เศรษฐกิจโดยรวมขยายตัวต่อเนื่องผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศใน ไตรมาสแรกของปีนี้ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.2 แต่ในไตรมาสที่ 2 เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจมีแนวโน้มลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า เช่น ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เครื่องชี้การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน และมูลค่าการส่งออก สะท้อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ที่ระดับต่ำกว่าไตรมาสแรก ส่วนการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรก โดยมีการเพิ่มขึ้นของการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ และยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์ เป็นสำคัญ การใช้จ่ายรัฐบาลยังมีบทบาทในการกระตุ้นเศรษฐกิจสะท้อนจากการขาดดุลเงินสดต่อเนื่อง ด้านเสถียรภาพ อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ
ด้านการเงิน สภาพคล่องโดยรวมในช่วงครึ่งปีแรกตึงตัวขึ้นเล็กน้อย อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินสูงขึ้นจากปลายปีก่อนในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ยืมของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่งไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดช่วงครึ่งปีแรก แนวโน้มเงินให้สินเชื่อแก่ภาคเอกชนยังคงลดลง โดยเป็นผลจากการลดลงของทั้งสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจและสินเชื่อที่มิใช่ กิจการวิเทศธนกิจ
ด้านการต่างประเทศ การขยายตัวของการส่งออกในไตรมาสที่ 2 มีแนวโน้มชะลอลงจากไตรมาสแรกตามการขยายตัวของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า และการขยายตัวของการส่งออกเป็นผลจากการขยายตัวด้านปริมาณเป็นหลักในขณะที่ราคายังคงมีแนวโน้มลดลง โดยมีสินค้า อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูงมีการขยายตัวอยู่ในเกณฑ์สูง แต่การขยายตัวของการนำเข้ามีการชะลอลงเช่นกันในไตรมาสที่ 2 แต่ยังคงสูงกว่าการนำเข้า ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลมีแนวโน้มลดลงจากไตรมาสแรก ดุลบริการบริจาคเกินดุลมีแนวโน้มลดลงจากไตรมาสแรกเช่นกัน ทำให้ดุลบัญชี เดินสะพัดเกินดุลมีทิศทางลดลงจาก ไตรมาสแรก ส่วนดุลการชำระเงินใน ไตรมาสที่ 2 มีแนวโน้มขาดดุลน้อยลง สะท้อนถึงยังมีการไหลออกของเงินทุนในไตรมาสที่ 2 อย่างไรก็ตาม เงินสำรอง ทางการยังคงอยู่ในระดับสูง เทียบเท่ากับการนำเข้า 7.1 เดือน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ด้านการเงิน สภาพคล่องโดยรวมในช่วงครึ่งปีแรกตึงตัวขึ้นเล็กน้อย อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินสูงขึ้นจากปลายปีก่อนในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ยืมของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่งไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดช่วงครึ่งปีแรก แนวโน้มเงินให้สินเชื่อแก่ภาคเอกชนยังคงลดลง โดยเป็นผลจากการลดลงของทั้งสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจและสินเชื่อที่มิใช่ กิจการวิเทศธนกิจ
ด้านการต่างประเทศ การขยายตัวของการส่งออกในไตรมาสที่ 2 มีแนวโน้มชะลอลงจากไตรมาสแรกตามการขยายตัวของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า และการขยายตัวของการส่งออกเป็นผลจากการขยายตัวด้านปริมาณเป็นหลักในขณะที่ราคายังคงมีแนวโน้มลดลง โดยมีสินค้า อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูงมีการขยายตัวอยู่ในเกณฑ์สูง แต่การขยายตัวของการนำเข้ามีการชะลอลงเช่นกันในไตรมาสที่ 2 แต่ยังคงสูงกว่าการนำเข้า ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลมีแนวโน้มลดลงจากไตรมาสแรก ดุลบริการบริจาคเกินดุลมีแนวโน้มลดลงจากไตรมาสแรกเช่นกัน ทำให้ดุลบัญชี เดินสะพัดเกินดุลมีทิศทางลดลงจาก ไตรมาสแรก ส่วนดุลการชำระเงินใน ไตรมาสที่ 2 มีแนวโน้มขาดดุลน้อยลง สะท้อนถึงยังมีการไหลออกของเงินทุนในไตรมาสที่ 2 อย่างไรก็ตาม เงินสำรอง ทางการยังคงอยู่ในระดับสูง เทียบเท่ากับการนำเข้า 7.1 เดือน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-