บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๑
ครั้งที่ ๓๕ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๒๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
---------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๐.๓๕ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง และนายบุญชง วีสมหมาย รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง
ขึ้นบัลลังก์
ประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวเปิดประชุม และได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. เรื่องนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไว้เพื่อพิจารณาให้คำรับรอง
จำนวน ๑ ฉบับ คือ ร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. …. ซึ่ง ร้อยโท กุเทพ ใสกระจ่าง กับคณะ เป็นผู้เสนอ
ที่ประชุมรับทราบภายหลังการอภิปรายของสมาชิกฯ
๒. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๓๗ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันศุกร์ที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๔
ที่ประชุมได้รับทราบรายงานผลการตรวจสอบรายงานการเงินของแผ่นดินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๒
ตามมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๒ แล้ว
๓. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๓๗ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันศุกร์ที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๔
ที่ประชุมได้ลงมติให้ขยายเวลาการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติออกไปเป็นกรณีพิเศษอีก ๓๐ วันนับแต่
วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ รวม ๒ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. …
(๒) ร่างพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ที่ประชุมรับทราบ
๔. เรื่องคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้นำบันทึกเหตุผลของร่างพระราชบัญญัติตามที่กรรมาธิการ
ได้ขอแก้ไขไว้ในข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรม
ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ. …. ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
ที่ประชุมรับทราบภายหลังการอภิปรายของสมาชิกฯ
๕. เรื่องแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ตามมาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒
เมื่อสมาชิกฯ ได้อภิปรายและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ตอบ
ชี้แจงแล้ว แต่เนื่องจากแผนปฏิบัติการดังกล่าว มีรายละเอียดที่ต้องศึกษาอย่างรอบคอบ ที่ประชุมจึง
เห็นชอบให้เลื่อนระเบียบวาระเรื่องนี้ไปพิจารณาในสมัยประชุมสามัญทั่วไป
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุมสภา
ผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๑ จำนวน ๒ ครั้ง คือ
ครั้งที่ ๑๘ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพฤหัสบดีที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๔๔
ครั้งที่ ๑๙ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๔๔
ที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมทั้ง ๒ ครั้งดังกล่าว
ต่อมา ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุมโดยขอให้นำระเบียบวาระ
เรื่องด่วนที่ ๑๕, ๑๙, ๑๒ และ ๑๑ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องด่วน ตามมติที่ประชุม ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๕) โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติ
ทำนองเดียวกันอีก ๑ ฉบับ ขึ้นพิจารณารวมกันไป คือ ร่างพระราชบัญญัติธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและ
ขนาดย่อมแห่งประเทศไทย พ.ศ. …. ซึ่ง นายประมณฑ์ คุณะเกษม กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และผู้เสนอได้เแถลงหลักการและเหตุผลตามลำดับ
โดยมีรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งได้ขึ้นมาปฏิบัติหน้าที่แทน มีสมาชิกฯ อภิปรายรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงอุตสาหกรรม ตอบชี้แจง จนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่าง
พระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับพร้อมกันไป และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา
โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายวราเทพ รัตนากร ๒. นางสุมลมาลย์ กัลยาศิริ
๓. ร้อยโท นพดล พันธุ์กระวี ๔. นายนิพนธ์ ฮะกีมี
๕. นายกนก อภิรดี ๖. นายบุรินทร์ หิรัญบูรณะ
๗. นายโสภณ เพชรสว่าง ๘. นายสงวน พงษ์มณี
๙. นายวิทยา บุรณศิริ ๑๐. พันตำรวจโท บรรยิน ตั้งอาภรณ์
๑๑. นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ ๑๒. นายประมณฑ์ คุณะเกษม
๑๓. นายรุ่งเรือง พิทยศิริ ๑๔. นายอนุชา นาคาศัย
๑๕. นายไพศาล พืชมงคล ๑๖. นายวิจิตร สุพินิจ
๑๗. นายกิตติเดช สูตรสุคนธ์ ๑๘. นายนิพัทธ พุกกะณะสุต
๑๙. นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ ๒๐. นายบุญทรง เตริยาภิรมย์
๒๑. นายพิมล ศรีวิกรม์ ๒๒. นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
๒๓. นายจุติ ไกรฤกษ์ ๒๔. นายสรรเสริญ สมะลาภา
๒๕. นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ๒๖. นายเกียรติ สิทธิอมร
๒๗. นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ๒๘. นายธนญ ตันติสุนทร
๒๙. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ๓๐. นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ
๓๑. นายเกษม สรศักดิ์เกษม ๓๒. นายเฉลิมชัย อุฬารกุล
๓๓. ว่าที่พันตรี สรชาติ สุวรรณพรหม ๓๔. นายกรพจน์ อัศวินวิจิตร
๓๕. นายปานปรีย์ มหิทธานุกร
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๒. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๙) โดยที่ประชุมเห็นชอบ ให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๓ ฉบับ
ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานบุคคลในคดีอาญา พ.ศ. …. ซึ่ง นายสุทัศน์ เงินหมื่น กับคณะ
เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๐)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. …. ซึ่งนายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ และนาย
ณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ เป็นผู้เสนอ (ยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
(๓) ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. …. ซึ่ง นายปิติพงศ์ เต็มเจริญ กับคณะ
เป็นผู้เสนอ (ยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และผู้เสนอได้เแถลงหลักการและเหตุผลตามลำดับ โดยมี
ประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สองผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม
มีสมาชิกฯ อภิปราย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้
ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๔ ฉบับพร้อมกันไป และมีมติให้ตั้งคณะ
กรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการ
พิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ๒. รองศาสตราจารย์ธงทอง จันทรางศุ
๓. นางสาวรัตนาวดี สมบูรณ์ ๔. นายวรรณชัย บุญบำรุง
๕. นายศักดา วะสมบัติ ๖. นายสุวัฒน์ วรรณศิริกุล
๗. นายปิยะณัฐ วัชราภรณ์ ๘. นายเอกภาพ พลซื่อ
๙. นายสามารถ แก้วมีชัย ๑๐. นายสิทธิชัย โควสุรัตน์
๑๑. นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล ๑๒. นายไพศาล จันทรภักดี
๑๓. นายวัฒนา เซ่งไพเราะ ๑๔. นายเอกธนัช อินทร์รอด
๑๕. นายสมบูรณ์ ไพรวัลย์ ๑๖. นายพงษ์ศักดิ์ วรปัญญา
๑๗. นายปิติพงศ์ เต็มเจริญ ๑๘. นายอรรถพล สนิทวงศ์ชัย
๑๙. พันตำรวจโท นฤชา สุวรรณลาภา ๒๐. นายโอภาส อาจารวงศ์
๒๑. นายสุรชัย พันธุมาศ ๒๒. นายสุทัศน์ เงินหมื่น
๒๓. นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ๒๔. นายนคร มาฉิม
๒๕. นายสุวโรช พะลัง ๒๖. นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์
๒๗. นายนิพนธ์ บุญญามณี ๒๘. นายสาธิต ปิตุเตชะ
๒๙. นายสราวุธ เบญจกุล ๓๐. พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์
๓๑. นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ๓๒. นายนัจมุดดีน อูมา
๓๓. นายประชุม ทองมี ๓๔. นายวิสิทธิ์ พิทยาภรณ์
๓๕. นายวันชัย สอนศิริ
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอนำระเบียบวาระที่ ๗ เรื่องอื่น ๆ คือ
ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา จำนวน ๓ คณะแทนตำแหน่งที่ว่างลง ขึ้นมาพิจารณา ซึ่งที่ประชุม
เห็นชอบ
ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระ เรื่องอื่น ๆ ตามลำดับ คือ
๑ ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม แทน
ตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๒)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ เป็นกรรมาธิการแทน นายเสริมศักดิ์ การุญ
๒. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง แทนตำแหน่งที่
ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๓)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายวารุจ ศิริวัฒน์ เป็นกรรมาธิการแทน นายประวิช รัตนเพียร
๓. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ แทนตำแหน่ง
ที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายนพดล อินนา เป็นกรรมาธิการแทน นายเจริญ จรรย์โกมล
ก่อนเลิกประชุม ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้สรุปผลงานของสภาผู้แทนราษฎรในสมัยประชุม
สามัญนิติบัญญัติ จากนั้น ได้ให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรอ่านพระบรมราชโองการ ประกาศ
พระราชกฤษฎีกาปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุม สามัญนิติบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๔๔ ให้ที่ประชุมรับทราบ
เลิกประชุมเวลา ๑๗.๔๕ นาฬิกา
ศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ
(นางศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๐ ๒๓๕๗ ๓๑๐๐ ต่อ ๓๒๒๘, ๓๒๓๐-๓๑
โทรสาร ๐ ๒๓๕๗ ๓๒๑๑
ครั้งที่ ๓๕ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๒๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
---------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๐.๓๕ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง และนายบุญชง วีสมหมาย รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง
ขึ้นบัลลังก์
ประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวเปิดประชุม และได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. เรื่องนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไว้เพื่อพิจารณาให้คำรับรอง
จำนวน ๑ ฉบับ คือ ร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. …. ซึ่ง ร้อยโท กุเทพ ใสกระจ่าง กับคณะ เป็นผู้เสนอ
ที่ประชุมรับทราบภายหลังการอภิปรายของสมาชิกฯ
๒. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๓๗ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันศุกร์ที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๔
ที่ประชุมได้รับทราบรายงานผลการตรวจสอบรายงานการเงินของแผ่นดินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๒
ตามมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๒ แล้ว
๓. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๓๗ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันศุกร์ที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๔
ที่ประชุมได้ลงมติให้ขยายเวลาการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติออกไปเป็นกรณีพิเศษอีก ๓๐ วันนับแต่
วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ รวม ๒ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. …
(๒) ร่างพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ที่ประชุมรับทราบ
๔. เรื่องคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้นำบันทึกเหตุผลของร่างพระราชบัญญัติตามที่กรรมาธิการ
ได้ขอแก้ไขไว้ในข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรม
ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ. …. ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
ที่ประชุมรับทราบภายหลังการอภิปรายของสมาชิกฯ
๕. เรื่องแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ตามมาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒
เมื่อสมาชิกฯ ได้อภิปรายและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ตอบ
ชี้แจงแล้ว แต่เนื่องจากแผนปฏิบัติการดังกล่าว มีรายละเอียดที่ต้องศึกษาอย่างรอบคอบ ที่ประชุมจึง
เห็นชอบให้เลื่อนระเบียบวาระเรื่องนี้ไปพิจารณาในสมัยประชุมสามัญทั่วไป
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุมสภา
ผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๑ จำนวน ๒ ครั้ง คือ
ครั้งที่ ๑๘ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพฤหัสบดีที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๔๔
ครั้งที่ ๑๙ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๔๔
ที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมทั้ง ๒ ครั้งดังกล่าว
ต่อมา ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุมโดยขอให้นำระเบียบวาระ
เรื่องด่วนที่ ๑๕, ๑๙, ๑๒ และ ๑๑ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องด่วน ตามมติที่ประชุม ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๕) โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติ
ทำนองเดียวกันอีก ๑ ฉบับ ขึ้นพิจารณารวมกันไป คือ ร่างพระราชบัญญัติธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและ
ขนาดย่อมแห่งประเทศไทย พ.ศ. …. ซึ่ง นายประมณฑ์ คุณะเกษม กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และผู้เสนอได้เแถลงหลักการและเหตุผลตามลำดับ
โดยมีรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งได้ขึ้นมาปฏิบัติหน้าที่แทน มีสมาชิกฯ อภิปรายรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงอุตสาหกรรม ตอบชี้แจง จนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่าง
พระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับพร้อมกันไป และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา
โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายวราเทพ รัตนากร ๒. นางสุมลมาลย์ กัลยาศิริ
๓. ร้อยโท นพดล พันธุ์กระวี ๔. นายนิพนธ์ ฮะกีมี
๕. นายกนก อภิรดี ๖. นายบุรินทร์ หิรัญบูรณะ
๗. นายโสภณ เพชรสว่าง ๘. นายสงวน พงษ์มณี
๙. นายวิทยา บุรณศิริ ๑๐. พันตำรวจโท บรรยิน ตั้งอาภรณ์
๑๑. นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ ๑๒. นายประมณฑ์ คุณะเกษม
๑๓. นายรุ่งเรือง พิทยศิริ ๑๔. นายอนุชา นาคาศัย
๑๕. นายไพศาล พืชมงคล ๑๖. นายวิจิตร สุพินิจ
๑๗. นายกิตติเดช สูตรสุคนธ์ ๑๘. นายนิพัทธ พุกกะณะสุต
๑๙. นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ ๒๐. นายบุญทรง เตริยาภิรมย์
๒๑. นายพิมล ศรีวิกรม์ ๒๒. นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
๒๓. นายจุติ ไกรฤกษ์ ๒๔. นายสรรเสริญ สมะลาภา
๒๕. นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ๒๖. นายเกียรติ สิทธิอมร
๒๗. นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ๒๘. นายธนญ ตันติสุนทร
๒๙. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ๓๐. นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ
๓๑. นายเกษม สรศักดิ์เกษม ๓๒. นายเฉลิมชัย อุฬารกุล
๓๓. ว่าที่พันตรี สรชาติ สุวรรณพรหม ๓๔. นายกรพจน์ อัศวินวิจิตร
๓๕. นายปานปรีย์ มหิทธานุกร
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๒. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๙) โดยที่ประชุมเห็นชอบ ให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๓ ฉบับ
ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานบุคคลในคดีอาญา พ.ศ. …. ซึ่ง นายสุทัศน์ เงินหมื่น กับคณะ
เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๐)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. …. ซึ่งนายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ และนาย
ณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ เป็นผู้เสนอ (ยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
(๓) ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. …. ซึ่ง นายปิติพงศ์ เต็มเจริญ กับคณะ
เป็นผู้เสนอ (ยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และผู้เสนอได้เแถลงหลักการและเหตุผลตามลำดับ โดยมี
ประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สองผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม
มีสมาชิกฯ อภิปราย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้
ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๔ ฉบับพร้อมกันไป และมีมติให้ตั้งคณะ
กรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการ
พิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ๒. รองศาสตราจารย์ธงทอง จันทรางศุ
๓. นางสาวรัตนาวดี สมบูรณ์ ๔. นายวรรณชัย บุญบำรุง
๕. นายศักดา วะสมบัติ ๖. นายสุวัฒน์ วรรณศิริกุล
๗. นายปิยะณัฐ วัชราภรณ์ ๘. นายเอกภาพ พลซื่อ
๙. นายสามารถ แก้วมีชัย ๑๐. นายสิทธิชัย โควสุรัตน์
๑๑. นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล ๑๒. นายไพศาล จันทรภักดี
๑๓. นายวัฒนา เซ่งไพเราะ ๑๔. นายเอกธนัช อินทร์รอด
๑๕. นายสมบูรณ์ ไพรวัลย์ ๑๖. นายพงษ์ศักดิ์ วรปัญญา
๑๗. นายปิติพงศ์ เต็มเจริญ ๑๘. นายอรรถพล สนิทวงศ์ชัย
๑๙. พันตำรวจโท นฤชา สุวรรณลาภา ๒๐. นายโอภาส อาจารวงศ์
๒๑. นายสุรชัย พันธุมาศ ๒๒. นายสุทัศน์ เงินหมื่น
๒๓. นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ๒๔. นายนคร มาฉิม
๒๕. นายสุวโรช พะลัง ๒๖. นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์
๒๗. นายนิพนธ์ บุญญามณี ๒๘. นายสาธิต ปิตุเตชะ
๒๙. นายสราวุธ เบญจกุล ๓๐. พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์
๓๑. นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ๓๒. นายนัจมุดดีน อูมา
๓๓. นายประชุม ทองมี ๓๔. นายวิสิทธิ์ พิทยาภรณ์
๓๕. นายวันชัย สอนศิริ
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอนำระเบียบวาระที่ ๗ เรื่องอื่น ๆ คือ
ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา จำนวน ๓ คณะแทนตำแหน่งที่ว่างลง ขึ้นมาพิจารณา ซึ่งที่ประชุม
เห็นชอบ
ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระ เรื่องอื่น ๆ ตามลำดับ คือ
๑ ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม แทน
ตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๒)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ เป็นกรรมาธิการแทน นายเสริมศักดิ์ การุญ
๒. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง แทนตำแหน่งที่
ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๓)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายวารุจ ศิริวัฒน์ เป็นกรรมาธิการแทน นายประวิช รัตนเพียร
๓. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ แทนตำแหน่ง
ที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายนพดล อินนา เป็นกรรมาธิการแทน นายเจริญ จรรย์โกมล
ก่อนเลิกประชุม ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้สรุปผลงานของสภาผู้แทนราษฎรในสมัยประชุม
สามัญนิติบัญญัติ จากนั้น ได้ให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรอ่านพระบรมราชโองการ ประกาศ
พระราชกฤษฎีกาปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุม สามัญนิติบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๔๔ ให้ที่ประชุมรับทราบ
เลิกประชุมเวลา ๑๗.๔๕ นาฬิกา
ศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ
(นางศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๐ ๒๓๕๗ ๓๑๐๐ ต่อ ๓๒๒๘, ๓๒๓๐-๓๑
โทรสาร ๐ ๒๓๕๗ ๓๒๑๑