กรุงเทพฯ--6 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (2 มีนาคม 2544) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้หารือกับนาง Mary Robinson ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ที่กระทรวง การต่างประเทศ สรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้
1. นาง Robinson แสดงความชื่นชมที่ไทยให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิมนุษยชน ในลำดับสูงโดยนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีที่ได้มีมติเห็นชอบในหลักการต่อร่างนโยบาย และแผนปฏิบัติการแม่บทด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการฯ กล่าวว่าในรัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบันเน้นถึงเรื่องสิทธิพื้นฐานของประชาชน การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา และดูแลทรัพยากร และการศึกษาในทุกระดับ ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในลำดับสูง
2. ทั้งสองฝ่ายเห็นตรงกันว่าการที่นางออง ซาน ซู จี กับฝ่ายรัฐบาลพม่าเริ่มมีการ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นทิศทางที่ถูกต้องที่จะนำไปสู่การปรองดองของประเทศพม่า ซึ่งเป็นผลดี ในการคลี่คลายความขัดแย้งและเป็นผลดีต่อเรื่องสิทธิมนุษยชน
3. ทั้งสองฝ่ายเน้นเรื่องสิทธิในการพัฒนา rights to development ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ ที่จะโยงเรื่องสิทธิมนุษยชนกับสิทธิในการพัฒนา และประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศที่กำลังพัฒนายัง มีท่าทีที่แตกต่างกัน นาง Robinson ขอให้ประเทศไทยเป็นตัวเชื่อม ซึ่งรัฐมนตรีว่าการฯ ได้แจ้งว่าไทย พร้อมที่จะมีบทบาทดังกล่าว
4. ในประเด็นเรื่องผู้อพยพ ฝ่ายไทยขอให้ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนฯ ประสานกับ UNHCR ให้เร่งกระบวนการส่งต่อไปยังประเทศที่สามให้เร็วขึ้น และช่วยติดต่อกับองค์กรของ สหประชาชาติและประเทศต่าง ๆ ในการริเริ่มโครงการฝึกอาชีพ เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ รวมทั้งให้ ฝ่ายพม่าหาพื้นที่ให้ผู้อพยพเหล่านี้กลับไปด้วย
5. นาง Robinson แสดงความวิตกเรื่องปัญหาโรคเอดส์ในพม่าที่เพิ่มสูงขึ้น และแจ้ง ว่าการที่พม่ายอมรับการที่สหประชาชาติจะส่งผู้แทนเข้าไปดูแลเรื่องนี้นับว่าเป็นพัฒนาการที่ดี
6. นาง Robinson ยินดีที่ได้รับทราบว่า กรณีนักโทษที่ติดยาเสพติด รัฐบาลไทย มีนโยบายถือว่าเป็นผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษา ซึ่งทำให้สภาพความเป็นอยู่ของนักโทษเหล่านั้นดีขึ้น
7. รัฐมนตรีว่าการฯ แจ้งให้นาง Robinson ทราบว่าทางกระทรวงมหาดไทยกำลัง รวบรวมข้อมูลเรื่องการออกบัตรประจำตัวให้กับชาวเขา และจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างไทย ลาว เวียดนาม และเขมร เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
8. นาง Robinson ขอให้ไทยพิจารณาเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาการต่อต้านทารุณกรรม การปฏิบัติหรือลงโทษที่โหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment — CAT) ซึ่งนาง Robinson เห็นว่าประเทศไทยได้มีการปฏิบัติที่เข้าหลักเกณฑ์ของอนุสัญญานี้อยู่แล้ว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (2 มีนาคม 2544) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้หารือกับนาง Mary Robinson ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ที่กระทรวง การต่างประเทศ สรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้
1. นาง Robinson แสดงความชื่นชมที่ไทยให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิมนุษยชน ในลำดับสูงโดยนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีที่ได้มีมติเห็นชอบในหลักการต่อร่างนโยบาย และแผนปฏิบัติการแม่บทด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการฯ กล่าวว่าในรัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบันเน้นถึงเรื่องสิทธิพื้นฐานของประชาชน การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา และดูแลทรัพยากร และการศึกษาในทุกระดับ ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในลำดับสูง
2. ทั้งสองฝ่ายเห็นตรงกันว่าการที่นางออง ซาน ซู จี กับฝ่ายรัฐบาลพม่าเริ่มมีการ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นทิศทางที่ถูกต้องที่จะนำไปสู่การปรองดองของประเทศพม่า ซึ่งเป็นผลดี ในการคลี่คลายความขัดแย้งและเป็นผลดีต่อเรื่องสิทธิมนุษยชน
3. ทั้งสองฝ่ายเน้นเรื่องสิทธิในการพัฒนา rights to development ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ ที่จะโยงเรื่องสิทธิมนุษยชนกับสิทธิในการพัฒนา และประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศที่กำลังพัฒนายัง มีท่าทีที่แตกต่างกัน นาง Robinson ขอให้ประเทศไทยเป็นตัวเชื่อม ซึ่งรัฐมนตรีว่าการฯ ได้แจ้งว่าไทย พร้อมที่จะมีบทบาทดังกล่าว
4. ในประเด็นเรื่องผู้อพยพ ฝ่ายไทยขอให้ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนฯ ประสานกับ UNHCR ให้เร่งกระบวนการส่งต่อไปยังประเทศที่สามให้เร็วขึ้น และช่วยติดต่อกับองค์กรของ สหประชาชาติและประเทศต่าง ๆ ในการริเริ่มโครงการฝึกอาชีพ เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ รวมทั้งให้ ฝ่ายพม่าหาพื้นที่ให้ผู้อพยพเหล่านี้กลับไปด้วย
5. นาง Robinson แสดงความวิตกเรื่องปัญหาโรคเอดส์ในพม่าที่เพิ่มสูงขึ้น และแจ้ง ว่าการที่พม่ายอมรับการที่สหประชาชาติจะส่งผู้แทนเข้าไปดูแลเรื่องนี้นับว่าเป็นพัฒนาการที่ดี
6. นาง Robinson ยินดีที่ได้รับทราบว่า กรณีนักโทษที่ติดยาเสพติด รัฐบาลไทย มีนโยบายถือว่าเป็นผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษา ซึ่งทำให้สภาพความเป็นอยู่ของนักโทษเหล่านั้นดีขึ้น
7. รัฐมนตรีว่าการฯ แจ้งให้นาง Robinson ทราบว่าทางกระทรวงมหาดไทยกำลัง รวบรวมข้อมูลเรื่องการออกบัตรประจำตัวให้กับชาวเขา และจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างไทย ลาว เวียดนาม และเขมร เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
8. นาง Robinson ขอให้ไทยพิจารณาเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาการต่อต้านทารุณกรรม การปฏิบัติหรือลงโทษที่โหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment — CAT) ซึ่งนาง Robinson เห็นว่าประเทศไทยได้มีการปฏิบัติที่เข้าหลักเกณฑ์ของอนุสัญญานี้อยู่แล้ว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-