แท็ก
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ฉบับที่ 118/2543
ธนาคารแห่งประเทศไทย ขอรายงานความคืบหน้าการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของระบบสถาบันการเงิน และลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายของ คปน. ดังต่อไปนี้
1. ความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน
ณ สิ้นเดือนกันยายน 2543 สถาบันการเงินทั้งระบบได้เร่งรัดการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพื่อแก้ไขปัญหาของลูกหนี้ที่เป็น NPL สำเร็จไปแล้ว จำนวน 310,027 ราย คิดเป็นมูลหนี้รวม 1,768,777 ล้านบาท โดยในเดือนกันยายน 2543 สถาบันการเงินมีความคืบหน้าในการดำเนินการ ดังนี้ (ตาราง 1-4)
1.1 ลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จเพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือนสิงหาคม 2543 จำนวน 15,511 ราย (เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.27) เป็นมูลหนี้ทั้งสิ้น 61,432 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.60) โดยมูลหนี้ดังกล่าวประมาณร้อยละ 70 เกิดจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของธนาคารพาณิชย์เอกชน ทั้งนี้ ลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จในเดือนกันยายนนี้ โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคธุรกิจประเภทการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล รองลงมาคือ ลูกหนี้ประเภทการค้าส่งค้าปลีก และการเกษตรประมงป่าไม้ ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังเป็นลูกหนี้ในเขตกรุงเทพมหานคร และภาคกลาง เป็นสำคัญ
1.2 ลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างการเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ มีจำนวนทั้งสิ้น 75,256 ราย มูลหนี้ 479,222 ล้านบาท ลดลงจากสิ้นเดือนสิงหาคม 2543 จำนวน 3,797 ราย มูลหนี้ 283,483 ล้านบาท ทั้งนี้ เนื่องจากมีสถาบันการเงินบางแห่งได้ดำเนินการโอนลูกหนี้ NPL ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ดูแลต่อไป
ความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายของคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (คปน.) ณ วันที่ 16 ตุลาคม 2543 ลูกหนี้เป้าหมายที่อยู่ในความดูแลของ คปน. มีจำนวนทั้งสิ้น 9,604 ราย มูลหนี้ 2,584,929 ล้านบาท เป็นลูกหนี้เป้าหมายรายใหญ่ จำนวน 2,775 ราย มูลหนี้ 2,298,362 ล้านบาท และลูกหนี้รายกลางรายย่อย จำนวน 6,829 ราย มูลหนี้ 286,567 ล้านบาท โดยมีความคืบหน้าในการดำเนินการดังนี้ (ตาราง 5)
2.1 ลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จ 5,402 ราย มูลหนี้รวม 1,119,270 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 77 ของลูกหนี้ที่ให้ความร่วมมือเข้ากระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ที่มีจำนวนทั้งสิ้น 6,988 ราย มูลหนี้ 1,587,931 ล้านบาท โดยลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายรายใหญ่กลุ่ม 1 และ 2 ซึ่งปัจจุบันจัดได้ว่ามีข้อสรุปในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เกือบครบถ้วนแล้ว มีลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จ จำนวน 328 ราย มูลหนี้ 829,785 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 70 ของจำนวนลูกหนี้เป้าหมายกลุ่มนี้ที่ให้ความร่วมมือเข้ากระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ส่วนลูกหนี้เป้าหมายกลุ่ม 3 และ 4 ปัจจุบันปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จไปแล้ว จำนวน 458 ราย มูลหนี้ 188,100 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าเมื่อมีข้อสรุปในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ครบถ้วนแล้วจะมีสัดส่วนความสำเร็จไม่แตกต่างจากลูกหนี้เป้าหมายกลุ่ม 1 และ 2 มากนัก
2.2 ลูกหนี้ที่ยังคงเหลืออยู่ในกระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของคปน. ซึ่งต้องเร่งรัดการดำเนินการต่อไปนั้น มีจำนวนทั้งสิ้น 647 ราย มูลหนี้ 112,865 ล้านบาท เป็นลูกหนี้รายใหญ่ จำนวน 311 ราย มูลหนี้ 79,214 ล้านบาท และลูกหนี้รายกลางรายย่อย จำนวน 336 ราย มูลหนี้ 33,651 ล้านบาท
ทั้งนี้ ลูกหนี้เป้าหมายรายใหญ่กลุ่ม 3 จำนวน 1,074 ราย ขณะนี้คงเหลือลูกหนี้ที่อยู่ในกระบวนการอีกเพียง 77 ราย มูลหนี้ 37,032 ล้านบาท ส่วนลูกหนี้เป้าหมายรายใหญ่กลุ่ม 4 จำนวน 999 ราย ขณะนี้คงเหลือลูกหนี้ที่อยู่ในขบวนการอีก 230 ราย มูลหนี้ 38,027 ล้านบาท (ตาราง 5)
อนึ่ง ในขณะนี้มีลูกหนี้ที่ไม่ลงนามผูกพันตนเข้าสู่กระบวนการหรือเป็นลูกหนี้ที่ไม่สามารถเจรจาตกลงกับเจ้าหนี้ได้ โดยสถาบันการเงินต้องนำเข้าสู่กระบวนการทางศาล จำนวนทั้งสิ้น 3,468 ราย ในจำนวนนี้ ส่วนใหญ่สถาบันการเงินได้นำลูกหนี้เข้าสู่กระบวนการของศาลแพ่ง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/27 ตุลาคม 2543--
-ยก-
ธนาคารแห่งประเทศไทย ขอรายงานความคืบหน้าการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของระบบสถาบันการเงิน และลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายของ คปน. ดังต่อไปนี้
1. ความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน
ณ สิ้นเดือนกันยายน 2543 สถาบันการเงินทั้งระบบได้เร่งรัดการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพื่อแก้ไขปัญหาของลูกหนี้ที่เป็น NPL สำเร็จไปแล้ว จำนวน 310,027 ราย คิดเป็นมูลหนี้รวม 1,768,777 ล้านบาท โดยในเดือนกันยายน 2543 สถาบันการเงินมีความคืบหน้าในการดำเนินการ ดังนี้ (ตาราง 1-4)
1.1 ลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จเพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือนสิงหาคม 2543 จำนวน 15,511 ราย (เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.27) เป็นมูลหนี้ทั้งสิ้น 61,432 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.60) โดยมูลหนี้ดังกล่าวประมาณร้อยละ 70 เกิดจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของธนาคารพาณิชย์เอกชน ทั้งนี้ ลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จในเดือนกันยายนนี้ โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคธุรกิจประเภทการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล รองลงมาคือ ลูกหนี้ประเภทการค้าส่งค้าปลีก และการเกษตรประมงป่าไม้ ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังเป็นลูกหนี้ในเขตกรุงเทพมหานคร และภาคกลาง เป็นสำคัญ
1.2 ลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างการเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ มีจำนวนทั้งสิ้น 75,256 ราย มูลหนี้ 479,222 ล้านบาท ลดลงจากสิ้นเดือนสิงหาคม 2543 จำนวน 3,797 ราย มูลหนี้ 283,483 ล้านบาท ทั้งนี้ เนื่องจากมีสถาบันการเงินบางแห่งได้ดำเนินการโอนลูกหนี้ NPL ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ดูแลต่อไป
ความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายของคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (คปน.) ณ วันที่ 16 ตุลาคม 2543 ลูกหนี้เป้าหมายที่อยู่ในความดูแลของ คปน. มีจำนวนทั้งสิ้น 9,604 ราย มูลหนี้ 2,584,929 ล้านบาท เป็นลูกหนี้เป้าหมายรายใหญ่ จำนวน 2,775 ราย มูลหนี้ 2,298,362 ล้านบาท และลูกหนี้รายกลางรายย่อย จำนวน 6,829 ราย มูลหนี้ 286,567 ล้านบาท โดยมีความคืบหน้าในการดำเนินการดังนี้ (ตาราง 5)
2.1 ลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จ 5,402 ราย มูลหนี้รวม 1,119,270 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 77 ของลูกหนี้ที่ให้ความร่วมมือเข้ากระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ที่มีจำนวนทั้งสิ้น 6,988 ราย มูลหนี้ 1,587,931 ล้านบาท โดยลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายรายใหญ่กลุ่ม 1 และ 2 ซึ่งปัจจุบันจัดได้ว่ามีข้อสรุปในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เกือบครบถ้วนแล้ว มีลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จ จำนวน 328 ราย มูลหนี้ 829,785 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 70 ของจำนวนลูกหนี้เป้าหมายกลุ่มนี้ที่ให้ความร่วมมือเข้ากระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ส่วนลูกหนี้เป้าหมายกลุ่ม 3 และ 4 ปัจจุบันปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จไปแล้ว จำนวน 458 ราย มูลหนี้ 188,100 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าเมื่อมีข้อสรุปในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ครบถ้วนแล้วจะมีสัดส่วนความสำเร็จไม่แตกต่างจากลูกหนี้เป้าหมายกลุ่ม 1 และ 2 มากนัก
2.2 ลูกหนี้ที่ยังคงเหลืออยู่ในกระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของคปน. ซึ่งต้องเร่งรัดการดำเนินการต่อไปนั้น มีจำนวนทั้งสิ้น 647 ราย มูลหนี้ 112,865 ล้านบาท เป็นลูกหนี้รายใหญ่ จำนวน 311 ราย มูลหนี้ 79,214 ล้านบาท และลูกหนี้รายกลางรายย่อย จำนวน 336 ราย มูลหนี้ 33,651 ล้านบาท
ทั้งนี้ ลูกหนี้เป้าหมายรายใหญ่กลุ่ม 3 จำนวน 1,074 ราย ขณะนี้คงเหลือลูกหนี้ที่อยู่ในกระบวนการอีกเพียง 77 ราย มูลหนี้ 37,032 ล้านบาท ส่วนลูกหนี้เป้าหมายรายใหญ่กลุ่ม 4 จำนวน 999 ราย ขณะนี้คงเหลือลูกหนี้ที่อยู่ในขบวนการอีก 230 ราย มูลหนี้ 38,027 ล้านบาท (ตาราง 5)
อนึ่ง ในขณะนี้มีลูกหนี้ที่ไม่ลงนามผูกพันตนเข้าสู่กระบวนการหรือเป็นลูกหนี้ที่ไม่สามารถเจรจาตกลงกับเจ้าหนี้ได้ โดยสถาบันการเงินต้องนำเข้าสู่กระบวนการทางศาล จำนวนทั้งสิ้น 3,468 ราย ในจำนวนนี้ ส่วนใหญ่สถาบันการเงินได้นำลูกหนี้เข้าสู่กระบวนการของศาลแพ่ง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/27 ตุลาคม 2543--
-ยก-