1. สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
2.สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
2.1 มติ คชก. : มติ คชก. ครั้งที่ 15/2543 เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2543
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2543 ที่ประชุมได้พิจารณาในเรื่องดังต่อไปนี้
1. มันสำปะหลัง : การอนุมัติค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามนโยบายและมาตรการมันสำปะหลัง ปี 2543/44
คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรได้มีมติเห็นชอบโครงการที่เกี่ยวข้องกับมันสำปะหลัง ทั้ง 6 โครงการ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 3,516.79 ล้านบาท แยกเป็นเงินทุนหมุนเวียน 2,001.85 ล้านบาท และเงินจ่ายขาด 1,514.94 ล้านบาท ได้แก่
1) โครงการรับจำนำผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ปี 2543/44
ให้ อคส. และ ธ.ก.ส. ดำเนินการรับจำนำมันเส้น จำนวน 500,000 ตัน และแป้งมัน จำนวน 375,000 ตัน ปริมาณที่รับจำนำให้ยืดหยุ่นทดแทนกันได้ในปริมาณหัวมันสด 2.77-3 ล้านตัน ระยะเวลาโครงการ พฤศจิกายน 2543 - กันยายน 2544 ระยะเวลาดำเนินการ พฤศจิกายน 2543-มีนาคม 2544 หน่วยงานรับผิดชอบ อคส. และ ธ.ก.ส. เงินทุนหมุนเวียนใช้ต้นทุนจาก ธ.ก.ส. จำนวน 2,414.00 ล้านบาท วงเงินจ่ายขาด 1,214.44 ล้านบาท
2) โครงการแทรกแซงตลาดผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเพื่อการส่งออก ปี 2543/44
ให้กรมการค้าต่างประเทศรับซื้อมันเม็ดปริมาณ 500,000 ตัน เข้าเก็บสต็อกไว้ ระยะเวลาโครงการ พฤศจิกายน 2543 - มีนาคม 2544 ระยะเวลาดำเนินการ พฤศจิกายน 2543 -สิงหาคม 2544 หน่วยงานรับผิดชอบ คต. และ อคส. ใช้เงินทุนหมุนเวียน จำนวน 1,248.85 ล้านบาท วงเงินจ่ายขาด 177.41 ล้านบาท รวมเงินทั้งสิ้น 1,426.26 ล้านบาท
3) โครงการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อพัฒนาคุณภาพมันสำปะหลัง ปี 2543/44
ให้เงินกู้กับลานมันที่เข้าร่วมโครงการเพื่อเป็นเงินทุนในการซื้อเครื่องร่อนทำความสะอาดมันสำปะหลัง ณ จังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตมันรวม 300 ลาน ลานมันละ 400,000 บาท ระยะเวลาโครงการพฤศจิกายน 2543-ธันวาคม 2548 ปลอดเงินต้น 1 ปี ผ่อนชำระคืนภายใน 5 ปี นับแต่วันกู้ หน่วยงานรับผิดชอบ คน. คต. และ สป.พณ. โดยใช้เงินทุนหมุนเวียน จำนวน 120 ล้านบาท วงเงินจ่ายขาด 3.6 ล้านบาท รวมเงินทั้งสิ้น 123.6 ล้านบาท
4) โครงการเชื่อมโยงการซื้อขายมันเส้นเพื่อการเลี้ยงสัตว์และ อุตสาหกรรมแปรรูปอื่น ๆ ปี 2543/44
เพื่อเชื่อมโยงให้ลานมันและโรงงานแปรรูปอื่น ๆ ทั้งภายในประเทศให้หันมาใช้มันเส้นสะอาดคุณภาพดี จำนวน 50,000 ตัน โดยใช้วงเงินจ่ายขาดจำนวน 20 ล้านบาท ระยะเวลาโครงการพฤศจิกายน 2543 - ธันวาคม 2545 ระยะเวลาดำเนินการ พฤศจิกายน 2543 -ตุลาคม 2545
5) โครงการแปรรูปมันสำปะหลังคุณภาพดีเพื่ออุตสาหกรรมอาหารสัตว์
ให้สหกรณ์แปรรูปหัวมันสำปะหลังเป็นมันเส้นคุณภาพดีปีละ 300,000 ตัน ระยะเวลาโครงการ 2543/44 - 2547/48 โดยใช้เงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย จำนวน 165 ล้านบาท วงเงินจ่ายขาด 258.49 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 423.49 ล้านบาท
สำหรับโครงการนี้ ที่ประชุมมีความเห็นว่าในเรื่องงบประมาณโรงเรือนและสิ่งก่อสร้างรวมทั้งเครื่องชั่งพร้อมโรงคลุม ควรเปลี่ยนจากเงินจ่ายขาดเป็นเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย ดังนั้นโครงการแปรรูปมันสำปะหลังฯ จะใช้เงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ยจำนวน 333 ล้านบาท เงินจ่ายขาด 90.49 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 423.49 ล้านบาท
6) โครงการรับจำนำผลิตภัณฑ์แปรรูปมันสำปะหลังเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าแปรรูปจากผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เช่น เด็กซ์โทรส กลูโคส ฯลฯ โดยให้ผู้เข้าร่วมโครงการใช้สินค้าเป็นหลักประกันในลักษณะการจำนำสินค้ากับองค์การคลังสินค้าหรือหน่วยงานอื่น ๆ ระยะเวลาโครงการพฤศจิกายน 2543-กันยายน 2544 ระยะเวลาดำเนินการ พฤศจิกายน 2543 - สิงหาคม 2544 โดยใช้เงินทุนหมุนเวียน 300 ล้านบาท วงเงินจ่ายขาด 9 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 309 ล้านบาท
2. ไข่ไก่ : การแก้ไขปัญหาราคาไข่ไก่ตกต่ำ ปี 2543/44
สมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทย สมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ และสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่แปดริ้ว จำกัด ได้มีหนังสือถึงกรมการค้าภายใน ขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) เป็นทุนในการรวบรวมไข่ไก่เก็บสต็อกห้องเย็นเพื่อลดปริมาณผลผลิตส่วนเกินในช่วงตุลาคม-มีนาคม ซึ่งเป็นช่วงเทศกาลกินเจและช่วงปิดเรียน เพื่อแก้ไขปัญหาราคาไข่ไก่ตกต่ำ
ผลผลิตไข่ไก่ของไทย ปี 2543 มีประมาณ 8,233 ล้านฟอง เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 3.65 และผลผลิตของผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกเพิ่มขึ้น เช่น อเมริกาจาก 82,608 ล้านฟอง เป็น 84,360 ล้านฟอง เนเธอร์แลนด์ จาก 10,730 ล้านฟอง เป็น 10,875 ล้านฟอง และจีนจาก 382,065 ล้านฟอง เป็น 400,000 ล้านฟอง
ราคาไข่ไก่คละ ณ แหล่งผลิต มีแนวโน้มต่ำลงตั้งแต่ช่วงต้นปี 2543 (มค.-กย.) ราคาอยู่ระหว่างฟองละ 1.10 -1.35 บาท และในปัจจุบัน (30 ตค. 43) ฟองละ 1.00 บาท ในขณะที่ราคาเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปีช่วงผลผลิตออกมาก (กย. - มีค.) ปี 2539/40 2540/41 และปี 2542/43 ฟองละ 1.40 บาท
กรมการค้าภายใน ได้พิจารณาแก้ไขปัญหาราคาไข่ไก่ตกต่ำปี 2543/44 โดยจัดทำโครงการเก็บสต็อกไข่ไก่เข้าห้องเย็นเพื่อเก็บผลผลิตส่วนเกินของตลาดเข้าเก็บสต็อก เพื่อส่งออกและจำหน่ายในช่วงที่เหมาะสม และขอใช้เงิน คชก.
คณะกรรมการ คชก. ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2543 มีมติ ดังนี้
1) กำหนดราคาเป้าหมายในการรับซื้อไข่ไก่สดคละ ณ แหล่งผลิต ปี 2543/44 ฟองละ 1.40 บาท
2) อนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ยวงเงิน 60 ล้านบาท ตามโครงการ
- ให้กรมการค้าภายใน 30 ล้านบาท นำไปจัดสรรให้สมาชิกสมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ และสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทย กู้ยืมเป็นเงินทุนหมุนเวียนรวบรวมไข่ไก่จากเกษตรกรเก็บสต็อกเข้าห้องเย็น
- ให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ 30 ล้านบาท จัดสรรให้สถาบันเกษตรกรเพื่อใช้รวบรวมไข่ไก่เก็บสต็อกเข้าห้องเย็น
3) ระยะเวลาดำเนินการ พฤศจิกายน 2543-เมษายน 2544 ระยะเวลาโครงการฯ พฤศจิกายน 2543 - มิถุนายน 2544 และให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของทางราชการตามที่จ่ายจริงไม่เกินร้อยละ 3 ของวงเงินดำเนินการ
3. มะพร้าว : การแทรกแซงตลาดมะพร้าว ปี 2543 (เพิ่มเติม)
มติคณะกรรมการ คชก. เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2543 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2543 และเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2543 อนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย 150 ล้านบาท ให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) ไปแทรกแซงรับซื้อเนื้อมะพร้าวแห้ง 90% จากเกษตรกร สถาบันเกษตรกรเพื่อจำหน่ายต่อไป โดยกำหนดราคาเป้าหมายนำเนื้อมะพร้าวแห้ง 90% (ทับสะแก) ราคากิโลกรัมละ 10.74 บาท สำหรับแหล่งผลิตจังหวัดอื่นให้กำหนดโดยเทียบเคียงจากฐานราคาเป้าหมายนำเนื้อมะพร้าวแห้ง 90% (ทับสะแก) ด้วยวิธีคำนวณราคาในแต่ละจังหวัดเพิ่ม-ลดได้ตามสัดส่วนราคาตลาดและคุณภาพ ระยะเวลารับซื้อมิถุนายน - ตุลาคม 2543 และระยะเวลาโครงการมิถุนายน 43-มกราคา 2544
นายศิริศักดิ์ อ่อนละมัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพรมีหนังสือด่วนที่สุด ที่พิเศษ/2543 ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2543 ขอให้พิจารณาขยายระยะเวลาการแทรกแซงออกไป อีกจนถึงสิ้นปี 2543 และขอให้จัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมด้วย เนื่องจากมะพร้าวของเกษตรกรยังมีจำนวนมาก
ราคา ณ แห่งผลิตตั้งแต่ต้นปี 2543 (มค.-กย.) มีแนวโน้มลดลงจนถึงปัจจุบัน (27 ตค. 43) มะพร้าวผลแก่ใหญ่ 1.84 บาท/ผล เนื้อมะพร้าวแห้ง (90%) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กิโลกรัมละ 4.65 บาท ซึ่งต่ำกว่าราคาแทรกแซงถึงกิโลกรัมละ 6.09 บาท และน้ำมันมะพร้าวดิบกรุงเทพฯ กิโลกรัมละ 9.59 บาท รวมทั้งราคาน้ำมันมะพร้าวในต่างประเทศตั้งแต่กรกฎาคม 2543 เป็นต้นมา มีราคาต่ำมาก
คณะกรรมการ คชก. ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2543 มีมติ ดังนี้
1) กำหนดราคาแทรกแซงรับซื้อเนื้อมะพร้าวแห้ง 90% จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กิโลกรัมละ 7.64 บาท สำหรับแหล่งผลิตจังหวัดอื่นๆ ให้ปรับเพิ่ม-ลดตามที่ อคส. เคยปฏิบัติ
2) อนุมัติเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มเติมอีกจำนวน 20 ล้านบาทให้ อคส. ดำเนินการแทรงแซงรับซื้อเนื้อมะพร้าวแห้ง 90% โดยระยะเวลารับซื้อให้สิ้นสุดไม่เกิน 30 พฤศจิกายน 2543 และ ระยะเวลาโครงการให้ขยายจากสิ้นสุดมกราคม 2544 เป็นสิ้นสุดกุมภาพันธ์ 2544
มันฝรั่ง : ผลการตรวจสอบหัวพันธุ์มันฝรั่งว่าเป็นพืชที่ปลอดจากการตัดต่อสารพันธุกรรม (GMOs)
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้รับแจ้งจากกรมวิชาการเกษตรเกี่ยวกับหัวพันธุ์มันฝรั่งที่ได้รับการตัดต่อพันธุกรรม (GMOs) เป็นสิ่งต้องห้ามตามประกาศกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ เรื่องกำหนดพืชจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้นและเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 ห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร ยกเว้นจะได้รับอนุญาตให้นำเข้าเพื่อการทดลองหรือวิจัยเท่านั้น ซึ่งต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกรมวิชา-การเกษตรกำหนด
ในปัจจุบันได้มีการนำเข้าหัวมันฝรั่งจากต่างประเทศเข้ามาทำพันธุ์ปลูกเป็นจำนวนมาก กรมวิชาการเกษตรในฐานะผู้รับผิดชอบการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 จึงได้ประกาศกำหนดมาตรการเกี่ยวกับการนำเข้าส่วนขยายพันธุ์และเมล็ดพันธุ์พืชจากต่างประเทศ
1. ให้นำเข้าแนบหนังสือรับรองจากประเทศผู้ส่งออกว่าส่วนขยายพันธุ์ (หัวพันธุ์ มันฝรั่ง) ดังกล่าวมิใช่พืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
2. การตรวจสอบหัวพันธุ์มันฝรั่งว่าเป็นพืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม (GMOs) หรือไม่ ใช้หลักเกณฑ์การพิจารณา ดังนี้
2.1 ในกรณีที่มีหนังสือรับรอง ว่ามิใช่พืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรมเจ้าหน้าที่กักกันพืชจะทำการสุ่มตรวจเป็นบาง shipment ขึ้นอยู่กับข้อมูลว่าประเทศที่เป็นแหล่งกำเนิดนั้นมีการผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่ง (GMOs) หรือไม่
2.2 ในกรณีที่ไม่มีหนังสือรับรองเจ้าหน้าที่กักกันพืชเพื่อตรวจสอบทุก shipment หากตรวจสอบพบว่าพันธุ์มันฝรั่ง shipment ใดเป็น GMOs กรมวิชาการเกษตรจะดำเนินการกฎหมายทันที
3.การตรวจปล่อย
3.1 กรณีที่มีหนังสือรับรองว่ามิใช่มีการตัดต่อสารพันธุกรรม จะดำเนินการตรวจปล่อยหลังจากตรวจพบว่าปราศจากศัตรูพืชที่สำคัญทางกักกันพืช
3.2 กรณีที่ไม่มีหนังสือรับรอง ว่ามิใช่พืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรมเจ้าหน้าที่กักกันพืชจะทำการสุ่มเก็บตัวอย่างและกักพืชทั้งหมดไว้เพื่อรอผลการตรวจสอบศัตรูพืช และผลการตรวจสอบ GMOs จากห้องปฏิบัติการ(ซึ่งปกติจะใช้เวลาตรวจสอบประมาณ 15 วัน)
ซึ่งในเรื่องนี้กรมวิชาการเกษตรได้เชิญภาคเอกชนที่นำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งมาประชุมเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจในเรื่องนี้ แล้วเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2543 และได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่ากรมวิชาการเกษตร ได้ดำเนินการสุ่มตัวอย่างหัวพันธุ์มันฝรั่งที่นำเข้าจากต่างประเทศต่าง ๆ เมื่อตรวจสอบ GMOs ผลการตรวจสอบ GMOs จนถึงปัจจุบันนี้ยังไม่พบหัวพันธุ์มันฝรั่งที่เป็น GMOs
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 43 ประจำวันที่ 30 ต.ค.- 5 พ.ย. 2543--
-สส-
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
2.สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
2.1 มติ คชก. : มติ คชก. ครั้งที่ 15/2543 เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2543
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2543 ที่ประชุมได้พิจารณาในเรื่องดังต่อไปนี้
1. มันสำปะหลัง : การอนุมัติค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามนโยบายและมาตรการมันสำปะหลัง ปี 2543/44
คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรได้มีมติเห็นชอบโครงการที่เกี่ยวข้องกับมันสำปะหลัง ทั้ง 6 โครงการ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 3,516.79 ล้านบาท แยกเป็นเงินทุนหมุนเวียน 2,001.85 ล้านบาท และเงินจ่ายขาด 1,514.94 ล้านบาท ได้แก่
1) โครงการรับจำนำผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ปี 2543/44
ให้ อคส. และ ธ.ก.ส. ดำเนินการรับจำนำมันเส้น จำนวน 500,000 ตัน และแป้งมัน จำนวน 375,000 ตัน ปริมาณที่รับจำนำให้ยืดหยุ่นทดแทนกันได้ในปริมาณหัวมันสด 2.77-3 ล้านตัน ระยะเวลาโครงการ พฤศจิกายน 2543 - กันยายน 2544 ระยะเวลาดำเนินการ พฤศจิกายน 2543-มีนาคม 2544 หน่วยงานรับผิดชอบ อคส. และ ธ.ก.ส. เงินทุนหมุนเวียนใช้ต้นทุนจาก ธ.ก.ส. จำนวน 2,414.00 ล้านบาท วงเงินจ่ายขาด 1,214.44 ล้านบาท
2) โครงการแทรกแซงตลาดผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเพื่อการส่งออก ปี 2543/44
ให้กรมการค้าต่างประเทศรับซื้อมันเม็ดปริมาณ 500,000 ตัน เข้าเก็บสต็อกไว้ ระยะเวลาโครงการ พฤศจิกายน 2543 - มีนาคม 2544 ระยะเวลาดำเนินการ พฤศจิกายน 2543 -สิงหาคม 2544 หน่วยงานรับผิดชอบ คต. และ อคส. ใช้เงินทุนหมุนเวียน จำนวน 1,248.85 ล้านบาท วงเงินจ่ายขาด 177.41 ล้านบาท รวมเงินทั้งสิ้น 1,426.26 ล้านบาท
3) โครงการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อพัฒนาคุณภาพมันสำปะหลัง ปี 2543/44
ให้เงินกู้กับลานมันที่เข้าร่วมโครงการเพื่อเป็นเงินทุนในการซื้อเครื่องร่อนทำความสะอาดมันสำปะหลัง ณ จังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตมันรวม 300 ลาน ลานมันละ 400,000 บาท ระยะเวลาโครงการพฤศจิกายน 2543-ธันวาคม 2548 ปลอดเงินต้น 1 ปี ผ่อนชำระคืนภายใน 5 ปี นับแต่วันกู้ หน่วยงานรับผิดชอบ คน. คต. และ สป.พณ. โดยใช้เงินทุนหมุนเวียน จำนวน 120 ล้านบาท วงเงินจ่ายขาด 3.6 ล้านบาท รวมเงินทั้งสิ้น 123.6 ล้านบาท
4) โครงการเชื่อมโยงการซื้อขายมันเส้นเพื่อการเลี้ยงสัตว์และ อุตสาหกรรมแปรรูปอื่น ๆ ปี 2543/44
เพื่อเชื่อมโยงให้ลานมันและโรงงานแปรรูปอื่น ๆ ทั้งภายในประเทศให้หันมาใช้มันเส้นสะอาดคุณภาพดี จำนวน 50,000 ตัน โดยใช้วงเงินจ่ายขาดจำนวน 20 ล้านบาท ระยะเวลาโครงการพฤศจิกายน 2543 - ธันวาคม 2545 ระยะเวลาดำเนินการ พฤศจิกายน 2543 -ตุลาคม 2545
5) โครงการแปรรูปมันสำปะหลังคุณภาพดีเพื่ออุตสาหกรรมอาหารสัตว์
ให้สหกรณ์แปรรูปหัวมันสำปะหลังเป็นมันเส้นคุณภาพดีปีละ 300,000 ตัน ระยะเวลาโครงการ 2543/44 - 2547/48 โดยใช้เงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย จำนวน 165 ล้านบาท วงเงินจ่ายขาด 258.49 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 423.49 ล้านบาท
สำหรับโครงการนี้ ที่ประชุมมีความเห็นว่าในเรื่องงบประมาณโรงเรือนและสิ่งก่อสร้างรวมทั้งเครื่องชั่งพร้อมโรงคลุม ควรเปลี่ยนจากเงินจ่ายขาดเป็นเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย ดังนั้นโครงการแปรรูปมันสำปะหลังฯ จะใช้เงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ยจำนวน 333 ล้านบาท เงินจ่ายขาด 90.49 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 423.49 ล้านบาท
6) โครงการรับจำนำผลิตภัณฑ์แปรรูปมันสำปะหลังเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าแปรรูปจากผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เช่น เด็กซ์โทรส กลูโคส ฯลฯ โดยให้ผู้เข้าร่วมโครงการใช้สินค้าเป็นหลักประกันในลักษณะการจำนำสินค้ากับองค์การคลังสินค้าหรือหน่วยงานอื่น ๆ ระยะเวลาโครงการพฤศจิกายน 2543-กันยายน 2544 ระยะเวลาดำเนินการ พฤศจิกายน 2543 - สิงหาคม 2544 โดยใช้เงินทุนหมุนเวียน 300 ล้านบาท วงเงินจ่ายขาด 9 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 309 ล้านบาท
2. ไข่ไก่ : การแก้ไขปัญหาราคาไข่ไก่ตกต่ำ ปี 2543/44
สมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทย สมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ และสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่แปดริ้ว จำกัด ได้มีหนังสือถึงกรมการค้าภายใน ขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) เป็นทุนในการรวบรวมไข่ไก่เก็บสต็อกห้องเย็นเพื่อลดปริมาณผลผลิตส่วนเกินในช่วงตุลาคม-มีนาคม ซึ่งเป็นช่วงเทศกาลกินเจและช่วงปิดเรียน เพื่อแก้ไขปัญหาราคาไข่ไก่ตกต่ำ
ผลผลิตไข่ไก่ของไทย ปี 2543 มีประมาณ 8,233 ล้านฟอง เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 3.65 และผลผลิตของผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกเพิ่มขึ้น เช่น อเมริกาจาก 82,608 ล้านฟอง เป็น 84,360 ล้านฟอง เนเธอร์แลนด์ จาก 10,730 ล้านฟอง เป็น 10,875 ล้านฟอง และจีนจาก 382,065 ล้านฟอง เป็น 400,000 ล้านฟอง
ราคาไข่ไก่คละ ณ แหล่งผลิต มีแนวโน้มต่ำลงตั้งแต่ช่วงต้นปี 2543 (มค.-กย.) ราคาอยู่ระหว่างฟองละ 1.10 -1.35 บาท และในปัจจุบัน (30 ตค. 43) ฟองละ 1.00 บาท ในขณะที่ราคาเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปีช่วงผลผลิตออกมาก (กย. - มีค.) ปี 2539/40 2540/41 และปี 2542/43 ฟองละ 1.40 บาท
กรมการค้าภายใน ได้พิจารณาแก้ไขปัญหาราคาไข่ไก่ตกต่ำปี 2543/44 โดยจัดทำโครงการเก็บสต็อกไข่ไก่เข้าห้องเย็นเพื่อเก็บผลผลิตส่วนเกินของตลาดเข้าเก็บสต็อก เพื่อส่งออกและจำหน่ายในช่วงที่เหมาะสม และขอใช้เงิน คชก.
คณะกรรมการ คชก. ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2543 มีมติ ดังนี้
1) กำหนดราคาเป้าหมายในการรับซื้อไข่ไก่สดคละ ณ แหล่งผลิต ปี 2543/44 ฟองละ 1.40 บาท
2) อนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ยวงเงิน 60 ล้านบาท ตามโครงการ
- ให้กรมการค้าภายใน 30 ล้านบาท นำไปจัดสรรให้สมาชิกสมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ และสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทย กู้ยืมเป็นเงินทุนหมุนเวียนรวบรวมไข่ไก่จากเกษตรกรเก็บสต็อกเข้าห้องเย็น
- ให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ 30 ล้านบาท จัดสรรให้สถาบันเกษตรกรเพื่อใช้รวบรวมไข่ไก่เก็บสต็อกเข้าห้องเย็น
3) ระยะเวลาดำเนินการ พฤศจิกายน 2543-เมษายน 2544 ระยะเวลาโครงการฯ พฤศจิกายน 2543 - มิถุนายน 2544 และให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของทางราชการตามที่จ่ายจริงไม่เกินร้อยละ 3 ของวงเงินดำเนินการ
3. มะพร้าว : การแทรกแซงตลาดมะพร้าว ปี 2543 (เพิ่มเติม)
มติคณะกรรมการ คชก. เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2543 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2543 และเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2543 อนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย 150 ล้านบาท ให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) ไปแทรกแซงรับซื้อเนื้อมะพร้าวแห้ง 90% จากเกษตรกร สถาบันเกษตรกรเพื่อจำหน่ายต่อไป โดยกำหนดราคาเป้าหมายนำเนื้อมะพร้าวแห้ง 90% (ทับสะแก) ราคากิโลกรัมละ 10.74 บาท สำหรับแหล่งผลิตจังหวัดอื่นให้กำหนดโดยเทียบเคียงจากฐานราคาเป้าหมายนำเนื้อมะพร้าวแห้ง 90% (ทับสะแก) ด้วยวิธีคำนวณราคาในแต่ละจังหวัดเพิ่ม-ลดได้ตามสัดส่วนราคาตลาดและคุณภาพ ระยะเวลารับซื้อมิถุนายน - ตุลาคม 2543 และระยะเวลาโครงการมิถุนายน 43-มกราคา 2544
นายศิริศักดิ์ อ่อนละมัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพรมีหนังสือด่วนที่สุด ที่พิเศษ/2543 ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2543 ขอให้พิจารณาขยายระยะเวลาการแทรกแซงออกไป อีกจนถึงสิ้นปี 2543 และขอให้จัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมด้วย เนื่องจากมะพร้าวของเกษตรกรยังมีจำนวนมาก
ราคา ณ แห่งผลิตตั้งแต่ต้นปี 2543 (มค.-กย.) มีแนวโน้มลดลงจนถึงปัจจุบัน (27 ตค. 43) มะพร้าวผลแก่ใหญ่ 1.84 บาท/ผล เนื้อมะพร้าวแห้ง (90%) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กิโลกรัมละ 4.65 บาท ซึ่งต่ำกว่าราคาแทรกแซงถึงกิโลกรัมละ 6.09 บาท และน้ำมันมะพร้าวดิบกรุงเทพฯ กิโลกรัมละ 9.59 บาท รวมทั้งราคาน้ำมันมะพร้าวในต่างประเทศตั้งแต่กรกฎาคม 2543 เป็นต้นมา มีราคาต่ำมาก
คณะกรรมการ คชก. ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2543 มีมติ ดังนี้
1) กำหนดราคาแทรกแซงรับซื้อเนื้อมะพร้าวแห้ง 90% จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กิโลกรัมละ 7.64 บาท สำหรับแหล่งผลิตจังหวัดอื่นๆ ให้ปรับเพิ่ม-ลดตามที่ อคส. เคยปฏิบัติ
2) อนุมัติเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มเติมอีกจำนวน 20 ล้านบาทให้ อคส. ดำเนินการแทรงแซงรับซื้อเนื้อมะพร้าวแห้ง 90% โดยระยะเวลารับซื้อให้สิ้นสุดไม่เกิน 30 พฤศจิกายน 2543 และ ระยะเวลาโครงการให้ขยายจากสิ้นสุดมกราคม 2544 เป็นสิ้นสุดกุมภาพันธ์ 2544
มันฝรั่ง : ผลการตรวจสอบหัวพันธุ์มันฝรั่งว่าเป็นพืชที่ปลอดจากการตัดต่อสารพันธุกรรม (GMOs)
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้รับแจ้งจากกรมวิชาการเกษตรเกี่ยวกับหัวพันธุ์มันฝรั่งที่ได้รับการตัดต่อพันธุกรรม (GMOs) เป็นสิ่งต้องห้ามตามประกาศกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ เรื่องกำหนดพืชจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้นและเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 ห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร ยกเว้นจะได้รับอนุญาตให้นำเข้าเพื่อการทดลองหรือวิจัยเท่านั้น ซึ่งต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกรมวิชา-การเกษตรกำหนด
ในปัจจุบันได้มีการนำเข้าหัวมันฝรั่งจากต่างประเทศเข้ามาทำพันธุ์ปลูกเป็นจำนวนมาก กรมวิชาการเกษตรในฐานะผู้รับผิดชอบการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 จึงได้ประกาศกำหนดมาตรการเกี่ยวกับการนำเข้าส่วนขยายพันธุ์และเมล็ดพันธุ์พืชจากต่างประเทศ
1. ให้นำเข้าแนบหนังสือรับรองจากประเทศผู้ส่งออกว่าส่วนขยายพันธุ์ (หัวพันธุ์ มันฝรั่ง) ดังกล่าวมิใช่พืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
2. การตรวจสอบหัวพันธุ์มันฝรั่งว่าเป็นพืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม (GMOs) หรือไม่ ใช้หลักเกณฑ์การพิจารณา ดังนี้
2.1 ในกรณีที่มีหนังสือรับรอง ว่ามิใช่พืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรมเจ้าหน้าที่กักกันพืชจะทำการสุ่มตรวจเป็นบาง shipment ขึ้นอยู่กับข้อมูลว่าประเทศที่เป็นแหล่งกำเนิดนั้นมีการผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่ง (GMOs) หรือไม่
2.2 ในกรณีที่ไม่มีหนังสือรับรองเจ้าหน้าที่กักกันพืชเพื่อตรวจสอบทุก shipment หากตรวจสอบพบว่าพันธุ์มันฝรั่ง shipment ใดเป็น GMOs กรมวิชาการเกษตรจะดำเนินการกฎหมายทันที
3.การตรวจปล่อย
3.1 กรณีที่มีหนังสือรับรองว่ามิใช่มีการตัดต่อสารพันธุกรรม จะดำเนินการตรวจปล่อยหลังจากตรวจพบว่าปราศจากศัตรูพืชที่สำคัญทางกักกันพืช
3.2 กรณีที่ไม่มีหนังสือรับรอง ว่ามิใช่พืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรมเจ้าหน้าที่กักกันพืชจะทำการสุ่มเก็บตัวอย่างและกักพืชทั้งหมดไว้เพื่อรอผลการตรวจสอบศัตรูพืช และผลการตรวจสอบ GMOs จากห้องปฏิบัติการ(ซึ่งปกติจะใช้เวลาตรวจสอบประมาณ 15 วัน)
ซึ่งในเรื่องนี้กรมวิชาการเกษตรได้เชิญภาคเอกชนที่นำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งมาประชุมเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจในเรื่องนี้ แล้วเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2543 และได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่ากรมวิชาการเกษตร ได้ดำเนินการสุ่มตัวอย่างหัวพันธุ์มันฝรั่งที่นำเข้าจากต่างประเทศต่าง ๆ เมื่อตรวจสอบ GMOs ผลการตรวจสอบ GMOs จนถึงปัจจุบันนี้ยังไม่พบหัวพันธุ์มันฝรั่งที่เป็น GMOs
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 43 ประจำวันที่ 30 ต.ค.- 5 พ.ย. 2543--
-สส-