สิทธิและประโยชน์มาตรา 36(1)และ(2)
การให้สิทธิและประโยชน์มาตรา 36(1)และ(2) แก่กิจการที่ประกอบการอยู่เดิม เพื่อสนับสนุนการส่งออกภายใต้วิกฤติเศรษฐกิจ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้เห็นชอบตามข้อเสนอของคณะอนุกรรมการนโยบายส่งเสริมการลงทุน และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนในการเปิดให้การส่งเสริมการลงทุนแก่กิจการที่ประกอบการอยู่เดิมซึ่งยังไม่ได้รับการส่งเสริมให้ได้รับเฉพาะสิทธิประโยชน์มาตรา 36(1)และ(2) ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน กล่าวคือ ได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศเพื่อใช้ผลิต ผสม หรือประกอบผลิตภัณฑ์หรือผลิตเฉพาะที่ใช้ในการส่งออก รวมถึงยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อส่งกลับออกไป ทั้งนี้คณะกรรมการฯ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการส่งเสริมดังนี้.-
1). เป็นผู้ประกอบการในกิจการที่ประกอบการอยู่เดิมในอุตสาหกรรมดังต่อไปนี้ และมีขนาดการลงทุนอย่ายต่ำ 1 ล้านบาท โดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน
-เสื้อผ้า -เครื่องหนัง -รองเท้า -เฟอร์นิเจอร์
-ของเล่น -เครื่องกีฬา -ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ (นอกจากเสื้อผ้า)
-ส่วนประกอบรถยนต์ -ผลิตภัณฑ์พลาสติกหรือผลิตภัณฑ์เคลือบพลาสติก
-ผลิตภัณฑ์อิเลกทรอนิกส์และส่วนประกอบ -เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ
2). เป็นผู้ประกอบการที่ได้รับการรับรองจากสมาคมอุตสาหกรรมที่สำนักงานฯ ให้ความเห็นชอบ
3). ให้ยื่นขอรับการส่งเสริมภายในกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน
สำหรับประเภทหรือสาขาอุตสาหกรรมที่จะเปิดให้การส่งเสริมตามมาตรการนี้ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอาจขยายสาขาเพิ่มเติมขึ้นอีกได้
ในการกำกับดูแลการให้สิทธิประโยชน์ดังกล่าวคณะกรรมการฯ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำกับดูแลการให้สิทธิประโยชน์มาตรา 36(1)และ(2) แก่กิจการที่ประกอบการอยู่เดิม ตามคำสั่งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่3/2541 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2541 โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเป็นประธานอนุกรรมการและผู้แทนจากภาคราชการและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเป็นอนุกรรมการ ซึ่งรวมถึงผู้แทนกรมศุลกากรจำนวน 3 นาย คณะอนุกรรมการฯ มีอำนาจและหน้าที่ในการกำหนดคุณสมบัติและหลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้ที่จะได้รับสิทธิและประโยชน์กำหนดระเบียบและวิธิการใช้สิทธิ และประโยชน์กำกับการปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายที่คณะกรรมการกำหนด รวมทั้งแต่งตั้งคณะทำงานตามความเหมาะสม สำหรับการอนุมัติผู้ที่จะได้รับสิทธิและประโยชน์คณะกรรมการได้มอบให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติ
หลักเกณฑ์และระเบียบวิธีการในการเปิดให้การส่งเสริม
คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ให้ความเห็นชอบหลักเกณฑ์และระเบียบวิธีการในการเปิดให้การส่งเสริมการให้สิทธิประโยชน์มาตรา 36(1)และ(2)ดังนี้.-
1). ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์มาตรา 36(1)และ(2)และมาตราอื่นที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากรเท่านั้น โดยผู้ขอต้องได้รับอนุมัติการส่งเสริมจากสำนักงานฯ ตามขนาดการลงทุนก่อน
2). จะพิจารณาอนุมัติให้เฉพาะผู้ที่ผ่านการรับรองจากสถาบันภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง หรือมีคุณสมบัติตามที่สำนักงานฯ ร่วมกับสถาบันภาคเอกชนกำหนด
3). ผู้ได้รับการส่งเสริมจะต้องเลือกใช้สิทธิและประโยชน์ด้านวัตถุดิบทางใดทางหนึ่ง คือ มาตรา 36(1)และ(2) ของสำนักงานฯ หรือมาตรา 19 ทวิ หรือคลังสินค้าทัณฑ์บนของกรมศุลกากร
4). วัตถุดิบที่นำเข้าตามมาตรา 36(1)และ(2) ต้องผลิตและส่งออกภายใน 1 ปี โดยอาจขอขยายเวลาได้กรณีเหตุสุดวิสัย
5). การควบคุมสั่งปล่อยและตัดบัญชีวัตถุดิบจะต้องใช้ระบบ Raw Materials Tracking System (RMTS) ของสมาคมสโมสรนักลงทุน ซึ่งสำนักงานฯได้มอบหมายให้ดำเนินการร่วมกับผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในเรื่องอื่น ๆ อยู่แล้ว
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3/15 กุมภาพันธ์ 2543--
การให้สิทธิและประโยชน์มาตรา 36(1)และ(2) แก่กิจการที่ประกอบการอยู่เดิม เพื่อสนับสนุนการส่งออกภายใต้วิกฤติเศรษฐกิจ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้เห็นชอบตามข้อเสนอของคณะอนุกรรมการนโยบายส่งเสริมการลงทุน และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนในการเปิดให้การส่งเสริมการลงทุนแก่กิจการที่ประกอบการอยู่เดิมซึ่งยังไม่ได้รับการส่งเสริมให้ได้รับเฉพาะสิทธิประโยชน์มาตรา 36(1)และ(2) ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน กล่าวคือ ได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศเพื่อใช้ผลิต ผสม หรือประกอบผลิตภัณฑ์หรือผลิตเฉพาะที่ใช้ในการส่งออก รวมถึงยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อส่งกลับออกไป ทั้งนี้คณะกรรมการฯ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการส่งเสริมดังนี้.-
1). เป็นผู้ประกอบการในกิจการที่ประกอบการอยู่เดิมในอุตสาหกรรมดังต่อไปนี้ และมีขนาดการลงทุนอย่ายต่ำ 1 ล้านบาท โดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน
-เสื้อผ้า -เครื่องหนัง -รองเท้า -เฟอร์นิเจอร์
-ของเล่น -เครื่องกีฬา -ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ (นอกจากเสื้อผ้า)
-ส่วนประกอบรถยนต์ -ผลิตภัณฑ์พลาสติกหรือผลิตภัณฑ์เคลือบพลาสติก
-ผลิตภัณฑ์อิเลกทรอนิกส์และส่วนประกอบ -เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ
2). เป็นผู้ประกอบการที่ได้รับการรับรองจากสมาคมอุตสาหกรรมที่สำนักงานฯ ให้ความเห็นชอบ
3). ให้ยื่นขอรับการส่งเสริมภายในกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน
สำหรับประเภทหรือสาขาอุตสาหกรรมที่จะเปิดให้การส่งเสริมตามมาตรการนี้ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอาจขยายสาขาเพิ่มเติมขึ้นอีกได้
ในการกำกับดูแลการให้สิทธิประโยชน์ดังกล่าวคณะกรรมการฯ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำกับดูแลการให้สิทธิประโยชน์มาตรา 36(1)และ(2) แก่กิจการที่ประกอบการอยู่เดิม ตามคำสั่งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่3/2541 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2541 โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเป็นประธานอนุกรรมการและผู้แทนจากภาคราชการและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเป็นอนุกรรมการ ซึ่งรวมถึงผู้แทนกรมศุลกากรจำนวน 3 นาย คณะอนุกรรมการฯ มีอำนาจและหน้าที่ในการกำหนดคุณสมบัติและหลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้ที่จะได้รับสิทธิและประโยชน์กำหนดระเบียบและวิธิการใช้สิทธิ และประโยชน์กำกับการปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายที่คณะกรรมการกำหนด รวมทั้งแต่งตั้งคณะทำงานตามความเหมาะสม สำหรับการอนุมัติผู้ที่จะได้รับสิทธิและประโยชน์คณะกรรมการได้มอบให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติ
หลักเกณฑ์และระเบียบวิธีการในการเปิดให้การส่งเสริม
คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ให้ความเห็นชอบหลักเกณฑ์และระเบียบวิธีการในการเปิดให้การส่งเสริมการให้สิทธิประโยชน์มาตรา 36(1)และ(2)ดังนี้.-
1). ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์มาตรา 36(1)และ(2)และมาตราอื่นที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากรเท่านั้น โดยผู้ขอต้องได้รับอนุมัติการส่งเสริมจากสำนักงานฯ ตามขนาดการลงทุนก่อน
2). จะพิจารณาอนุมัติให้เฉพาะผู้ที่ผ่านการรับรองจากสถาบันภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง หรือมีคุณสมบัติตามที่สำนักงานฯ ร่วมกับสถาบันภาคเอกชนกำหนด
3). ผู้ได้รับการส่งเสริมจะต้องเลือกใช้สิทธิและประโยชน์ด้านวัตถุดิบทางใดทางหนึ่ง คือ มาตรา 36(1)และ(2) ของสำนักงานฯ หรือมาตรา 19 ทวิ หรือคลังสินค้าทัณฑ์บนของกรมศุลกากร
4). วัตถุดิบที่นำเข้าตามมาตรา 36(1)และ(2) ต้องผลิตและส่งออกภายใน 1 ปี โดยอาจขอขยายเวลาได้กรณีเหตุสุดวิสัย
5). การควบคุมสั่งปล่อยและตัดบัญชีวัตถุดิบจะต้องใช้ระบบ Raw Materials Tracking System (RMTS) ของสมาคมสโมสรนักลงทุน ซึ่งสำนักงานฯได้มอบหมายให้ดำเนินการร่วมกับผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในเรื่องอื่น ๆ อยู่แล้ว
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3/15 กุมภาพันธ์ 2543--