กรุงเทพฯ--21 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (20 พฤศจิกายน 2544) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับการหารือในระหว่างการเลี้ยงอาหารเช้า (working breakfast) ที่นาย Takashi Imai ประธานสภาเศรษฐกิจญี่ปุ่น (Keidanren) จัดเพื่อเป็นเกียรติแก่ ฯพณฯ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยมีคณะผู้แทนไทยและนักธุรกิจชั้นนำของญี่ปุ่น เข้าร่วมด้วย ดังนี้
ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้แจ้งว่า ประเทศไทยยินดีต้อนรับการลงทุนจากญี่ปุ่นและให้ความสำคัญกับญี่ปุ่นมาก นอกจากนี้ รัฐบาลไทยยังมีนโยบาย Matching Fund กล่าวคือ ในเรื่องใดที่นักลงทุนต้องการมีความมั่นใจเป็นพิเศษ รัฐบาลก็พร้อมที่จะร่วมทุนด้วยไม่เกินร้อยละ 25 ของการลงทุน ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ลงทุนมั่นใจว่ารัฐบาลไทยมีความมั่นใจและพร้อมที่จะลงทุนในกิจการดังกล่าว g เช่นกัน ซึ่งนักธุรกิจญี่ปุ่นมีความพอใจกับคำยืนยันของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก
นักธุรกิจญี่ปุ่นแสดงความห่วงใยที่จีนเติบโตอย่างรวดเร็ว และอาเซียนกับจีนเห็นชอบการตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างกัน (FTA) รวมทั้งแสดงความห่วงใยในการที่จีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกว่าจะเป็นการคุกคามหรือเป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจของอาเซียน และญี่ปุ่นควรจะมีบทบาทเช่นใดในพัฒนาการที่เกิดขึ้นนี้ รวมทั้งขอทราบว่าญี่ปุ่นและไทยควรมีความร่วมมือเพิ่มเติมในลักษณะหรือด้านใดบ้าง ซึ่ง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้ชี้แจงว่า ไทยกับจีนได้มีการหารือกันอย่างใกล้ชิดในเรื่อง ที่จีนจะเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกมาโดยตลอด และได้ตกลงตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษาว่า เรื่องใดจะก่อให้เกิดความเสียหายกับทั้งสองประเทศ เช่นกรณีที่ผลผลิตสินค้าของจีนและไทยแข่งขันกันเองในตลาดประเทศที่สาม เช่น สินค้าสิ่งทอและผลิตผลทางเกษตร เป็นต้น ซึ่งในกรณีเช่นนี้ แทนที่จะแข่งขันแย่งตลาดหรือตัดราคากัน ก็ควรร่วมกันลงทุนในรูปของ joint venture กล่าวคือเป็นการเปลี่ยนการแข่งขันเป็นความร่วมมือ ดังนั้น ญี่ปุ่นก็สามารถที่จะลงทุนและร่วมมือกับไทยในลักษณะนี้เช่นกัน
ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้แจ้งให้นักธุรกิจญี่ปุ่นทราบว่า โดยที่จีนมีระบบภาษีพิเศษกับลาว พม่า และเวียดนามซึ่งมีพรมแดนติดต่อกันกับจีน ไทยได้เสนอว่า จีนก็ควรใช้ระบบภาษีพิเศษนี้กับไทยด้วย เพราะนอกจากไทยจะมีพรมแดนห่างจากจีนเพียงร้อยกว่ากิโลเมตรเท่านั้นแล้ว ไทย-จีนยังเชื่อมโยงด้วยแม่น้ำโขง ซึ่งต่อมา ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีและ ฯพณฯ นายจู หรง จี นายกรัฐมนตรีจีนได้ให้ความเห็นชอบกับแนวความคิดดังกล่าวแล้ว ขณะนี้อยู่ในระหว่างการจัดตั้งคณะทำงานร่วม ฯพณฯ นายกรัฐมนตรียังได้ใช้โอกาสนี้เชิญชวนให้นักธุรกิจญี่ปุ่นใช้ไทยเป็นฐานผลิตสินค้าเพื่อส่งไปขายจีนตอนใต้ ซึ่งสามารถที่จะได้ประโยชน์จากอัตราภาษีพิเศษดังกล่าวเช่นเดียวกัน
นักธุรกิจญี่ปุ่นได้ให้ความสนใจโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของไทย โดยเฉพาะการกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้า โดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเชิญชวนนักธุรกิจให้มาลงทุนและพัฒนาธุรกิจในไทย เพราะหากฐานรากของเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจเพื่อนบ้านดีขึ้นแล้ว ก็จะเป็นตลาดที่สำคัญของญี่ปุ่นต่อไป ซึ่งนักธุรกิจญี่ปุ่นแสดงความเห็นด้วยและความสนใจที่จะมาร่วมลงทุนใน โครงการดังกล่าว
นักธุรกิจญี่ปุ่นยังได้ให้ความสนใจในอุตสาหกรรม IT แต่มีความห่วงใยว่า อุตสาหกรรม IT ไม่สามารถพัฒนาไปได้มากเท่าที่ควร หากไม่มีผู้ที่สามารถประยุกต์ใช้ IT หรือคอมพิวเตอร์อย่างมีประสิทธิภาพ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีจึงได้ยกกรณีของ "น้าน้อย" ซึ่งจบ ป.4 แต่รู้จักแก้ปัญหาชีวิตและสามารถจัดทำระบบบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์ได้ จนกลายเป็นศูนย์การเรียนคอมพิวเตอร์ของหมู่บ้าน ซึ่งรัฐบาลไทยมีนโยบายที่จะสนับสนุนการศึกษาและการประยุกต์ใช้ IT เช่นนี้ นอกเหนือจากการศึกษาในระบบ รวมทั้งส่งเสริมการใช้ Internet ตำบลด้วย ซึ่งข้อมูลนี้ได้สร้างความพึงพอใจและกระตือรือร้น (very encouraging) เป็นอย่างมากแก่นักธุรกิจญี่ปุ่นถึงความพร้อมของคนไทยที่จะเรียนและประยุกต์ใช้ IT ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งในการพบปะหารือครั้งนี้ คือการที่ ฯพณฯ นายก รัฐมนตรีได้แสดงวิสัยทัศน์ของไทยให้ภาคเอกชนญี่ปุ่นทราบ ซึ่งรวมทั้งเรื่องเขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น หรือที่เรียกว่า ความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้นทางเศรษฐกิจ (closer economic cooperation) ซึ่งความร่วมมือนี้จะสามารถทำให้บรรลุผลได้โดยในชั้นต้นจะต้องแบ่งความร่วมมือเป็นสามกลุ่ม กล่าวคือ กลุ่มแรกเป็นสินค้าที่ไม่มีปัญหาระหว่างกัน จึงสามารถดำเนินการได้ทันที กลุ่มที่สองคือ กลุ่มที่มีปัญหาบ้าง แต่พอที่จะแก้ไขและตกลงกันได้ ซึ่งสามารถดำเนินการได้ในระยะใกล้หลังจากนั้นส่วนกลุ่มที่สามเป็นสินค้าที่มีปัญหาหรือมีความละเอียดอ่อน เช่น สินค้าเกษตรกรรมบางประเภท ซึ่งอาจต้องชลอไว้ดำเนินการในอนาคต
ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้ย้ำด้วยว่า การลงนามในเอกสารกรอบความร่วมมือหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (2544-2548) เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน โดยได้ตกลงให้มีการให้จัดตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษาและดำเนินการต่อไปแล้ว นับว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีของความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้นทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและญี่ปุ่น ฯพณฯ นายกรัฐมนตรียังได้ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของความร่วมมือกันในด้านการค้า การเงิน และการท่องเที่ยวของประเทศไทยในเอเชีย ซึ่งมีเงินทุนสำรองและประชากรกว่าครึ่งหนึ่งของโลก และได้เสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของบางประเทศมาหารือในเรื่องนี้อย่างไม่เป็นทางการในประเทศไทย โดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรียินดีเป็น "เจ้าภาพ" ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยปรึกษาหารืออย่างไม่เป็นทางการกับรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศของสิงคโปร์ ญี่ปุ่น อินเดีย และบาห์เรน เป็นต้น ซึ่งทางฝ่ายญี่ปุ่นก็ได้แสดงความเห็นด้วยกับแนวความคิดดังกล่าวแล้ว
นอกจากนั้น ได้มีการหารือในประเด็นเฉพาะเรื่อง (specific issues) เช่น ปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าในอุตสาหกรรมการผลิตบางประเภท ซึ่ง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ ฯพณฯ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีรับไปแก้ไขแล้ว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (20 พฤศจิกายน 2544) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับการหารือในระหว่างการเลี้ยงอาหารเช้า (working breakfast) ที่นาย Takashi Imai ประธานสภาเศรษฐกิจญี่ปุ่น (Keidanren) จัดเพื่อเป็นเกียรติแก่ ฯพณฯ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยมีคณะผู้แทนไทยและนักธุรกิจชั้นนำของญี่ปุ่น เข้าร่วมด้วย ดังนี้
ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้แจ้งว่า ประเทศไทยยินดีต้อนรับการลงทุนจากญี่ปุ่นและให้ความสำคัญกับญี่ปุ่นมาก นอกจากนี้ รัฐบาลไทยยังมีนโยบาย Matching Fund กล่าวคือ ในเรื่องใดที่นักลงทุนต้องการมีความมั่นใจเป็นพิเศษ รัฐบาลก็พร้อมที่จะร่วมทุนด้วยไม่เกินร้อยละ 25 ของการลงทุน ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ลงทุนมั่นใจว่ารัฐบาลไทยมีความมั่นใจและพร้อมที่จะลงทุนในกิจการดังกล่าว g เช่นกัน ซึ่งนักธุรกิจญี่ปุ่นมีความพอใจกับคำยืนยันของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก
นักธุรกิจญี่ปุ่นแสดงความห่วงใยที่จีนเติบโตอย่างรวดเร็ว และอาเซียนกับจีนเห็นชอบการตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างกัน (FTA) รวมทั้งแสดงความห่วงใยในการที่จีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกว่าจะเป็นการคุกคามหรือเป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจของอาเซียน และญี่ปุ่นควรจะมีบทบาทเช่นใดในพัฒนาการที่เกิดขึ้นนี้ รวมทั้งขอทราบว่าญี่ปุ่นและไทยควรมีความร่วมมือเพิ่มเติมในลักษณะหรือด้านใดบ้าง ซึ่ง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้ชี้แจงว่า ไทยกับจีนได้มีการหารือกันอย่างใกล้ชิดในเรื่อง ที่จีนจะเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกมาโดยตลอด และได้ตกลงตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษาว่า เรื่องใดจะก่อให้เกิดความเสียหายกับทั้งสองประเทศ เช่นกรณีที่ผลผลิตสินค้าของจีนและไทยแข่งขันกันเองในตลาดประเทศที่สาม เช่น สินค้าสิ่งทอและผลิตผลทางเกษตร เป็นต้น ซึ่งในกรณีเช่นนี้ แทนที่จะแข่งขันแย่งตลาดหรือตัดราคากัน ก็ควรร่วมกันลงทุนในรูปของ joint venture กล่าวคือเป็นการเปลี่ยนการแข่งขันเป็นความร่วมมือ ดังนั้น ญี่ปุ่นก็สามารถที่จะลงทุนและร่วมมือกับไทยในลักษณะนี้เช่นกัน
ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้แจ้งให้นักธุรกิจญี่ปุ่นทราบว่า โดยที่จีนมีระบบภาษีพิเศษกับลาว พม่า และเวียดนามซึ่งมีพรมแดนติดต่อกันกับจีน ไทยได้เสนอว่า จีนก็ควรใช้ระบบภาษีพิเศษนี้กับไทยด้วย เพราะนอกจากไทยจะมีพรมแดนห่างจากจีนเพียงร้อยกว่ากิโลเมตรเท่านั้นแล้ว ไทย-จีนยังเชื่อมโยงด้วยแม่น้ำโขง ซึ่งต่อมา ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีและ ฯพณฯ นายจู หรง จี นายกรัฐมนตรีจีนได้ให้ความเห็นชอบกับแนวความคิดดังกล่าวแล้ว ขณะนี้อยู่ในระหว่างการจัดตั้งคณะทำงานร่วม ฯพณฯ นายกรัฐมนตรียังได้ใช้โอกาสนี้เชิญชวนให้นักธุรกิจญี่ปุ่นใช้ไทยเป็นฐานผลิตสินค้าเพื่อส่งไปขายจีนตอนใต้ ซึ่งสามารถที่จะได้ประโยชน์จากอัตราภาษีพิเศษดังกล่าวเช่นเดียวกัน
นักธุรกิจญี่ปุ่นได้ให้ความสนใจโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของไทย โดยเฉพาะการกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้า โดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเชิญชวนนักธุรกิจให้มาลงทุนและพัฒนาธุรกิจในไทย เพราะหากฐานรากของเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจเพื่อนบ้านดีขึ้นแล้ว ก็จะเป็นตลาดที่สำคัญของญี่ปุ่นต่อไป ซึ่งนักธุรกิจญี่ปุ่นแสดงความเห็นด้วยและความสนใจที่จะมาร่วมลงทุนใน โครงการดังกล่าว
นักธุรกิจญี่ปุ่นยังได้ให้ความสนใจในอุตสาหกรรม IT แต่มีความห่วงใยว่า อุตสาหกรรม IT ไม่สามารถพัฒนาไปได้มากเท่าที่ควร หากไม่มีผู้ที่สามารถประยุกต์ใช้ IT หรือคอมพิวเตอร์อย่างมีประสิทธิภาพ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีจึงได้ยกกรณีของ "น้าน้อย" ซึ่งจบ ป.4 แต่รู้จักแก้ปัญหาชีวิตและสามารถจัดทำระบบบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์ได้ จนกลายเป็นศูนย์การเรียนคอมพิวเตอร์ของหมู่บ้าน ซึ่งรัฐบาลไทยมีนโยบายที่จะสนับสนุนการศึกษาและการประยุกต์ใช้ IT เช่นนี้ นอกเหนือจากการศึกษาในระบบ รวมทั้งส่งเสริมการใช้ Internet ตำบลด้วย ซึ่งข้อมูลนี้ได้สร้างความพึงพอใจและกระตือรือร้น (very encouraging) เป็นอย่างมากแก่นักธุรกิจญี่ปุ่นถึงความพร้อมของคนไทยที่จะเรียนและประยุกต์ใช้ IT ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งในการพบปะหารือครั้งนี้ คือการที่ ฯพณฯ นายก รัฐมนตรีได้แสดงวิสัยทัศน์ของไทยให้ภาคเอกชนญี่ปุ่นทราบ ซึ่งรวมทั้งเรื่องเขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น หรือที่เรียกว่า ความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้นทางเศรษฐกิจ (closer economic cooperation) ซึ่งความร่วมมือนี้จะสามารถทำให้บรรลุผลได้โดยในชั้นต้นจะต้องแบ่งความร่วมมือเป็นสามกลุ่ม กล่าวคือ กลุ่มแรกเป็นสินค้าที่ไม่มีปัญหาระหว่างกัน จึงสามารถดำเนินการได้ทันที กลุ่มที่สองคือ กลุ่มที่มีปัญหาบ้าง แต่พอที่จะแก้ไขและตกลงกันได้ ซึ่งสามารถดำเนินการได้ในระยะใกล้หลังจากนั้นส่วนกลุ่มที่สามเป็นสินค้าที่มีปัญหาหรือมีความละเอียดอ่อน เช่น สินค้าเกษตรกรรมบางประเภท ซึ่งอาจต้องชลอไว้ดำเนินการในอนาคต
ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้ย้ำด้วยว่า การลงนามในเอกสารกรอบความร่วมมือหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (2544-2548) เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน โดยได้ตกลงให้มีการให้จัดตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษาและดำเนินการต่อไปแล้ว นับว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีของความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้นทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและญี่ปุ่น ฯพณฯ นายกรัฐมนตรียังได้ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของความร่วมมือกันในด้านการค้า การเงิน และการท่องเที่ยวของประเทศไทยในเอเชีย ซึ่งมีเงินทุนสำรองและประชากรกว่าครึ่งหนึ่งของโลก และได้เสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของบางประเทศมาหารือในเรื่องนี้อย่างไม่เป็นทางการในประเทศไทย โดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรียินดีเป็น "เจ้าภาพ" ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยปรึกษาหารืออย่างไม่เป็นทางการกับรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศของสิงคโปร์ ญี่ปุ่น อินเดีย และบาห์เรน เป็นต้น ซึ่งทางฝ่ายญี่ปุ่นก็ได้แสดงความเห็นด้วยกับแนวความคิดดังกล่าวแล้ว
นอกจากนั้น ได้มีการหารือในประเด็นเฉพาะเรื่อง (specific issues) เช่น ปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าในอุตสาหกรรมการผลิตบางประเภท ซึ่ง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ ฯพณฯ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีรับไปแก้ไขแล้ว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-