ข่าวในประเทศ
1. ธปท.อนุมัติในหลักการให้ ธพ.สามารถพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ ผู้ว่าการ ธปท.เปิดเผยว่า ธปท.อนุมัติในหลักการให้ ธพ.สามารถเข้าไปพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ ที่โอนไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์ของสถาบันการเงิน (เอเอ็มซี) ได้ แต่มีข้อกำหนดว่าต้องเป็นโครงการฯ ที่เป็นลูกหนี้เก่าของ ธพ. มิใช่เป็นการโอนลูกหนี้รายใหม่ไปยังเอเอ็มซี เพื่อให้มีสิทธิเข้าพัฒนาฯ ตามเงื่อนไข และเพื่อป้องกันมิให้ธนาคารยกมาเป็นข้อกล่าวอ้างในภายหลังว่า เจ้าหนี้มีความสามารถในการพัฒนาได้ดีกว่า ทั้งมีความเชี่ยวชาญมากพอที่จะทำธุรกิจนั้นๆ ต่อไป ธปท.จึงได้กำหนดเงื่อนไขให้ ธพ.ต้องตั้งบุคคลหรือคณะบริหารจากภายนอกเข้ามาดูแลพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ แทนเจ้าหน้าที่จากเอเอ็มซี เพราะหาก ธพ.หันมาทำบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อีกประเภทหนึ่ง เกรงว่าถ้าเกิดความเสียหายกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ก็จะมีผลกระทบต่อ ธพ.เหมือนในอดีต นอกจากนี้ ธพ.ต้องกำหนดเวลาว่าจ้างบุคคลภายนอกด้วย เพื่อป้องกันความเกี่ยวพันระหว่าง ธพ.และเจ้าที่เอเอ็มซี ซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของผู้ให้กู้ยืม สำหรับ ธพ.ที่เคยยื่นขออนุญาต ธปท.ให้เอเอ็มซีสามารถพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ได้ คือ ธ.กรุงเทพ และ ไทยพาณิชย์ เป็นต้น (ผู้จัดการรายวัน,กรุงเทพธุรกิจ 21)
2. ธปท.เตรียมออกเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับเงินกองทุนชั้นที่ 2 ของสถาบันการเงิน ผู้ว่าการ ธปท.เปิดเผยว่า ธปท.จะออกประกาศอนุญาตให้สถาบันการเงินนับตราสารประเภทกึ่งหนี้กึ่งทุน (Hybrid debt) เป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ได้ เพื่อเพิ่มช่องทางเลือกในการระดมทุน เพราะในสถานการณ์ปัจจุบันค่อนข้างลำบากที่สถาบันการเงินจะเพิ่มทุนได้ด้วยตนเอง เนื่องจากมีภาระในการตัดหนี้สูญ ซึ่งการตัดหนี้สูญออกจากบัญชี ทำให้เงินกองทุนชั้นที่ 1 ลดลง และส่งผลให้เงินกองทุนชั้นที่ 2 ต้องลดตามด้วย เพราะตามกฎหมายกำหนดว่า ต้องมีสัดส่วนอย่างละครึ่ง คือ ร้อยละ 4.25 จากเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงร้อยละ 8.5 ตามมาตรฐานบีไอเอส ทั้งนี้ การอนุญาตให้นับ Hybrid Debt เป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ได้นั้น สามารถดำเนินการได้ตามเกณฑ์ของบีไอเอส แต่กฏเกณฑ์ของ ธปท. ยังไม่มีระบุไว้ ดังนั้น ธปท.จึงต้องออกประกาศอนุญาตให้เป็นการทั่วไป ซึ่งการระดมทุนด้วยวิธีนี้ จะมีต้นทุนต่ำกว่าการระดมทุนด้วยการออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิ (มติชน,ไทยโพสต์,กรุงเทพธุรกิจ 21)
3. ความคืบหน้าการจัดตั้งไทยแลนด์ อิควิตี้ พันด์ แหล่งข่าวจาก ก.คลังเปิดเผยความคืบหน้าการจัดตั้งกองทุนเงินร่วมทุนในวิสาหกิจขนาดกลาง (ไทยแลนด์ อิควิตี้ ฟันด์) จำนวน 500 ล.ดอลลาร์ สรอ. ว่า ภายใน 1 เดือนนี้คงสามารถลงนามในสัญญาข้อตกลงร่วมกับสถาบันผู้ร่วมลงทุนได้ ซึ่งขณะนี้มีผู้ร่วมลงทุนทั้งหมด 21 ราย แบ่งเป็นสถาบันในประเทศ 7 ราย และต่างประเทศ 4 ราย ทั้งนี้ ความล่าช้าของการจัดตั้งกองทุนฯ อยู่ที่การร่างสัญญาข้อตกลงเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย จึงจำเป็นต้องใช้เวลาพอสมควรที่ต้องเจรจาต่อรองให้เป็นที่พอใจ ส่วนประเด็นที่เป็นปัญหามีเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับข้อกฎหมายของประเทศนั้นๆ โดยปัญหาต่างๆ นั้นต้องนำไปประกอบการพิจารณาเพิ่มเติม เพื่อให้คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) อนุมัติจัดตั้งกองทุนฯ ซึ่งขณะนี้ได้ยื่นขอไปยัง ก.ล.ต.แล้ว.(กรุงเทพธุรกิจ 21)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวมของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 และดัชนีภาคอุตสาหกรรมระดับกลางเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ในเดือน มิ.ย.43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 21 ส.ค.43 ก.การค้าและอุตสาหกรรมระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (MITI) รายงานว่า เดือน มิ.ย.43 ดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวม ที่ปรับตามฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในเดือน พ.ค.43 เพิ่มสูงกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นโดยมีค่ากลางที่ร้อยละ 0.8 ทางด้านดัชนีภาคอุตสาหกรรมระดับกลาง (Tertiary sector index) ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวม และใช้เป็นเครื่องวัดภาวะอุตสาหกรรมภาคบริการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ในเดือน พ.ค.43 เพิ่มสูงกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นโดยมีค่ากลางที่ร้อยละ 0.5 โดยในไตรมาสเดือน เม.ย.-มิ.ย.43 ดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 จากไตรมาสก่อน ขณะเดียวกัน ดัชนีภาคอุตสาหกรรมระดับกลางเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 6 ทั้ง 2 รายการ ทั้งนี้ MITI กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวมแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจของญี่ปุ่นมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง (รอยเตอร์ 21)
2. สรอ. ขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นเป็นมูลค่า 30.62 พัน ล. ดอลลาร์ในเดือน มิ.ย. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 18 ส.ค. 43 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า เดือน มิ.ย. 43 สรอ. ขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 อยู่ที่มูลค่า 30.62 พัน ล. ดอลลาร์ จากตัวเลขที่ปรับแล้วในเดือน พ.ค. 43 ขาดดุลมูลค่า 30.31 พัน ล. ดอลลาร์ โดยในเดือน มิ.ย. 43 การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 อยู่ที่มูลค่า 90.56 พัน ล. ดอลลาร์ จากมูลค่า 86.57 พัน ล. ดอลลาร์ ในเดือน พ.ค. 43 ขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 ที่มูลค่า 121.18 พัน ล. ดอลลาร์ จากมูลค่า 116.87 พัน ล. ดอลลาร์ ในเดือน พ.ค. 43 อนึ่ง การที่ สรอ. ขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นครั้งนี้ เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นได้ชดเชยกับการส่งออกที่เพิ่มขึ้น โดย สรอ. ขาดดุลการค้ากับจีนและแคนาดาเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ โดยขาดดุลฯ กับจีน เพิ่มขึ้นเป็นมูลค่า 7.22 พัน ล. ดอลลาร์ จากมูลค่า 6.31 พัน ล. ดอลลาร์ ในเดือน พ.ค. 43 และขาดดุลฯกับแคนาดา เพิ่มขึ้นเป็นมูลค่า 4.34 พัน ล. ดอลลาร์ จากมูลค่า 3.72 พัน ล. ดอลลาร์ ในเดือน พ.ค. 43 (รอยเตอร์ 18)
3. ธพ. ชั้นนำของ ญี่ปุ่นขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับลูกค้าชั้นดี รายงานจากโตเกียวเมื่อ 18 ส.ค. 43 Bank of Tokyo-Mitsubishi (BTM) ซึ่งเป็น ธพ. อันดับใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้นสำหรับลูกค้าชั้นดี เป็นร้อยละ 1.5 จากร้อยละ 1.375 โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 ส.ค. 43 การขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ ธ. กลางญี่ปุ่นตัดสินใจยุติการใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยเป็น0 และขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ข้ามคืนเป็นร้อยละ 0.25 เมื่อวันศุกร์ที่ 11 ส.ค. 43 (รอยเตอร์ 18)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 18ส.ค. 43 41.059(40.719)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน)ณสิ้นวันทำการ 18ส.ค.43
ซื้อ 40.8671 (40.4826) ขาย 41.1717 (40.7988)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,400 (5,400) ขาย 5,500 (5,500)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 28.44(28.20)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 13.89 (13.89)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.อนุมัติในหลักการให้ ธพ.สามารถพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ ผู้ว่าการ ธปท.เปิดเผยว่า ธปท.อนุมัติในหลักการให้ ธพ.สามารถเข้าไปพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ ที่โอนไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์ของสถาบันการเงิน (เอเอ็มซี) ได้ แต่มีข้อกำหนดว่าต้องเป็นโครงการฯ ที่เป็นลูกหนี้เก่าของ ธพ. มิใช่เป็นการโอนลูกหนี้รายใหม่ไปยังเอเอ็มซี เพื่อให้มีสิทธิเข้าพัฒนาฯ ตามเงื่อนไข และเพื่อป้องกันมิให้ธนาคารยกมาเป็นข้อกล่าวอ้างในภายหลังว่า เจ้าหนี้มีความสามารถในการพัฒนาได้ดีกว่า ทั้งมีความเชี่ยวชาญมากพอที่จะทำธุรกิจนั้นๆ ต่อไป ธปท.จึงได้กำหนดเงื่อนไขให้ ธพ.ต้องตั้งบุคคลหรือคณะบริหารจากภายนอกเข้ามาดูแลพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ แทนเจ้าหน้าที่จากเอเอ็มซี เพราะหาก ธพ.หันมาทำบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อีกประเภทหนึ่ง เกรงว่าถ้าเกิดความเสียหายกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ก็จะมีผลกระทบต่อ ธพ.เหมือนในอดีต นอกจากนี้ ธพ.ต้องกำหนดเวลาว่าจ้างบุคคลภายนอกด้วย เพื่อป้องกันความเกี่ยวพันระหว่าง ธพ.และเจ้าที่เอเอ็มซี ซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของผู้ให้กู้ยืม สำหรับ ธพ.ที่เคยยื่นขออนุญาต ธปท.ให้เอเอ็มซีสามารถพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ได้ คือ ธ.กรุงเทพ และ ไทยพาณิชย์ เป็นต้น (ผู้จัดการรายวัน,กรุงเทพธุรกิจ 21)
2. ธปท.เตรียมออกเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับเงินกองทุนชั้นที่ 2 ของสถาบันการเงิน ผู้ว่าการ ธปท.เปิดเผยว่า ธปท.จะออกประกาศอนุญาตให้สถาบันการเงินนับตราสารประเภทกึ่งหนี้กึ่งทุน (Hybrid debt) เป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ได้ เพื่อเพิ่มช่องทางเลือกในการระดมทุน เพราะในสถานการณ์ปัจจุบันค่อนข้างลำบากที่สถาบันการเงินจะเพิ่มทุนได้ด้วยตนเอง เนื่องจากมีภาระในการตัดหนี้สูญ ซึ่งการตัดหนี้สูญออกจากบัญชี ทำให้เงินกองทุนชั้นที่ 1 ลดลง และส่งผลให้เงินกองทุนชั้นที่ 2 ต้องลดตามด้วย เพราะตามกฎหมายกำหนดว่า ต้องมีสัดส่วนอย่างละครึ่ง คือ ร้อยละ 4.25 จากเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงร้อยละ 8.5 ตามมาตรฐานบีไอเอส ทั้งนี้ การอนุญาตให้นับ Hybrid Debt เป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ได้นั้น สามารถดำเนินการได้ตามเกณฑ์ของบีไอเอส แต่กฏเกณฑ์ของ ธปท. ยังไม่มีระบุไว้ ดังนั้น ธปท.จึงต้องออกประกาศอนุญาตให้เป็นการทั่วไป ซึ่งการระดมทุนด้วยวิธีนี้ จะมีต้นทุนต่ำกว่าการระดมทุนด้วยการออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิ (มติชน,ไทยโพสต์,กรุงเทพธุรกิจ 21)
3. ความคืบหน้าการจัดตั้งไทยแลนด์ อิควิตี้ พันด์ แหล่งข่าวจาก ก.คลังเปิดเผยความคืบหน้าการจัดตั้งกองทุนเงินร่วมทุนในวิสาหกิจขนาดกลาง (ไทยแลนด์ อิควิตี้ ฟันด์) จำนวน 500 ล.ดอลลาร์ สรอ. ว่า ภายใน 1 เดือนนี้คงสามารถลงนามในสัญญาข้อตกลงร่วมกับสถาบันผู้ร่วมลงทุนได้ ซึ่งขณะนี้มีผู้ร่วมลงทุนทั้งหมด 21 ราย แบ่งเป็นสถาบันในประเทศ 7 ราย และต่างประเทศ 4 ราย ทั้งนี้ ความล่าช้าของการจัดตั้งกองทุนฯ อยู่ที่การร่างสัญญาข้อตกลงเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย จึงจำเป็นต้องใช้เวลาพอสมควรที่ต้องเจรจาต่อรองให้เป็นที่พอใจ ส่วนประเด็นที่เป็นปัญหามีเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับข้อกฎหมายของประเทศนั้นๆ โดยปัญหาต่างๆ นั้นต้องนำไปประกอบการพิจารณาเพิ่มเติม เพื่อให้คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) อนุมัติจัดตั้งกองทุนฯ ซึ่งขณะนี้ได้ยื่นขอไปยัง ก.ล.ต.แล้ว.(กรุงเทพธุรกิจ 21)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวมของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 และดัชนีภาคอุตสาหกรรมระดับกลางเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ในเดือน มิ.ย.43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 21 ส.ค.43 ก.การค้าและอุตสาหกรรมระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (MITI) รายงานว่า เดือน มิ.ย.43 ดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวม ที่ปรับตามฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในเดือน พ.ค.43 เพิ่มสูงกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นโดยมีค่ากลางที่ร้อยละ 0.8 ทางด้านดัชนีภาคอุตสาหกรรมระดับกลาง (Tertiary sector index) ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวม และใช้เป็นเครื่องวัดภาวะอุตสาหกรรมภาคบริการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ในเดือน พ.ค.43 เพิ่มสูงกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นโดยมีค่ากลางที่ร้อยละ 0.5 โดยในไตรมาสเดือน เม.ย.-มิ.ย.43 ดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 จากไตรมาสก่อน ขณะเดียวกัน ดัชนีภาคอุตสาหกรรมระดับกลางเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 6 ทั้ง 2 รายการ ทั้งนี้ MITI กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวมแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจของญี่ปุ่นมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง (รอยเตอร์ 21)
2. สรอ. ขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นเป็นมูลค่า 30.62 พัน ล. ดอลลาร์ในเดือน มิ.ย. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 18 ส.ค. 43 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า เดือน มิ.ย. 43 สรอ. ขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 อยู่ที่มูลค่า 30.62 พัน ล. ดอลลาร์ จากตัวเลขที่ปรับแล้วในเดือน พ.ค. 43 ขาดดุลมูลค่า 30.31 พัน ล. ดอลลาร์ โดยในเดือน มิ.ย. 43 การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 อยู่ที่มูลค่า 90.56 พัน ล. ดอลลาร์ จากมูลค่า 86.57 พัน ล. ดอลลาร์ ในเดือน พ.ค. 43 ขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 ที่มูลค่า 121.18 พัน ล. ดอลลาร์ จากมูลค่า 116.87 พัน ล. ดอลลาร์ ในเดือน พ.ค. 43 อนึ่ง การที่ สรอ. ขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นครั้งนี้ เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นได้ชดเชยกับการส่งออกที่เพิ่มขึ้น โดย สรอ. ขาดดุลการค้ากับจีนและแคนาดาเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ โดยขาดดุลฯ กับจีน เพิ่มขึ้นเป็นมูลค่า 7.22 พัน ล. ดอลลาร์ จากมูลค่า 6.31 พัน ล. ดอลลาร์ ในเดือน พ.ค. 43 และขาดดุลฯกับแคนาดา เพิ่มขึ้นเป็นมูลค่า 4.34 พัน ล. ดอลลาร์ จากมูลค่า 3.72 พัน ล. ดอลลาร์ ในเดือน พ.ค. 43 (รอยเตอร์ 18)
3. ธพ. ชั้นนำของ ญี่ปุ่นขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับลูกค้าชั้นดี รายงานจากโตเกียวเมื่อ 18 ส.ค. 43 Bank of Tokyo-Mitsubishi (BTM) ซึ่งเป็น ธพ. อันดับใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้นสำหรับลูกค้าชั้นดี เป็นร้อยละ 1.5 จากร้อยละ 1.375 โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 ส.ค. 43 การขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ ธ. กลางญี่ปุ่นตัดสินใจยุติการใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยเป็น0 และขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ข้ามคืนเป็นร้อยละ 0.25 เมื่อวันศุกร์ที่ 11 ส.ค. 43 (รอยเตอร์ 18)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 18ส.ค. 43 41.059(40.719)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน)ณสิ้นวันทำการ 18ส.ค.43
ซื้อ 40.8671 (40.4826) ขาย 41.1717 (40.7988)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,400 (5,400) ขาย 5,500 (5,500)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 28.44(28.20)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 13.89 (13.89)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-