แท็ก
อุตสาหกรรม
ภาวะธุรกิจอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน 2543
การผลิต : ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน
การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 2.0 แต่หากไม่รวมผลผลิตสุรา การผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8
- หมวดสินค้าที่ผลิตลดลงที่สำคัญ ได้แก่ หมวดเครื่องดื่ม (-46.9%) ซึ่งลดลงอย่างต่อเนื่องตามผลผลิตของโรงงานสุราที่ได้รับสัมปทานเป็นสำคัญ หมวดยาสูบ(-18.1%) ยังคงลดลงตามความต้องการของตัวแทนจำหน่าย โดยเป็นการระบายสินค้าที่ได้สต๊อกไว้ในช่วงก่อนหน้า ประกอบกับได้มีการนำเข้าบุหรี่ต่างประเทศราคาถูกมาจำหน่ายเพิ่มขึ้นทำให้ส่วนแบ่งตลาดของโรงงานยาสูบลดลง และ หมวดวัสดุก่อสร้าง (-3.4%) ลดลงอย่างต่อเนื่องตามภาวะการก่อสร้างในประเทศที่ยังคงซบเซา ประกอบกับการส่งออกปูนซิเมนต์ประสบปัญหาการแข่งขันด้านราคา
- หมวดที่ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี ได้แก่ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (+17.7%) ขยายตัวตามการส่งออกแผงวงจรไฟฟ้าและเครื่องรับโทรทัศน์ ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากพันธมิตรทางธุรกิจขยายตลาดส่งออกมากขึ้น หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (+14.2%) ขยายตัวแทบทุกผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะรถยนต์นั่ง ซึ่งผู้ประกอบการได้เปิดตัวรถรุ่นใหม่ และจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย เพื่อจูงใจให้ปริมาณจำหน่ายเป็นไปตามเป้าหมาย ประกอบกับการส่งออกรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ขยายตัวเพิ่มขึ้น หมวดอัญมณีและเครื่องประดับ (+10.2%) ขยายตัวจากความสำเร็จในการจัดงานแสดงสินค้า ทั้งในและต่างประเทศ ทำให้มีการสั่งซื้อเพิ่มขึ้น
สำหรับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 11 เดือนแรกปีนี้ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 3.1 แต่หากไม่รวมผลผลิตสุราการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 ตามการผลิตสินค้าที่ผลิตเพื่อการส่งออกเป็นสำคัญ โดยเฉพาะ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (+34.8%) หมวดอัญมณีและเครื่องประดับ (+30.5%) และหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (+26.1%) ซึ่งส่งออกรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ได้เพิ่มขึ้นมาก
การใช้กำลังการผลิต : เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย
การใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ในเดือนพฤศจิกายน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคมเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 57.9 แต่หากไม่รวมสุรา การใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 61.5
- หมวดสินค้าที่ใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่สำคัญ ได้แก่ หมวดยานยนต์ (49.6%) เพิ่มขึ้นเกือบทุกผลิตภัณฑ์ทั้งรถยนต์ รถจักรยานยนต์และแบตเตอรี่ เนื่องจากมีการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ ประกอบกับมีกิจกรรมส่งเสริมการขายเพื่อจูงใจให้ปริมาณจำหน่ายเป็นไปตามเป้าที่กำหนด รวมทั้งการส่งออกรถยนต์ในเดือนนี้ขยายตัวจากเดือนเดียวกันปีก่อนสูงถึงร้อยละ 73.9 หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก (47.4%) เพิ่มขึ้นเกือบทุกผลิตภัณฑ์ ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมยานยนต์และการขยายตัวของการส่งออก และหมวดเครื่องดื่ม(42.3%) เป็นการเพิ่มขึ้นตามการผลิตเบียร์เป็นสำคัญ เพื่อรองรับความต้องการในช่วงเทศกาลปีใหม่ สำหรับ
- หมวดที่มีการใช้กำลังผลิตลดลงที่สำคัญ ได้แก่ หมวดวัสดุก่อสร้าง (35.6%) ซึ่งลดลงตามภาวะการก่อสร้างในประเทศที่ยังซบเซา และหลายพื้นที่ประสบภาวะน้ำท่วม และ หมวดยาสูบ (42.8%) ลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากตัวแทนจำหน่ายได้ระบายสินค้าที่สต๊อกไว้ในช่วงก่อนหน้าจากการคาดว่าทางการจะปรับเพิ่มภาษีบำรุงท้องถิ่นในเขตกรุงเทพฯ ประกอบกับมีการนำเข้าบุหรี่ต่างประเทศราคาถูกเข้ามาแย่งส่วนแบ่งบุหรี่ของไทย
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
การผลิต : ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน
การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 2.0 แต่หากไม่รวมผลผลิตสุรา การผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8
- หมวดสินค้าที่ผลิตลดลงที่สำคัญ ได้แก่ หมวดเครื่องดื่ม (-46.9%) ซึ่งลดลงอย่างต่อเนื่องตามผลผลิตของโรงงานสุราที่ได้รับสัมปทานเป็นสำคัญ หมวดยาสูบ(-18.1%) ยังคงลดลงตามความต้องการของตัวแทนจำหน่าย โดยเป็นการระบายสินค้าที่ได้สต๊อกไว้ในช่วงก่อนหน้า ประกอบกับได้มีการนำเข้าบุหรี่ต่างประเทศราคาถูกมาจำหน่ายเพิ่มขึ้นทำให้ส่วนแบ่งตลาดของโรงงานยาสูบลดลง และ หมวดวัสดุก่อสร้าง (-3.4%) ลดลงอย่างต่อเนื่องตามภาวะการก่อสร้างในประเทศที่ยังคงซบเซา ประกอบกับการส่งออกปูนซิเมนต์ประสบปัญหาการแข่งขันด้านราคา
- หมวดที่ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี ได้แก่ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (+17.7%) ขยายตัวตามการส่งออกแผงวงจรไฟฟ้าและเครื่องรับโทรทัศน์ ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากพันธมิตรทางธุรกิจขยายตลาดส่งออกมากขึ้น หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (+14.2%) ขยายตัวแทบทุกผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะรถยนต์นั่ง ซึ่งผู้ประกอบการได้เปิดตัวรถรุ่นใหม่ และจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย เพื่อจูงใจให้ปริมาณจำหน่ายเป็นไปตามเป้าหมาย ประกอบกับการส่งออกรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ขยายตัวเพิ่มขึ้น หมวดอัญมณีและเครื่องประดับ (+10.2%) ขยายตัวจากความสำเร็จในการจัดงานแสดงสินค้า ทั้งในและต่างประเทศ ทำให้มีการสั่งซื้อเพิ่มขึ้น
สำหรับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 11 เดือนแรกปีนี้ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 3.1 แต่หากไม่รวมผลผลิตสุราการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 ตามการผลิตสินค้าที่ผลิตเพื่อการส่งออกเป็นสำคัญ โดยเฉพาะ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (+34.8%) หมวดอัญมณีและเครื่องประดับ (+30.5%) และหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (+26.1%) ซึ่งส่งออกรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ได้เพิ่มขึ้นมาก
การใช้กำลังการผลิต : เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย
การใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ในเดือนพฤศจิกายน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคมเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 57.9 แต่หากไม่รวมสุรา การใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 61.5
- หมวดสินค้าที่ใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่สำคัญ ได้แก่ หมวดยานยนต์ (49.6%) เพิ่มขึ้นเกือบทุกผลิตภัณฑ์ทั้งรถยนต์ รถจักรยานยนต์และแบตเตอรี่ เนื่องจากมีการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ ประกอบกับมีกิจกรรมส่งเสริมการขายเพื่อจูงใจให้ปริมาณจำหน่ายเป็นไปตามเป้าที่กำหนด รวมทั้งการส่งออกรถยนต์ในเดือนนี้ขยายตัวจากเดือนเดียวกันปีก่อนสูงถึงร้อยละ 73.9 หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก (47.4%) เพิ่มขึ้นเกือบทุกผลิตภัณฑ์ ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมยานยนต์และการขยายตัวของการส่งออก และหมวดเครื่องดื่ม(42.3%) เป็นการเพิ่มขึ้นตามการผลิตเบียร์เป็นสำคัญ เพื่อรองรับความต้องการในช่วงเทศกาลปีใหม่ สำหรับ
- หมวดที่มีการใช้กำลังผลิตลดลงที่สำคัญ ได้แก่ หมวดวัสดุก่อสร้าง (35.6%) ซึ่งลดลงตามภาวะการก่อสร้างในประเทศที่ยังซบเซา และหลายพื้นที่ประสบภาวะน้ำท่วม และ หมวดยาสูบ (42.8%) ลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากตัวแทนจำหน่ายได้ระบายสินค้าที่สต๊อกไว้ในช่วงก่อนหน้าจากการคาดว่าทางการจะปรับเพิ่มภาษีบำรุงท้องถิ่นในเขตกรุงเทพฯ ประกอบกับมีการนำเข้าบุหรี่ต่างประเทศราคาถูกเข้ามาแย่งส่วนแบ่งบุหรี่ของไทย
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-