การผลิตพืชผล ผลผลิตพืชผลในช่วงไตรมาสแรกของปี 2544 ตามข้อมูลการเก็บเกี่ยวผลผลิตของกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ เพิ่มขึ้น
จากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.2 ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ ข้าว (+51.9%) กาแฟ (+6.0%) ผักและผลไม้ (+6.0%) สำหรับราคา
พืชผลในช่วงไตรมาสแรกของปี ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูการเก็บเกี่ยวพืชผลสำคัญ
รายได้จากการขายพืชผลที่สำคัญของเกษตรกร ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2544 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8 เป็นผลจากการ
เพิ่มขึ้นของผลผลิตพืชผลร้อยละ 8.2 และราคาพืชผลที่เกษตรกรขายได้ลดลงเพียงร้อยละ 0.2
ปศุสัตว์ ผลผลิตในช่วงไตรมาสแรกของปี 2544 เพิ่มขึ้นจาก ปีก่อนตามผลผลิตไก่เนื้อที่เพิ่มขึ้นมากจากความต้องการของตลาด
ต่างประเทศ เพื่อทดแทนการบริโภคเนื้อวัวซึ่งประสบปัญหาโรควัวบ้าระบาด ตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้ว โดยความต้องการจากสหภาพยุโรป
เพิ่มขึ้นจากปีก่อนมากกว่าร้อยละ 50 สำหรับผลผลิตสุกรยังคงเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการขยายการผลิตในช่วงครึ่งหลังของปี 2542 ทั้งนี้ กระทรวง
เกษตรและสหกรณ์คาดว่าปริมาณการผลิตสุกรในปี 2544 จะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.5
สำหรับปริมาณการส่งออกไก่เนื้อและผลิตภัณฑ์ ในช่วง 2 เดือนแรกของปี เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 30.5 โดยการ
ส่งออกไก่สดแช่แข็งและไก่แปรรูปเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 26.8 และ 41.5 ตามลำดับ ซึ่งเป็นการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปคิดเป็น
สัดส่วนร้อยละ 37 ของปริมาณการส่งออกไก่เนื้อและผลิตภัณฑ์ทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากสัดส่วนร้อยละ 31 ในช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่มูลค่าการส่งออก
เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 36.2
ดัชนีราคาปศุสัตว์ในช่วงไตรมาสแรกของปีเพิ่มขึ้นจาก ช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.6 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาไก่เนื้อ (+1.6%)
เป็นสำคัญ เนื่องจากความต้องการไก่เนื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นมาก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความนิยมในเนื้อหน้าอกและเนื้อน่องในต่างประเทศ
มีมากกว่าชิ้นส่วนอื่น ๆ จึงทำให้ต้องมีการระบายชิ้นส่วนเนื้อไก่ชำแหละที่เหลือสู่ตลาดภายในประเทศ ขณะที่การบริโภคในประเทศค่อนข้างทรงตัว
ส่งผลให้ราคาเนื้อไก่ในประเทศไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากนัก
ประมง ผลผลิตในช่วง 2 เดือนแรกของปี ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยปริมาณสัตว์น้ำขึ้นท่าในช่วง 2 เดือนแรกของปียังคงลดลง
ร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากราคาน้ำมันดีเซล ที่ใช้ในการทำการประมงสูงขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 13.2
ส่งผลให้ต้นทุนการทำประมงอยู่ในระดับสูง รวมทั้งผลจากการที่ทางการอินโดนีเซีย ปรับระเบียบการทำประมงเข้มงวดมากขึ้น
สำหรับปริมาณการส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งในช่วง 2 เดือนแรกของปี เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.9 โดย โดยการส่ง
ออกกุ้งสด ปลาและปลาหมึกสดแช่แข็งเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5 13.6 และ 26.5 ตามลำดับ ซึ่งเป็นการส่งออกไปยังญี่ปุ่นและสหภาพ
ยุโรป ขณะที่มูลค่าการส่งออกรวมเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.6 ซึ่งเป็นผลจาก ความต้องการบริโภคจากสหภาพยุโรปที่มีมากขึ้น
ดัชนีราคาสินค้าสัตว์น้ำในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.3 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาสัตว์น้ำที่ใช้เป็น
วัตถุดิบในการผลิตอาหารทะเล แช่แข็ง ได้แก่ กุ้งกุลาดำ ปลาหมึกและปลา ที่การส่งออกขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี
ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ ในช่วงไตรมาสแรกของปี ดัชนีราคาสินค้าเกษตรรวม เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ
1.3 ซึ่งเป็นผลจากราคาสินค้าประมงที่ยังสูงขึ้น โดยเฉพาะกุ้งกุลาดำ ปลาและปลาหมึก จากภาวะการส่งออกที่อยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าราคาพืชผล
จะค่อนข้างทรงตัวจากราคาพืชผลในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง แต่อัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนตัวลงเป็นปัจจัยบวกต่อราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้
คาดว่าในปี 2544 ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ ของไทยจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยราคาสินค้าประมงและปศุสัตว์
จะเพิ่มขึ้นจากการส่งออกที่อยู่ในเกณฑ์ดี เพื่อทดแทนเนื้อวัวที่ประสบปัญหาโรควัวบ้า ส่วนราคาพืชผล คาดว่าจะทรงตัวใกล้เคียงกับปีก่อน
ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก (เฉพาะ 12 ชนิดสินค้าที่มีผลกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรของไทย) ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2544
ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.1 เนื่องจากผลผลิตข้าวและธัญพืชของประเทศผู้นำเข้าสำคัญอยู่ในเกณฑ์ดี ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโลก
ที่อยู่ในภาวะ ถดถอย ส่งผลกระทบให้ความต้องการนำเข้าสินค้าเกษตรสำคัญอาทิ ข้าว ข้าวโพด ยางพารา ซบเซาลง ราคาจึงมีแนวโน้มลดลง
อย่างไรก็ตาม สินค้าเกษตรบางชนิดยังคงมีราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ กุ้ง และน้ำตาล จากภาวะอุปทานของโลกที่ลดลง
2542 2543 2544
ทั้งปี H1 H2 ทั้งปี ม.ค. ก.พ. มี.ค. Q1
ดัชนีราคารวม* 111.6 106.4 108.8 107.6 107.3 106.8 107.4 107.2
(2538 =100)
D% -15.4 -7.5 0.6 -3.5 0.6 0.9 2.2 1.3
ดัชนีราคาพืชผล* 105.6 98.8 100.4 99.6 98.2 97.7 98.5 98.1
D% -19.8 -9.6 -1.3 -5.6 0.2 -0.6 -0.2 -0.2
ข้าวเปลือกหอมมะลิ 6,892 7,073 7,626 7,349 6,451 6,310 5,970 6,244
D% -15.5 9.5 4.1 6.6 -4.1 -7.2 -13.5 -8.3
ข้าวเปลือกเจ้าชั้น 1 5,459 4,794 5,081 4,937 4,399 4,384 4,414 4,399
D% -18.2 -15.7 -2.9 -9.6 -6.8 -8.1 -7.7 -7.5
ยางพารา 17,930 21,010 21,960 21,480 21,750 21,740 20,720 21,400
D% -22.6 19.8 19.9 19.8 12 -3.8 2.6 3.2
ข้าวโพด 4,214 4,740 3,787 4,263 4,010 3,850 3,830 3,897
D% -7.8 14.6 -11.8 1.2 -14.5 -19.1 -21.4 -18.4
มันสำปะหลัง 770 640 610 620 670 660 680 670
D% -44.5 -24.6 -12.2 -19 3.1 11.9 17.2 10.4
ดัชนีราคาปศุสัตว์* 115.2 102.7 103.9 103.3 106.2 105.4 102.9 104.8
D% 2.4 -15.7 -4.4 -10.3 -0.4 0.05 2.1 0.6
ดัชนีราคาปลาและ สัตว์น้ำ* 127.1 134.3 140.5 137.4 137.4 137.2 140.1 138.2
D% -16.2 6.4 9.8 8.1 2.5 5.2 8.2 5.3
ดัชนีราคาป่าไม้* 97.1 100.9 104.7 102.8 104.4 104.8 103.4 104.2
D% -6.3 -21.3 -17.4 -19.4 6.3 6.5 5 6
D% อัตราเพิ่มจากระยะเดียวกันปีก่อน
หมายเหตุ : * ปรับปีฐานจากปี 2527 เป็นปี 2538
ที่มา : ดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ คำนวณจากข้อมูลราคาสินค้าเกษตรของกระทรวงเกษตรฯ, กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
และองค์การสะพานปลา
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
จากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.2 ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ ข้าว (+51.9%) กาแฟ (+6.0%) ผักและผลไม้ (+6.0%) สำหรับราคา
พืชผลในช่วงไตรมาสแรกของปี ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูการเก็บเกี่ยวพืชผลสำคัญ
รายได้จากการขายพืชผลที่สำคัญของเกษตรกร ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2544 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8 เป็นผลจากการ
เพิ่มขึ้นของผลผลิตพืชผลร้อยละ 8.2 และราคาพืชผลที่เกษตรกรขายได้ลดลงเพียงร้อยละ 0.2
ปศุสัตว์ ผลผลิตในช่วงไตรมาสแรกของปี 2544 เพิ่มขึ้นจาก ปีก่อนตามผลผลิตไก่เนื้อที่เพิ่มขึ้นมากจากความต้องการของตลาด
ต่างประเทศ เพื่อทดแทนการบริโภคเนื้อวัวซึ่งประสบปัญหาโรควัวบ้าระบาด ตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้ว โดยความต้องการจากสหภาพยุโรป
เพิ่มขึ้นจากปีก่อนมากกว่าร้อยละ 50 สำหรับผลผลิตสุกรยังคงเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการขยายการผลิตในช่วงครึ่งหลังของปี 2542 ทั้งนี้ กระทรวง
เกษตรและสหกรณ์คาดว่าปริมาณการผลิตสุกรในปี 2544 จะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.5
สำหรับปริมาณการส่งออกไก่เนื้อและผลิตภัณฑ์ ในช่วง 2 เดือนแรกของปี เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 30.5 โดยการ
ส่งออกไก่สดแช่แข็งและไก่แปรรูปเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 26.8 และ 41.5 ตามลำดับ ซึ่งเป็นการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปคิดเป็น
สัดส่วนร้อยละ 37 ของปริมาณการส่งออกไก่เนื้อและผลิตภัณฑ์ทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากสัดส่วนร้อยละ 31 ในช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่มูลค่าการส่งออก
เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 36.2
ดัชนีราคาปศุสัตว์ในช่วงไตรมาสแรกของปีเพิ่มขึ้นจาก ช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.6 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาไก่เนื้อ (+1.6%)
เป็นสำคัญ เนื่องจากความต้องการไก่เนื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นมาก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความนิยมในเนื้อหน้าอกและเนื้อน่องในต่างประเทศ
มีมากกว่าชิ้นส่วนอื่น ๆ จึงทำให้ต้องมีการระบายชิ้นส่วนเนื้อไก่ชำแหละที่เหลือสู่ตลาดภายในประเทศ ขณะที่การบริโภคในประเทศค่อนข้างทรงตัว
ส่งผลให้ราคาเนื้อไก่ในประเทศไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากนัก
ประมง ผลผลิตในช่วง 2 เดือนแรกของปี ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยปริมาณสัตว์น้ำขึ้นท่าในช่วง 2 เดือนแรกของปียังคงลดลง
ร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากราคาน้ำมันดีเซล ที่ใช้ในการทำการประมงสูงขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 13.2
ส่งผลให้ต้นทุนการทำประมงอยู่ในระดับสูง รวมทั้งผลจากการที่ทางการอินโดนีเซีย ปรับระเบียบการทำประมงเข้มงวดมากขึ้น
สำหรับปริมาณการส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งในช่วง 2 เดือนแรกของปี เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.9 โดย โดยการส่ง
ออกกุ้งสด ปลาและปลาหมึกสดแช่แข็งเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5 13.6 และ 26.5 ตามลำดับ ซึ่งเป็นการส่งออกไปยังญี่ปุ่นและสหภาพ
ยุโรป ขณะที่มูลค่าการส่งออกรวมเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.6 ซึ่งเป็นผลจาก ความต้องการบริโภคจากสหภาพยุโรปที่มีมากขึ้น
ดัชนีราคาสินค้าสัตว์น้ำในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.3 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาสัตว์น้ำที่ใช้เป็น
วัตถุดิบในการผลิตอาหารทะเล แช่แข็ง ได้แก่ กุ้งกุลาดำ ปลาหมึกและปลา ที่การส่งออกขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี
ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ ในช่วงไตรมาสแรกของปี ดัชนีราคาสินค้าเกษตรรวม เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ
1.3 ซึ่งเป็นผลจากราคาสินค้าประมงที่ยังสูงขึ้น โดยเฉพาะกุ้งกุลาดำ ปลาและปลาหมึก จากภาวะการส่งออกที่อยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าราคาพืชผล
จะค่อนข้างทรงตัวจากราคาพืชผลในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง แต่อัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนตัวลงเป็นปัจจัยบวกต่อราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้
คาดว่าในปี 2544 ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ ของไทยจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยราคาสินค้าประมงและปศุสัตว์
จะเพิ่มขึ้นจากการส่งออกที่อยู่ในเกณฑ์ดี เพื่อทดแทนเนื้อวัวที่ประสบปัญหาโรควัวบ้า ส่วนราคาพืชผล คาดว่าจะทรงตัวใกล้เคียงกับปีก่อน
ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก (เฉพาะ 12 ชนิดสินค้าที่มีผลกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรของไทย) ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2544
ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.1 เนื่องจากผลผลิตข้าวและธัญพืชของประเทศผู้นำเข้าสำคัญอยู่ในเกณฑ์ดี ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโลก
ที่อยู่ในภาวะ ถดถอย ส่งผลกระทบให้ความต้องการนำเข้าสินค้าเกษตรสำคัญอาทิ ข้าว ข้าวโพด ยางพารา ซบเซาลง ราคาจึงมีแนวโน้มลดลง
อย่างไรก็ตาม สินค้าเกษตรบางชนิดยังคงมีราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ กุ้ง และน้ำตาล จากภาวะอุปทานของโลกที่ลดลง
2542 2543 2544
ทั้งปี H1 H2 ทั้งปี ม.ค. ก.พ. มี.ค. Q1
ดัชนีราคารวม* 111.6 106.4 108.8 107.6 107.3 106.8 107.4 107.2
(2538 =100)
D% -15.4 -7.5 0.6 -3.5 0.6 0.9 2.2 1.3
ดัชนีราคาพืชผล* 105.6 98.8 100.4 99.6 98.2 97.7 98.5 98.1
D% -19.8 -9.6 -1.3 -5.6 0.2 -0.6 -0.2 -0.2
ข้าวเปลือกหอมมะลิ 6,892 7,073 7,626 7,349 6,451 6,310 5,970 6,244
D% -15.5 9.5 4.1 6.6 -4.1 -7.2 -13.5 -8.3
ข้าวเปลือกเจ้าชั้น 1 5,459 4,794 5,081 4,937 4,399 4,384 4,414 4,399
D% -18.2 -15.7 -2.9 -9.6 -6.8 -8.1 -7.7 -7.5
ยางพารา 17,930 21,010 21,960 21,480 21,750 21,740 20,720 21,400
D% -22.6 19.8 19.9 19.8 12 -3.8 2.6 3.2
ข้าวโพด 4,214 4,740 3,787 4,263 4,010 3,850 3,830 3,897
D% -7.8 14.6 -11.8 1.2 -14.5 -19.1 -21.4 -18.4
มันสำปะหลัง 770 640 610 620 670 660 680 670
D% -44.5 -24.6 -12.2 -19 3.1 11.9 17.2 10.4
ดัชนีราคาปศุสัตว์* 115.2 102.7 103.9 103.3 106.2 105.4 102.9 104.8
D% 2.4 -15.7 -4.4 -10.3 -0.4 0.05 2.1 0.6
ดัชนีราคาปลาและ สัตว์น้ำ* 127.1 134.3 140.5 137.4 137.4 137.2 140.1 138.2
D% -16.2 6.4 9.8 8.1 2.5 5.2 8.2 5.3
ดัชนีราคาป่าไม้* 97.1 100.9 104.7 102.8 104.4 104.8 103.4 104.2
D% -6.3 -21.3 -17.4 -19.4 6.3 6.5 5 6
D% อัตราเพิ่มจากระยะเดียวกันปีก่อน
หมายเหตุ : * ปรับปีฐานจากปี 2527 เป็นปี 2538
ที่มา : ดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ คำนวณจากข้อมูลราคาสินค้าเกษตรของกระทรวงเกษตรฯ, กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
และองค์การสะพานปลา
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-