บันทึกการประชุมวุฒิสภา
ครั้งที่ ๒๐ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ
วันพฤหัสบดีที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๔๐ นาฬิกา
เมื่อสมาชิกฯ มาครบองค์ประชุมแล้ว พลตรี มนูญกฤต รูปขจร ประธานวุฒิสภา
นายพิเชฐ พัฒนโชติ รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง และนายบุญทัน ดอกไธสง รองประธานวุฒิสภา
คนที่สอง ขึ้นบัลลังก์
ประธานวุฒิสภาได้กล่าวเปิดประชุม แล้วแจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเหตุขัดข้องที่ไม่อาจบรรจุ
กระทู้ถามเข้าระเบียบวาระการประชุมวุฒิสภาได้ภายในกำหนดเวลาตามข้อบังคับฯ ข้อ ๑๒๙ วรรคสาม
จำนวน ๑๒ กระทู้ คือ
(๑) กระทู้ถามด่วนเรื่อง ปัญหาอุทกภัยในอำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ของนายสมพร คำชื่น
(๒) กระทู้ถามเรื่อง ปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจำ ของนายเกษม มาลัยศรี
(๓) กระทู้ถามเรื่อง การจัดหาสถานที่ศึกษาเพื่อรองรับนักเรียนนักศึกษาสำหรับปีการศึกษา
๒๕๔๔ ของนายเกษม มาลัยศรี
(๔) กระทู้ถามเรื่อง ปัญหาสิทธิพิเศษของคณะกรรมการบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)
ของนายสันติภาพ อินทรพัฒน์
(๕) กระทู้ถามเรื่อง การจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากร ของนายสมสิทธิ์ ศิริเจริญไชย
(๖) กระทู้ถามเรื่อง การปรับอัตราเงินตอบแทนตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
แพทย์ประจำตำบล สาวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง
ของนายบุญยืน ศุภสารสาทร
(๗) กระทู้ถามเรื่อง เงินกองทุนเพื่อการศึกษา ของนายวิชัย ครองยุติ
(๘) กระทู้ถามเรื่อง ผลกระทบจากการปรับลดอัตรากำลังบุคลากรด้านการศึกษา
ของนายสม ต๊ะยศ
(๙) กระทู้ถามเรื่อง กรณีการช่วยเหลือการขาดสภาพคล่องของธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ
จำกัด (มหาชน) (บีบีซี) และสถาบันการเงินที่ประสบปัญหาทางการเงิน ของนายสันติ์ เทพมณี
(๑๐) กระทู้ถามเรื่อง ปัญหาการปฏิบัติตามนโยบายด้านการเกษตรและความไม่เป็นธรรม
ในการพิจารณาการประกวดราคา ของนายสมบูรณ์ ทองบุราณ
(๑๑) กระทู้ถามเรื่อง การจ่ายเงินกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งละ ๑ ล้านบาท
ของนายวิโรจน์ โชติพันธุ์ และ
(๑๒) กระทู้ถามเรื่อง ปัญหาการถ่ายทอดการประชุมวุฒิสภาทางวิทยุกระจายเสียง
ของนายสันติภาพ อินทรพัฒน์
ต่อมา ประธานวุฒิสภาจึงเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องตามระเบียบวาระเรื่องด่วน
ตามลำดับ ดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ….
ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้วและเป็นร่างพระราชบัญญัติซึ่งรัฐสภามีมติเห็นชอบให้พิจารณา
ต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๑๗๘ และเป็นการพิจารณาต่อจากการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑๗
(สมัยสามัญทั่วไป) วันศุกร์ที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๔ โดยประธานวุฒิสภาได้ปรึกษาที่ประชุม
เพื่อขออนุญาตให้เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง และเจ้าหน้าที่เข้าร่วมชี้แจงในที่ประชุมวุฒิสภา
ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายสมบัติ อุทัยสาง)
ตอบชี้แจงแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ เห็นชอบด้วยกับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้
และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา จำนวน ๓๗ คน ประกอบด้วย
๑. ร้อยตรี วิจิตร อยู่สุภาพ ๒. นายบุณยเกียรติ รักชาติเจริญ
๓. นายอภัย จันทนจุลกะ ๔. นายอัชพร จารุจินดา
๕. นายศุภกิจ บุญญฤทธิพงษ์ ๖. นายสุพร สุภสร
๗. นายจิโรจน์ โชติพันธุ์ ๘. นายปรีชา ปิตานนท์
๙. นายมนู วณิชชานนท์ ๑๐. นายฟัครุดดีน บอตอ
๑๑. พลตำรวจเอก สมชาย ไชยเวช ๑๒. นายอุดร ตันติสุนทร
๑๓. นายชิต เจริญประเสริฐ ๑๔. พลตำรวจเอก มีชัย นุกูลกิจ
๑๕. พลตำรวจเอก ประทิน สันติประภพ ๑๖. พลตำรวจเอก วิรุฬห์ พื้นแสน
๑๗. นางนิพัทธา อมรรัตนเมธา ๑๘. นายวรวิทย์ เชื้อเพ็ชร์
๑๙. นางนันทนา สงฆ์ประชา ๒๐. นายสมศักดิ์ โล่สถาพรพิพิธ
๒๑. นายเกษม รุ่งธนเกียรติ ๒๒. นายอุทัยพันธุ์ สงวนเสริมศรี
๒๓. นายสหัส พินทุเสนีย์ ๒๔. คุณหญิงจินตนา สุขมาก
๒๕. นายพิชัย ขำเพชร ๒๖. นายไสว พราหมณี
๒๗. พลเอก มนัส อร่ามศรี ๒๘. นายสุริยน ภูมิรัตนประพิณ
๒๙. นายอมร นิลเปรม ๓๐. นายถาวร เกียรติไชยากร
๓๑. นางสาวบุษรินทร์ ติยะไพรัช ๓๒. นายเกษม ชัยสิทธิ์
๓๓. นายสมัย ฮมแสน ๓๔. นายสันติภาพ อินทรพัฒน์
๓๕. นายสงวน นันทชาติ ๓๖. นายการุณ ใสงาม
๓๗. นายนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ
โดยมีกำหนดการแปรญัตติภายใน ๒๑ วัน
อนึ่ง ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้งดใช้
ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๔๑ ข้อ ๑๐๘ วรรคสาม
๒. ร่างพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. …. ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติ
เห็นชอบแล้วและเป็นร่างพระราชบัญญัติซึ่งรัฐสภามีมติเห็นชอบให้พิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ
มาตรา ๑๗๘ หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ
รัตนากร) ตอบชี้แจงแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ เห็นชอบด้วยกับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ
ฉบับนี้ และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา จำนวน ๒๙ คน ประกอบด้วย
๑. นายวราเทพ รัตนากร ๒. นายปกิต พัฒนกุล
๓. นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ๔. นางสาวพรทิพย์ จาละ
๕. นายเกริก วณิกกุล ๖. นายทวี แก้วคง
๗. นางสาวอุษณีย์ ชิดชอบ ๘. นายสมเกียรติ อ่อนวิมล
๙. นายสมสิทธิ์ ศิริเจริญไชย ๑๐. นางอรัญญา สุจนิล
๑๑. นายสัก กอแสงเรือง ๑๒. นายมารุต โรจนาปิยาวงศ์
๑๓. พลโท ปัญญา อยู่ประเสริฐ ๑๔. นายบุญยืน ศุภสารสาทร
๑๕. นายวิชัย ครองยุติ ๑๖. พลโท โกวิท พัฑฒฆายน
๑๗. นายพิชัย ขำเพชร ๑๘. นายกมล มั่นภักดี
๑๙. นายกำพล ภู่มณี ๒๐. นายสันติ์ เทพมณี
๒๑. นายสุรใจ ศิรินุพงศ์ ๒๒. นายนิรัตน์ อยู่ภักดี
๒๓. นายเกษม รุ่งธนเกียรติ ๒๔. นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์
๒๕. พลตำรวจโท ณรงค์ อมาตยกุล ๒๖. นายวิเชียร เปาอินทร์
๒๗. นางพรหมจารี รัตนเศรษฐ์ ๒๘. นายวิโรจน์ อมตกุลชัย
๒๙. พลอากาศเอก กานต์ สุระกุล
โดยมีกำหนดการแปรญัตติภายใน ๑๔ วัน
๓. ร่างพระราชบัญญัติรถยนตร์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติ
เห็นชอบแล้ว หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายพงศกร
เลาหวิเชียร) ตอบชี้แจงแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ เห็นชอบด้วยกับหลักการแห่ง
ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้ส่งคณะกรรมาธิการการคมนาคมพิจารณา โดยมีกำหนด
การแปรญัตติตามข้อบังคับฯ
เลิกประชุมเวลา ๑๒.๔๕ นาฬิกา
(ลายเซ็น)
(นายพินิต อารยะศิริ)
เลขาธิการวุฒิสภา
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เห็นชอบด้วยกับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๓ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ….
๓. ร่างพระราชบัญญัติรถยนตร์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ฝ่ายระเบียบวาระและรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๒๔๔๑๕๖๘
โทรสาร ๒๔๔๑๕๖๖