แท็ก
ปลาดุก
1. สถานการณ์การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (4-6 กย. 2544) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูล จำหน่าย ที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 610.52 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 313.42 ตัน สัตว์น้ำจืด 297.10 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.14 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.75 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 30.66 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 42.63 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 26.52 ตัน 2. สถานการณ์การตลาด“ โอกาสเพื่อการส่งออกกุ้งไทย”
รายงานข่าวจากสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย เดือนกรกฎาคม 2544 ว่าข่าวจากสำนักงานพาณิชย์ ณ กรุงบรัสเซลส์ ว่า ปัจจุบันประเทศเบลเยี่ยมเริ่มเกิดภาวะขาดแคลนกุ้งพันธุ์ Crangon Crangon หรือที่เรียกกันว่า grey shrimp ซึ่งเป็นกุ้งขนาดเล็กจากทะเลเหนือ โดยมีสาเหตุที่สำคัญจากกุ้งพันธุ์ดังกล่าวมีช่วงชีวิตสั้น แต่ความต้องการใช้มีตลอดปี และการแก้ไขภาวะการจับสัตว์น้ำเกิดศักยภาพในทะเลเหนือของกรรมาธิการยุโรปยังไม่ประสบความสำเร็จ
สำหรับกุ้งชนิดนี้ผู้บริโภคนิยมรับประทานเป็นอาหารจานแรก (Entree)ระเภทสลัดโดยบรรจุมะเขือเทศ หรือผสมกับเยนแข็งห่อด้วยแป้งแล้วนำไปทอดรวมทั้งนำไปผลิตเป็นอาหารแช่แข็ง
เพื่อเพิ่มโอกาสในการส่งออกกุ้งของไทย ควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยเร่งตรวจสอบว่ามีกุ้งประเภทใดของไทยที่สามารถให้ทดแทน grey shrimp ได้บ้าง และมีปริมาณที่เพียงพอจะส่งออกได้ โดยให้ผู้ส่งออกของไทย Lobby ผู้นำเข้าให้หันมานำเข้ากุ้งประเภทที่มีอยู่เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบทดแทนภาวะขาดแคลนและควรจะได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอด้วย
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.08 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 24.67 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.41 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 51.84 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.34 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 80.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 293.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 292.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ240.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ15.06 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 17.28 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.22 สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.00บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 60.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ78.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 76.25 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.08 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.53 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 3.69 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.16 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58% ขึ้นไป (ระหว่างวันที่ 10-14 กย. 44 ) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.30 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 20.06 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.24 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 35 ประจำวันที่ 10-16 ก.ย. 2544--
-สส-
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (4-6 กย. 2544) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูล จำหน่าย ที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 610.52 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 313.42 ตัน สัตว์น้ำจืด 297.10 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.14 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.75 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 30.66 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 42.63 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 26.52 ตัน 2. สถานการณ์การตลาด“ โอกาสเพื่อการส่งออกกุ้งไทย”
รายงานข่าวจากสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย เดือนกรกฎาคม 2544 ว่าข่าวจากสำนักงานพาณิชย์ ณ กรุงบรัสเซลส์ ว่า ปัจจุบันประเทศเบลเยี่ยมเริ่มเกิดภาวะขาดแคลนกุ้งพันธุ์ Crangon Crangon หรือที่เรียกกันว่า grey shrimp ซึ่งเป็นกุ้งขนาดเล็กจากทะเลเหนือ โดยมีสาเหตุที่สำคัญจากกุ้งพันธุ์ดังกล่าวมีช่วงชีวิตสั้น แต่ความต้องการใช้มีตลอดปี และการแก้ไขภาวะการจับสัตว์น้ำเกิดศักยภาพในทะเลเหนือของกรรมาธิการยุโรปยังไม่ประสบความสำเร็จ
สำหรับกุ้งชนิดนี้ผู้บริโภคนิยมรับประทานเป็นอาหารจานแรก (Entree)ระเภทสลัดโดยบรรจุมะเขือเทศ หรือผสมกับเยนแข็งห่อด้วยแป้งแล้วนำไปทอดรวมทั้งนำไปผลิตเป็นอาหารแช่แข็ง
เพื่อเพิ่มโอกาสในการส่งออกกุ้งของไทย ควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยเร่งตรวจสอบว่ามีกุ้งประเภทใดของไทยที่สามารถให้ทดแทน grey shrimp ได้บ้าง และมีปริมาณที่เพียงพอจะส่งออกได้ โดยให้ผู้ส่งออกของไทย Lobby ผู้นำเข้าให้หันมานำเข้ากุ้งประเภทที่มีอยู่เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบทดแทนภาวะขาดแคลนและควรจะได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอด้วย
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.08 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 24.67 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.41 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 51.84 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.34 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 80.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 293.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 292.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ240.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ15.06 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 17.28 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.22 สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.00บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 60.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ78.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 76.25 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.08 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.53 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 3.69 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.16 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58% ขึ้นไป (ระหว่างวันที่ 10-14 กย. 44 ) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.30 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 20.06 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.24 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 35 ประจำวันที่ 10-16 ก.ย. 2544--
-สส-