อังค์ถัดระบุอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลกปี 2543 มีมากกว่าร้อยละ 3 ขณะที่ทวีปเอเชียเพิ่มขึ้นมากเกินร้อยละ 5 ติงวิกฤตเศรษฐกิจเอเชียเกิดจากการใช้นโยบายแก้ไขปัญหาที่ผิดพลาด
รายงานการค้าและการพัฒนาประจำปี 2000 ( Trade and Development Report, 2000 ) ซึ่งอังค์ถัดได้จัดทำขึ้น ระบุว่า อัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลกปี 2543 จะมีมากกว่าร้อยละ 3 โดยขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่นเป็นส่วนใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามยังพบความไม่สมดุลในหลายเรื่อง เช่น การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการไหลเวียนของเงินทุนโดยการแก้ไขปัญหาความไม่สมดุลทางเศรษฐกิจโลกที่ผ่านมาซึ่งได้เน้นหนักที่นโยบายด้านการเงินเพียงอย่างเดียวนั้น อังค์ถัดเห็นว่าจะส่งผลเสียหายต่อการเติบโตของประเทศกำลังพัฒนาด้านราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางปี 2542 ทำให้มูลค่าการค้าโลกในปี 2542 เพิ่มขึ้น โดยอัตราการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นของจีน ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ เป็นตัวกระตุ้นตลาด นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ด้านการส่งออกของประเทศกำลังพัฒนา โดยมีอัตราการเจริญเติบโตมากกว่าร้อยละ 8 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากนโยบายการลดค่าเงินในปี 2542 โดยทวีปเอเชียนับว่าประสบความสำเร็จมาก มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นมากเกินร้อยละ 5
ในขณะที่ทวีปละตินอเมริกาและแอฟริกายังคงประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากปัญหาการขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง การไหลออกของเงินทุน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ตกต่ำ และการทรุดตัวของการค้าภายในภูมิภาค นอกจากนั้น ตลาดการเงินและการไหลเข้าสุทธิของเงินทุนภาคเอกชนของประเทศกำลังพัฒนาจะกลับสู่ภาวะที่มีความแน่นอนมากขึ้นส่วนปัญหาวิกฤตและความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียในช่วงที่ผ่านมา อังค์ถัดระบุว่าเกิดจากการใช้นโยบายในการแก้ไขปัญหาที่ผิดพลาดโดยการดำเนินนโยบายการเงินที่ตึงตัวเพื่อควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนให้คงที่และดึงดูดให้มีการลงทุนเพิ่ม รวมทั้งการใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยสูง กลับเป็นการเพิ่มปัญหาในภาคการเงินและธุรกิจมากขึ้น โดยเห็นว่าการใช้นโยบายที่ฝ่ายเลขาธิการอังค์ถัดได้เสนอในช่วงเริ่มวิกฤต คือการจัดหาสภาพคล่องระหว่างประเทศให้พอเพียงเพื่อเสริมฐานะเงินทุนสำรอง การควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนชั่วคราว การหยุดพักและการยืดเวลาการชำระหนี้ จะเป็นเครื่องมือที่แก้ไขป้ญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า นอกจากนี้ อังค์ถัดยังเห็นว่า ประเทศในเอเชียยังจำเป็นต้องเปิดตลาดและเข้าร่วมในระบบเศรษฐกิจโลก และไม่ควรปล่อยให้ถูกชี้นำโดยภาวะการเงินระหว่างประเทศ บรรษัทข้ามชาติ และตลาดโลกมากเกินไป การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทสจำเป็นต้องมีรูปแบบที่ไม่เผชิญกับข้อจำกัดจากภายนอกอย่างรวดเร็ว รวมทั้งความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคยังคงต้องมีความสำคัญและควรได้รับการส่งเสริมให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น--จบ--
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ พฤศจิกายน 2543--
-อน-
รายงานการค้าและการพัฒนาประจำปี 2000 ( Trade and Development Report, 2000 ) ซึ่งอังค์ถัดได้จัดทำขึ้น ระบุว่า อัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลกปี 2543 จะมีมากกว่าร้อยละ 3 โดยขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่นเป็นส่วนใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามยังพบความไม่สมดุลในหลายเรื่อง เช่น การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการไหลเวียนของเงินทุนโดยการแก้ไขปัญหาความไม่สมดุลทางเศรษฐกิจโลกที่ผ่านมาซึ่งได้เน้นหนักที่นโยบายด้านการเงินเพียงอย่างเดียวนั้น อังค์ถัดเห็นว่าจะส่งผลเสียหายต่อการเติบโตของประเทศกำลังพัฒนาด้านราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางปี 2542 ทำให้มูลค่าการค้าโลกในปี 2542 เพิ่มขึ้น โดยอัตราการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นของจีน ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ เป็นตัวกระตุ้นตลาด นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ด้านการส่งออกของประเทศกำลังพัฒนา โดยมีอัตราการเจริญเติบโตมากกว่าร้อยละ 8 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากนโยบายการลดค่าเงินในปี 2542 โดยทวีปเอเชียนับว่าประสบความสำเร็จมาก มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นมากเกินร้อยละ 5
ในขณะที่ทวีปละตินอเมริกาและแอฟริกายังคงประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากปัญหาการขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง การไหลออกของเงินทุน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ตกต่ำ และการทรุดตัวของการค้าภายในภูมิภาค นอกจากนั้น ตลาดการเงินและการไหลเข้าสุทธิของเงินทุนภาคเอกชนของประเทศกำลังพัฒนาจะกลับสู่ภาวะที่มีความแน่นอนมากขึ้นส่วนปัญหาวิกฤตและความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียในช่วงที่ผ่านมา อังค์ถัดระบุว่าเกิดจากการใช้นโยบายในการแก้ไขปัญหาที่ผิดพลาดโดยการดำเนินนโยบายการเงินที่ตึงตัวเพื่อควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนให้คงที่และดึงดูดให้มีการลงทุนเพิ่ม รวมทั้งการใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยสูง กลับเป็นการเพิ่มปัญหาในภาคการเงินและธุรกิจมากขึ้น โดยเห็นว่าการใช้นโยบายที่ฝ่ายเลขาธิการอังค์ถัดได้เสนอในช่วงเริ่มวิกฤต คือการจัดหาสภาพคล่องระหว่างประเทศให้พอเพียงเพื่อเสริมฐานะเงินทุนสำรอง การควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนชั่วคราว การหยุดพักและการยืดเวลาการชำระหนี้ จะเป็นเครื่องมือที่แก้ไขป้ญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า นอกจากนี้ อังค์ถัดยังเห็นว่า ประเทศในเอเชียยังจำเป็นต้องเปิดตลาดและเข้าร่วมในระบบเศรษฐกิจโลก และไม่ควรปล่อยให้ถูกชี้นำโดยภาวะการเงินระหว่างประเทศ บรรษัทข้ามชาติ และตลาดโลกมากเกินไป การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทสจำเป็นต้องมีรูปแบบที่ไม่เผชิญกับข้อจำกัดจากภายนอกอย่างรวดเร็ว รวมทั้งความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคยังคงต้องมีความสำคัญและควรได้รับการส่งเสริมให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น--จบ--
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ พฤศจิกายน 2543--
-อน-