ที่มาของสมุดปกขาวฯ
วิกฤตการณ์ด้านความปลอดภัยอาหารที่สร้างความเดือดร้อนและมีความรุนแรงที่สุดในรอบ 10 ปีของสหภาพยุโรป เริ่มจากกรณีที่มีการระบาดของโรควัวบ้า (BSE) ติดตามมาด้วยการปนเปื้อนของสารไดออกซินในอาหารสัตว์ รวมทั้งกระแสความวิตกกังวลในเรื่องการดัดแปลงทางพันธุกรรม (GMO) ของส่วนประกอบอาหาร คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) จึงได้ดำเนินการสรุปภาพรวมสถานะความปลอดภัยอาหารภายในสหภาพฯ รวมทั้งวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างกฎระเบียบเกี่ยวกับสุขอนามัยอาหารกับภาวะความปลอดภัยอาหารในสหภาพฯ เพื่อดำเนินการปรับปรุงและสร้างระบบที่สามารถประกันความปลอดภัยให้กับผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความชัดเจนเพียงพอที่จะนำไปใช้เป็นหลักปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานกลางสำหรับประเทศสมาชิกสหภาพฯ ทุกประเทศ โดยได้เสนอนโยบายดำเนินการในรูปเอกสารสมุดปกขาวความปลอดภัยอาหารขึ้นเมื่อเดือนมกราคม 2543
วัตถุประสงค์ของสมุดปกขาวฯ
ฟื้นฟูและเสริมสร้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในสหภาพฯ
กำหนดมาตรฐานสูงสุดเพื่อให้ความคุ้มครองด้านสุขอนามัยของผู้บริโภค (Achieving highest standards)
ลดความเสี่ยงในการบริโภคอาหารให้อยู่ในอัตราต่ำสุดหรือปลอดความเสี่ยง (Reducing food risk to zero)
จัดตั้งองค์กรอิสระดำเนินการด้านความปลอดภัยอาหารของสหภาพฯ (European Food Authority : EFA)
สาระสำคัญของสมุดปกขาวฯ
สมุดปกขาวถือเป็นแผนแม่บทในการดำเนินการด้านความปลอดภัยอาหารของสหภาพฯ ซึ่งมีสาระสำคัญสามารถสรุปได้ดังนี้
การจัดตั้ง European Food Authority : EFA ให้เป็นหน่วยงานอิสระเพื่อให้การดำเนินการด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยอาหารของสหภาพฯ มีความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ โดยองค์กรจะประกอบด้วยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยอาหาร ซึ่งขอบเขตความรับผิดชอบขององค์กรมีดังนี้คือ
รวบรวมข้อมูลด้านสุขอนามัยอาหารจากแหล่งข้อมูลที่ได้รับความเชื่อถือ
ประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยอาหารของผู้บริโภค (Risk Assessment)
เผยแพร่ข้อมูลด้านสุขอนามัยอาหารสู่ผู้บริโภคโดยตรง (Risk Communication)
การยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัยอาหาร
ปรับปรุงกฎระเบียบเกี่ยวกับความปลอดภัยและสุขอนามัยอาหาร 80 กว่ารายการ
ปรับปรุงระบบควบคุมด้านความปลอดภัยอาหารของประเทศสมาชิกให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน (Harmonization)
ปรับปรุงเครือข่ายการเผยแพร่ข้อมูลด้านความปลอดภัยอาหารให้มีประสิทธิภาพ
เชื่อมโยงการดำเนินการของสหภาพยุโรปตามแนวทางในสมุดปกขาวฯ เข้ากับระบบการค้าของประเทศคู่ค้า และองค์กร/หน่วยงานด้านความปลอดภัยอาหารสากลต่างๆ
สมุดปกขาวฯ จะมีผลบังคับใช้เมื่อใด
สหภาพยุโรปได้กำหนดเวลาการดำเนินการต่างๆ ภายใต้สมุดปกขาวฯ ให้มีผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมทันทีที่มีการจัดตั้ง EFA แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2545
ผลกระทบต่อการส่งออกอาหารไทยไปยังตลาดสหภาพยุโรป
ในทางลบ การดำเนินการของสหภาพฯ ในการผลักดันให้มีการปฏิบัติตามนโยบายสมุดปกขาวฯ จึงอาจส่งผลกระทบดังนี้
เพิ่มต้นทุนการผลิต เนื่องจากต้องมีการปรับปรุงกระบวนการผลิต รวมทั้งวิธีการจัดจำหน่ายให้สามารถกระจายสินค้าได้อย่างมีคุณภาพดี และมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค
การกีดกันทางการค้าแอบแฝงต่อประเทศที่สามซึ่งเป็นผู้ส่งออกสินค้าอาหารอาจเกิดขึ้นจากการกำหนดระเบียบที่สร้างขั้นตอนการส่งออกให้มีความซับซ้อนและมีความเข้มงวดมากขึ้น
ในทางบวก แม้การดำเนินการตามนโยบายในสมุดปกขาวฯ จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทย อย่างไรก็ตาม การกำหนดมาตรฐานกลางของสหภาพฯ ในเรื่องความปลอดภัยอาหารจะส่งผลดีต่อประเทศคู่ค้าดังนี้
การเข้าสู่ตลาด (Market Access) สินค้าอาหารไทยจะสามารถส่งเข้าไปจำหน่ายยังตลาดสหภาพฯ ได้สะดวกขึ้นเมื่อทุกประเทศสมาชิกสหภาพฯ ใช้กฎระเบียบข้อบังคับด้านความปลอดภัยอาหารแบบเดียวกัน (Harmonization)
การเพิ่มส่วนแบ่งตลาด (Market Share) สินค้าอาหารไทยที่มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในสมุดปกขาวฯ จะสามารถเพิ่มส่วนแบ่งตลาดทั้งในประเทศสมาชิกสหภาพฯ และประเทศข้างเคียงในทวีปยุโรปที่จะเข้าเป็นสมาชิกสหภาพฯ ในอนาคต
ความโปร่งใส (Transparency) ในการดำเนินการด้านการตรวจสอบควบคุมการนำเข้าสินค้าอาหารของประเทศสมาชิกสหภาพฯ จะดำเนินการโดยใช้หลักทางวิทยาศาสตร์ดังนั้น การดำเนินการที่ไม่เป็นธรรมทางการค้าต่างๆ คาดว่าน่าจะลดน้อยลง
การดำเนินการของภาครัฐในการเตรียมรับความเปลี่ยนแปลงจากสมุดปกขาวฯ
คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาดำเนินการในเรื่องนโยบายความปลอดภัยของอาหารของสหภาพยุโรป ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนจากทั้งภาครัฐและเอกชน และมีอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเป็นประธาน เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนไทย ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการฯ ได้ดำเนินการเสนอท่าทีของไทยเกี่ยวกับสมุดปกขาวฯ ไปแล้วเมื่อเดือนเมษายน 2543 นอกจากนี้ ยังได้กำหนดให้มีดำเนินการติดตามความเคลื่อนไหวในด้านมาตรการและกฎระเบียบว่าด้วยความปลอดภัยอาหารสหภาพยุโรป และการวิเคราะห์ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับผลกระทบ พร้อมทั้งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลการศึกษาแก่ผู้เกี่ยวข้องสนใจได้รับทราบทันต่อสถานการณ์
กรมการค้าต่างประเทศได้ร่วมกับคณะกรรมการร่วม WTO ดำเนินการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสมุดปกขาวฯ ให้กับผู้สนใจและผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบและเข้าใจถึงสาระของสมุดปกขาวฯ พร้อมทั้งผลกระทบและแนวทางการปรับตัวของผู้ประกอบการไทย โดยได้ดำเนินการจัดการสัมมนาไปแล้วทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค อาทิ เชียงใหม่ ขอนแก่น และปราจีนบุรี
กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุขฯลฯ ได้จัดทำแผนพัฒนาและปรับปรุงด้านสุขลักษณะอาหารแห่งชาติขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติของผู้ประกอบการไทยในการผลิตอาหารให้ถูกสุขลักษณะและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมทั้งสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐและตัวแทนภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในด้านสุขลักษณะอาหาร
แนวทางการปรับตัวของผู้ส่งออกสินค้าอาหารไทย
ให้ความสนใจติดตามความคืบหน้าเกี่ยวกับการปรับปรุง/เปลี่ยนแปลงกฎ ระเบียบ และมาตรฐานต่างๆ ที่สหภาพฯ จะกำหนดขึ้นมาใหม่ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการเจรจาโน้มน้าว (Lobby) สหภาพฯ หรือการเจรจาในองค์การการค้าโลกก่อนมีการประกาศบังคับใช้กฎระเบียบดังกล่าว
วางแผนการปรับปรุงระบบการผลิตอาหารให้ได้ตามมาตรฐานสากล หรือสอดคล้องกับระเบียบของสหภาพฯ
พัฒนา บุคลากร/อุปกรณ์/ห้องปฏิบัติการ ภายในองค์กรให้มีความรู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีด้านการผลิต เพื่อประโยชน์ในการลดต้นทุนและการขยายตลาด
พัฒนากลยุทธ์ทางการค้าให้เกิดการร่วมทุนกับประเทศสมาชิกสหภาพฯ ที่จะทำการส่งออก ซึ่งจะเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพการผลิตทั้งทางด้านเทคโนโลยี และการจัดการ ซึ่งจะเป็นอีกทางออกหนึ่งสำหรับการลดอุปสรรคทางการค้าที่อาจเกิดจากมาตรการที่มิใช่ภาษีได้
กลุ่มนโยบาย และมาตรการทางการค้า
สำนักพัฒนานโยบาย มาตรการ และระบบสารสนเทศ
กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
กุมภาพันธ์ 2544
--กรมการค้าต่างประเทศ กุมภาพันธ์ 2544--
-อน-
วิกฤตการณ์ด้านความปลอดภัยอาหารที่สร้างความเดือดร้อนและมีความรุนแรงที่สุดในรอบ 10 ปีของสหภาพยุโรป เริ่มจากกรณีที่มีการระบาดของโรควัวบ้า (BSE) ติดตามมาด้วยการปนเปื้อนของสารไดออกซินในอาหารสัตว์ รวมทั้งกระแสความวิตกกังวลในเรื่องการดัดแปลงทางพันธุกรรม (GMO) ของส่วนประกอบอาหาร คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) จึงได้ดำเนินการสรุปภาพรวมสถานะความปลอดภัยอาหารภายในสหภาพฯ รวมทั้งวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างกฎระเบียบเกี่ยวกับสุขอนามัยอาหารกับภาวะความปลอดภัยอาหารในสหภาพฯ เพื่อดำเนินการปรับปรุงและสร้างระบบที่สามารถประกันความปลอดภัยให้กับผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความชัดเจนเพียงพอที่จะนำไปใช้เป็นหลักปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานกลางสำหรับประเทศสมาชิกสหภาพฯ ทุกประเทศ โดยได้เสนอนโยบายดำเนินการในรูปเอกสารสมุดปกขาวความปลอดภัยอาหารขึ้นเมื่อเดือนมกราคม 2543
วัตถุประสงค์ของสมุดปกขาวฯ
ฟื้นฟูและเสริมสร้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในสหภาพฯ
กำหนดมาตรฐานสูงสุดเพื่อให้ความคุ้มครองด้านสุขอนามัยของผู้บริโภค (Achieving highest standards)
ลดความเสี่ยงในการบริโภคอาหารให้อยู่ในอัตราต่ำสุดหรือปลอดความเสี่ยง (Reducing food risk to zero)
จัดตั้งองค์กรอิสระดำเนินการด้านความปลอดภัยอาหารของสหภาพฯ (European Food Authority : EFA)
สาระสำคัญของสมุดปกขาวฯ
สมุดปกขาวถือเป็นแผนแม่บทในการดำเนินการด้านความปลอดภัยอาหารของสหภาพฯ ซึ่งมีสาระสำคัญสามารถสรุปได้ดังนี้
การจัดตั้ง European Food Authority : EFA ให้เป็นหน่วยงานอิสระเพื่อให้การดำเนินการด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยอาหารของสหภาพฯ มีความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ โดยองค์กรจะประกอบด้วยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยอาหาร ซึ่งขอบเขตความรับผิดชอบขององค์กรมีดังนี้คือ
รวบรวมข้อมูลด้านสุขอนามัยอาหารจากแหล่งข้อมูลที่ได้รับความเชื่อถือ
ประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยอาหารของผู้บริโภค (Risk Assessment)
เผยแพร่ข้อมูลด้านสุขอนามัยอาหารสู่ผู้บริโภคโดยตรง (Risk Communication)
การยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัยอาหาร
ปรับปรุงกฎระเบียบเกี่ยวกับความปลอดภัยและสุขอนามัยอาหาร 80 กว่ารายการ
ปรับปรุงระบบควบคุมด้านความปลอดภัยอาหารของประเทศสมาชิกให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน (Harmonization)
ปรับปรุงเครือข่ายการเผยแพร่ข้อมูลด้านความปลอดภัยอาหารให้มีประสิทธิภาพ
เชื่อมโยงการดำเนินการของสหภาพยุโรปตามแนวทางในสมุดปกขาวฯ เข้ากับระบบการค้าของประเทศคู่ค้า และองค์กร/หน่วยงานด้านความปลอดภัยอาหารสากลต่างๆ
สมุดปกขาวฯ จะมีผลบังคับใช้เมื่อใด
สหภาพยุโรปได้กำหนดเวลาการดำเนินการต่างๆ ภายใต้สมุดปกขาวฯ ให้มีผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมทันทีที่มีการจัดตั้ง EFA แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2545
ผลกระทบต่อการส่งออกอาหารไทยไปยังตลาดสหภาพยุโรป
ในทางลบ การดำเนินการของสหภาพฯ ในการผลักดันให้มีการปฏิบัติตามนโยบายสมุดปกขาวฯ จึงอาจส่งผลกระทบดังนี้
เพิ่มต้นทุนการผลิต เนื่องจากต้องมีการปรับปรุงกระบวนการผลิต รวมทั้งวิธีการจัดจำหน่ายให้สามารถกระจายสินค้าได้อย่างมีคุณภาพดี และมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค
การกีดกันทางการค้าแอบแฝงต่อประเทศที่สามซึ่งเป็นผู้ส่งออกสินค้าอาหารอาจเกิดขึ้นจากการกำหนดระเบียบที่สร้างขั้นตอนการส่งออกให้มีความซับซ้อนและมีความเข้มงวดมากขึ้น
ในทางบวก แม้การดำเนินการตามนโยบายในสมุดปกขาวฯ จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทย อย่างไรก็ตาม การกำหนดมาตรฐานกลางของสหภาพฯ ในเรื่องความปลอดภัยอาหารจะส่งผลดีต่อประเทศคู่ค้าดังนี้
การเข้าสู่ตลาด (Market Access) สินค้าอาหารไทยจะสามารถส่งเข้าไปจำหน่ายยังตลาดสหภาพฯ ได้สะดวกขึ้นเมื่อทุกประเทศสมาชิกสหภาพฯ ใช้กฎระเบียบข้อบังคับด้านความปลอดภัยอาหารแบบเดียวกัน (Harmonization)
การเพิ่มส่วนแบ่งตลาด (Market Share) สินค้าอาหารไทยที่มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในสมุดปกขาวฯ จะสามารถเพิ่มส่วนแบ่งตลาดทั้งในประเทศสมาชิกสหภาพฯ และประเทศข้างเคียงในทวีปยุโรปที่จะเข้าเป็นสมาชิกสหภาพฯ ในอนาคต
ความโปร่งใส (Transparency) ในการดำเนินการด้านการตรวจสอบควบคุมการนำเข้าสินค้าอาหารของประเทศสมาชิกสหภาพฯ จะดำเนินการโดยใช้หลักทางวิทยาศาสตร์ดังนั้น การดำเนินการที่ไม่เป็นธรรมทางการค้าต่างๆ คาดว่าน่าจะลดน้อยลง
การดำเนินการของภาครัฐในการเตรียมรับความเปลี่ยนแปลงจากสมุดปกขาวฯ
คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาดำเนินการในเรื่องนโยบายความปลอดภัยของอาหารของสหภาพยุโรป ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนจากทั้งภาครัฐและเอกชน และมีอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเป็นประธาน เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนไทย ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการฯ ได้ดำเนินการเสนอท่าทีของไทยเกี่ยวกับสมุดปกขาวฯ ไปแล้วเมื่อเดือนเมษายน 2543 นอกจากนี้ ยังได้กำหนดให้มีดำเนินการติดตามความเคลื่อนไหวในด้านมาตรการและกฎระเบียบว่าด้วยความปลอดภัยอาหารสหภาพยุโรป และการวิเคราะห์ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับผลกระทบ พร้อมทั้งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลการศึกษาแก่ผู้เกี่ยวข้องสนใจได้รับทราบทันต่อสถานการณ์
กรมการค้าต่างประเทศได้ร่วมกับคณะกรรมการร่วม WTO ดำเนินการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสมุดปกขาวฯ ให้กับผู้สนใจและผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบและเข้าใจถึงสาระของสมุดปกขาวฯ พร้อมทั้งผลกระทบและแนวทางการปรับตัวของผู้ประกอบการไทย โดยได้ดำเนินการจัดการสัมมนาไปแล้วทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค อาทิ เชียงใหม่ ขอนแก่น และปราจีนบุรี
กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุขฯลฯ ได้จัดทำแผนพัฒนาและปรับปรุงด้านสุขลักษณะอาหารแห่งชาติขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติของผู้ประกอบการไทยในการผลิตอาหารให้ถูกสุขลักษณะและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมทั้งสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐและตัวแทนภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในด้านสุขลักษณะอาหาร
แนวทางการปรับตัวของผู้ส่งออกสินค้าอาหารไทย
ให้ความสนใจติดตามความคืบหน้าเกี่ยวกับการปรับปรุง/เปลี่ยนแปลงกฎ ระเบียบ และมาตรฐานต่างๆ ที่สหภาพฯ จะกำหนดขึ้นมาใหม่ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการเจรจาโน้มน้าว (Lobby) สหภาพฯ หรือการเจรจาในองค์การการค้าโลกก่อนมีการประกาศบังคับใช้กฎระเบียบดังกล่าว
วางแผนการปรับปรุงระบบการผลิตอาหารให้ได้ตามมาตรฐานสากล หรือสอดคล้องกับระเบียบของสหภาพฯ
พัฒนา บุคลากร/อุปกรณ์/ห้องปฏิบัติการ ภายในองค์กรให้มีความรู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีด้านการผลิต เพื่อประโยชน์ในการลดต้นทุนและการขยายตลาด
พัฒนากลยุทธ์ทางการค้าให้เกิดการร่วมทุนกับประเทศสมาชิกสหภาพฯ ที่จะทำการส่งออก ซึ่งจะเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพการผลิตทั้งทางด้านเทคโนโลยี และการจัดการ ซึ่งจะเป็นอีกทางออกหนึ่งสำหรับการลดอุปสรรคทางการค้าที่อาจเกิดจากมาตรการที่มิใช่ภาษีได้
กลุ่มนโยบาย และมาตรการทางการค้า
สำนักพัฒนานโยบาย มาตรการ และระบบสารสนเทศ
กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
กุมภาพันธ์ 2544
--กรมการค้าต่างประเทศ กุมภาพันธ์ 2544--
-อน-