมวดเงินอุดหนุน 23,253.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 16,252.2 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการจัดสรรเงินอุดหนุนในโครงการถ่ายโอนงาน หรือกิจกรรมการบริการสาธารณะให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น และรายจ่ายประจำ 76,407.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 74,817.0 ล้านบาท ทำให้เงินในงบประมาณขาดดุล 108,581.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนขาดดุล 102,737.1 ล้านบาท ในส่วนของรายจ่ายตาม มาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) เบิกจ่าย 195.4 ล้านบาท เมื่อรวมเงินส่วนนี้รายจ่ายของภาครัฐบาลในภาคมีวงเงินรวม 118,907.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 114,511.4 ล้านบาท
ความคืบหน้าในการเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี 2544 ณ สิ้นเดือนกันยายน 2544 นั้น มีผลการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 91.5 ของวงเงินงบประจำงวดที่ได้รับอนุมัติ เป็นการเบิกจ่ายงบประจำถึงร้อยละ 99.4 ของวงเงินประจำงวดฯ ขณะที่งบลงทุนเบิกจ่ายร้อยละ 76.7 ซึ่งมีอัตราส่วนที่ค่อนข้างต่ำ โดยมีสาเหตุหลักจากการดำเนินการของส่วนราชการล่าช้า ประกอบกับในปีนี้มีโครงการถ่ายโอนงานและกิจกรรมสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งยังไม่มีความพร้อมทั้งในด้านบุคลากรและอุปกรณ์เครื่องใช้
สำหรับรายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2544 มีวงเงินอนุมัติทั้งสิ้น 12,229.1 ล้านบาท เบิกจ่าย 12,066.4 ล้านบาท หรือร้อยละ 98.7 ของวงเงินอนุมัติ ส่วนใหญ่เป็นการเบิกจ่ายใช้ในโครงการสร้างงาน 7,091.5 ล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 58.7 ส่วนวงเงินอนุมัติที่เหลืออยู่ 162.7 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นโครงการก่อสร้างและการจ้างลูกจ้างชั่วคราวทำให้มีการขยายระยะเวลาโครงการออกไปอีก
การจัดเก็บภาษีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(หน่วย : ล้านบาท)
ม.ค.-ก.ย.
2543 2544
รายได้ 10,341.60 10,129.90
(n.a.) (-2.1)
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 1,712.60 1,938.20
(-9.5) -13.2
- ภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก 774.8 544.1
(-38.3) (-29.8)
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล 1,146.70 1,282.70
-10.9 -11.9
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม 1,848.90 2,216.20
(-11.9) -19.9
- ภาษีสุรา 3,333.80 3,043.90
(-62.2) (-8.7)
- อื่น ๆ 1,524.80 1,104.80
(n.a.) (-27.5)
รายจ่าย 113078.7 118711.8
(n.a.) -5
- รายจ่ายประจำ 74,817.00 76,407.80
(n.a.) -2.1
- รายจ่ายลงทุน 38,261.70 42,304.00
(n.a.) -10.6
เกินดุล (+) ขาดดุล (-) -102737.1 -108581.9
รายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐ 1,432.70 195.4
รายจ่ายรวม 114511.4 118907.2
(n.a.) -3.8
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บ หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ที่มา : สำนักงานคลังจังหวัด สำนักงานสรรพากรจังหวัด และสำนักงานสรรพสามิตจังหวัด
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาวะการค้าชายแดนไทย-ลาว
ภาวะการค้าชายแดนไทย-ลาวผ่านด่านศุลกากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9 เดือนแรกของปี 2544 มูลค่าการค้า 14,130.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีมูลค่าการค้าเพียง 12,597.4 ล้านบาท ทั้งนี้แยกเป็นการส่งออก 11,019.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3 และการนำเข้า 3,110.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 ส่งผลให้ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ไทยยังคงเกินดุลการค้าลาว 7,909.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 15.2
การค้าชายแดนไทย-ลาว
ม.ค.-ก.ย.
2543 2544
มูลค่าการค้า 12,597.40 14,130.50
-10.7 -12.2
การส่งออก 9,730.50 11,019.90
-2.3 -13.3
การนำเข้า 2,866.90 3,110.60
-53.5 -8.5
ดุลการค้า 7,640.60 7,909.30
(-10.2) -15.2
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากระยะเดียวกันของปีก่อน
ที่มา : ด่านศุลกากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การส่งออก
การส่งออก 11,019.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่าการส่งออก 9,730.5 ล้านบาท แยกเป็นสินค้าหมวดต่าง ๆ ดังนี้
สินค้าหมวดอุปโภคบริโภค : 4,625.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6 สินค้าที่สำคัญได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า 1,619.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 67.4 เครื่องดื่ม สุรา น้ำส้มสายชู 213.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.1 ยารักษาโรค 127.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 อุปกรณ์ทำความสะอาด 77.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.3 ขณะที่ยานพาหนะและอุปกรณ์ 1,230.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.7 สินค้าบริโภคในครัวเรือน 1,179.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.5 และอาหารสัตว์ 63.3 ล้านบาทลดลงร้อยละ 38.1
สินค้าหมวดวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ : 1,173.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.6 สินค้าที่สำคัญ ได้แก่ ผ้าผืน 458.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.4 อุปกรณ์ตัดเย็บ 248.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.9 เหล็กและเหล็กกล้า 182.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 652.8 ปศุสัตว์ ประมง 36.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 303.4
สินค้าหมวดทุน : 1,496.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 24.1 สินค้าสำคัญได้แก่ วัสดุก่อสร้าง 963.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 29.6 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 336.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 15.0ปุ๋ย 59.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 49.7 ขณะที่แก้วและเครื่องแก้ว 101.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.0
สินค้าหมวดน้ำมันปิโตรเลียมและเชื้อเพลิงอื่นๆ : 1,414.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.1
การนำเข้า
การนำเข้าในช่วง 9 เดือนแรก 3,110.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.5 สินค้านำเข้าที่สำคัญได้แก่ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 2,493.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 สินแร่ 199.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 105.7 หนังโค หนังกระบือ 50.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 112.4 ในขณะที่สินค้านำเข้าที่ลดลง ได้แก่ พืชไร่ 134.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 41.8 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 20.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 77.2
การค้าผ่านแดน
ประเทศลาวนำเข้าสินค้าจากประเทศที่สามผ่านแดนไทย : 5,592.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 16.7 จากระยะเดียวกันของปีก่อน ซึ่งลาวนำเข้าสินค้าผ่านแดนไทย 6,710.4 ล้านบาท สินค้านำเข้าที่สำคัญได้แก่ ผ้าและอุปกรณ์ตัดเย็บ 894.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 27.8 รถยนต์-จักรยานยนต์และอะไหล่ 635.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.1 เครื่องดื่ม สุรา 436.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 70.1 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 304.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 38.9 ในขณะที่บุหรี่ 2,170.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 465.7 และวัสดุก่อสร้าง 163.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9
ประเทศลาวส่งสินค้าออกไปประเทศที่สามผ่านแดนไทย : 4,827.3 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 ทั้งนี้เนื่องจากการส่งออกเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย 3,885.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.5 ไม้แปรรูป 342.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 เฟอร์นิเจอร์ 33.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 ในขณะที่เมล็ดกาแฟดิบ 359.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 25.2 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 9.2 ล้านบาท ลดลงถึงร้อยละ 96.0
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-
2543 2544
ความเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(หน่วย : ร้อยละต่อปี)
เงินฝาก
ประจำ 12 เดือน 3.00-4.50 2.50-4.50
ประจำ 6 เดือน 2.50-4.00 2.25-3.75
ประจำ 3 เดือน 2.50-4.00 2.25-3.75
ออมทรัพย์ 2.25-3.25 1.75-3.00
สินเชื่อ
ลูกค้าทั่วไป 11.00-13.25 10.25-13.25
MLR 7.50-9.75 7.25-9.00
MRR 8.00-10.50 7.75-9.75
ที่มา : ธนาคารพาณิชย์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้อยู่ระหว่างร้อยละ 2.50-4.50 ต่อปี ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่อยู่ระหว่างร้อยละ 3.00-4.50 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ อยู่ระหว่างร้อยละ 1.75-3.00 ต่อปี ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่อยู่ระหว่างร้อยละ 2.25-3.25 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าทั่วไปอยู่ระหว่างร้อยละ 10.25-13.25 ต่อปี ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่อยู่ระหว่างร้อยละ 11.00-13.25 ต่อปี อัตราดอกเบี้ย MLR อยู่ระหว่างร้อยละ 7.25-9.00 ต่อปี ลดลงจากปีก่อนที่อยู่ระหว่างร้อยละ 7.50-9.75 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ย MRR อยู่ระหว่างร้อยละ 7.75-9.75 ต่อปี ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่อยู่ระหว่างร้อยละ 8.00-10.50 ต่อปี
9 เดือนแรกของปี 2544 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชีทั้งสิ้น 3,005,683 ฉบับ เป็นเงินมูลค่า 247,768.3 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนมีปริมาณเช็คเรียกเก็บเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 และปริมาณเงินสั่งจ่ายตามเช็คเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากนักธุรกิจเริ่มมีความมั่นใจในเครดิตของคู่ค้ามากขึ้น สำหรับปริมาณเช็คคืนมีทั้งสิ้น 97,210 ฉบับ เป็นเงินมูลค่า 7,820.1 ล้านบาท ปริมาณเช็คคืนลดลง ร้อยละ 11.3 และมูลค่าลดลงร้อยละ 3.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทำให้อัตราส่วนเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บลดลงจากปีก่อน โดยที่จำนวนฉบับลดลงจากร้อยละ 3.7 ในปีก่อน มาอยู่ที่ร้อยละ 3.2 ในปีนี้ และในด้านมูลค่าลดลงจากร้อยละ 3.4 ของปีก่อน มาอยู่ที่ร้อยละ 3.2 ในปีนี้
เช็คคืนเพราะไม่มีเงินในช่วง 9 เดือนแรกปีนี้มีทั้งสิ้น 52,513 ฉบับ เป็นเงินมูลค่า 2,911.5 ล้านบาท จำนวนฉบับของเช็คคืนเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 และมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทำให้อัตราส่วนเช็คคืนเพราะไม่มีเงินต่อเช็คเรียกเก็บปีนี้ อยู่ที่ร้อยละ 1.7 และ ร้อยละ 1.2 ของจำนวนฉบับและมูลค่าตามลำดับ
เป็นที่น่าสังเกตว่ามูลค่าเช็คคืนทั้งสิ้นต่อเช็คเรียกเก็บในภาคฯ ลดลงในขณะที่เช็คคืนเพราะไม่มีเงินต่อเช็คเรียกเก็บ (หรือเช็คเด้ง) กลับเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการขาดสภาพคล่องของผู้ประกอบการบางกลุ่มที่เริ่มมีมากขึ้น
จากข้อมูลเบื้องต้นในช่วง 9 เดือนแรกปีนี้มีปริมาณเงินโอนจากแรงงานไทยในต่างประเทศทั้งสิ้น 25,234.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีเงินโอนกลับมาทั้งสิ้น 22,661.7 ล้านบาท
อนึ่ง ปริมาณเงินโอนจากแรงงานไทยในต่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงจากสาเหตุหลายประการ ในด้านปัจจัยลบ ได้แก่ การลดจำนวนแรงงานจากต่างประเทศในไต้หวัน ไต้หวันได้วางแผนจำกัดจำนวนคนงานต่างชาติที่ช่วยทำงานบ้านไม่ให้เกิน 120,000 คน และลดจำนวนคนงานต่างด้าวที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการก่อสร้างลงปีละ 15,000 คน เพื่อให้ชาวไต้หวันมีงานทำมากขึ้น รวมถึงมาตรการลดค่าแรงงานสำหรับแรงงานต่างประเทศในไต้หวันลดประมาณร้อยละ 16 ของค่าจ้างเดิม โดยเริ่มตั้งแต่เดือนกันยายนนี้เพื่อให้อุตสาหกรรมในท้องถิ่น สามารถลดต้นทุนลงท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจไต้หวันที่ชะลอตัว อย่างไรก็ตามไต้หวันก็ได้มีมาตรการที่จะชดเชยให้แรงงานต่างประเทศด้วยการลดค่านายหน้าจากบริษัทจัดหางานให้ลดลง ประกอบกับเหตุการณ์สงครามที่ประเทศอัฟกานิสถาน ทำให้สถานการณ์การเดินทางไปทำงานในประเทศตะวันออกกลางมีแนวโน้มลดลง โดยปัจจุบันมีแรงงานจากประเทศไทยไปทำงานอยู่ในประเทศซาอุดิอาระเบีย ประมาณ 37,723 คน อิสราเอล 27,222 คน คูเวต 3,974 คน บาห์เรน 2,848 คน กาตาร์ 2,778 สหรัฐฯ อาหรับอิมิเรตส์ 1,494 คน โอมาน 322 คน และประเทศอื่น ๆ อีก 1,252 คน รวมทั้งสิ้น 77,613 คน ซึ่งจากผลกระทบดังกล่าวจะส่งผลทำให้แนวโน้มการส่งเงินกลับภูมิลำเนาลดลง อย่างไรก็ตามในด้านปัจจัยบวกคือค่าเงินบาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลง โดยเฉพาะตั้งแต่เดือนเมษายน - กันยายน 2544 ที่เฉลี่ยอยู่ที่ 45.19 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่ช่วงเดือนมกราคม — มีนาคม 2544 เฉลี่ยอยู่ที่ 43.22 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเมื่อเทียบกับทั้งปี 2543 เฉลี่ยอยู่ที่ 40.16 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งจะส่งผลทำให้ปริมาณเงินโอนฯ สูงขึ้นเล็กน้อย และคาดว่าจะทำให้ปริมาณเงินโอนฯ โดยรวมในปี 2544 ทั้งปี จะทรงตัวหรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีก่อน
ธนาคารออมสิน
ในช่วง 9 เดือนแรกปีนี้สาขาธนาคารออมสินในภาคฯมีทั้งสิ้น 134 สาขา มีปริมาณเงินรับฝาก 63,802.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 70.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน มีปริมาณเงินถอน 50,502.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และมีปริมาณเงินฝากคงค้าง 45,135.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สาเหตุที่ปริมาณเงินฝากเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2544 เนื่องจากผู้ที่เข้าร่วมโครงการธนาคารประชาชนต้องเปิดบัญชีเงินฝากเผื่อเรียกเพื่อใช้ในการผ่านเงินที่จะชำระเงินกู้จากโครงการดังกล่าว จึงทำให้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-กันยายนมีเงินฝากเพิ่มขึ้นมาก
โครงการธนาคารประชาชนของธนาคารออมสิน เริ่มเปิดโครงการเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2544 เป็นโครงการที่รัฐบาลมีนโยบายมุ่งเน้นให้ประชาชนสามารถใช้บริการทางการเงินอย่างเท่าเทียมกันเพื่อเป็นการส่งเสริมการประกอบอาชีพรายย่อย โดยให้ธนาคารออมสินเป็นผู้ดำเนินการสินเชื่อดังกล่าว ซึ่งครั้งแรกจะให้สินเชื่อไม่เกินรายละ 15,000 บาท และวงเงินกู้ครั้งต่อไปไม่เกินรายละ 30,000 บาท โดยคิดอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ร้อยละ 1 ต่อเดือน ณ สิ้นเดือนกันยายน 2544 โครงการธนาคารประชาชน ของธนาคารออมสินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสมาชิกทั้งสิ้น 127,076 ราย อนุมัติวงเงินกู้แล้วทั้งสิ้น 60,895 ราย รวมเป็นสินเชื่อคงค้าง 814.2 ล้านบาท
เงินฝากธนาคารออมสิน
(หน่วย : ล้านบาท)
ม.ค. - ก.ย.
2543 2544 P
เงินรับฝาก 37,519.50 63,802.60
-1.7 -70.1
เงินถอน 32,980.60 50,502.40
(-4.9) -53.1
เงินฝากคงค้าง 34,000.40 45,135.10
-14.5 -32.7
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
P ตัวเลขเบื้องต้น
ที่มา : ธนาคารออมสิน
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ในช่วง 9 เดือนแรกปีนี้มีการจ่ายเงินกู้ไปทั้งสิ้น 51,926.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ยอดรับชำระคืนทั้งสิ้น 46,411.4 ล้านบาท และมียอดสินเชื่อคงค้าง 80,507.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 จากช่วงเดียวกันก่อน
ในด้านเงินฝากของ ธ.ก.ส. ในภาคฯณ สิ้นกันยายน เงินฝากออมทรัพย์มียอดคงค้าง 36,741.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.6 จากปีก่อน เงินฝากประจำ 5,283.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 เงินฝากออมทรัพย์ทวีสิน 1,747.9 ล้านบาท และเงินฝากกระแสรายวัน 205.4 ล้านบาท และมียอดรวมเงินฝากทั้งสิ้น 43,978.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
โครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยของ ธ.ก.ส. เป็นโครงการที่รัฐบาลมีนโยบายช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อย ในการช่วยฟื้นฟูให้เกษตรกรให้มีเงินออมและเงินลงทุนเพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนาอาชีพจนมีรายได้เพิ่มขึ้นเพียงพอที่จะชำระหนี้เงินกู้คืน ธ.ก.ส. และดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติเมื่อสิ้นสุดโครงการ
จากข้อมูล ณ สิ้นกันยายน 2544 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 1,147,537 ราย โดยแยกเป็นผู้เข้าโครงการพักชำระหนี้ 592,991 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 23,430.1 ล้านบาท และเป็นผู้เข้าโครงการลดภาระหนี้ 554,546 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 17,767.9 ล้านบาท ทั้งนี้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีผู้เข้าร่วมโครงการดังกล่าวเป็นอัตราส่วนร้อยละ 49.7 ของผู้เข้าร่วมโครงการทั้งประเทศ
เงินฝากสินเชื่อธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(หน่วย : ล้านบาท)
ม.ค.-ก.ย.
2543 2544
ให้กู้ 43,075.20 51,926.40
-9.5 -20.6
ชำระคืน 38,144.40 46,411.40
-13.4 -21.7
คงค้าง 75,372.70 80,507.30
-7.1 -6.8
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ที่มา : ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารอาคารสงเคราะห์
9 เดือนแรกของปีนี้ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ในภาคฯ มีเงินฝากคงค้าง 3,321.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และสินเชื่อคงค้าง 26,620.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนไม่มากนัก แต่ในไตรมาสสุดท้ายคาดว่าจะมีการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นจากโครงการที่ ธ.อ.ส. ได้ให้สิทธิแก่ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจซื้อที่อยู่อาศัยที่เจ้าของโครงการได้โอนกรรมสิทธิ์ให้กับ ธ.อ.ส. ในราคาส่วนลดร้อยละ 20 และสามารถกู้เงินได้เต็มวงเงิน
เงินฝาก-สินเชื่อธนาคารอาคารสงเคราะห์
(หน่วย : ล้านบาท)
ม.ค.-ก.ย.
2543 2544
เงินฝากคงค้าง 3,341.70 3,321.20
-43.3 (-0.6)
สินเชื่อคงค้าง 26,298.70 26,620.20
(-2.0) -1.2
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ที่มา : ธนาคารอาคารสงเคราะห์
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IFCT)
9 เดือนแรกของปีนี้ IFCT ให้สินเชื่อทั้งสิ้น 152 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีการให้สินเชื่อ 111 ราย ในปีนี้มีการอนุมัติสินเชื่อทั้งสิ้น 2,061.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้เนื่องจากนโยบายของ IFCT ที่เพิ่มการสนับสนุนทางการเงินแก่กิจการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อกระตุ้นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพให้มากขึ้น
สำหรับสินเชื่อสำคัญที่มีการอนุมัติ ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตอาหาร 40 ราย สินเชื่อที่อนุมัติ 645.9 ล้านบาท อุตสาหกรรมผลิตโลหะมูลฐาน 25 ราย สินเชื่อที่อนุมัติ 485.0 ล้านบาท อุตสาหกรรมผลิตจากอโลหะ 15 ราย สินเชื่อที่อนุมัติ 205.0 ล้านบาท อุตสาหกรรมการผลิตเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี 13 ราย สินเชื่อที่อนุมัติ 86.5 ล้านบาท อุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอ 10 ราย สินเชื่อที่อนุมัติ 116.6 ล้านบาท และในด้านเกษตรอุตสาหกรรม 10 ราย สินเชื่อที่อนุมัติ 116.5 ล้านบาท เป็นต้น
จำนวนโครงการและเงินให้กู้บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ม.ค.-ก.ย.
2543 2544
จำนวน (โครงการ) 111 152
-29.1 -36.9
เงินให้กู้ (ล้านบาท) 1,684.90 2,061.80
-71.1 -22.4
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ที่มา : บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.)
จากข้อมูลเบื้องต้น บอย. ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้อนุมัติวงเงินสินเชื่อในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ทั้งสิ้น 79 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 92.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นเงินทั้งสิ้น 570.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.7 เท่าหรือร้อยละ 165.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อนโดยส่วนใหญ่เป็นการให้สินเชื่อในธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดย่อม ธุรกิจการค้า อู่ซ่อมรถ ตัดเย็บเสื้อผ้าและเครื่องหนัง บริการ โรงเรียน โรงแรม/รีสอร์ท และหอพัก สำหรับแนวโน้มในไตรมาส 4 คาดว่าจะมีเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจาก บอย. มีโครงการนโยบาย 3 ประสาน ในช่วงที่เหลือของปีนี้ โดยเป็นการเร่งให้สินเชื่อกับร้านค้าปลีก วิสาหกิจชุมชน และผู้ส่งออก
จำนวนโครงการและเงินให้กู้บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม
ม.ค.-ก.ย.
2543 2544
จำนวน (โครงการ) 41 79
-64 -92.7
เงินให้กู้ (ล้านบาท) 215.3 570.5
-86.1 -165
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ที่มา : บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม
การซื้อขายหลักทรัพย์ในภาคฯ
ช่วง 9 เดือนแรกปีนี้ในภาคฯ มียอดซื้อหลักทรัพย์ทั้งสิ้น 23,168.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 82.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ยอดขายหลักทรัพย์ทั้งสิ้น 22,689.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 93.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมีมูลค่าซื้อขายหลักทรัพย์รวมทั้งสิ้น 45,858.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 88.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
การคลัง
ในช่วง 9 เดือนแรกปี 2544 รายได้รัฐบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดเก็บได้ 10,129.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.1 เทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 10,341.6 ล้านบาท เนื่องจากการจัดเก็บภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก 544.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 29.8 จากช่วงเดียวกัน ของปีก่อน 774.8 ล้านบาท ผลจากอัตราดอกเบี้ยลดลง และภาษีสุรา 3,043.9 ล้านบาท ลดลง ร้อยละ 8.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 3,333.8 ล้านบาท จากการจัดเก็บภาษีจากเบียร์ลดลง เป็นสำคัญ ส่วนภาษีที่จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 1,938.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.2 เนื่องจากการขยายฐานภาษีและการเพิ่มประสิทธิภาพในการหักภาษี ณ ที่จ่ายรัดกุมมากขึ้น ประกอบกับการจัดเก็บภาษีจากชาวไร่อ้อยเพิ่มขึ้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม 2,216.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 19.9 ผลจากการขยายฐานภาษี ประกอบกับบริษัทขอนแก่นบริวเวอรี่ จำกัด (ในเครือบุญรอด) เริ่มชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ท้องถิ่นตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา และภาษีเงินได้นิติบุคคล 1,282.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 เนื่องจากอยู่ในช่วงครบกำหนดการยื่นชำระภาษีตามแบบ ภ.ง.ด.51
ทางด้านรายจ่าย 118,711.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 113,078.7 ล้านบาท แบ่งเป็นรายจ่ายลงทุน 42,304.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 จากช่วง เดียวกันของปีก่อน 38,261.7 ล้านบาท เป็นผลจากการเบิกจ่ายของหมวดเงินอุดหนุน 23,253.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 16,252.2 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการจัดสรรเงินอุดหนุนในโครงการถ่ายโอนงาน หรือกิจกรรมการบริการสาธารณะให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น และรายจ่ายประจำ 76,407.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 74,817.0 ล้านบาท ทำให้เงินในงบประมาณขาดดุล 108,581.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนขาดดุล 102,737.1 ล้านบาท ในส่วนของรายจ่ายตาม มาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) เบิกจ่าย 195.4 ล้านบาท เมื่อรวมเงินส่วนนี้รายจ่ายของภาครัฐบาลในภาคมีวงเงินรวม 118,907.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 114,511.4 ล้านบาท
ความคืบหน้าในการเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี 2544 ณ สิ้นเดือนกันยายน 2544 นั้น มีผลการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 91.5 ของวงเงินงบประจำงวดที่ได้รับอนุมัติ เป็นการเบิกจ่ายงบประจำถึงร้อยละ 99.4 ของวงเงินประจำงวดฯ ขณะที่งบลงทุนเบิกจ่ายร้อยละ 76.7 ซึ่งมีอัตราส่วนที่ค่อนข้างต่ำ โดยมีสาเหตุหลักจากการดำเนินการของส่วนราชการล่าช้า ประกอบกับในปีนี้มีโครงการถ่ายโอนงานและกิจกรรมสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งยังไม่มีความพร้อมทั้งในด้านบุคลากรและอุปกรณ์เครื่องใช้
สำหรับรายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2544 มีวงเงินอนุมัติทั้งสิ้น 12,229.1 ล้านบาท เบิกจ่าย 12,066.4 ล้านบาท หรือร้อยละ 98.7 ของวงเงินอนุมัติ ส่วนใหญ่เป็นการเบิกจ่ายใช้ในโครงการสร้างงาน 7,091.5 ล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 58.7 ส่วนวงเงินอนุมัติที่เหลืออยู่ 162.7 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นโครงการก่อสร้างและการจ้างลูกจ้างชั่วคราวทำให้มีการขยายระยะเวลาโครงการออกไปอีก
การจัดเก็บภาษีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(หน่วย : ล้านบาท)
ม.ค.-ก.ย.
2543 2544
รายได้ 10,341.60 10,129.90
(n.a.) (-2.1)
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 1,712.60 1,938.20
(-9.5) -13.2
- ภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก 774.8 544.1
(-38.3) (-29.8)
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล 1,146.70 1,282.70
-10.9 -11.9
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม 1,848.90 2,216.20
(-11.9) -19.9
- ภาษีสุรา 3,333.80 3,043.90
(-62.2) (-8.7)
- อื่น ๆ 1,524.80 1,104.80
(n.a.) (-27.5)
รายจ่าย 113078.7 118711.8
(n.a.) -5
- รายจ่ายประจำ 74,817.00 76,407.80
(n.a.) -2.1
- รายจ่ายลงทุน 38,261.70 42,304.00
(n.a.) -10.6
เกินดุล (+) ขาดดุล (-) -102737.1 -108581.9
รายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐ 1,432.70 195.4
รายจ่ายรวม 114511.4 118907.2
(n.a.) -3.8
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บ หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ที่มา : สำนักงานคลังจังหวัด สำนักงานสรรพากรจังหวัด และสำนักงานสรรพสามิตจังหวัด
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาวะการค้าชายแดนไทย-ลาว
ภาวะการค้าชายแดนไทย-ลาวผ่านด่านศุลกากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9 เดือนแรกของปี 2544 มูลค่าการค้า 14,130.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีมูลค่าการค้าเพียง 12,597.4 ล้านบาท ทั้งนี้แยกเป็นการส่งออก 11,019.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3 และการนำเข้า 3,110.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 ส่งผลให้ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ไทยยังคงเกินดุลการค้าลาว 7,909.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 15.2
การค้าชายแดนไทย-ลาว
ม.ค.-ก.ย.
2543 2544
มูลค่าการค้า 12,597.40 14,130.50
-10.7 -12.2
การส่งออก 9,730.50 11,019.90
-2.3 -13.3
การนำเข้า 2,866.90 3,110.60
-53.5 -8.5
ดุลการค้า 7,640.60 7,909.30
(-10.2) -15.2
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากระยะเดียวกันของปีก่อน
ที่มา : ด่านศุลกากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การส่งออก
การส่งออก 11,019.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่าการส่งออก 9,730.5 ล้านบาท แยกเป็นสินค้าหมวดต่าง ๆ ดังนี้
สินค้าหมวดอุปโภคบริโภค : 4,625.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6 สินค้าที่สำคัญได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า 1,619.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 67.4 เครื่องดื่ม สุรา น้ำส้มสายชู 213.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.1 ยารักษาโรค 127.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 อุปกรณ์ทำความสะอาด 77.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.3 ขณะที่ยานพาหนะและอุปกรณ์ 1,230.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.7 สินค้าบริโภคในครัวเรือน 1,179.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.5 และอาหารสัตว์ 63.3 ล้านบาทลดลงร้อยละ 38.1
สินค้าหมวดวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ : 1,173.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.6 สินค้าที่สำคัญ ได้แก่ ผ้าผืน 458.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.4 อุปกรณ์ตัดเย็บ 248.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.9 เหล็กและเหล็กกล้า 182.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 652.8 ปศุสัตว์ ประมง 36.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 303.4
สินค้าหมวดทุน : 1,496.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 24.1 สินค้าสำคัญได้แก่ วัสดุก่อสร้าง 963.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 29.6 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 336.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 15.0ปุ๋ย 59.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 49.7 ขณะที่แก้วและเครื่องแก้ว 101.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.0
สินค้าหมวดน้ำมันปิโตรเลียมและเชื้อเพลิงอื่นๆ : 1,414.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.1
การนำเข้า
การนำเข้าในช่วง 9 เดือนแรก 3,110.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.5 สินค้านำเข้าที่สำคัญได้แก่ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 2,493.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 สินแร่ 199.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 105.7 หนังโค หนังกระบือ 50.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 112.4 ในขณะที่สินค้านำเข้าที่ลดลง ได้แก่ พืชไร่ 134.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 41.8 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 20.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 77.2
การค้าผ่านแดน
ประเทศลาวนำเข้าสินค้าจากประเทศที่สามผ่านแดนไทย : 5,592.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 16.7 จากระยะเดียวกันของปีก่อน ซึ่งลาวนำเข้าสินค้าผ่านแดนไทย 6,710.4 ล้านบาท สินค้านำเข้าที่สำคัญได้แก่ ผ้าและอุปกรณ์ตัดเย็บ 894.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 27.8 รถยนต์-จักรยานยนต์และอะไหล่ 635.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.1 เครื่องดื่ม สุรา 436.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 70.1 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 304.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 38.9 ในขณะที่บุหรี่ 2,170.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 465.7 และวัสดุก่อสร้าง 163.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9
ประเทศลาวส่งสินค้าออกไปประเทศที่สามผ่านแดนไทย : 4,827.3 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 ทั้งนี้เนื่องจากการส่งออกเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย 3,885.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.5 ไม้แปรรูป 342.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 เฟอร์นิเจอร์ 33.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 ในขณะที่เมล็ดกาแฟดิบ 359.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 25.2 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 9.2 ล้านบาท ลดลงถึงร้อยละ 96.0
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-