คณะผู้แทน USTR นำโดย Ms. Barbara Weisel, Assistant Deputy USTR for Bilateral Asia Affairs ได้เข้าพบหารือกับอธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2544 เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับการเจรจารอบใหม่ของ WTO และการเตรียมการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-สหรัฐฯ (AEM/USTR) ในเดือนกันยายน ศกนี้
ไทยได้สอบถามท่าทีของสหรัฐฯเกี่ยวกับการเจรจารอบใหม่ ความคืบหน้าการขอ Trade Promotion Authority (TPA) หรือ Fast Track เดิม การแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามพันธกรณีในความตกลงต่างๆของ WTO (implementation-related issues) โดยเฉพาะความตกลงว่าด้วยการตอบโต้การทุ่มตลาด ความตกลงสิ่งทอและเสื้อผ้า ความตกลงว่าด้วยการอุดหนุน TRIPS เป็นต้น
Ms.Weisel ให้ความเห็นว่า สหรัฐฯ มีความเห็นในเชิงบวกมาก เกี่ยวกับการเปิดการเจรจารอบใหม่ และต้องการมีบทบาทนำในกระบวนการผลักดันให้มีการเปิดการเจรจารอบใหม่ ถึงแม้ขณะนี้สหรัฐฯ จะยังไม่ได้รับอำนาจในการเจรจาส่งเสริมการค้า (TPA) ในขณะนี้ เนื่องจากสหรัฐฯไม่จำเป็นต้องใช้ TPA เพื่อเปิดการเจรจารอบใหม่ และมีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะให้มีการเปิดการเจรจารอบใหม่ไม่ว่าประธานาธิบดีบุชจะได้รับ TPA หรือไม่ก็ตาม อย่างไรก็ตาม ฝ่ายบริหารได้พยายามดำเนินการอยู่ และมีแนวโน้มจะได้รับการสนับสนุน สำหรับในเรื่องการปฏิบัติตามพันธกรณีความตกลง WTO โดยเฉพาะในเรื่องการแก้ไขความตกลงว่าด้วยการตอบโต้การทุ่มตลาด สหรัฐฯ เห็นว่าจะต้องอยู่ในกรอบของการเจรจารอบใหม่
ในเรื่องเกี่ยวกับเรื่องการค้าและสิ่งแวดล้อม และเรื่องการค้าและมาตรฐานแรงงาน ขณะนี้ สหรัฐฯได้จัดทำ Labor and Environment "toolbox" ขึ้นมา ซึ่งเป็นแนวทางการดำเนินการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและปรับระดับมาตรฐานแรงงาน โดยเน้นเจรจาในกรอบอื่นๆ อาทิ กรอบความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ เช่น IMF, World Bank, WHO, ILO, UN เป็นต้น ซึ่งไทยเห็นว่าการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ 4 ที่กาตาร์ นั้น ควรมีความชัดเจนว่ามาตรฐานแรงงานต้องอยู่นอกกรอบ WTO
สำหรับนโยบายอุตสาหกรรมเหล็กของสหรัฐฯ สหรัฐฯแจ้งว่า นโยบายเหล็กของสหรัฐฯจะดำเนิน 3 แนวทางพร้อมๆกัน คือ (1) เริ่มการเจรจากับประเทศคู่ค้าเพื่อหาทางที่จะลด หรือจำกัดกำลังการผลิตเหล็ก เพื่อไม่ให้ล้นความต้องการของตลาดโลก (2) เริ่มการเจรจากับประเทศคู่ค้าเพื่อจัดทำกฎระเบียบที่จะกำกับดูแลการค้าเหล็กในอนาคต และ (3) ขอให้ ITC (International Trade Commission) เปิดไต่สวนภายใต้มาตรา 201 Trade Act of 1974 เพื่อใช้มาตรการปกป้อง (safeguard) กรณีเหล็กที่นำเข้าก่อให้เกิดความเสียหายกับอุตสาหกรรมภายในของสหรัฐฯ ซึ่งคาดว่าจะผ่านการพิจารณาในสัปดาห์นี้
ส่วนความคืบหน้าเรื่องที่สหรัฐฯได้ตกลงกับจีนในเรื่องการเข้าเป็นสมาชิก WTO โดยเฉพาะในเรื่องสถานะของประเทศกำลังพัฒนาในความตกลงเกษตร ซึ่งสหรัฐฯแจ้งว่า ได้ทราบข่าว แต่ยังไม่มีรายละเอียด (อย่างไรก็ตามขณะนี้มีกระแสข่าวล่าสุดว่า สหรัฐฯยอมให้จีนใช้การอุดหนุนภายในขั้นต่ำ (deminimis) ได้ในระดับร้อยละ 8.5 ของมูลค่าการผลิตสินค้าเกษตรในปีนั้นๆ)
ในการหารือครั้งนี้ สหรัฐฯ ขอทราบท่าทีไทยในเรื่องการเจรจาภายใต้กรอบ WTO รอบใหม่ และการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ 4 ที่เมืองกาตาร์ ในเดือนพฤศจิกายน ศกนี้ ซึ่งไทยได้ให้ความเห็นว่าไทยให้ความสำคัญกับเรื่องการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามพันธกรณีในความตกลงต่างๆที่เกิดจากการเจรจารอบอุรุกวัย โดยเฉพาะความตกลงการค้าสินค้าเกษตร ความตกลงว่าด้วยสิ่งทอและเสื้อผ้า บทบัญญัติในเรื่องของการปฏิบัติที่เป็นพิเศษและแตกต่าง ความตกลงว่าด้วยการอุดหนุน และความตกลงว่าด้วยมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด โดยเห็นว่าอาจจำเป็นต้องมีการทบทวน/แก้ไขความตกลงดังกล่าวเพื่อให้กระบวนการแก้ไขปัญหา implementation มีผลคืบหน้าที่เป็นรูปธรรมโดยเร็ว และควรจะต้องเน้นในเรื่องของการเสริมสร้างสมรรถนะและการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศกำลังพัฒนาในการปฏิบัติตามพันธกรณีในความตกลงต่างๆ
และหากจะมีการเจรจารอบใหม่ที่ กาตาร์ รัฐมนตรีจะต้องมี mandate สำหรับเรื่องเกษตรในการเจรจารอบใหม่จะต้องมากกว่ามาตรา 20 ของความตกลงเกษตร (Article 20 plus) รวมทั้งมีการกำหนดระยะเวลาในการเจรจาเพื่อปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตรให้เท่าเทียมกับการค้าสินค้าอื่นๆ สำหรับเรื่อง Singapore issues เช่น การลงทุน การแข่งขัน ไทยเห็นว่า คณะทำงานต่างๆที่จัดตั้งขึ้นมาควรดำเนินการศึกษาเพิ่มเติม ซึ่งฝ่ายสหรัฐฯก็เห็นด้วย และเน้นว่าประเทศสมาชิกควรจะต้องพยายามตกลงเกี่ยวกับ agenda การเจรจารอบใหม่ไม่ใช่เจรจาผลสรุปล่วงหน้า แต่ไทยอาจพร้อมที่จะเจรจาในบางเรื่อง เช่น ภาษีอุตสาหกรรม พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การอำนวยความสะดวกทางการค้า และความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ
สหรัฐฯได้สอบถามความคืบหน้าของการดำเนินการเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) และความเห็นของอาเซียนเกี่ยวกับการจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างสหรัฐฯกับสิงคโปร์ด้วย
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
ไทยได้สอบถามท่าทีของสหรัฐฯเกี่ยวกับการเจรจารอบใหม่ ความคืบหน้าการขอ Trade Promotion Authority (TPA) หรือ Fast Track เดิม การแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามพันธกรณีในความตกลงต่างๆของ WTO (implementation-related issues) โดยเฉพาะความตกลงว่าด้วยการตอบโต้การทุ่มตลาด ความตกลงสิ่งทอและเสื้อผ้า ความตกลงว่าด้วยการอุดหนุน TRIPS เป็นต้น
Ms.Weisel ให้ความเห็นว่า สหรัฐฯ มีความเห็นในเชิงบวกมาก เกี่ยวกับการเปิดการเจรจารอบใหม่ และต้องการมีบทบาทนำในกระบวนการผลักดันให้มีการเปิดการเจรจารอบใหม่ ถึงแม้ขณะนี้สหรัฐฯ จะยังไม่ได้รับอำนาจในการเจรจาส่งเสริมการค้า (TPA) ในขณะนี้ เนื่องจากสหรัฐฯไม่จำเป็นต้องใช้ TPA เพื่อเปิดการเจรจารอบใหม่ และมีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะให้มีการเปิดการเจรจารอบใหม่ไม่ว่าประธานาธิบดีบุชจะได้รับ TPA หรือไม่ก็ตาม อย่างไรก็ตาม ฝ่ายบริหารได้พยายามดำเนินการอยู่ และมีแนวโน้มจะได้รับการสนับสนุน สำหรับในเรื่องการปฏิบัติตามพันธกรณีความตกลง WTO โดยเฉพาะในเรื่องการแก้ไขความตกลงว่าด้วยการตอบโต้การทุ่มตลาด สหรัฐฯ เห็นว่าจะต้องอยู่ในกรอบของการเจรจารอบใหม่
ในเรื่องเกี่ยวกับเรื่องการค้าและสิ่งแวดล้อม และเรื่องการค้าและมาตรฐานแรงงาน ขณะนี้ สหรัฐฯได้จัดทำ Labor and Environment "toolbox" ขึ้นมา ซึ่งเป็นแนวทางการดำเนินการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและปรับระดับมาตรฐานแรงงาน โดยเน้นเจรจาในกรอบอื่นๆ อาทิ กรอบความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ เช่น IMF, World Bank, WHO, ILO, UN เป็นต้น ซึ่งไทยเห็นว่าการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ 4 ที่กาตาร์ นั้น ควรมีความชัดเจนว่ามาตรฐานแรงงานต้องอยู่นอกกรอบ WTO
สำหรับนโยบายอุตสาหกรรมเหล็กของสหรัฐฯ สหรัฐฯแจ้งว่า นโยบายเหล็กของสหรัฐฯจะดำเนิน 3 แนวทางพร้อมๆกัน คือ (1) เริ่มการเจรจากับประเทศคู่ค้าเพื่อหาทางที่จะลด หรือจำกัดกำลังการผลิตเหล็ก เพื่อไม่ให้ล้นความต้องการของตลาดโลก (2) เริ่มการเจรจากับประเทศคู่ค้าเพื่อจัดทำกฎระเบียบที่จะกำกับดูแลการค้าเหล็กในอนาคต และ (3) ขอให้ ITC (International Trade Commission) เปิดไต่สวนภายใต้มาตรา 201 Trade Act of 1974 เพื่อใช้มาตรการปกป้อง (safeguard) กรณีเหล็กที่นำเข้าก่อให้เกิดความเสียหายกับอุตสาหกรรมภายในของสหรัฐฯ ซึ่งคาดว่าจะผ่านการพิจารณาในสัปดาห์นี้
ส่วนความคืบหน้าเรื่องที่สหรัฐฯได้ตกลงกับจีนในเรื่องการเข้าเป็นสมาชิก WTO โดยเฉพาะในเรื่องสถานะของประเทศกำลังพัฒนาในความตกลงเกษตร ซึ่งสหรัฐฯแจ้งว่า ได้ทราบข่าว แต่ยังไม่มีรายละเอียด (อย่างไรก็ตามขณะนี้มีกระแสข่าวล่าสุดว่า สหรัฐฯยอมให้จีนใช้การอุดหนุนภายในขั้นต่ำ (deminimis) ได้ในระดับร้อยละ 8.5 ของมูลค่าการผลิตสินค้าเกษตรในปีนั้นๆ)
ในการหารือครั้งนี้ สหรัฐฯ ขอทราบท่าทีไทยในเรื่องการเจรจาภายใต้กรอบ WTO รอบใหม่ และการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ 4 ที่เมืองกาตาร์ ในเดือนพฤศจิกายน ศกนี้ ซึ่งไทยได้ให้ความเห็นว่าไทยให้ความสำคัญกับเรื่องการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามพันธกรณีในความตกลงต่างๆที่เกิดจากการเจรจารอบอุรุกวัย โดยเฉพาะความตกลงการค้าสินค้าเกษตร ความตกลงว่าด้วยสิ่งทอและเสื้อผ้า บทบัญญัติในเรื่องของการปฏิบัติที่เป็นพิเศษและแตกต่าง ความตกลงว่าด้วยการอุดหนุน และความตกลงว่าด้วยมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด โดยเห็นว่าอาจจำเป็นต้องมีการทบทวน/แก้ไขความตกลงดังกล่าวเพื่อให้กระบวนการแก้ไขปัญหา implementation มีผลคืบหน้าที่เป็นรูปธรรมโดยเร็ว และควรจะต้องเน้นในเรื่องของการเสริมสร้างสมรรถนะและการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศกำลังพัฒนาในการปฏิบัติตามพันธกรณีในความตกลงต่างๆ
และหากจะมีการเจรจารอบใหม่ที่ กาตาร์ รัฐมนตรีจะต้องมี mandate สำหรับเรื่องเกษตรในการเจรจารอบใหม่จะต้องมากกว่ามาตรา 20 ของความตกลงเกษตร (Article 20 plus) รวมทั้งมีการกำหนดระยะเวลาในการเจรจาเพื่อปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตรให้เท่าเทียมกับการค้าสินค้าอื่นๆ สำหรับเรื่อง Singapore issues เช่น การลงทุน การแข่งขัน ไทยเห็นว่า คณะทำงานต่างๆที่จัดตั้งขึ้นมาควรดำเนินการศึกษาเพิ่มเติม ซึ่งฝ่ายสหรัฐฯก็เห็นด้วย และเน้นว่าประเทศสมาชิกควรจะต้องพยายามตกลงเกี่ยวกับ agenda การเจรจารอบใหม่ไม่ใช่เจรจาผลสรุปล่วงหน้า แต่ไทยอาจพร้อมที่จะเจรจาในบางเรื่อง เช่น ภาษีอุตสาหกรรม พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การอำนวยความสะดวกทางการค้า และความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ
สหรัฐฯได้สอบถามความคืบหน้าของการดำเนินการเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) และความเห็นของอาเซียนเกี่ยวกับการจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างสหรัฐฯกับสิงคโปร์ด้วย
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-