1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ฝ้ายดอกทั้งเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 13.80 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 13.54 บาท ของสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 7.39
ข้อตกลงการรับซื้อฝ้ายไทย
เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในฐานะประธานคณะกรรมการดูแลการรับซื้อฝ้ายได้จัดให้มีการประชุมและจัดทำบันทึกข้อตกลงการรับซื้อฝ้ายไทย ปี 2544/45 ซึ่งมีกำหนดระยะเวลาของข้อตกลงระหว่างปีการผลิต 2544/45 - 2546/47 เป็นเวลา 3 ปี
โดยสาระสำคัญในข้อตกลงการรับซื้อฝ้ายไทย มีดังนี้
1. ราคาฝ้ายดอกขั้นต่ำกำหนดว่า ฝ้ายพันธุ์ที่ทางราชการส่งเสริม ชนิดเส้นใยยาว 13/32 นิ้ว คุณภาพ 1 ก ความชื้นไม่เกินร้อยละ 10 ราคาขั้นต่ำกิโลกรัมละ 15.10 บาท ส่วนพันธุ์และคุณภาพอื่นๆ ให้เป็นไปตามกลไกของตลาด
2. สมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยจัดหาโรงหีบฝ้ายตัวแทนเข้ารับซื้อฝ้ายดอกจากเกษตรกรโดยตรง กำหนดจุดรับซื้อ ณ หน้าโรงหีบฝ้าย โดยมีโรงหีบฝ้ายตัวแทนจำนวน 6 โรงงาน ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ โรงงานหีบฝ้ายอมรวัฒนาและโรงงานหีบฝ้ายสิทธิ์สมบูรณ์ จังหวัดเลย โรงงานหีบฝ้ายนโม โอมนะ จังหวัดสุโขทัย โรงงานหีบฝ้ายฟ้าดินประสิทธิ์ทรัพย์ จังหวัดสระบุรี โรงงานหีบฝ้ายแสงทวี จังหวัดนครปฐม และโรงงานหีบฝ้ายยูไนเต็ดคอตตอน จังหวัดปทุมธานี
ในกรณีที่เกิดปัญหาขึ้น ให้คณะกรรมกรรมการดูแลรับซื้อฝ้ายแจ้งสมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยทราบ เพื่อจะได้ดำเนินการออกไปรับซื้อฝ้ายดอก จากเกษตรกรในพื้นที่ทันที
3. กำหนดระยะเวลารับซื้อฝ้ายดอก ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม ถึง 31 มีนาคม ของทุกปี
ทั้งนี้ เกษตรกรผู้ปลูกฝ้ายสามารถนำผลผลิตไปขายยังสถานที่ที่กำหนด หากคุณภาพของผลผลิตต่ำกว่าคุณภาพที่ได้กำหนดไว้ ราคาก็จะปรับลดลงตามราคาตลาด ซึ่งเกษตรกรควรให้ความสำคัญในการดูแลรักษาและเก็บเกี่ยวฝ้าย เพื่อให้ผลผลิตมีความสะอาด สิ่งเจือปนน้อยและความชื้นต่ำ 2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ฝ้ายพันธุวิศวกรรม
จากการประชุมกรรมาธิการที่ปรึกษาฝ้ายนานาชาติ ครั้งที่ 60 ที่ประเทศซิมบับเว มีรายงานว่าในปี 2544 ประมาณการพื้นที่ปลูกฝ้ายร้อยละ 10 ของพื้นที่ฝ้ายทั้งหมด เป็นการปลูกฝ้ายพันธุวิศวกรรม (GMOS) ซึ่งปลูกในประเทศอาร์เจนตินา ออสเตรเลีย จีน เม็กซิโก อาฟริกาใต้ และสหรัฐอเมริกา คาดว่าใน 5-7 ปีข้างหน้า พื้นที่ปลูกฝ้ายพันธุวิศวกรรม จะขยายมากขึ้นเป็นร้อยละ 50 ของพื้นที่ทั้งหมด ฝ้ายพันธุวิศวกรรมนี้ เป็นฝ้ายที่ปรับปรุงขึ้นมาเพื่อ ให้สามารถต้านทานแมลงและสารกำจัดวัชพืชได้ สำหรับคุณภาพของเส้นใยยังไม่มีผลพิสูจน์ว่าคุณภาพของฝ้ายพันธุ์นี้จะดีขึ้น และยังไม่มีข้อมูลว่ามีผลกระทบ ต่อสุขภาพของสัตว์และมนุษย์ หรือมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม
ในประเทศอินโดนิเซีย หลังจากที่มีการชะลอปลูกฝ้ายพันธุวิศวกรรม ซึ่งมีแผนการปลูกฝ้ายในพื้นที่ 20,000 เฮกแตร์(125,000 ไร่) ทางตอนใต้ของรัฐสุลาเวสี ตั้งแต่เดือนกันยายน 2543 รัฐบาลได้อนุมัติให้นำเข้าเมล็ดพันธุ์ฝ้าย จากบริษัทมอนซานโต้ สหรัฐอเมริกา จำนวน 40 ตัน ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2544 แม้ว่าจะมีกระแสต่อต้านก็ตาม จากโครงการนำร่องปลูกฝ้ายพันธุวิศวกรรมพื้นที่ 4,363 เฮกแตร์(27,000 ไร่) แสดงให้เห็นว่าฝ้ายพันธุ์นี้มีประสิทธิภาพสูงกว่าฝ้าย พันธุ์คาเนเซียที่อินโดนิเซียใช้อยู่เดิม โดยให้ผลผลิต 2.2 ตันต่อเฮกแตร์( 352 กก.ต่อไร่) สูงกว่าพันธุ์เดิมซึ่งได้ผลผลิต 1.4 ตันต่อเฮกแตร์ (224 กก.ต่อไร่) ถึงร้อยละ 57 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรกล่าวว่าอินโดนิเซียมีความต้องการฝ้ายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อตอบสนองความต้องการใช้ของอุตสาหกรรมสิ่งทอ โดยมีการนำเข้าฝ้ายถึงปีละ 5 แสนตัน
ความเคลื่อนไหวของราคาฝ้ายในตลาดโลก ประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้ราคาบ่งชี้ตลาดลิเวอร์พูล (Liverpool Cotton Outlook Indices)
ราคาฝ้ายเกรด A' สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 40.44 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 39.63 บาท ราคาลดลงจากปอนด์ละ 41.28 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 40.33 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.0
ราคาฝ้ายเกรด B' สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 38.26 บาท หรือกิโลกรัมละ 37.49 บาท ราคาลดลงจากปอนด์ละ 39.24 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 38.24 บาทในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.50
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าเพื่อส่งมอบเดือนตุลาคม 2544 ทำสัญญาสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 34.81 เซ็นต์ หรือกิโลกรัมละ 34.11 บาท ราคาลดลงจากปอนด์ละ 35.01 เซ็นต์ หรือกิโลกรัมละ 34.21 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.57
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 37 ประจำวันที่ 24-30 ก.ย. 2544--
-สส-
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ฝ้ายดอกทั้งเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 13.80 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 13.54 บาท ของสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 7.39
ข้อตกลงการรับซื้อฝ้ายไทย
เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในฐานะประธานคณะกรรมการดูแลการรับซื้อฝ้ายได้จัดให้มีการประชุมและจัดทำบันทึกข้อตกลงการรับซื้อฝ้ายไทย ปี 2544/45 ซึ่งมีกำหนดระยะเวลาของข้อตกลงระหว่างปีการผลิต 2544/45 - 2546/47 เป็นเวลา 3 ปี
โดยสาระสำคัญในข้อตกลงการรับซื้อฝ้ายไทย มีดังนี้
1. ราคาฝ้ายดอกขั้นต่ำกำหนดว่า ฝ้ายพันธุ์ที่ทางราชการส่งเสริม ชนิดเส้นใยยาว 13/32 นิ้ว คุณภาพ 1 ก ความชื้นไม่เกินร้อยละ 10 ราคาขั้นต่ำกิโลกรัมละ 15.10 บาท ส่วนพันธุ์และคุณภาพอื่นๆ ให้เป็นไปตามกลไกของตลาด
2. สมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยจัดหาโรงหีบฝ้ายตัวแทนเข้ารับซื้อฝ้ายดอกจากเกษตรกรโดยตรง กำหนดจุดรับซื้อ ณ หน้าโรงหีบฝ้าย โดยมีโรงหีบฝ้ายตัวแทนจำนวน 6 โรงงาน ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ โรงงานหีบฝ้ายอมรวัฒนาและโรงงานหีบฝ้ายสิทธิ์สมบูรณ์ จังหวัดเลย โรงงานหีบฝ้ายนโม โอมนะ จังหวัดสุโขทัย โรงงานหีบฝ้ายฟ้าดินประสิทธิ์ทรัพย์ จังหวัดสระบุรี โรงงานหีบฝ้ายแสงทวี จังหวัดนครปฐม และโรงงานหีบฝ้ายยูไนเต็ดคอตตอน จังหวัดปทุมธานี
ในกรณีที่เกิดปัญหาขึ้น ให้คณะกรรมกรรมการดูแลรับซื้อฝ้ายแจ้งสมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยทราบ เพื่อจะได้ดำเนินการออกไปรับซื้อฝ้ายดอก จากเกษตรกรในพื้นที่ทันที
3. กำหนดระยะเวลารับซื้อฝ้ายดอก ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม ถึง 31 มีนาคม ของทุกปี
ทั้งนี้ เกษตรกรผู้ปลูกฝ้ายสามารถนำผลผลิตไปขายยังสถานที่ที่กำหนด หากคุณภาพของผลผลิตต่ำกว่าคุณภาพที่ได้กำหนดไว้ ราคาก็จะปรับลดลงตามราคาตลาด ซึ่งเกษตรกรควรให้ความสำคัญในการดูแลรักษาและเก็บเกี่ยวฝ้าย เพื่อให้ผลผลิตมีความสะอาด สิ่งเจือปนน้อยและความชื้นต่ำ 2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ฝ้ายพันธุวิศวกรรม
จากการประชุมกรรมาธิการที่ปรึกษาฝ้ายนานาชาติ ครั้งที่ 60 ที่ประเทศซิมบับเว มีรายงานว่าในปี 2544 ประมาณการพื้นที่ปลูกฝ้ายร้อยละ 10 ของพื้นที่ฝ้ายทั้งหมด เป็นการปลูกฝ้ายพันธุวิศวกรรม (GMOS) ซึ่งปลูกในประเทศอาร์เจนตินา ออสเตรเลีย จีน เม็กซิโก อาฟริกาใต้ และสหรัฐอเมริกา คาดว่าใน 5-7 ปีข้างหน้า พื้นที่ปลูกฝ้ายพันธุวิศวกรรม จะขยายมากขึ้นเป็นร้อยละ 50 ของพื้นที่ทั้งหมด ฝ้ายพันธุวิศวกรรมนี้ เป็นฝ้ายที่ปรับปรุงขึ้นมาเพื่อ ให้สามารถต้านทานแมลงและสารกำจัดวัชพืชได้ สำหรับคุณภาพของเส้นใยยังไม่มีผลพิสูจน์ว่าคุณภาพของฝ้ายพันธุ์นี้จะดีขึ้น และยังไม่มีข้อมูลว่ามีผลกระทบ ต่อสุขภาพของสัตว์และมนุษย์ หรือมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม
ในประเทศอินโดนิเซีย หลังจากที่มีการชะลอปลูกฝ้ายพันธุวิศวกรรม ซึ่งมีแผนการปลูกฝ้ายในพื้นที่ 20,000 เฮกแตร์(125,000 ไร่) ทางตอนใต้ของรัฐสุลาเวสี ตั้งแต่เดือนกันยายน 2543 รัฐบาลได้อนุมัติให้นำเข้าเมล็ดพันธุ์ฝ้าย จากบริษัทมอนซานโต้ สหรัฐอเมริกา จำนวน 40 ตัน ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2544 แม้ว่าจะมีกระแสต่อต้านก็ตาม จากโครงการนำร่องปลูกฝ้ายพันธุวิศวกรรมพื้นที่ 4,363 เฮกแตร์(27,000 ไร่) แสดงให้เห็นว่าฝ้ายพันธุ์นี้มีประสิทธิภาพสูงกว่าฝ้าย พันธุ์คาเนเซียที่อินโดนิเซียใช้อยู่เดิม โดยให้ผลผลิต 2.2 ตันต่อเฮกแตร์( 352 กก.ต่อไร่) สูงกว่าพันธุ์เดิมซึ่งได้ผลผลิต 1.4 ตันต่อเฮกแตร์ (224 กก.ต่อไร่) ถึงร้อยละ 57 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรกล่าวว่าอินโดนิเซียมีความต้องการฝ้ายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อตอบสนองความต้องการใช้ของอุตสาหกรรมสิ่งทอ โดยมีการนำเข้าฝ้ายถึงปีละ 5 แสนตัน
ความเคลื่อนไหวของราคาฝ้ายในตลาดโลก ประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้ราคาบ่งชี้ตลาดลิเวอร์พูล (Liverpool Cotton Outlook Indices)
ราคาฝ้ายเกรด A' สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 40.44 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 39.63 บาท ราคาลดลงจากปอนด์ละ 41.28 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 40.33 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.0
ราคาฝ้ายเกรด B' สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 38.26 บาท หรือกิโลกรัมละ 37.49 บาท ราคาลดลงจากปอนด์ละ 39.24 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 38.24 บาทในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.50
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าเพื่อส่งมอบเดือนตุลาคม 2544 ทำสัญญาสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 34.81 เซ็นต์ หรือกิโลกรัมละ 34.11 บาท ราคาลดลงจากปอนด์ละ 35.01 เซ็นต์ หรือกิโลกรัมละ 34.21 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.57
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 37 ประจำวันที่ 24-30 ก.ย. 2544--
-สส-