ข่าวในประเทศ
1. ทีดีอาร์ไอเสนอแนะ ธปท.เพิ่มความเข้มงวดการเก็งกำไรค่าเงินบาท ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ขณะนี้มีนักค้าเงินจำนวนมากเข้ามาเก็งกำไรค่าเงินในสกุลหลัก รวมถึงค่าเงินบาท หลังจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไม่ได้ผลตอบแทนเป็นที่น่าพอใจ โดยอาศัยช่องโหว่ของกฎหมายเข้ามาลงทุนในรูปแบบต่างๆ ซึ่งไม่เกิดประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจแต่อย่างใด กลับส่งผลให้การดูแลเศรษฐกิจทำได้ยากยิ่งขึ้น และเห็นว่า ธปท.ควรปรับปรุงมาตรการลงโทษให้มีความเข้มงวดมากยิ่งขึ้นจากที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้นักเก็งกำไรเกรงกลัว สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทจะเป็นอย่างไรต่อไปนั้นไม่สามารถระบุได้ เพราะขึ้นกับความต้องการซื้อขายในตลาด ซึ่งที่ผ่านมามีการซื้อดอลลาร์ สรอ.เป็นจำนวนมากเพื่อชำระหนี้คืนต่างประเทศ ทางด้าน นายเชษฐทวี เจริญพิทักษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่พบการเคลื่อนไหวผิดปกติของค่าเงินบาท หลังจาก ธปท.ได้ออกมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันการเก็งกำไร ส่วนบทลงโทษที่ ธปท.ใช้ในปัจจุบันนั้น สามารถใช้ได้ผลอยู่แล้ว (วัฏจักร,เดลินิวส์ 18)
2. บริษัทศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ประเมินค่าเงินบาทและแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในปี 44 บริษัทศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์คาดว่าตลอดปี 44 เงินบาทยังมีแนวโน้มอ่อนค่าลงอีกเล็กน้อย เนื่องจากการเกินดุลการค้าที่ลดลงตามการชะลอตัวของภาคส่งออก โดยค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ระดับ 41.87 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. สำหรับทิศทางอัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนจาก (1) สภาพคล่องส่วนเกินที่สูงในระบบ ธพ. (2) การผ่อนคลายนโยบายการเงินโดยการดูแลอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำเพื่อเอื้อต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ (3) การเกินดุลบัญชีเดินสะพัด และ (4) ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของ สรอ.ที่มีแนวโน้มในช่วงขาลง สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากคาดว่าจะอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน อัตราดอกเบี้ยเงินฝากระยะ 1 ปี และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีในปี 44 จะมีอัตราเฉลี่ยร้อยละ 1.0, 3.5 และ 7.8 ต่อปี ตามลำดับ (กรุงเทพธุรกิจ 18)
3. ก.คลังวางกรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปี 45 รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณเปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 45 จะวางกรอบมิให้อัตราการเพิ่มงบประมาณรายจ่ายเกินร้อยละ 6 หรือประมาณ 55,000 ล.บาท เมื่อเทียบกับวงเงินรายจ่ายปี 44 ที่มีจำนวน 910,000 ล.บาท เนื่องจากปี 45 รัฐบาลมีภาระการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะงบฯ ชำระหนี้ งบฯ จัดสรรให้ท้องถิ่นและงบฯ ประจำที่จัดสรรให้หน่วยงานอิสระ ขณะเดียวกันแหล่งข่าวจาก ก.คลังกล่าวว่า ปัญหาสำคัญของรัฐบาลปัจจุบันและอีก 5 ปีข้างหน้า คือ การบริหารหนี้สาธารณะ ซึ่งขณะนี้มีประมาณ 2.76 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 55.01 ของจีดีพี (ไทยโพสต์ 18)
4. ยอดการขอรับส่งเสริมการลงทุน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเปิดเผยยอดขอรับส่งเสริมการส่งทุนในช่วง 11 เดือนแรกของปี 43 ว่า มีจำนวน 1,024 โครงการ เป็นเงินทั้งสิ้น 314,000 ล.บาท สัดส่วนของนักลงทุนไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 32 จากระยะเดียวกันปีก่อน สำหรับปี 43 ประเทศที่ลงทุนในไทยมากที่สุดคือ ญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 37 ของการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด (แนวหน้า 18)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคของ สรอ. เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยในเดือน พ.ย. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 43 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า เดือน พ.ย. 43 ดัชนีราคาผู้บริโภค(CPI)โดยรวม ที่ปรับฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือน ต.ค. 43 และตรงกับที่นักเศรษฐศาสตร์เคยคาดไว้ว่า จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เช่นกัน ขณะเดียวกัน ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือน ต.ค. 43 ซึ่งเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เนื่องจากได้รับแรงผลักดันจากราคายาสูบ และราคาค่าโดยสารเครื่องบินที่สูงขึ้น ทั้งนี้ การที่เงินเฟ้อในเดือน พ.ย. 43 ยังคงอ่อนตัวลง เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมขยายตัวชะลอลง และสนับสนุนการคาดหมายว่า ธ. กลางอาจจะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงต้นปี 44 (รอยเตอร์15)
2. ดัชนีราคาขายส่งของเยอรมนีตะวันตกลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือน พ.ย. 43 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 43 สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนี เปิดเผยว่า เดือน พ.ย. 43 เงินเฟ้อที่วัดจากราคาขายส่ง ลดลงร้อยละ 0.2 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือน ต.ค. 43 ซึ่งเป็นการลดลงเป็นครั้งแรกเมื่อเทียบต่อเดือนนับแต่เดือน เม.ย. 43 และเมื่อเทียบต่อปี เงินเฟ้อฯ ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 6.4 จากร้อยละ 7.4 ในเดือน ต.ค. 43 ก่อนหน้านี้ นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่า ในเดือน พ.ย. 43 เงินเฟ้อฯ เมื่อเทียบต่อเดือน และเทียบต่อปี จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 และร้อยละ 7.1 ตามลำดับ ขณะเดียวกัน เมื่อไม่รวมราคาผลิตภัณฑ์น้ำมัน เงินเฟ้อที่วัดจากราคาขายส่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 เทียบต่อปี ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 3.6 ในเดือน ต.ค. 43 Lothar Hessler นักเศรษฐศาสตร์แห่ง HSBC Trinkaus ชี้ว่าเงินเฟ้อฯที่ลดลง เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาเร็วๆนี้ ราคาน้ำมันลดลงจากก่อนหน้านี้ที่ขึ้นไปสูงสุดในรอบ10 ปี และจากรายงานครั้งนี้ แสดงว่าสัญญาณเงินเฟ้อของเยอรมนีได้ผ่านช่วงสูงสุดแล้ว (รอยเตอร์ 15)
3. ดัชนีบรรยากาศทางธุรกิจของเยอรมนีตะวันตกลดลงเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกันในเดือน พ.ย. 43 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อ 15 ธ.ค. 43 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ Ifo ของเยอรมนีรายงานว่า เดือน พ.ย. 43 ดัชนีบรรยากาศทางธุรกิจ ของเยอรมนีตะวันตกได้ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 อยู่ที่ระดับ 97 จากที่ระดับ 97.2 ในเดือน ต.ค. 43 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 42 หลังจากที่ลดลงมาตลอดจากที่เคยสูงสุดในรอบ 9 ปีที่ระดับ 102 ในเดือน พ.ค. 43 และต่ำกว่าที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ที่ระดับ 97.1 ซึ่งเป็นสัญญาณชี้ว่าเศรษฐกิจของเยอรมนียังคงชะลอตัวลงภายใต้แรงกดดันจากราคาพลังงานที่สูงขึ้น โดยนักวิเคราะห์คาดว่าจากราคาพลังงานที่สูงขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นทางธุรกิจ แต่อาจจะปรับตัวดีขึ้นหลังจากที่ราคาน้ำมันเริ่มมีเสถียรภาพและการปฏิรูประบบภาษีที่จะเริ่มขึ้นในปี 44 ซึ่งจะกระตุ้นให้การใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น (รอยเตอร์ 15)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 15 ธ.ค.43 43.437 (43.512)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 15 ธ.ค. 43
ซื้อ 43.2325 (43.3229) ขาย 43.5444 (43.6326)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,500 (5,500) ขาย 5,600 (5,600)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 22.62 (21.28)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.49 (16.49) ดีเซลหมุนเร็ว 13.64 (13.94)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ทีดีอาร์ไอเสนอแนะ ธปท.เพิ่มความเข้มงวดการเก็งกำไรค่าเงินบาท ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ขณะนี้มีนักค้าเงินจำนวนมากเข้ามาเก็งกำไรค่าเงินในสกุลหลัก รวมถึงค่าเงินบาท หลังจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไม่ได้ผลตอบแทนเป็นที่น่าพอใจ โดยอาศัยช่องโหว่ของกฎหมายเข้ามาลงทุนในรูปแบบต่างๆ ซึ่งไม่เกิดประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจแต่อย่างใด กลับส่งผลให้การดูแลเศรษฐกิจทำได้ยากยิ่งขึ้น และเห็นว่า ธปท.ควรปรับปรุงมาตรการลงโทษให้มีความเข้มงวดมากยิ่งขึ้นจากที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้นักเก็งกำไรเกรงกลัว สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทจะเป็นอย่างไรต่อไปนั้นไม่สามารถระบุได้ เพราะขึ้นกับความต้องการซื้อขายในตลาด ซึ่งที่ผ่านมามีการซื้อดอลลาร์ สรอ.เป็นจำนวนมากเพื่อชำระหนี้คืนต่างประเทศ ทางด้าน นายเชษฐทวี เจริญพิทักษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่พบการเคลื่อนไหวผิดปกติของค่าเงินบาท หลังจาก ธปท.ได้ออกมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันการเก็งกำไร ส่วนบทลงโทษที่ ธปท.ใช้ในปัจจุบันนั้น สามารถใช้ได้ผลอยู่แล้ว (วัฏจักร,เดลินิวส์ 18)
2. บริษัทศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ประเมินค่าเงินบาทและแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในปี 44 บริษัทศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์คาดว่าตลอดปี 44 เงินบาทยังมีแนวโน้มอ่อนค่าลงอีกเล็กน้อย เนื่องจากการเกินดุลการค้าที่ลดลงตามการชะลอตัวของภาคส่งออก โดยค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ระดับ 41.87 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. สำหรับทิศทางอัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนจาก (1) สภาพคล่องส่วนเกินที่สูงในระบบ ธพ. (2) การผ่อนคลายนโยบายการเงินโดยการดูแลอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำเพื่อเอื้อต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ (3) การเกินดุลบัญชีเดินสะพัด และ (4) ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของ สรอ.ที่มีแนวโน้มในช่วงขาลง สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากคาดว่าจะอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน อัตราดอกเบี้ยเงินฝากระยะ 1 ปี และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีในปี 44 จะมีอัตราเฉลี่ยร้อยละ 1.0, 3.5 และ 7.8 ต่อปี ตามลำดับ (กรุงเทพธุรกิจ 18)
3. ก.คลังวางกรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปี 45 รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณเปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 45 จะวางกรอบมิให้อัตราการเพิ่มงบประมาณรายจ่ายเกินร้อยละ 6 หรือประมาณ 55,000 ล.บาท เมื่อเทียบกับวงเงินรายจ่ายปี 44 ที่มีจำนวน 910,000 ล.บาท เนื่องจากปี 45 รัฐบาลมีภาระการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะงบฯ ชำระหนี้ งบฯ จัดสรรให้ท้องถิ่นและงบฯ ประจำที่จัดสรรให้หน่วยงานอิสระ ขณะเดียวกันแหล่งข่าวจาก ก.คลังกล่าวว่า ปัญหาสำคัญของรัฐบาลปัจจุบันและอีก 5 ปีข้างหน้า คือ การบริหารหนี้สาธารณะ ซึ่งขณะนี้มีประมาณ 2.76 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 55.01 ของจีดีพี (ไทยโพสต์ 18)
4. ยอดการขอรับส่งเสริมการลงทุน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเปิดเผยยอดขอรับส่งเสริมการส่งทุนในช่วง 11 เดือนแรกของปี 43 ว่า มีจำนวน 1,024 โครงการ เป็นเงินทั้งสิ้น 314,000 ล.บาท สัดส่วนของนักลงทุนไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 32 จากระยะเดียวกันปีก่อน สำหรับปี 43 ประเทศที่ลงทุนในไทยมากที่สุดคือ ญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 37 ของการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด (แนวหน้า 18)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคของ สรอ. เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยในเดือน พ.ย. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 43 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า เดือน พ.ย. 43 ดัชนีราคาผู้บริโภค(CPI)โดยรวม ที่ปรับฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือน ต.ค. 43 และตรงกับที่นักเศรษฐศาสตร์เคยคาดไว้ว่า จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เช่นกัน ขณะเดียวกัน ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือน ต.ค. 43 ซึ่งเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เนื่องจากได้รับแรงผลักดันจากราคายาสูบ และราคาค่าโดยสารเครื่องบินที่สูงขึ้น ทั้งนี้ การที่เงินเฟ้อในเดือน พ.ย. 43 ยังคงอ่อนตัวลง เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมขยายตัวชะลอลง และสนับสนุนการคาดหมายว่า ธ. กลางอาจจะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงต้นปี 44 (รอยเตอร์15)
2. ดัชนีราคาขายส่งของเยอรมนีตะวันตกลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือน พ.ย. 43 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 43 สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนี เปิดเผยว่า เดือน พ.ย. 43 เงินเฟ้อที่วัดจากราคาขายส่ง ลดลงร้อยละ 0.2 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือน ต.ค. 43 ซึ่งเป็นการลดลงเป็นครั้งแรกเมื่อเทียบต่อเดือนนับแต่เดือน เม.ย. 43 และเมื่อเทียบต่อปี เงินเฟ้อฯ ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 6.4 จากร้อยละ 7.4 ในเดือน ต.ค. 43 ก่อนหน้านี้ นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่า ในเดือน พ.ย. 43 เงินเฟ้อฯ เมื่อเทียบต่อเดือน และเทียบต่อปี จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 และร้อยละ 7.1 ตามลำดับ ขณะเดียวกัน เมื่อไม่รวมราคาผลิตภัณฑ์น้ำมัน เงินเฟ้อที่วัดจากราคาขายส่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 เทียบต่อปี ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 3.6 ในเดือน ต.ค. 43 Lothar Hessler นักเศรษฐศาสตร์แห่ง HSBC Trinkaus ชี้ว่าเงินเฟ้อฯที่ลดลง เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาเร็วๆนี้ ราคาน้ำมันลดลงจากก่อนหน้านี้ที่ขึ้นไปสูงสุดในรอบ10 ปี และจากรายงานครั้งนี้ แสดงว่าสัญญาณเงินเฟ้อของเยอรมนีได้ผ่านช่วงสูงสุดแล้ว (รอยเตอร์ 15)
3. ดัชนีบรรยากาศทางธุรกิจของเยอรมนีตะวันตกลดลงเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกันในเดือน พ.ย. 43 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อ 15 ธ.ค. 43 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ Ifo ของเยอรมนีรายงานว่า เดือน พ.ย. 43 ดัชนีบรรยากาศทางธุรกิจ ของเยอรมนีตะวันตกได้ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 อยู่ที่ระดับ 97 จากที่ระดับ 97.2 ในเดือน ต.ค. 43 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 42 หลังจากที่ลดลงมาตลอดจากที่เคยสูงสุดในรอบ 9 ปีที่ระดับ 102 ในเดือน พ.ค. 43 และต่ำกว่าที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ที่ระดับ 97.1 ซึ่งเป็นสัญญาณชี้ว่าเศรษฐกิจของเยอรมนียังคงชะลอตัวลงภายใต้แรงกดดันจากราคาพลังงานที่สูงขึ้น โดยนักวิเคราะห์คาดว่าจากราคาพลังงานที่สูงขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นทางธุรกิจ แต่อาจจะปรับตัวดีขึ้นหลังจากที่ราคาน้ำมันเริ่มมีเสถียรภาพและการปฏิรูประบบภาษีที่จะเริ่มขึ้นในปี 44 ซึ่งจะกระตุ้นให้การใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น (รอยเตอร์ 15)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 15 ธ.ค.43 43.437 (43.512)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 15 ธ.ค. 43
ซื้อ 43.2325 (43.3229) ขาย 43.5444 (43.6326)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,500 (5,500) ขาย 5,600 (5,600)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 22.62 (21.28)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.49 (16.49) ดีเซลหมุนเร็ว 13.64 (13.94)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-