1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 1.60 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 1.58 บาทในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.27
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 13.76 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 13.63 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.95
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
นายวอง คาดการณ์ผลผลิตและปริมาณส่งออกน้ำมันปาล์มของมาเลเซียประจำเดือนนี้ว่ามีปริมาณ 1.30 - 1.31 ล้านตันและ 935,000 - 940,000 ตัน ลดลงจากเดือนตุลาคม ซึ่งมี 1.34 ล้านตันและ 899,000 ตันตามลำดับ สำหรับการนำเข้า-ส่งออกในภาพรวม มาเลเซีย และอินโดนีเซียส่งออกน้ำมันปาล์มและผลิตภัณฑ์ได้เพิ่มมากขึ้น โดยมี อินเดีย และจีน เป็นผู้นำเข้าหลัก โดยอินเดียนำเข้าแล้ว 325,000 ตัน เป็นการนำเข้าจากมาเลเซีย 200,000 ตัน และที่เหลือนำเข้าจากอินโดนีเซีย สาเหตุสำคัญที่อินเดียมีการ นำเข้าน้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้น คือการลดลงของอุปทานน้ำมันถั่วเหลืองในตลาดโลก และการลดลงของสต็อกน้ำมันบริโภคภายในอันเนื่องจากการเก็บภาษีนำเข้าที่สูงของน้ำมันปาล์มในอดีต นอกจากนี้การนำเข้าน้ำมันถั่วเหลืองจากอาร์เจนตินา และบราซิลต้องใช้เวลา 30 วัน ขณะที่ซื้อน้ำมันปาล์มใช้เวลา 1 สัปดาห์ ประกอบกับราคาโดยเปรียบเทียบของน้ำมันปาล์มถูกกว่าน้ำมันถั่วเหลืองค่อนข้างมากในปัจจุบัน ผู้นำเข้าหันมานำเข้าน้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้น ดังนั้น วงการค้ามาเลเซียจึงคาดว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคมปีนี้ สต็อกคงเหลือจะลดลงเหลือ 1.10 ล้านตัน ต่ำกว่าระดับสต็อก ณ ช่วงเวลาเดียวกันของปี 2543 ซึ่งมี 1.42 ล้านตันณ I าคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซียราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,096.30 ดอลลาร์มาเลเซีย (12.86 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,120.00 ดอลลาร์มาเลเซีย (13.42 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.12
ตลาดรอตเตอร์ดัมราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 312.50 ดอลลาร์ สหรัฐฯ (13.91 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 328.33 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.61 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 4.82
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 45 ประจำวันที่ 19-25 พ.ย. 2544--
-สส-
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 1.60 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 1.58 บาทในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.27
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 13.76 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 13.63 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.95
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
นายวอง คาดการณ์ผลผลิตและปริมาณส่งออกน้ำมันปาล์มของมาเลเซียประจำเดือนนี้ว่ามีปริมาณ 1.30 - 1.31 ล้านตันและ 935,000 - 940,000 ตัน ลดลงจากเดือนตุลาคม ซึ่งมี 1.34 ล้านตันและ 899,000 ตันตามลำดับ สำหรับการนำเข้า-ส่งออกในภาพรวม มาเลเซีย และอินโดนีเซียส่งออกน้ำมันปาล์มและผลิตภัณฑ์ได้เพิ่มมากขึ้น โดยมี อินเดีย และจีน เป็นผู้นำเข้าหลัก โดยอินเดียนำเข้าแล้ว 325,000 ตัน เป็นการนำเข้าจากมาเลเซีย 200,000 ตัน และที่เหลือนำเข้าจากอินโดนีเซีย สาเหตุสำคัญที่อินเดียมีการ นำเข้าน้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้น คือการลดลงของอุปทานน้ำมันถั่วเหลืองในตลาดโลก และการลดลงของสต็อกน้ำมันบริโภคภายในอันเนื่องจากการเก็บภาษีนำเข้าที่สูงของน้ำมันปาล์มในอดีต นอกจากนี้การนำเข้าน้ำมันถั่วเหลืองจากอาร์เจนตินา และบราซิลต้องใช้เวลา 30 วัน ขณะที่ซื้อน้ำมันปาล์มใช้เวลา 1 สัปดาห์ ประกอบกับราคาโดยเปรียบเทียบของน้ำมันปาล์มถูกกว่าน้ำมันถั่วเหลืองค่อนข้างมากในปัจจุบัน ผู้นำเข้าหันมานำเข้าน้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้น ดังนั้น วงการค้ามาเลเซียจึงคาดว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคมปีนี้ สต็อกคงเหลือจะลดลงเหลือ 1.10 ล้านตัน ต่ำกว่าระดับสต็อก ณ ช่วงเวลาเดียวกันของปี 2543 ซึ่งมี 1.42 ล้านตันณ I าคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซียราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,096.30 ดอลลาร์มาเลเซีย (12.86 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,120.00 ดอลลาร์มาเลเซีย (13.42 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.12
ตลาดรอตเตอร์ดัมราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 312.50 ดอลลาร์ สหรัฐฯ (13.91 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 328.33 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.61 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 4.82
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 45 ประจำวันที่ 19-25 พ.ย. 2544--
-สส-