สรุปภาวะการค้าไทย-ญี่ปุ่นระหว่างเดือน ม.ค.- ส.ค.2548

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday October 5, 2005 14:44 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ญี่ปุ่นเป็นตลาดนำเข้าสำคัญอันดับ 3 ของโลก รองจาก สหรัฐฯ จีน โดยมีมูลค่าการนำเข้า335,802,044,714
เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.63 (ม.ค.-ส.ค. 2548) ปี 2547 ญี่ปุ่นเป็นตลาดนำเข้าสำคัญอันดับ 6 ของโลก
รองจาก สหรัฐเยอรมนี จีน ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร โดยมีมูลค่าการนำเข้า 455,661.441 ล้าน
เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.86
2. แหล่งนำเข้าสำคัญของญี่ปุ่น ในเดือนมกราคม — กรกฎาคม 2548
- จีน มูลค่า 70,776.626 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วนร้อยละ 21.08 เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.67
- สหรัฐฯ มูลค่า 42,881.198 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วนร้อยละ 12.77 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.61
- ซาอุดิฯ มูลค่า 17,225.788 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วนร้อยละ 5.13 เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.99
- เกาหลีใต้ มูลค่า 15,775.244 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วนร้อยละ 4.70 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.13
ไทยอยู่อันดับที่ 10 มูลค่า 10,342.160 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วนร้อยละ 3.08 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.68
3. ดุลการค้า ประเทศญี่ปุ่นได้เปรียบดุลการค้าในเดือนมกราคม — สิงหาคม 2548 เป็นมูลค่า 51,349.579
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 28.96 ดังตัวอย่างสถิติต่อไปนี้
ตารางเปรียบเทียบดุลการค้าของประเทศญี่ปุ่นเดือนมกราคม — สิงหาคม 2548
มูลค่า: ล้านเหรียญสหรัฐ
ลำดับที่ ประเทศ 2546 2547 2548 อัตราการเปลี่ยนแปลง(%)
47/46 48/47
ทั่วโลก 49,741.979 72,279.401 51,349.579 45.31 -28.96
1. สหรัฐฯ 35,730.500 40,482.430 44,167.435 13.30 9.10
2. ฮ่องกง 17,774.468 22,049.198 22,148.563 24.05 0.45
3. จีน -11,447.583 -11,742.258 -20,048.241 2.57 70.74
4. ไต้หวัน 9,687.215 15,600.418 17,344.128 61.04 11.18
5. ซาอุดิอาระเบีย -7,505.163 -8,915.565 -14,607.474 18.79 63.84
16 ไทย 2,424.627 3,782.996 4,633.072 56.02 22.47
ที่มา : WTA Japan Customs
4. ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 2 ของไทยโดยมีสัดส่วนการส่งออกไปตลาดนี้ร้อยละ 13.95 ของมูลค่าการ
ส่งออกโดยรวมในเดือนมกราคม - สิงหาคม 2548
การส่งออกสินค้าไทยไปญี่ปุ่นในเดือนมกราคม - สิงหาคมคม 2548 มีมูลค่า 9,981.04 ล้าน
เหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.11 หรือคิดเป็นร้อยละ 61.41 ของเป้าหมายการส่งออกที่มูลค่า 16,252
ล้านเหรียญสหรัฐ
5. สินค้าไทยส่งออกไปญี่ปุ่นในเดือนมกราคม — สิงหาคม 2548 25 อันดับแรกมีสัดส่วนรวมกันร้อยละ 61.95
ของมูลค่าการส่งออกโดยรวมไปตลาดนี้ สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 100 มี 2 รายการ สินค้าที่มีมูลค่า
เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 50 มี 2 รายการและสินค้าที่มีมูลค่าลดลงมากกว่าร้อยละ 20 มี 2 รายการดังสถิติต่อไปนี้
สถิติการส่งออกสินค้าไทยไปญี่ปุ่นที่มีมูลค่าการเปลี่ยนแปลงสูง
ตลาด อันดับที่ มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าการ %เปลี่ยนแปลง สัดส่วน : ร้อยละ2548
ม.ค.-ส.ค 47 ม.ค.-ส.ค 48 เปลี่ยนแปลง 2547 ม.ค.-ส.ค
1. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น
มากกว่าร้อยละ 100 มี 2 รายการ
- เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 8 120.97 248.11 127.14 105.11 1.19 2.49
- เม็ดพลาสติก 19 65.56 151.14 85.58 130.53 0.93 1.51
2. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น
มากกว่าร้อยละ 50 มี 2 รายการ
- แผงวงจรไฟฟ้า 1 435.67 681.37 245.70 56.40 5.58 6.83
- ไก่แปรรูป 12 131.52 214.13 82.61 62.81 1.89 2.15
3. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปญี่ปุ่นลดลง
มากกว่าร้อยละ 20 มี 2 รายการ
- อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์และไดโอด 7 351.69 248.30 -103.39 -29.40 3.58 2.49
- เครื่องโทรสาร โทรพิมพ์ โทรศัพท์ 22 183.51 141.42 -42.09 -22.94 1.90 1.42
รวบรวมโดย : ศูนย์สารสนเทศการค้าระหว่างประเทศ
จากสถิติการส่งออกดังกล่าวมีข้อสังเกต ดังนี้
1) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (HS 8415) Air Conditioning
ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 3 ของโลก ผู้ส่งออกหลักคือ จีน สหรัฐ
ในด้านการนำเข้าของญี่ปุ่น (ม.ค-ส.ค 48) มูลค่า 1,095.468 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 35.51 มีการนำเข้าจาก จีน ไทย มาเลเซียเป็นหลักการนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 2 สัดส่วน
ร้อยละ 23.82 มูลค่า 260.904 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 75.73
2) เม็ดพลาสติก (HS. 3901) Ethylene, Primary Form
ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 12 ของโลก ผู้ส่งออกหลักคือ เบลเยี่ยม สหรัฐฯ แคนาดา
ในด้านการนำเข้าของญี่ปุ่น (ม.ค-ส.ค 48) มูลค่า 216.439 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ54.36 มีการนำเข้าจาก สหรัฐฯ ซาอุดิอาระเบีย ไทย เป็นหลักการนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 3
สัดส่วนร้อยละ 17.73 มูลค่า 38.383 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 172.51
3) แผงวงจรไฟฟ้า (HS. 8542) Integrated Circuits
ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 14 ของโลก ผู้ส่งออกหลักคือ สหรัฐฯ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น
ด้านการนำเข้าของญี่ปุ่น (ม.ค-ส.ค 48) มูลค่า 11,832.702 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ
5.32 มีการนำเข้าจาก ไต้หวัน สหรัฐฯ เกาหลีใต้ เป็นหลักการนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 8 สัดส่วน
ร้อยละ 3.08 มูลค่า 364.136 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.22
4) ไก่แปรรูป (HS. 160232) O Chick Prepar / pres.
ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 1 ของโลก ผู้ส่งออกหลักคือ จีน เนเธอร์แลนด์
ในด้านการนำเข้าของญี่ปุ่น (ม.ค-ส.ค 48) มูลค่า 688.175 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 68.62 มีการนำเข้าจาก จีน ไทย และบราซิล เป็นหลักการนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 2 สัดส่วน
ร้อยละ 44.64 มูลค่า 307.231 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 84.54
5) อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์และไดโอด (HS. 8541) Semi Con DV ; L — EMT Diod
ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับ 13 ของโลก ผู้ส่งออกหลักคือ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ สิงคโปร์
ในด้านการนำเข้าของญี่ปุ่น (ม.ค-ส.ค 48) มูลค่า 1,680.893 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 7.09 มีการนำเข้าจาก จีน มาเลเซีย สหรัฐฯ เป็นหลักการนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 5 สัดส่วน
ร้อยละ 10.22 มูลค่า 171.745 ล้านเหรียญสหรัฐฯลดลงร้อยละ 2.07
6) เครื่องโทรสาร โทรพิมพ์ โทรศัพท์อุปกรณ์และส่วนประกอบ (HS 8517) LN TELEPH, ETC EL
ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับ 19 ของโลก ผู้ส่งออกหลักคือ สหรัฐฯ จีน ฮ่องกง
ในด้านการนำเข้าของญี่ปุ่น (ม.ค-ส.ค 48) มูลค่า 1,641.843 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 13.74 มีการนำเข้าจาก จีน ไต้หวัน สหรัฐฯ เป็นหลักการนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 4 สัดส่วน
ร้อยละ 8.58 มูลค่า 140.890 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 11.49
6. ข้อมูลเพิ่มเติมและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการค้าระหว่างไทย — ญี่ปุ่น
เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีดุลการค้าเกินดุล 116.30 พันล้านเยน ซึ่งน้อยกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ได้คาดการณ์
ไว้ 378 พันล้านเยน โดยยอดการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 อย่างไรก็ตามดุลการค้า
ยังเกินดุลในเดือนส.ค. ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนก.ค. ร้อยละ 1.3 และ GDP ในไตรมาส 2 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8
จากไตรมาสแรก
ปัจจุบันนักลงทุนต่างชาติได้หันมาสนใจที่จะเข้ามาใช้ประเทศไทยเป็นฐานการลงทุนเพื่อการผลิตและ
การส่งออก เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีความมั่นใจในเสถียรภาพของประเทศไทยว่ามีศักยภาพในการลงทุนสูง
ประกอบกับมีบุคลากรที่มีความชำนาญในระดับที่สามารถพัฒนาเทคนิคการผลิตไปสู่ขั้นสูงได้เมื่อเทียบกับประเทศอื่น
ในอาเซียน นอกจากนี้หากไทยและจีนสามารถบรรลุข้อตกลงทางการค้าการลงทุนได้ในอนาคต ไทยก็จะสามารถ
เป็นประตูทางการค้าได้อย่างแน่นอนและจะทำให้หลายประเทศ โดยเฉพาะญี่ปุ่นพิจารณาเข้ามาลงทุนในประเทศไทย
เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามนักลงทุนที่มาลงทุนในประเทศไทยอันดับ 1 ยังคงได้แก่ญี่ปุ่น รองลงมาคือสหภาพยุโรป
และสหรัฐฯ ทั้งนี้รัฐบาลของไทยและญี่ปุ่นต่างก็มีนโยบายที่ชัดเจนในเรื่องการร่วมมือกันด้านอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ
นโยบายการส่งเสริมการลงทุนในหลายๆ โครงการที่รัฐบาลให้การสนับสนุน เช่น ยานยนต์และไฟฟ้า และ
อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะมุ่งเน้น ให้เป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้วัตถุดิบและชิ้นส่วนภายในประเทศ ซึ่งภายใต้ความ
ร่วมมือดังกล่าว จะเป็นรูปแบบของการแลกเปลี่ยนบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะในภาควิศวกรรมชั้นสูง
รองเลขาสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท) ดร.นิลสุวรรณ ลีลารัศมี ซึ่งเป็นคณะทำงาน
การเจรจาเขตการค้าเสรี (FTA) ไทย-ญี่ปุ่น เปิดเผยว่าขณะนี้นายกรัฐมนตรีของไทยและญี่ปุ่นได้ร่วมประกาศ
ผลสำเร็จเบื้องต้นในในการจัดทำ FTA ไปแล้ว ณ กรุงโตเกียง แต่ในทางปฏิบัติคณะเจรจาของทั้งสองฝ่ายยังคง
ไม่บรรลุข้อสรุปในการเจรจาจัดเอกสารบันทึกความตกลง (record of discussion) ในเรื่องกฎว่าด้วย
แหล่งกำเนิดสินค้า (rules of origin) ทั้งนี้เมื่อวันที่ 7-8 กันยายน 2548 ทั้งไทยและญี่ปุ่นได้ร่วมหารือและ
ได้ข้อสรุปที่น่าพอใจในเรื่องดังกล่าวในส่วนของสินค้า 6,000 รายการยกเว้นสินค้าสำคัญๆ ได้แก่ ทูน่ากระป๋อง
สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม รถยนต์และเหล็ก ซึ่งเป็นสินค้าที่มีสัดส่วนมูลค่าทางการค้าระหว่างกันสูง ซึ่งขณะนี้ทั้งสอง
ฝ่ายจะต้องกลับมาพิจารณาข้อเสนอของตนอีกครั้งเพื่อปรับปรุงข้อตกลงในการเจรจาครั้งต่อไป
ประเทศไทยต้องการให้ญี่ปุ่นรับแหล่งกำเนิดสินค้าสินค้าปลาทูน่าแปรรูปให้สามารถใช้วัตถุดิบจากต่าง
ประเทศมาแปรรูปได้หรือยอมรับการเปลี่ยนพิกัดภาษี ในขณะที่ญี่ปุ่นยังคงยืนยันว่าจะต้องเป็นวัตถุดิบหรือปลาที่จับ
จากประเทศไทยเท่านั้น ส่งผลให้ไทยไม่สามารถใช้ประโยชน์จาก FTA เพราะไทยจับปลาจากอินโดนีเซียและ
ไต้หวันเป็นส่วนใหญ่
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ