1. สถานการณ์การผลิต
ประมาณการผลิต ปี 2544 ของกุ้งกุลาดำไทย
เนื่องจากการเลี้ยงกุ้งในปี 2543 ได้ผลผลิตดีเพราะดินฟ้าอากาศอำนวย ประกอบกับราคากุ้งสูงติดต่อกับตลาดปี ทำให้มีการขุดบ่อและขยายพื้นที่เลี้ยงกุ้งกันมากขึ้นในแทบทุก พื้นที่ จึงมีการคาดการณ์ว่า จะมีผลผลิตกุ้งในปี 2544 มากอีกปีหนึ่ง แต่จากการที่สมาคมผู้เลี้ยงกุ้งทะเลไทย ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดในทุกแหล่งผลิตของประเทศไทยพบว่า ผลผลิตกุ้งในปี 2544 จะไม่ได้ผลผลิตสูงตามที่หลาย ๆ ฝ่ายคาดการณ์ไว้ โดยจะมีผลผลิตลดลงกว่าปี 2543 ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. เกิดโรคดวงขาวระบาดต่อเนื่องจากปลายปี 2543 จากปัญหาพันธุ์กุ้งติดเชื้อ การจัดการผิดพลาด และภูมิอากาศแปรปรวน ทำให้เกิดโรคดวงขาวระบาดในทุกแหล่งเลี้ยง และมีการป่วยต่อเนื่องถึงปัจจุบัน ซึ่งยาวนานกว่าปีก่อน ๆ
2. ขาดแคลนลูกกุ้งทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ ทำให้เกษตรกรไม่สามารถลงกุ้งได้ตามแผนการเลี้ยง ผลจากการขาดแคลนลูกกุ้ง ทำให้เกษตรกรซื้อลูกกุ้งขนาดเล็ก มาเพาะเลี้ยงส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่ลดลง เพราะอัตรารอดต่ำมาก
3. การเพาะเลี้ยงกุ้งในปีนี้ โดยเฉลี่ยจะจับกุ้งในขนาดที่เล็กลงกว่าก่อน ทำให้ผลผลิตจำนวนตันลดลงตามสัดส่วน
4. การที่ดินฟ้าอากาศแปรปรวน มีฝนตกหนักในเดือนมีนาคม ทำให้ฟาร์มกุ้งได้รับความเสียหายจากโรคกุ้งมาก
5. ถ้าเกิดปัญหาวิกฤตราคากุ้งตกต่ำในช่วงครึ่งปีแรก จะส่งผลให้ผู้เลี้ยงขาดทุน ทำให้การเลี้ยงกุ้งในครึ่งปีหลังลดลง เพราะขาดเงินทุนและแรงจูงใจ จะยิ่งทำให้ผลผลิตรวมทั้งปีลดลง
6. การแปรปรวนของดินฟ้าอากาศ นับเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตกุ้ง ทำให้การคาดหมายผลผลิตคลาดเคลื่อนได้ และการแปรปรวนของอากาศในประเทศผู้ผลิตกุ้งอื่น ๆ ในเอเซียก็จะมีผลกระทบต่อผลผลิตเช่นกัน
คาดว่าผลผลิตกุ้งกุลาดำไทย โดยรวมในรอบปีการผลิต 2544 จะอยู่ระหว่าง 200,000-240,000 ตัน (ผลผลิตกุ้งหน้าฟาร์ม) ซึ่งต่ำกว่าปีการผลิต 2543 ประมาณ 25-35% (ประเมินผลผลิตกุ้งหน้าฟาร์มปี 2543 ที่ 310,000 ตัน)
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (9-16 พค.2544) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูล จำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,450.88 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 571.62 ตัน สัตว์น้ำจืด 879.26 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 8.28 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 10.66 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 73.63 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 78.56 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 53.85 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.35 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 24.65 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.70 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.03 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.17 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.86 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 314.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 309.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ250.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.59 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 13.84 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.75 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 55.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.50 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 75.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.17 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 3.24 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.07 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58% ขึ้นไป (ระหว่างวันที่ 21-25 พค.44 ) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.40 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 20.10 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.30 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 19 ประจำวันที่ 21-27 พ.ค. 2544--
-สส-
ประมาณการผลิต ปี 2544 ของกุ้งกุลาดำไทย
เนื่องจากการเลี้ยงกุ้งในปี 2543 ได้ผลผลิตดีเพราะดินฟ้าอากาศอำนวย ประกอบกับราคากุ้งสูงติดต่อกับตลาดปี ทำให้มีการขุดบ่อและขยายพื้นที่เลี้ยงกุ้งกันมากขึ้นในแทบทุก พื้นที่ จึงมีการคาดการณ์ว่า จะมีผลผลิตกุ้งในปี 2544 มากอีกปีหนึ่ง แต่จากการที่สมาคมผู้เลี้ยงกุ้งทะเลไทย ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดในทุกแหล่งผลิตของประเทศไทยพบว่า ผลผลิตกุ้งในปี 2544 จะไม่ได้ผลผลิตสูงตามที่หลาย ๆ ฝ่ายคาดการณ์ไว้ โดยจะมีผลผลิตลดลงกว่าปี 2543 ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. เกิดโรคดวงขาวระบาดต่อเนื่องจากปลายปี 2543 จากปัญหาพันธุ์กุ้งติดเชื้อ การจัดการผิดพลาด และภูมิอากาศแปรปรวน ทำให้เกิดโรคดวงขาวระบาดในทุกแหล่งเลี้ยง และมีการป่วยต่อเนื่องถึงปัจจุบัน ซึ่งยาวนานกว่าปีก่อน ๆ
2. ขาดแคลนลูกกุ้งทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ ทำให้เกษตรกรไม่สามารถลงกุ้งได้ตามแผนการเลี้ยง ผลจากการขาดแคลนลูกกุ้ง ทำให้เกษตรกรซื้อลูกกุ้งขนาดเล็ก มาเพาะเลี้ยงส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่ลดลง เพราะอัตรารอดต่ำมาก
3. การเพาะเลี้ยงกุ้งในปีนี้ โดยเฉลี่ยจะจับกุ้งในขนาดที่เล็กลงกว่าก่อน ทำให้ผลผลิตจำนวนตันลดลงตามสัดส่วน
4. การที่ดินฟ้าอากาศแปรปรวน มีฝนตกหนักในเดือนมีนาคม ทำให้ฟาร์มกุ้งได้รับความเสียหายจากโรคกุ้งมาก
5. ถ้าเกิดปัญหาวิกฤตราคากุ้งตกต่ำในช่วงครึ่งปีแรก จะส่งผลให้ผู้เลี้ยงขาดทุน ทำให้การเลี้ยงกุ้งในครึ่งปีหลังลดลง เพราะขาดเงินทุนและแรงจูงใจ จะยิ่งทำให้ผลผลิตรวมทั้งปีลดลง
6. การแปรปรวนของดินฟ้าอากาศ นับเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตกุ้ง ทำให้การคาดหมายผลผลิตคลาดเคลื่อนได้ และการแปรปรวนของอากาศในประเทศผู้ผลิตกุ้งอื่น ๆ ในเอเซียก็จะมีผลกระทบต่อผลผลิตเช่นกัน
คาดว่าผลผลิตกุ้งกุลาดำไทย โดยรวมในรอบปีการผลิต 2544 จะอยู่ระหว่าง 200,000-240,000 ตัน (ผลผลิตกุ้งหน้าฟาร์ม) ซึ่งต่ำกว่าปีการผลิต 2543 ประมาณ 25-35% (ประเมินผลผลิตกุ้งหน้าฟาร์มปี 2543 ที่ 310,000 ตัน)
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (9-16 พค.2544) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูล จำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,450.88 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 571.62 ตัน สัตว์น้ำจืด 879.26 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 8.28 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 10.66 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 73.63 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 78.56 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 53.85 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.35 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 24.65 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.70 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.03 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.17 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.86 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 314.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 309.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ250.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.59 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 13.84 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.75 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 55.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.50 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 75.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.17 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 3.24 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.07 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58% ขึ้นไป (ระหว่างวันที่ 21-25 พค.44 ) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.40 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 20.10 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.30 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 19 ประจำวันที่ 21-27 พ.ค. 2544--
-สส-