ระเบียบนี้เป็นคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการควบคุมส่งออก-นำเข้าสินค้า ข่วงปี ค.ศ. 2001-2005 ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
หมวด 1 ข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยการควบคุมสินค้านำเข้า-ส่งออก1. สินค้าที่ห้ามนำเข้า-ส่งออก
1.1 สินค้าที่ห้ามนำเข้า-ส่งออก ในช่วงปี 2001-2005
(1) สินค้าที่ห้ามนำเข้า มี 11 รายการ ได้แก่ อาวุธ ยาเสพติด สารเคมี ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะอนาจาร ประทัดและดอกไม้ไฟชนิดต่าง ๆ บุหรี่ สินค้าบริโภคอุปโภคที่ใช้แล้ว ยานพาหนะพวงมาลัยขวา วัสดุภัณฑ์และยานพาหนะที่ใช้แล้ว ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ Asbesttors of Amphibole Group และเครื่องมือใช้รหัสลับเฉพาะกิจ
(2) สินค้าที่ห้ามส่งออก มี 7 รายการ ได้แก่ อาวุธ วัตถุโบราณ ยาเสพติด สารเคมี ไม้ สัตว์ป่าและสัตว์หรือพืชที่หายาก เครื่องมือใช้รหัสลับเฉพาะกิจ2. สินค้านำเข้า-ส่งออก ที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงการค้า
2.1 การนำเข้า-ส่งออกสินค้าตาม 1.1 (เฉพาะกรณีพิเศษ) เป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรี โดยกระทรวงการค้าเป็นผู้ออกใบอนุญาต
2.2 สินค้าอื่นที่ต้องขออนุญาตนำเข้าจากกระทรวงการค้ามี 8 รายการ แต่มีช่วงเวลาใช้บังคับต่างกันดังนี้
2.2.1 ใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2001 : ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ดำและขาว กระจกขาว เหล็กบางประเภท และน้ำมันพืช
2.2.2 ใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2002 : รถจักรยานยนต์ใหม่ที่มีสองล้อและสามล้อ
2.2.3 ใช้บังคับตั้งแต่ปี 2001-2005 : สินค้าที่จำเป็นต้องมีการควบคุมตรวจสอบตาม สนธิสัญญาระหว่างประเทศซึ่งมีเวียดนามร่วมด้วย น้ำตาลทรายขาวและกากน้ำตาล
2.3 สินค้าอื่นที่ต้องขออนุญาตส่งออกจากกระทรวงการค้าในช่วงปี 2001-2005 มี 2 รายการ คือ สิ่งทอ และสินค้าที่จำเป็นต้องมีการควบคุมตรวจสอบตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศซึ่งมีเวียดนามเข้าร่วมด้วย3. สินค้านำเข้า-ส่งออกที่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานเฉพาะ ซึ่งต้องได้รับการตรวจสอบและขออนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังนี้
3.1 กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท
3.1.1 สินค้านำเข้าที่ต้องออกใบอนุญาตสำรวจ-ทดสอบ มี 6 รายการ ได้แก่ ยารักษาโรคสัตว์และวัตถุดิบในการผลิต ผลิตภัณฑ์ทางชีววิทยาที่ใช้ทางสัตว์แพทย์ ยาป้องกันศัตรูพืชและวัตถุดิบ พันธุ์พืชและสัตว์ อาหารสัตว์และวัตถุดิบ ปุ๋ยประเภทที่เคยใช้ในเวียดนาม
3.1.2 สินค้าที่ต้องมีใบอนุญาตนำเข้า ได้แก่ แหล่ง Gene ของพืชและสัตว์เลี้ยง จุลินทรีย์ที่ใช้ในการวิจัย แลกเปลี่ยนทางด้านวิชาการและเทคนิค
3.1.3 สินค้าที่ห้ามส่งออกหรือออกใบอนุญาตส่งออก มี 3 รายการ ได้แก่ สัตว์ป่าและสัตว์มีค่าหายาก พืชจากป่าที่มีค่า หายาก พันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่มีค่าหายาก
3.2 กระทรวงทรัพยากรทางน้ำ
3.2.1 สัตว์น้ำประเภทต่าง ๆ ที่ห้ามส่งออกและนำเข้าจะเป็นไปตามประกาศเป็นคราว ๆ
3.2.2 พันธุ์สัตว์น้ำ อาหาร วัตถุดิบที่ใช้ผลิตอาหาร ยารักษาโรค ที่ยังไม่ปรากฎในรายการ จะต้องมีใบอนุญาตนำเข้าเพื่อสำรวจ-ทดสอบ เมื่อผ่านการสำรวจ-ทดสอบ และได้มีการเพิ่มในรายการสินค้าที่นำเข้าได้ตามปกติแล้ว จึงสามารถนำเข้าได้โดยไม่ต้องขอใบอนุญาต
3.3 ธนาคารชาติ
ธนาคารชาติจะกำหนดรายชื่อผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าสินค้าบางประเภทและรับผิดชอบในการควบคุมดูแลให้มีการนำไปใช้ตรงตามวัตถุประสงค์ ซึ่งสินค้าดังกล่าว ได้แก่ สินค้าที่เกี่ยวกับการผลิตธนบัตร เช่น รถยนต์ที่ใช้ขนธนบัตร เครื่องแยก ผูก และทำลายธนบัตร ประตูคลังเก็บเงินและธนบัตร กระดาษพิมพ์ หมึกพิมพ์ เครื่องปลอมแปลง เครื่องพิมพ์ และเครื่องหล่อ อัด เงิน ชนิดโลหะ
3.4 ทบวงไปรษณีย์และโทรเลข
3.4.1 สินค้าที่ต้องมีใบอนุญาตส่งออก ได้แก่ ไปรษณียากร สิ่งพิมพ์ไปรษณียากรและสินค้าที่เกี่ยวข้อง
3.4.2 สินค้าที่ต้องมีใบอนุญาตนำเข้า ได้แก่ ไปรษณียากร สิ่งพิมพ์ไปรษณียากรและสินค้าที่เกี่ยวข้อง อุปกรณ์รับ-ส่งคลื่น
3.4.3 สินค้านำเข้าที่ต้องมีหนังสือรับรองมาตรฐานซึ่งมีอายุการใช้ 2 ปี ได้แก่ อุปกรณ์เรดาร์ ถ่ายทอด เครื่องโอเปอเรเตอร์ อุปกรณ์ถ่ายทอด สายเคเบิล เคเบิลสื่อสารทำด้วยโลหะ อุปกรณ์โทรศัพท์ไร้สาย อุปกรณ์ต่อเครือข่าย PSTN ISDN เครื่อง TELEX เครื่อง FAX เครื่อง Pager เครื่องโทรศัพท์มือถือ เครื่องโทรศัพท์ปรากฎภาพอัตราความเร็วต่ำ
3.5 กระทรวงวัฒนธรรมและข่าวสาร
3.5.1 สินค้าส่งออก
(1) สินค้าที่ห้ามส่งออก ได้แก่ วัตถุที่เป็นสมบัติของพิพิธภัณฑ์ พระพุทธรูป เทวรูป สิ่งพิมพ์และสื่อต่าง ๆ ที่ห้ามเผยแพร่และจำหน่ายในเวียดนาม
(2) สินค้าส่งออกที่ต้องมีเอกสารแสดงแหล่งที่มา ได้แก่ วรรณกรรมด้านภาพยนต์ และสื่อต่าง ๆ ที่ไม่อยู่ในข้อ (1) วรรณกรรมด้านศิลปศาสตร์บนวัสดุทุกประเภท
3.5.2 สินค้านำเข้า
(1) สินค้าที่ต้องขออนุญาตก่อนนำเข้า ได้แก่ ระบบแผ่นเนกาตีฟหรือตัวเรียงพิพม์ เครื่องพิมพ์ออฟเซ็ท
(2) สินค้านำเข้าที่ต้องมีการพิจารณาอนุมัติสาระ (เซนเซอร์) ได้แก่ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ วรรณกรรมด้านภาพยนต์และเครื่องเสียง
3.6 กระทรวงสาธารณสุข
3.6.1 สินค้าที่ห้ามนำเข้าหรือออกใบอนุญาตนำเข้า ได้แก่ สารเสพติด และอุปกรณ์การแพทย์ที่มีผลโดยตรงต่อสุขภาพมนุษย์
3.6.2 สินค้าที่ต้องขออนุญาตนำเข้า ได้แก่ เภสัชภัณฑ์ที่ยังไม่มีหมายเลขการจดทะเบียน วัคซีน ชีวสารป้องกันโรคระบาด
3.6.3 สินค้าที่ต้องออกใบอนุญาตทดสอบ ได้แก่ วัตถุดิบเพื่อผลิตยา และบรรจุภัณฑ์ที่สัมผัสโดยตรงกับยา
3.6.4 สินค้าที่ต้องมีการจดทะเบียนเพื่อจำหน่าย ได้แก่ เครื่องสำอางที่มีผลโดยตรงต่อสุขภาพมนุษย์ สารเคมี สารปรุงแต่งฆ่าแมลงและเชื้อโรค ซึ่งใช้ในครัวเรือนและทางการแพทย์
3.6.5 สินค้าที่ต้องมีการรับรองรายการ ได้แก่ เภสัชภัณฑ์ที่มีหมายเลขการจดทะเบียนแล้ว
3.7 กระทรวงอุตสาหกรรม
3.7.1 สินค้าส่งออกที่ต้องมีการกำหนดเงื่อนไขหรือมาตรฐาน ได้แก่ แร่ธาตุในรูปสินค้าบางประเภท
3.7.2 สินค้านำเข้า
(1) สินค้าที่ห้ามนำเข้าหรือนำเข้าโดยมีเงื่อนไข ได้แก่ สารเคมีและผลิตภัณฑ์ที่มีพิษ
(2) สินค้านำเข้าที่ต้องมีการกำหนดมาตรฐาน คือ โซเดียมโฮดรอกไซด์ กรดคลอไรด์ กรดกำมะถัน กรดฟอสฟอริค และสารอลูมิเนียมอนุภาคเดี่ยว
หมวด 2 ข้อกำหนดเฉพาะสำหรับสินค้านำเข้า - ส่งออกบางประเภท4. การนำเข้า-ส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้
4.1 ยกเลิกการพิจารณาอนุมัติและการจัดสรรโควตาไม้ป่าธรรมชาติเพื่อผลิตส่งออก
4.2 อนุญาตให้ส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้ทุกชนิด ยกเว้นไม้ซุง ไม้แปรรูปอย่างหยาบ (คือไม้กระดานที่เลื่อยเป็นแผ่นที่ยังไม่มีการไสหรือแปรรูปแบบประณีต) ที่ตัดโค่นจากป่าธรรมชาติภายในประเทศ
4.3 อนุญาตให้ส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้ทุกชนิดที่ใช้ไม้จากการนำเข้าโดยไม่ต้องเสียภาษีส่งออก เช่น ไม้ซุง ไม้กระดานแปรรูปอย่างหยาบ
4.4 การนำเข้าไม้ที่เป็นวัตถุดิบจากประเทศต่าง ๆ ที่มีพรมแดนร่วม ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของนายกรัฐมนตรีและข้อเสนอแนะของกระทรวงการค้า5. การส่งออกสินค้าสิ่งทอไปยังตลาดที่มีความตกลงกับต่างประเทศ
5.1 ให้คำนึงถึงอุปสงค์การผลิตในประเทศตามความตกลงพหุภาคีและทวิภาคีของสินค้าสิ่งทอ โดยให้กระทรวงการค้าเป็นประธานพิจารณาข้อตกลง โควตา สัดส่วน การประมูล และเงื่อนไข ร่วมกับกระทรวง ทบวง กรม ที่เกี่ยวข้องตลอดจนผู้ผลิตรายใหญ่ของเวียดนาม
5.2 การจัดสรรโควตาให้แก่ผู้ประกอบการที่อยู่ในกรุงฮานอย นครโฮจิมินต์ นครฮายฟอง และดานัง ให้คณะกรรมการประชาชนของนครนั้น ๆ ดำเนินการตามข้อกำหนดทั่วไป สำหรับผู้ประกอบการรายอื่นๆ ให้กระทรวงการค้าเป็นผู้จัดสรรและมอบหมายโควตา
6. การส่งออกข้าวและนำเข้าปุ๋ย
6.1 ให้ยกเลิกระบบโควตาส่งออกข้าว นำเข้าปุ๋ย และให้ยกเลิกการกำหนดผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ทำการค้านำเข้าและส่งออกสินค้าทั้งสองประเภทดังกล่าว ยกเว้น ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนค้าข้าว หรือวัสดุทางการเกษตรของทุกภาค สามารถส่งออกข้าวและนำเข้าปุ๋ยที่ได้รับอนุญาตให้ใชัในเวียดนามได้
6.2 สัญญาส่งออกข้าวไปยังตลาดที่มีข้อตกลงระหว่างประเทศ ให้กระทรวงการค้าหารือกับสมาคมธัญพืชเพื่อแต่งตั้งตัวแทนในการติดต่อ ทำสัญญา และจัดสรรปริมาณส่งออกข้าว
6.3 การส่งออกข้าวตามโครงการใช้หนี้ การช่วยเหลือของรัฐบาล ตลอดจนการแทรกแซงตลาด ให้ดำเนินการภายใต้ความเห็นและการพิจารณาของนายกรัฐมนตรี
7. การนำเข้าน้ำมันและเชื้อเพลิงต่าง ๆ
7.1 การกำหนดปริมาณนำเข้าน้ำมันและน้ำมันเบนซิน ให้กระทรวงการวางแผนและการลงทุนพิจารณาร่วมกับกระทรวงการค้าและกระทรวงการคลังและเสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา
7.2 การจัดสรร มอบหมายและควบคุมปริมาณนำเข้าน้ำมัน ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้ามอบหมายผู้ประกอบการน้ำมันเป็นผู้ปฏิบัติ
7.3 การติดตามสถานการณ์ของอุปสงค์ อุปทาน และราคาน้ำมันทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ให้กระทรวงการวางแผนและการลงทุนพิจารณาร่วมกับกระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพื่อเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาปรับเปลี่ยนนโยบาย
8. การนำเข้าชิ้นส่วนเพื่อประกอบรถยนต์และจักรยานยนต์สองล้อ
8.1 ผู้ประกอบการทางด้านประกอบและผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์สองล้อที่ลงทุนในต่างประเทศ ต้องได้รับอนุญาตให้นำเข้าชิ้นส่วนเพื่อทำการผลิตและประกอบถูกต้องตามใบอนุญาตลงทุนที่ได้รับอนุมัติ การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ รถจักรยานยนต์สองล้อให้เป็นไปเพื่อการค้าเท่านั้น
8.2 สำหรับผู้ประกอบการที่ทำการผลิตเพื่อจำหน่ายภายในประเทศ จะดำเนินการได้ ณ สถานที่ที่จดทะเบียนไว้แล้วเท่านั้น และต้องคำนึงถึงสัดส่วนการผลิตชิ้นส่วนในประเทศ คุณภาพและมาตรฐานความปลอดภัยของยานพาหนะ และห้ามมิให้จำน่าย จ่าย โอน หรือสั่งซื้อชิ้นส่วนรถยนต์และรถจักรยานยนต์สองล้อให้ผู้อื่น
9. การควบคุมวัสดุเหลือใช้และขยะอุตสาหกรรม
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม กำหนดและประกาศรายการวัสดุเหลือใช้และขยะอุตสาหกรรมที่ห้ามนำเข้า เงื่อนไขและคุณสมบัติของวัสดุเหลือใช้ที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตภายในประเทศซึ่งอนุญาตให้นำเข้าได้
10. การรี-เอ็กซปอร์ตวัสดุภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ ที่นำเข้า ซึ่งรัฐเป็นผู้นำเข้า
สินค้าที่รัฐเป็นผู้นำเข้า เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง ปุ๋ย จะรี-เอ็กซปอร์ตได้เฉพาะที่ลูกค้าต่างประเทศรับรองว่าจะชำระด้วยเงินตราต่างประเทศที่แลกเปลี่ยนได้โดยเสรี และได้รับความยินยอมจากกระทรวงการค้าแล้วเท่านั้น11. รูปแบบการประกอบธุรกิจที่มีลักษณะพิเศษ
ในกรณีที่จำเป็น เพื่อเป็นการปกป้องผลประโยชน์ของชาติ รัฐบาลจะเป็นผู้พิจารณารูปแบบการประกอบธุรกิจบางด้าน บางท้องที่ สัญญาที่มีการลงนามระหว่างรัฐต่อรัฐ เกี่ยวกับการซื้อขายสินค้า การชำระหนี้ และการให้ความช่วยเหลือ
12. สินค้าที่อยู่ในข่ายควบคุมด้วยกลไกอื่น ๆ
12.1 เพื่อเป็นการคุ้มครองการผลิตในประเทศ สร้างความเป็นธรรมทางการค้าและเพื่อเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม ในช่วงปี ค.ศ. 2001-2005 รัฐจะใช้โควตาศุลกากร ภาษี ค่าธรรมเนียมสิ่งแวดล้อม และมาตรการต่าง ๆ สำหรับสินค้านำเข้าบางประเภท
12.2 ในปี ค.ศ. 2001 ให้กระทรวงการค้าเป็นประธาน ประสานกับกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่างหลักการและรายการสินค้าที่อยู่ภายใต้การควบคุมด้วยกลไกต่าง ๆ ตามข้อ 12.1
13. การนำเข้า-ส่งออกสินค้าประเภทอื่น ๆ
สินค้าอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว สามารถนำเข้า-ส่งออกได้ตามกฎหมาย
หมวด 3 ข้อกำหนดในการถือปฏิบัติ14. การบังคับใช้ข้อกำหนด
14.1 คำสั่งนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2001 สำหรับการส่งออก-นำเข้า ทั้งในด้านการค้าและที่มิใช่การค้า ตลอดจนการส่งออก-นำเข้าสินค้าบริเวณชายแดนที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน
14.2 สำหรับสินค้าเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือของรัฐบาล องค์การ NGO สินค้าที่เป็นทรัพย์สินขนย้าย ตลอดจนสินค้าที่เป็นของใช้ส่วนตัวของเจ้าหน้าที่ทางการทูต ให้ถือปฏิบัติตามที่นายกรัฐมนตรีกำหนดเป็นการเฉพาะ
ที่มา : เรียบเรียงจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงฮานอย
กลุ่มงานวิเคราะห์สินค้า 8 กองการค้าสินค้าทั่วไป
กรมการค้าต่างประเทศ--จบ--
-อน-
หมวด 1 ข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยการควบคุมสินค้านำเข้า-ส่งออก1. สินค้าที่ห้ามนำเข้า-ส่งออก
1.1 สินค้าที่ห้ามนำเข้า-ส่งออก ในช่วงปี 2001-2005
(1) สินค้าที่ห้ามนำเข้า มี 11 รายการ ได้แก่ อาวุธ ยาเสพติด สารเคมี ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะอนาจาร ประทัดและดอกไม้ไฟชนิดต่าง ๆ บุหรี่ สินค้าบริโภคอุปโภคที่ใช้แล้ว ยานพาหนะพวงมาลัยขวา วัสดุภัณฑ์และยานพาหนะที่ใช้แล้ว ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ Asbesttors of Amphibole Group และเครื่องมือใช้รหัสลับเฉพาะกิจ
(2) สินค้าที่ห้ามส่งออก มี 7 รายการ ได้แก่ อาวุธ วัตถุโบราณ ยาเสพติด สารเคมี ไม้ สัตว์ป่าและสัตว์หรือพืชที่หายาก เครื่องมือใช้รหัสลับเฉพาะกิจ2. สินค้านำเข้า-ส่งออก ที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงการค้า
2.1 การนำเข้า-ส่งออกสินค้าตาม 1.1 (เฉพาะกรณีพิเศษ) เป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรี โดยกระทรวงการค้าเป็นผู้ออกใบอนุญาต
2.2 สินค้าอื่นที่ต้องขออนุญาตนำเข้าจากกระทรวงการค้ามี 8 รายการ แต่มีช่วงเวลาใช้บังคับต่างกันดังนี้
2.2.1 ใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2001 : ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ดำและขาว กระจกขาว เหล็กบางประเภท และน้ำมันพืช
2.2.2 ใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2002 : รถจักรยานยนต์ใหม่ที่มีสองล้อและสามล้อ
2.2.3 ใช้บังคับตั้งแต่ปี 2001-2005 : สินค้าที่จำเป็นต้องมีการควบคุมตรวจสอบตาม สนธิสัญญาระหว่างประเทศซึ่งมีเวียดนามร่วมด้วย น้ำตาลทรายขาวและกากน้ำตาล
2.3 สินค้าอื่นที่ต้องขออนุญาตส่งออกจากกระทรวงการค้าในช่วงปี 2001-2005 มี 2 รายการ คือ สิ่งทอ และสินค้าที่จำเป็นต้องมีการควบคุมตรวจสอบตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศซึ่งมีเวียดนามเข้าร่วมด้วย3. สินค้านำเข้า-ส่งออกที่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานเฉพาะ ซึ่งต้องได้รับการตรวจสอบและขออนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังนี้
3.1 กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท
3.1.1 สินค้านำเข้าที่ต้องออกใบอนุญาตสำรวจ-ทดสอบ มี 6 รายการ ได้แก่ ยารักษาโรคสัตว์และวัตถุดิบในการผลิต ผลิตภัณฑ์ทางชีววิทยาที่ใช้ทางสัตว์แพทย์ ยาป้องกันศัตรูพืชและวัตถุดิบ พันธุ์พืชและสัตว์ อาหารสัตว์และวัตถุดิบ ปุ๋ยประเภทที่เคยใช้ในเวียดนาม
3.1.2 สินค้าที่ต้องมีใบอนุญาตนำเข้า ได้แก่ แหล่ง Gene ของพืชและสัตว์เลี้ยง จุลินทรีย์ที่ใช้ในการวิจัย แลกเปลี่ยนทางด้านวิชาการและเทคนิค
3.1.3 สินค้าที่ห้ามส่งออกหรือออกใบอนุญาตส่งออก มี 3 รายการ ได้แก่ สัตว์ป่าและสัตว์มีค่าหายาก พืชจากป่าที่มีค่า หายาก พันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่มีค่าหายาก
3.2 กระทรวงทรัพยากรทางน้ำ
3.2.1 สัตว์น้ำประเภทต่าง ๆ ที่ห้ามส่งออกและนำเข้าจะเป็นไปตามประกาศเป็นคราว ๆ
3.2.2 พันธุ์สัตว์น้ำ อาหาร วัตถุดิบที่ใช้ผลิตอาหาร ยารักษาโรค ที่ยังไม่ปรากฎในรายการ จะต้องมีใบอนุญาตนำเข้าเพื่อสำรวจ-ทดสอบ เมื่อผ่านการสำรวจ-ทดสอบ และได้มีการเพิ่มในรายการสินค้าที่นำเข้าได้ตามปกติแล้ว จึงสามารถนำเข้าได้โดยไม่ต้องขอใบอนุญาต
3.3 ธนาคารชาติ
ธนาคารชาติจะกำหนดรายชื่อผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าสินค้าบางประเภทและรับผิดชอบในการควบคุมดูแลให้มีการนำไปใช้ตรงตามวัตถุประสงค์ ซึ่งสินค้าดังกล่าว ได้แก่ สินค้าที่เกี่ยวกับการผลิตธนบัตร เช่น รถยนต์ที่ใช้ขนธนบัตร เครื่องแยก ผูก และทำลายธนบัตร ประตูคลังเก็บเงินและธนบัตร กระดาษพิมพ์ หมึกพิมพ์ เครื่องปลอมแปลง เครื่องพิมพ์ และเครื่องหล่อ อัด เงิน ชนิดโลหะ
3.4 ทบวงไปรษณีย์และโทรเลข
3.4.1 สินค้าที่ต้องมีใบอนุญาตส่งออก ได้แก่ ไปรษณียากร สิ่งพิมพ์ไปรษณียากรและสินค้าที่เกี่ยวข้อง
3.4.2 สินค้าที่ต้องมีใบอนุญาตนำเข้า ได้แก่ ไปรษณียากร สิ่งพิมพ์ไปรษณียากรและสินค้าที่เกี่ยวข้อง อุปกรณ์รับ-ส่งคลื่น
3.4.3 สินค้านำเข้าที่ต้องมีหนังสือรับรองมาตรฐานซึ่งมีอายุการใช้ 2 ปี ได้แก่ อุปกรณ์เรดาร์ ถ่ายทอด เครื่องโอเปอเรเตอร์ อุปกรณ์ถ่ายทอด สายเคเบิล เคเบิลสื่อสารทำด้วยโลหะ อุปกรณ์โทรศัพท์ไร้สาย อุปกรณ์ต่อเครือข่าย PSTN ISDN เครื่อง TELEX เครื่อง FAX เครื่อง Pager เครื่องโทรศัพท์มือถือ เครื่องโทรศัพท์ปรากฎภาพอัตราความเร็วต่ำ
3.5 กระทรวงวัฒนธรรมและข่าวสาร
3.5.1 สินค้าส่งออก
(1) สินค้าที่ห้ามส่งออก ได้แก่ วัตถุที่เป็นสมบัติของพิพิธภัณฑ์ พระพุทธรูป เทวรูป สิ่งพิมพ์และสื่อต่าง ๆ ที่ห้ามเผยแพร่และจำหน่ายในเวียดนาม
(2) สินค้าส่งออกที่ต้องมีเอกสารแสดงแหล่งที่มา ได้แก่ วรรณกรรมด้านภาพยนต์ และสื่อต่าง ๆ ที่ไม่อยู่ในข้อ (1) วรรณกรรมด้านศิลปศาสตร์บนวัสดุทุกประเภท
3.5.2 สินค้านำเข้า
(1) สินค้าที่ต้องขออนุญาตก่อนนำเข้า ได้แก่ ระบบแผ่นเนกาตีฟหรือตัวเรียงพิพม์ เครื่องพิมพ์ออฟเซ็ท
(2) สินค้านำเข้าที่ต้องมีการพิจารณาอนุมัติสาระ (เซนเซอร์) ได้แก่ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ วรรณกรรมด้านภาพยนต์และเครื่องเสียง
3.6 กระทรวงสาธารณสุข
3.6.1 สินค้าที่ห้ามนำเข้าหรือออกใบอนุญาตนำเข้า ได้แก่ สารเสพติด และอุปกรณ์การแพทย์ที่มีผลโดยตรงต่อสุขภาพมนุษย์
3.6.2 สินค้าที่ต้องขออนุญาตนำเข้า ได้แก่ เภสัชภัณฑ์ที่ยังไม่มีหมายเลขการจดทะเบียน วัคซีน ชีวสารป้องกันโรคระบาด
3.6.3 สินค้าที่ต้องออกใบอนุญาตทดสอบ ได้แก่ วัตถุดิบเพื่อผลิตยา และบรรจุภัณฑ์ที่สัมผัสโดยตรงกับยา
3.6.4 สินค้าที่ต้องมีการจดทะเบียนเพื่อจำหน่าย ได้แก่ เครื่องสำอางที่มีผลโดยตรงต่อสุขภาพมนุษย์ สารเคมี สารปรุงแต่งฆ่าแมลงและเชื้อโรค ซึ่งใช้ในครัวเรือนและทางการแพทย์
3.6.5 สินค้าที่ต้องมีการรับรองรายการ ได้แก่ เภสัชภัณฑ์ที่มีหมายเลขการจดทะเบียนแล้ว
3.7 กระทรวงอุตสาหกรรม
3.7.1 สินค้าส่งออกที่ต้องมีการกำหนดเงื่อนไขหรือมาตรฐาน ได้แก่ แร่ธาตุในรูปสินค้าบางประเภท
3.7.2 สินค้านำเข้า
(1) สินค้าที่ห้ามนำเข้าหรือนำเข้าโดยมีเงื่อนไข ได้แก่ สารเคมีและผลิตภัณฑ์ที่มีพิษ
(2) สินค้านำเข้าที่ต้องมีการกำหนดมาตรฐาน คือ โซเดียมโฮดรอกไซด์ กรดคลอไรด์ กรดกำมะถัน กรดฟอสฟอริค และสารอลูมิเนียมอนุภาคเดี่ยว
หมวด 2 ข้อกำหนดเฉพาะสำหรับสินค้านำเข้า - ส่งออกบางประเภท4. การนำเข้า-ส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้
4.1 ยกเลิกการพิจารณาอนุมัติและการจัดสรรโควตาไม้ป่าธรรมชาติเพื่อผลิตส่งออก
4.2 อนุญาตให้ส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้ทุกชนิด ยกเว้นไม้ซุง ไม้แปรรูปอย่างหยาบ (คือไม้กระดานที่เลื่อยเป็นแผ่นที่ยังไม่มีการไสหรือแปรรูปแบบประณีต) ที่ตัดโค่นจากป่าธรรมชาติภายในประเทศ
4.3 อนุญาตให้ส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้ทุกชนิดที่ใช้ไม้จากการนำเข้าโดยไม่ต้องเสียภาษีส่งออก เช่น ไม้ซุง ไม้กระดานแปรรูปอย่างหยาบ
4.4 การนำเข้าไม้ที่เป็นวัตถุดิบจากประเทศต่าง ๆ ที่มีพรมแดนร่วม ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของนายกรัฐมนตรีและข้อเสนอแนะของกระทรวงการค้า5. การส่งออกสินค้าสิ่งทอไปยังตลาดที่มีความตกลงกับต่างประเทศ
5.1 ให้คำนึงถึงอุปสงค์การผลิตในประเทศตามความตกลงพหุภาคีและทวิภาคีของสินค้าสิ่งทอ โดยให้กระทรวงการค้าเป็นประธานพิจารณาข้อตกลง โควตา สัดส่วน การประมูล และเงื่อนไข ร่วมกับกระทรวง ทบวง กรม ที่เกี่ยวข้องตลอดจนผู้ผลิตรายใหญ่ของเวียดนาม
5.2 การจัดสรรโควตาให้แก่ผู้ประกอบการที่อยู่ในกรุงฮานอย นครโฮจิมินต์ นครฮายฟอง และดานัง ให้คณะกรรมการประชาชนของนครนั้น ๆ ดำเนินการตามข้อกำหนดทั่วไป สำหรับผู้ประกอบการรายอื่นๆ ให้กระทรวงการค้าเป็นผู้จัดสรรและมอบหมายโควตา
6. การส่งออกข้าวและนำเข้าปุ๋ย
6.1 ให้ยกเลิกระบบโควตาส่งออกข้าว นำเข้าปุ๋ย และให้ยกเลิกการกำหนดผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ทำการค้านำเข้าและส่งออกสินค้าทั้งสองประเภทดังกล่าว ยกเว้น ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนค้าข้าว หรือวัสดุทางการเกษตรของทุกภาค สามารถส่งออกข้าวและนำเข้าปุ๋ยที่ได้รับอนุญาตให้ใชัในเวียดนามได้
6.2 สัญญาส่งออกข้าวไปยังตลาดที่มีข้อตกลงระหว่างประเทศ ให้กระทรวงการค้าหารือกับสมาคมธัญพืชเพื่อแต่งตั้งตัวแทนในการติดต่อ ทำสัญญา และจัดสรรปริมาณส่งออกข้าว
6.3 การส่งออกข้าวตามโครงการใช้หนี้ การช่วยเหลือของรัฐบาล ตลอดจนการแทรกแซงตลาด ให้ดำเนินการภายใต้ความเห็นและการพิจารณาของนายกรัฐมนตรี
7. การนำเข้าน้ำมันและเชื้อเพลิงต่าง ๆ
7.1 การกำหนดปริมาณนำเข้าน้ำมันและน้ำมันเบนซิน ให้กระทรวงการวางแผนและการลงทุนพิจารณาร่วมกับกระทรวงการค้าและกระทรวงการคลังและเสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา
7.2 การจัดสรร มอบหมายและควบคุมปริมาณนำเข้าน้ำมัน ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้ามอบหมายผู้ประกอบการน้ำมันเป็นผู้ปฏิบัติ
7.3 การติดตามสถานการณ์ของอุปสงค์ อุปทาน และราคาน้ำมันทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ให้กระทรวงการวางแผนและการลงทุนพิจารณาร่วมกับกระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพื่อเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาปรับเปลี่ยนนโยบาย
8. การนำเข้าชิ้นส่วนเพื่อประกอบรถยนต์และจักรยานยนต์สองล้อ
8.1 ผู้ประกอบการทางด้านประกอบและผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์สองล้อที่ลงทุนในต่างประเทศ ต้องได้รับอนุญาตให้นำเข้าชิ้นส่วนเพื่อทำการผลิตและประกอบถูกต้องตามใบอนุญาตลงทุนที่ได้รับอนุมัติ การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ รถจักรยานยนต์สองล้อให้เป็นไปเพื่อการค้าเท่านั้น
8.2 สำหรับผู้ประกอบการที่ทำการผลิตเพื่อจำหน่ายภายในประเทศ จะดำเนินการได้ ณ สถานที่ที่จดทะเบียนไว้แล้วเท่านั้น และต้องคำนึงถึงสัดส่วนการผลิตชิ้นส่วนในประเทศ คุณภาพและมาตรฐานความปลอดภัยของยานพาหนะ และห้ามมิให้จำน่าย จ่าย โอน หรือสั่งซื้อชิ้นส่วนรถยนต์และรถจักรยานยนต์สองล้อให้ผู้อื่น
9. การควบคุมวัสดุเหลือใช้และขยะอุตสาหกรรม
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม กำหนดและประกาศรายการวัสดุเหลือใช้และขยะอุตสาหกรรมที่ห้ามนำเข้า เงื่อนไขและคุณสมบัติของวัสดุเหลือใช้ที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตภายในประเทศซึ่งอนุญาตให้นำเข้าได้
10. การรี-เอ็กซปอร์ตวัสดุภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ ที่นำเข้า ซึ่งรัฐเป็นผู้นำเข้า
สินค้าที่รัฐเป็นผู้นำเข้า เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง ปุ๋ย จะรี-เอ็กซปอร์ตได้เฉพาะที่ลูกค้าต่างประเทศรับรองว่าจะชำระด้วยเงินตราต่างประเทศที่แลกเปลี่ยนได้โดยเสรี และได้รับความยินยอมจากกระทรวงการค้าแล้วเท่านั้น11. รูปแบบการประกอบธุรกิจที่มีลักษณะพิเศษ
ในกรณีที่จำเป็น เพื่อเป็นการปกป้องผลประโยชน์ของชาติ รัฐบาลจะเป็นผู้พิจารณารูปแบบการประกอบธุรกิจบางด้าน บางท้องที่ สัญญาที่มีการลงนามระหว่างรัฐต่อรัฐ เกี่ยวกับการซื้อขายสินค้า การชำระหนี้ และการให้ความช่วยเหลือ
12. สินค้าที่อยู่ในข่ายควบคุมด้วยกลไกอื่น ๆ
12.1 เพื่อเป็นการคุ้มครองการผลิตในประเทศ สร้างความเป็นธรรมทางการค้าและเพื่อเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม ในช่วงปี ค.ศ. 2001-2005 รัฐจะใช้โควตาศุลกากร ภาษี ค่าธรรมเนียมสิ่งแวดล้อม และมาตรการต่าง ๆ สำหรับสินค้านำเข้าบางประเภท
12.2 ในปี ค.ศ. 2001 ให้กระทรวงการค้าเป็นประธาน ประสานกับกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่างหลักการและรายการสินค้าที่อยู่ภายใต้การควบคุมด้วยกลไกต่าง ๆ ตามข้อ 12.1
13. การนำเข้า-ส่งออกสินค้าประเภทอื่น ๆ
สินค้าอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว สามารถนำเข้า-ส่งออกได้ตามกฎหมาย
หมวด 3 ข้อกำหนดในการถือปฏิบัติ14. การบังคับใช้ข้อกำหนด
14.1 คำสั่งนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2001 สำหรับการส่งออก-นำเข้า ทั้งในด้านการค้าและที่มิใช่การค้า ตลอดจนการส่งออก-นำเข้าสินค้าบริเวณชายแดนที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน
14.2 สำหรับสินค้าเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือของรัฐบาล องค์การ NGO สินค้าที่เป็นทรัพย์สินขนย้าย ตลอดจนสินค้าที่เป็นของใช้ส่วนตัวของเจ้าหน้าที่ทางการทูต ให้ถือปฏิบัติตามที่นายกรัฐมนตรีกำหนดเป็นการเฉพาะ
ที่มา : เรียบเรียงจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงฮานอย
กลุ่มงานวิเคราะห์สินค้า 8 กองการค้าสินค้าทั่วไป
กรมการค้าต่างประเทศ--จบ--
-อน-