หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non- Performing Loans : NPLs) ในภาคเหนือ
ภาวะเศรษฐกิจของภาคเหนือที่ชะลอตัวลงมาตั้งแต่ปี 2538 ทำให้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loans : NPLs) ในระบบธนาคารพาณิชย์ ภาคเหนือก่อตัวขึ้นเป็นลำดับ เนื่องจากธุรกิจหลายประเภทประสบปัญหาการประกอบการและไม่อาจชำระหนี้คืนแก่ธนาคารพาณิชย์ได้ตามกำหนด และเมื่อประสบวิกฤตการณ์ ทางเศรษฐกิจและการเงินรุนแรงในกลางปี 2540 ต่อเนื่องถึงปี 2541 ส่งผลให้เศรษฐกิจภาคเหนือหดตัวลง ปริมาณ NPLs ในระบบธนาคารพาณิชย์ภาคเหนือขยายตัว มากขึ้น โดยเป็นผลจากธุรกิจส่วนใหญ่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรงจากการชะลอลงของการใช้จ่าย ภาระดอกเบี้ยที่สูงขึ้น รวมทั้งจากความเข้มงวดของ ธนาคารพาณิชย์ในการปล่อยสินเชื่อ สัดส่วน NPLs เมื่อเทียบกับสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือเมื่อสิ้นเดือนธันวาคม 2541 สูงราวร้อยละ 50 ส่วนใหญ่เป็น การบริโภคส่วนบุคคล ธุรกิจการค้า ก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ อุตสาหกรรม และบริการ ปัญหา NPLs นับเป็นข้อจำกัดสำคัญในการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นภาระที่ธนาคารพาณิชย์ต้องกันเงินสำรองและเพิ่มทุนตามหลักเกณฑ์ ทำให้ธนาคารพาณิชย์ไม่มีศักยภาพเพียงพอในการขยายสินเชื่อแก่ระบบเศรษฐกิจได้ตามปกติ
การแก้ไขปัญหา NPLs ขึ้นกับปรับปรุงโครงสร้างหนี้ภาคเอกชน ซึ่งจะทำให้ธนาคารพาณิชย์มีโอกาสได้รับชำระหนี้คืนสูงสุด และให้ทั้งธนาคารพาณิชย์และ ธุรกิจเอกชนสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
การดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงาน ภาคเหนือในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
การปรับปรุงโครงสร้างหนี้เป็นกระบวนการที่เกิดจากความสมัครใจในการแก้ไขปัญหาภาระหนี้ร่วมกันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ ทางการโดย ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ จึงมีบทบาทสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในหลายประการ ดังนี้
การจัดตั้งคลินิกการเงิน เพื่อให้คำปรึกษาในเรื่องการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แก่ลูกหนี้ที่มีปัญหา ทั้งนี้นอกเหนือจากการเปิดคลินิกการเงินเป็นประจำ ณ สำนักงานภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่แล้ว ยังมีอาจเปิดคลินิกการเงินชั่วคราวในต่างจังหวัดตามที่ภาคเอกชนร้องขออีกด้วย จนถึงสิ้นเดือนธันวาคม 2542 มีลูกหนี้ธนาคารพาณิชย์มาใช้บริการคลินิกการเงินทั้งสิ้น 85 ราย มูลหนี้ 2,228.7 ล้านบาท ในจำนวนนี้สามารถเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จแล้ว 15 ราย มูลหนี้ 300.9 ล้านบาท การเปิดศูนย์ฮอตไลน์ เพื่อรับแจ้งและให้คำปรึกษา ข้อแแนะนำในเบื้องต้นเกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ การดำเนินการ Creditor Visit และ Company Visit พร้อมทั้งการประสานงานติดต่อให้ลูกหนี้ได้พบและเจรจากับผู้จัดการสาขา ธนาคารพาณิชย์ในเรื่องการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ การเป็นอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการ ปรับปรุงโครงสร้างหนี้จังหวัด คณะอนุกรรมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จังหวัด ทำหน้าที่ รวบรวมปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับหนี้เสียในจังหวัด เร่งรัดปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตลอดจนให้ความเป็นธรรมแก่เจ้าหนี้และลูกหนี้ จนถึงสิ้นเดือน ธันวาคม 2542 ลูกหนี้ที่ผ่านคณะอนุกรรมการฯ สามารถปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จจำนวน 4 ราย มูลหนี้ 9.5 ล้านบาท การจัดบรรยายความรู้ในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ แก่สถาบันการเงินและประชาชนทั่วไปในจังหวัดภาคเหนือ ทั้งในรูปการจัดสัมมนา และประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อวิทยุและโทรทัศน์ เพื่อชี้แนะสร้างความรู้ความเข้าใจให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบและเล็งเห็นความสำคัญของการปรับปรุง โครงสร้างหนี้
นอกจากการสนับสนุนดังกล่าวแล้ว สำนักงานภาคเหนือ ยังได้กำหนดกลุ่มลูกหนี้เป้าหมายขึ้นจำนวนหนึ่งตามนโยบายของ ธปท. เพื่อมุ่งเร่งรัดให้ความช่วยเหลือ ประสานงาน และติดตามความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้อย่างใกล้ชิด ทั้งนี้กลุ่มลูกหนี้เป้าหมายของภาคเหนือเป็นลูกหนี้รายใหญ่ที่มีความสำคัญ หรือมีความยุ่งยากซับซ้อนในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ต่อมาได้เพิ่มกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นและครอบคลุมลูกหนี้รายเล็กด้วย ณ สิ้นธันวาคม 2542 มีลูกหนี้กลุ่มเป้าหมาย ในความดูแลของสำนักงานภาคเหนือจำนวน 360 ราย มูลหนี้ 21,375 ล้านบาท เป็นลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างปรับปรุงโครงสร้างหนี้ 250 ราย มูลหนี้ 15,916 ล้านบาท และมีลูกหนี้ที่ปรับปรุงแล้วเสร็จเพียง 82 ราย มูลหนี้ 4,509 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจรับเหมาและค้าวัสดุก่อสร้าง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจบริการประเภทโรงแรม หอพักและภัตตาคาร ที่เหลือส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้ที่ไม่สามารถปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้สำเร็จซึ่งจะถูกดำเนินคดีตามขั้นตอนต่อไป
ความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในส่วนของภาคเหนือ
นับจากได้มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตั้งแต่กลางปี 2541 เป็นต้นมา ภาคเหนือประสบผลสำเร็จในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพิ่มขึ้นโดยลำดับ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มีลูกหนี้สถาบันการเงินที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จจำนวน 25,657 ราย มูลหนี้ 48,767 ล้านบาท เทียบกับ 462 ราย มูลหนี้ 4,915 ล้านบาท เดือนธันวาคม 2541 เพิ่มขึ้น 25,195 ราย มูลหนี้ 43,852 ล้านบาท ตามลำดับ เฉลี่ยยอดหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จในปี 2542 เพิ่มขึ้นประมาณเดือนละ 3,800 ล้านบาท นับได้ว่า มีความคืบหน้าสูงสุดเป็นลำดับที่ 3 รองจากกรุงเทพฯ และภาคกลาง ทั้งนี้ภาคเหนือมีสัดส่วนจำนวนรายและมูลหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างแล้วเสร็จ คิดเป็นร้อยละ 14.8 และร้อยละ 4.6 ของทั้งประเทศ
ประเภทธุรกิจของลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จ ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก โดยมีจำนวน 6,628 ราย มูลหนี้ 14,934 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 25.8 และร้อยละ 32.5 ของจำนวนรายและมูลหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ทั้งภาคเหนือ รองลงมาเป็นธุรกิจอุตสาหกรรมการบริการและการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล ตามลำดับ ทั้งนี้ลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้สำเร็จมีมูลหนี้เฉลี่ยต่อรายอยู่ในช่วง 0.5 — 5 ล้านบาท
ผลสำเร็จในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ส่วนใหญ่เป็นการเจรจาโดยตรงระหว่างลูกหนี้กับสถาบันการเงินเจ้าหนี้ โดยมีทางการสนับสนุน โดยเฉพาะ การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีและค่าธรรมเนียมแก่ทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้ อีกทั้งอัตราดอกเบี้ยในตลาดลดต่ำลงก็มีส่วนทำให้การปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีความคืบหน้า นอกจากนั้น ธปท. ได้เร่งส่งเสริมผลักดันมากขึ้นทั้งการประชาสัมพันธ์ในหลายรูปแบบและการปรับปรุงหลักเกณฑ์วิธีการต่างๆ เพื่อให้แนวปฏิบัติในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ มีความชัดเจน พร้อมสร้างความมั่นใจให้กับลูกหนี้และเจ้าหนี้ที่เป็นคู่เจรจา
ในส่วนของเงื่อนไขหรือวิธีการที่สถาบันการเงินต่างๆ ใช้ในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีหลายวิธีทั้งการลดอัตราดอกเบี้ย การขยายระยะเวลาชำระหนี้ การโอนหลักทรัพย์ชำระหนี้ การปลอดชำระต้นเงิน การแปลงเป็นหนี้ระยะยาว ฯลฯ ทั้งนี้การ เลือกใช้เงื่อนไขหรือวิธีการใดหรือใช้หลายวิธีประกอบกันไป ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และสถานภาพของลูกหนี้แต่ละราย รวมทั้งขึ้นอยู่กับนโยบายของสถาบันการเงินนั้น ในส่วนของภาคเหนือการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่แล้วเสร็จ สถาบันการเงินมักใช้วิธีการลดอัตราดอกเบี้ยร่วมกับการขยายระยะเวลาชำระหนี้มากที่สุด
สำหรับลูกหนี้สถาบันการเงินที่อยู่ระหว่างขั้นตอนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (นับรวมตั้งแต่การคัดเลือกลูกหนี้เข้าสู่กระบวนการการเจรจาเพื่อหาข้อยุติ การอยู่ระหว่างการขออนุมัติ จากสำนักงานใหญ่ของสถาบันการเงินหลังจากได้ข้อยุติ และการอยู่ระหว่างการรอทำสัญญาหรือบันทึกข้อตกลง)
สิ้นธันวาคม 2542 มีลูกหนี้สถาบันการเงินในภาคเหนือ อยู่ระหว่างปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวน 3,060 ราย มูลหนี้ 13,103 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 11.7 และร้อยละ 1.2 ของทั้งประเทศ ตามลำดับ โดยรวมของภาคเหนือสิ้นปี 2542 มีลูกหนี้ที่เข้าสู่กระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (รวมการปรับปรุงโครงสร้างแล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างปรับปรุงโครงสร้างหนี้) จำนวนทั้งสิ้น 28,717 ราย มูลหนี้ 61,870 ล้านบาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ภาวะเศรษฐกิจของภาคเหนือที่ชะลอตัวลงมาตั้งแต่ปี 2538 ทำให้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loans : NPLs) ในระบบธนาคารพาณิชย์ ภาคเหนือก่อตัวขึ้นเป็นลำดับ เนื่องจากธุรกิจหลายประเภทประสบปัญหาการประกอบการและไม่อาจชำระหนี้คืนแก่ธนาคารพาณิชย์ได้ตามกำหนด และเมื่อประสบวิกฤตการณ์ ทางเศรษฐกิจและการเงินรุนแรงในกลางปี 2540 ต่อเนื่องถึงปี 2541 ส่งผลให้เศรษฐกิจภาคเหนือหดตัวลง ปริมาณ NPLs ในระบบธนาคารพาณิชย์ภาคเหนือขยายตัว มากขึ้น โดยเป็นผลจากธุรกิจส่วนใหญ่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรงจากการชะลอลงของการใช้จ่าย ภาระดอกเบี้ยที่สูงขึ้น รวมทั้งจากความเข้มงวดของ ธนาคารพาณิชย์ในการปล่อยสินเชื่อ สัดส่วน NPLs เมื่อเทียบกับสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือเมื่อสิ้นเดือนธันวาคม 2541 สูงราวร้อยละ 50 ส่วนใหญ่เป็น การบริโภคส่วนบุคคล ธุรกิจการค้า ก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ อุตสาหกรรม และบริการ ปัญหา NPLs นับเป็นข้อจำกัดสำคัญในการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นภาระที่ธนาคารพาณิชย์ต้องกันเงินสำรองและเพิ่มทุนตามหลักเกณฑ์ ทำให้ธนาคารพาณิชย์ไม่มีศักยภาพเพียงพอในการขยายสินเชื่อแก่ระบบเศรษฐกิจได้ตามปกติ
การแก้ไขปัญหา NPLs ขึ้นกับปรับปรุงโครงสร้างหนี้ภาคเอกชน ซึ่งจะทำให้ธนาคารพาณิชย์มีโอกาสได้รับชำระหนี้คืนสูงสุด และให้ทั้งธนาคารพาณิชย์และ ธุรกิจเอกชนสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
การดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงาน ภาคเหนือในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
การปรับปรุงโครงสร้างหนี้เป็นกระบวนการที่เกิดจากความสมัครใจในการแก้ไขปัญหาภาระหนี้ร่วมกันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ ทางการโดย ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ จึงมีบทบาทสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในหลายประการ ดังนี้
การจัดตั้งคลินิกการเงิน เพื่อให้คำปรึกษาในเรื่องการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แก่ลูกหนี้ที่มีปัญหา ทั้งนี้นอกเหนือจากการเปิดคลินิกการเงินเป็นประจำ ณ สำนักงานภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่แล้ว ยังมีอาจเปิดคลินิกการเงินชั่วคราวในต่างจังหวัดตามที่ภาคเอกชนร้องขออีกด้วย จนถึงสิ้นเดือนธันวาคม 2542 มีลูกหนี้ธนาคารพาณิชย์มาใช้บริการคลินิกการเงินทั้งสิ้น 85 ราย มูลหนี้ 2,228.7 ล้านบาท ในจำนวนนี้สามารถเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จแล้ว 15 ราย มูลหนี้ 300.9 ล้านบาท การเปิดศูนย์ฮอตไลน์ เพื่อรับแจ้งและให้คำปรึกษา ข้อแแนะนำในเบื้องต้นเกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ การดำเนินการ Creditor Visit และ Company Visit พร้อมทั้งการประสานงานติดต่อให้ลูกหนี้ได้พบและเจรจากับผู้จัดการสาขา ธนาคารพาณิชย์ในเรื่องการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ การเป็นอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการ ปรับปรุงโครงสร้างหนี้จังหวัด คณะอนุกรรมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จังหวัด ทำหน้าที่ รวบรวมปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับหนี้เสียในจังหวัด เร่งรัดปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตลอดจนให้ความเป็นธรรมแก่เจ้าหนี้และลูกหนี้ จนถึงสิ้นเดือน ธันวาคม 2542 ลูกหนี้ที่ผ่านคณะอนุกรรมการฯ สามารถปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จจำนวน 4 ราย มูลหนี้ 9.5 ล้านบาท การจัดบรรยายความรู้ในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ แก่สถาบันการเงินและประชาชนทั่วไปในจังหวัดภาคเหนือ ทั้งในรูปการจัดสัมมนา และประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อวิทยุและโทรทัศน์ เพื่อชี้แนะสร้างความรู้ความเข้าใจให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบและเล็งเห็นความสำคัญของการปรับปรุง โครงสร้างหนี้
นอกจากการสนับสนุนดังกล่าวแล้ว สำนักงานภาคเหนือ ยังได้กำหนดกลุ่มลูกหนี้เป้าหมายขึ้นจำนวนหนึ่งตามนโยบายของ ธปท. เพื่อมุ่งเร่งรัดให้ความช่วยเหลือ ประสานงาน และติดตามความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้อย่างใกล้ชิด ทั้งนี้กลุ่มลูกหนี้เป้าหมายของภาคเหนือเป็นลูกหนี้รายใหญ่ที่มีความสำคัญ หรือมีความยุ่งยากซับซ้อนในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ต่อมาได้เพิ่มกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นและครอบคลุมลูกหนี้รายเล็กด้วย ณ สิ้นธันวาคม 2542 มีลูกหนี้กลุ่มเป้าหมาย ในความดูแลของสำนักงานภาคเหนือจำนวน 360 ราย มูลหนี้ 21,375 ล้านบาท เป็นลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างปรับปรุงโครงสร้างหนี้ 250 ราย มูลหนี้ 15,916 ล้านบาท และมีลูกหนี้ที่ปรับปรุงแล้วเสร็จเพียง 82 ราย มูลหนี้ 4,509 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจรับเหมาและค้าวัสดุก่อสร้าง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจบริการประเภทโรงแรม หอพักและภัตตาคาร ที่เหลือส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้ที่ไม่สามารถปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้สำเร็จซึ่งจะถูกดำเนินคดีตามขั้นตอนต่อไป
ความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในส่วนของภาคเหนือ
นับจากได้มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตั้งแต่กลางปี 2541 เป็นต้นมา ภาคเหนือประสบผลสำเร็จในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพิ่มขึ้นโดยลำดับ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มีลูกหนี้สถาบันการเงินที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จจำนวน 25,657 ราย มูลหนี้ 48,767 ล้านบาท เทียบกับ 462 ราย มูลหนี้ 4,915 ล้านบาท เดือนธันวาคม 2541 เพิ่มขึ้น 25,195 ราย มูลหนี้ 43,852 ล้านบาท ตามลำดับ เฉลี่ยยอดหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จในปี 2542 เพิ่มขึ้นประมาณเดือนละ 3,800 ล้านบาท นับได้ว่า มีความคืบหน้าสูงสุดเป็นลำดับที่ 3 รองจากกรุงเทพฯ และภาคกลาง ทั้งนี้ภาคเหนือมีสัดส่วนจำนวนรายและมูลหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างแล้วเสร็จ คิดเป็นร้อยละ 14.8 และร้อยละ 4.6 ของทั้งประเทศ
ประเภทธุรกิจของลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จ ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก โดยมีจำนวน 6,628 ราย มูลหนี้ 14,934 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 25.8 และร้อยละ 32.5 ของจำนวนรายและมูลหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ทั้งภาคเหนือ รองลงมาเป็นธุรกิจอุตสาหกรรมการบริการและการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล ตามลำดับ ทั้งนี้ลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้สำเร็จมีมูลหนี้เฉลี่ยต่อรายอยู่ในช่วง 0.5 — 5 ล้านบาท
ผลสำเร็จในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ส่วนใหญ่เป็นการเจรจาโดยตรงระหว่างลูกหนี้กับสถาบันการเงินเจ้าหนี้ โดยมีทางการสนับสนุน โดยเฉพาะ การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีและค่าธรรมเนียมแก่ทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้ อีกทั้งอัตราดอกเบี้ยในตลาดลดต่ำลงก็มีส่วนทำให้การปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีความคืบหน้า นอกจากนั้น ธปท. ได้เร่งส่งเสริมผลักดันมากขึ้นทั้งการประชาสัมพันธ์ในหลายรูปแบบและการปรับปรุงหลักเกณฑ์วิธีการต่างๆ เพื่อให้แนวปฏิบัติในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ มีความชัดเจน พร้อมสร้างความมั่นใจให้กับลูกหนี้และเจ้าหนี้ที่เป็นคู่เจรจา
ในส่วนของเงื่อนไขหรือวิธีการที่สถาบันการเงินต่างๆ ใช้ในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีหลายวิธีทั้งการลดอัตราดอกเบี้ย การขยายระยะเวลาชำระหนี้ การโอนหลักทรัพย์ชำระหนี้ การปลอดชำระต้นเงิน การแปลงเป็นหนี้ระยะยาว ฯลฯ ทั้งนี้การ เลือกใช้เงื่อนไขหรือวิธีการใดหรือใช้หลายวิธีประกอบกันไป ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และสถานภาพของลูกหนี้แต่ละราย รวมทั้งขึ้นอยู่กับนโยบายของสถาบันการเงินนั้น ในส่วนของภาคเหนือการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่แล้วเสร็จ สถาบันการเงินมักใช้วิธีการลดอัตราดอกเบี้ยร่วมกับการขยายระยะเวลาชำระหนี้มากที่สุด
สำหรับลูกหนี้สถาบันการเงินที่อยู่ระหว่างขั้นตอนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (นับรวมตั้งแต่การคัดเลือกลูกหนี้เข้าสู่กระบวนการการเจรจาเพื่อหาข้อยุติ การอยู่ระหว่างการขออนุมัติ จากสำนักงานใหญ่ของสถาบันการเงินหลังจากได้ข้อยุติ และการอยู่ระหว่างการรอทำสัญญาหรือบันทึกข้อตกลง)
สิ้นธันวาคม 2542 มีลูกหนี้สถาบันการเงินในภาคเหนือ อยู่ระหว่างปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวน 3,060 ราย มูลหนี้ 13,103 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 11.7 และร้อยละ 1.2 ของทั้งประเทศ ตามลำดับ โดยรวมของภาคเหนือสิ้นปี 2542 มีลูกหนี้ที่เข้าสู่กระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (รวมการปรับปรุงโครงสร้างแล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างปรับปรุงโครงสร้างหนี้) จำนวนทั้งสิ้น 28,717 ราย มูลหนี้ 61,870 ล้านบาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-