1. ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2542 ที่ผ่านมา มีผลเป็นที่น่าพอใจอย่างไร มีจุดอ่อน-จุดแข็งอย่างไร
เศรษฐกิจไทยโดยรวมในปี 2542 มีสัญญาณการฟื้นตัวดีขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2542 โดย ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราเร่งเป็นลำดับร้อยละ 0.9, 3.3 และ 7.7 ในไตรมาสที่ 1, 2 และ 3 ตามลำดับ ทำให้คาดว่าทั้งปีเศรษฐกิจจะขยายตัวประมาณร้อยละ 4
เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจหลักหลายด้านได้กระเตื้องขึ้นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะการส่งออกในระยะ 11 เดือนแรกมีมูลค่า 53.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือขยายตัวร้อยละ 6.7 และคาดว่าทั้งปีจะขยายตัวกว่าร้อยละ 6.4 สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 4.0 ในขณะที่ดัชนีชี้วัดด้านการผลิตก็มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในระยะ 10 เดือนแรกขยายตัวร้อยละ 11.1
ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจก็ปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ โดยอัตราเงินเฟ้อลดลงอย่างต่อเนื่อง คาดว่าทั้งปีอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 1 ในขณะที่ค่าเงินบาทค่อนข้างมีเสถียรภาพ ดุลการค้าและบัญชีเดินสะพัดเกินดุลต่อเนื่อง ส่งผลให้ทุนสำรองระหว่างประเทศมีความเข้มแข็งมากขึ้น อยู่ในระดับ 32 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่าการนำเข้ากว่า 8 เดือน และยอดหนี้ต่างประเทศลดลง
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจจะมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อพิจารณาจากเครื่องชี้วัดดังกล่าวข้างต้น แต่ก็มีจุดอ่อนที่สำคัญ คือ ปัญหาระบบสถาบันการเงิน และหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่ยังอยู่ในระดับสูง ปัญหาการว่างงาน และราคาน้ำมันที่ยังคงอยู่ในระดับสูง จะส่งผลกระทบต่อระดับราคาสินค้า กำลังซื้อและการบริโภคของภาคเอกชน และทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจต้องใช้เวลามากขึ้น
2. แนวโน้มของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ในปี 2543 มีทิศทางเติบโตอย่างไร
แนวโน้มเศรษฐกิจโลก ปี 2543 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวร้อยละ 3.5 เทียบกับร้อยละ 3.0 ในปี 2542 โดยเป็นการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปและญี่ปุ่น ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 และ 1.5 ตามลำดับ ในขณะที่เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ซึ่งยังคงขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 2.6 แต่เป็นอัตราที่ชะลอตัวลง ประกอบกับเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียมีแนวโน้มขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง เนื่องจากประเทศที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจการเงินมีการปรับตัวดีขึ้น คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.4 ปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญคือ การส่งออกที่ขยายตัว การดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อฦูมิภาคเอเชียสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจโลกในปี 2543 ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาว่าจะมีการปรับตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป (soft-landing) หรือปรับตัวลดลง และเศรษฐกิจในยุโรปและญี่ปุ่นจะสามารถปรับตัวสูงขึ้นชดเชยการอ่อนตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา เพื่อรักษาอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลกได้หรือไม่ รวมทั้งผลกระทบจาก Y2K ว่าจะรุนแรงเพียงใด
สำหรับเศรษฐกิจไทย ปี 2543 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่อง ในระดับที่ใกล้เคียงกับปี 2542 คือประมาณร้อยละ 4.4 โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากภาคการส่งออกที่คาดว่าจะยังขยายตัวในระดับสูงประมาณร้อยละ 5-6 ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพ เงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง ประกอบกับมีความคืบหน้าในการปรับโครงสร้างหนี้ รวมทั้งการแก้ไขกฎหมายต่างๆ จะสร้างความมั่นใจให้นักลงทุนและประชาชนต่อระบบเศรษฐกิจมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวที่สำคัญ คือ ปัญหาการว่างงานที่คาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น การลงทุนใหม่ของภาคเอกชนยังไม่เกิดขึ้นหรืออยู่ในระดับต่ำมาก เนื่องจากมีกำลังการผลิตส่วนเกินร้อยละ 37 และปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ทำให้การปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติ และปัจจัยภายนอกประเทศ อาทิ ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้น เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่เริ่มชะลอตัว ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุน และทิศทางการค้าของโลกและของไทยในที่สุด
3. นโยบายด้านใดบ้างที่ภาครัฐจะต้องเน้นเป็นพิเศษ เพื่อปรับสภาพเศรษฐกิจของไทยให้เป็นไปอย่างราบรื่น
จากมุมมองของกระทรวงพาณิชย์ นโยบายของภาครัฐที่จะต้องเน้นเป็นพิเศษเพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวกลับสู่สภาพปกติ และเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว ที่สำคัญก็คือ การดำเนินนโยบายการเงินการคลังเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเจริญเติบโตของภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง รวมทั้งมุ่งมั่นที่จะปฏิรูปโครงสร้างทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมเพื่อวางรากฐานที่แข็งแกร่งในระยะยาว โดยเฉพาะนโยบายด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงพาณิชย์ที่สำคัญ ได้แก่
จะต้องเร่งรัดการตลาดเพื่อส่งเสริมการส่งออกต่อไป โดยมุ่งรักษาส่วนแบ่งในตลาดเดิม และขยายการส่งออกไปยังตลาดใหม่ๆ โดยผ่านทางโครงการต่างๆ ที่มีอยู่แล้ว เช่น การส่งเสริมเอกลักษณ์สินค้าไทย เป็นต้น ปรับโครงสร้างภาคเกษตรและอุตสาหกรรม โดยเน้นการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการนำเทคโนโลยีและเทคนิคการจัดการสมัยใหม่มาใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ทั้งนี้จะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ปรับโครงสร้างภาษีศุลกากรทั้งระบบ เพื่อให้เอื้ออำนวยต่อการเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตทั้งภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ทั้งนี้รัฐจะต้องมีนโยบายที่ชัดเจน และแน่วแน่ว่าจะเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ภาคส่งออก รักษาอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และที่สำคัญคือต้องมีเสถียรภาพในระดับที่ก่อให้เกิดความมั่นใจในการประกอบธุรกิจ 4. อุปสรรคปัญหาที่ภาครัฐควรจะขจัดไปมีอะไรบ้างในด้านผลกระทบทั้งระยะสั้นและระยะยาว
จากวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2540 ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และภาครัฐบาลได้แก้ไขปัญหาต่างๆ จนมีส่วนทำให้เศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นแล้วก็ตาม แต่ยังมีปัญหาที่เป็นปัจจัยให้เกิดการชะลอต่อการฟื้นตัวแบบยั่งยืนของเศรษฐกิจทั้งด้านบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชน ซึ่งรัฐบาลควรจะขจัดปัญหาเหล่านี้ให้หมดไป ได้แก่
ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) สูงมาก เนื่องจากการนำเงินไปลงทุนในธุรกิจที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจในระยะยาว ทำให้สถาบันการเงินมีสินทรัพย์ด้อยคุณภาพในสัดส่วนที่เพิ่มสูงขึ้นมาก ส่งผลให้สถาบันการเงินไทยถูกปรับลดลำดับความน่าเชื่อถือ (Credit rating) จากสถาบันจัดลำดับต่างๆ หลายครั้ง โดย ณ ตุลาคม 2542 มีสถาบันการเงินทั้งระบบมี NPL ร้อยละ 43.8 ของสินเชื่อทั้งระบบ ปัญหาการว่างงาน จากการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร เมื่อเดือนพฤษภาคม 2542 พบว่ามีผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.87 ล้านคน (ร้อยละ 5.7 ของจำนวนกำลังแรงงานซึ่งมีจำนวนรวม 33.08 ล้านคน) ขณะที่เดือนกุมภาพันธ์ 2542 มีจำนวน 1.72 ล้านคน และคาดว่าปี 2543 คนว่างงานจะเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการปรับโครงสร้างองค์กรของภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะสถาบันการเงิน ปัญหาการใช้กำลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรมยังไม่เต็มที่ ปัจจุบันมีการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเป็นเฉลี่ยประมาณร้อยละ 63.0 (ตุลาคม 2542) และการลงทุนยังไม่ขยายตัวเท่าที่ควรเนื่องจากมีกำลังการผลิตส่วนเกินอยู่มาก ปัญหาที่อาจส่งผลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ มีปัจจัยหลายอย่างที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ เช่น ราคาน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้น จะส่งผลกระทบต่อระดับราคาสินค้า การบริโภคและความสามารถในการส่งออก การแข็งค่าของเงินเยนและเงินเหรียญสหรัฐ และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางต่างๆ เช่น ธนาคารกลางสหรัฐฯ และยุโรป เป็นต้น ปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออก เช่น การคืนภาษีวัตถุดิบ การคืนภาษี VAT การเจรจาแก้ไขปัญหาที่ต่างประเทศใช้เป็นข้ออ้างในการกีดกันสินค้าออกของไทย เช่น การทุ่มตลาด และกฎระเบียบวิธีการในการคุ้มครองสุขอนามัยของพืชและสัตว์ เป็นต้น 5. ภาคเอกชนควรจะต้องปรับกลยุทธ์ทางด้านการตลาด และการลงทุนอย่างไร เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในตลาดโลก
ในยุคโลกาภิวัตน์หรือโลกไร้พรมแดน การค้าระหว่างประเทศจะมีเสรีมากขึ้น การแข่งขันทางการค้าจะทวีความรุนแรง และจะเป็นยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศ เศรษฐกิจและการค้าของโลกจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ภาคเอกชนจะต้องปรับกลยุทธ์ทางด้านการตลาดและการลงทุน เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก
กลยุทธ์ทางด้านการตลาด
นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการตลาดตามความเหมาะสม โดยผ่านทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) ซึ่งจะทวีความสำคัญอย่างมากและรวดเร็ว จะต้องติดตามข้อมูลข่าวสารการค้า กฎระเบียบของประเทศคู่ค้า ตลอดจน พันธกรณีการเปิดเสรีของไทยใน WTO APEC และ AFTA พัฒนากลยุทธ์และบุคลากรด้านการตลาด เพื่อให้สามารถวางแผนและกำหนด กลยุทธ์การตลาดในระยะยาวได้
เร่งนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้สินค้า และมีความหลากหลายสอดคล้องกับความต้องการของตลาด เร่งแสวงหาตลาดใหม่ และขยายเครือข่ายการค้าให้มากขึ้น รวมทั้งสร้างพันธมิตรทางการตลาดกับต่างประเทศ มีความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนอย่างใกล้ชิด เพื่อร่วมกันวิเคราะห์ สถานการณ์ ปัญหาและหาแนวทางแก้ไข ตลอดจนการดำเนินนโยบายด้านการตลาดในเชิงรุก กลยุทธ์ทางด้านการลงทุน
เน้นการลงทุนเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของตลาด (Market oriented) มากขึ้น ต้องมีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในกิจการผลิต การบริการ หรือการวิจัยพัฒนา จะช่วยให้ลดต้นทุนของธุรกรรมรวมทั้งลดขั้นตอนในการลงทุนและการจัดการต่างๆ ลงด้วย ขยายการลงทุนออกไปลงทุนในต่างประเทศ เพื่อเป็นเครือข่ายในการส่งวัตถุดิบที่จำเป็นกลับเข้ามาใช้ในประเทศ หรือขยายฐานการผลิตไปต่างประเทศ และขยายเครือข่ายการค้าให้มากขึ้น 6. ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการค้า การลงทุน การเงิน และการบริการของไทย
การพัฒนาศักยภาพด้านการค้ามีแนวทางที่สำคัญดังนี้
เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้ามากขึ้น และเพื่อใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดและลดน้อยลงให้ได้ประโยชน์มากที่สุด รวมทั้งปรับปรุงคุณภาพสินค้าให้เป็นที่ยอมรับของตลาดต่างประเทศ โดยการใช้ตรายี่ห้อ (brand name) ของสินค้าไทย ให้ความสำคัญกับการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) ซึ่งเป็นรูปแบบการค้าใหม่ที่สามารถสนองตอบความต้องการของผู้ประกอบการในทุกๆ ด้าน เช่น ลดต้นทุนในการดำเนินกิจกรรมทางการค้า การติดต่อธุรกิจการค้าทั่วโลกได้ตลอดเวลา สะดวก รวดเร็ว และเข้าถึงลูกค้าได้เป็นจำนวนมาก การขยายเครือข่ายการค้า โดยการสร้างตัวแทนการค้าหรือหุ้นส่วนในต่างประเทศ เพื่อให้เป็นผู้ช่วยกระจายสินค้า การเจาะตลาดและโฆษณาสินค้า ภาคเอกชนควรมีการรวมตัวกันจัดตั้งเป็นองค์กรกลาง เพื่อสร้างอำนาจการต่อรอง สามารถพึ่งพาตนเองได้ และสร้างพันธมิตรกับบริษัทข้ามชาติ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและร่วมมือกันในด้านการค้า การพัฒนาศักยภาพด้านการลงทุน มีแนวทางดังนี้
เน้นการลงทุนในการผลิตสินค้าที่ไทยมีศักยภาพหรือขีดความสามารถในการแข่งขันสูง การรวมกิจการและหาพันธมิตรร่วมทุน จะช่วยเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจ ขยายการลงทุนของไทยในต่างประเทศให้มากขึ้น เพื่อใช้เป็นเครือข่ายในการเชื่อมโยงการผลิตหรือขยายฐานการผลิตไปต่างประเทศ รวมทั้งขยายเครือข่ายการค้าทั่วโลก สำหรับด้านการบริการมีแนวทางการพัฒนาดังนี้
เร่งพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานและเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวภายในประเทศ เพื่อเป็นศูนย์กลางการประชุม การค้าและการท่องเที่ยวในภูมิภาค เน้นการพัฒนาบริการด้านสุขภาพ เพื่อให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศได้เข้ามาพักผ่อนและใช้บริการในการดูแลรักษาสุขภาพที่ได้มาตรฐานและเป็นธรรมชาติ พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ และทักษะในการให้บริการได้อย่างมี ประสิทธิภาพ 7. ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจไทยกับประเทศกลุ่มการค้าต่างๆ ในปีต่อไปจะมีทิศทางอย่างไรและไทยควรจะปรับตัวเพื่อรองรับอย่างไร
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของไทยจะมีความใกล้ชิดกันในระดับภูมิภาคมากขึ้น โดยเฉพาะในอาเซียนและเอเปค ขณะเดียวกันความสัมพันธ์ในระดับพหุภาคีก็มีความสำคัญในการกำหนดทิศทางการค้าโลกและยังเป็นกรอบแนวทางในการกำหนดทิศทางการเจรจาเพื่อเปิดเสรีทางการค้าในระดับภูมิภาค
กระแสการค้าโลกจะมีแนวโน้มเปิดเสรีมากขึ้นทั้งในกรอบขององค์กรการค้าโลกและการรวมกลุ่มเศรษฐกิจการค้า โดยกลุ่มเศรษฐกิจการค้าที่ใกล้ตัวและมีผลเร็วที่สุด ก็คือ
อาเซียน ซึ่งรวมตัวกันเป็นเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) โดยจะมีการลดภาษีสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมลงเหลือ 0-5% ครอบคลุมสินค้าร้อยละ 85 ของจำนวนรายการสินค้าที่ผูกพัน (Inclusion List) โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มเร่งลดภาษี (Fast Track) ในปี 2543 และเพิ่มเป็นร้อยละ 90 ของสินค้าใน Inclusion List ในปี 2544 และเพิ่มเป็นร้อยละ 100 ในปี 2545 นอกจากนี้ ที่ประชุมระดับผู้นำของอาเซียนยังได้มีมติร่วมกันให้ประเทศสมาชิกลดภาษีลงเหลือ ร้อยละ 0 (แทนที่จะเป็นร้อยละ 0-5) ในปี 2553 สำหรับประเทศสมาชิกเดิม และในปี 2558 สำหรับประเทศสมาชิกใหม่
กลุ่มเอเปค ได้มีความพยายามที่จะเร่งรัดให้ประเทศสมาชิกดำเนินการให้มีการเปิดเสรีทางการค้า การลงทุน และบริการภายในระยะเวลาที่กำหนด (ค.ศ. 2010 สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้ว และ ค.ศ. 2020 สำหรับประเทศกำลังพัฒนา) นอกจากนี้ยังมีบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ นิวซีแลนด์ ชิลี และเกาหลีใต้ ที่เริ่มเจรจาจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีทวิภาคีระหว่างกัน เพื่อให้มีการเปิดเสรีเร็วกว่าที่กำหนดไว้อีก
การเจรจาการค้าพหุภาคีรอบใหม่ขององค์การการค้าโลก จะเป็นการเจรจาต่อเนื่องในเรื่องที่ได้เจรจาในรอบที่แล้ว คือ รอบอุรุกวัย ได้แก่ เรื่องสินค้าเกษตรและการค้าบริการ สำหรับเรื่องใหม่ ๆ ที่คาดว่าจะนำเข้ามาเจรจา เช่น การค้ากับการลงทุน นโยบายการแข่งขัน การอำนวยความสะดวกทางการค้า และความโปร่งใสในการจัดซื้อโดยรัฐ รวมทั้งการพยายามเชื่อมโยงเรื่องสิ่งแวดล้อมและมาตรฐานแรงงานเข้ากับการค้า ซึ่งอาจมีผลให้การเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์การค้าโลกหรือจัดทำกฎเกณฑ์การค้าในเรื่องใหม่ ๆ ขึ้น แต่ ณ ขณะนี้ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าการเจรจารอบใหม่จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ในปี ค.ศ. 2000
แนวทางการปรับตัวของไทย การค้าโลกที่เปิดเสรีมากขึ้น ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่การแข่งขันทางการค้าจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ดังนั้น ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องเตรียมความพร้อมในการปรับตัวเพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและการค้าโลกที่จะมีผลกระทบต่อไทย
ภาครัฐ
ต้องมีการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อประมวลสถานะปัจจุบันของไทยและติดตามความเคลื่อนไหวของการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ทางการค้า และกระแสผลักดันในการเปิดเสรี เพื่อเตรียมการรองรับในการเจรจาให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทยสูงสุด ร่วมมือกับภาคเอกชนในการกำหนดท่าที และความเตรียมพร้อมในการเจรจาเพื่อรักษา และส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติ ปรับปรุงกฎหมายและมาตรการของไทยให้มีความพร้อมในการป้องกันและตอบรับการใช้นโยบายการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมจากต่างประเทศ ที่จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม เช่น กฎหมาย AD/CVD กฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช กฎหมายประกันภัย กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งการพิจารณาร่างกฎหมายใหม่ที่อาจส่งผลต่อการค้าในอนาคต เช่น กฎระเบียบการกำกับดูแลการค้าผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ และการค้าบริการอื่นๆ ปรับโครงสร้างอัตราภาษีศุลกากรทั้งระบบให้เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและสอดคล้องกับข้อผูกพันภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA)
ภาคเอกชน
ต้องมีความตื่นตัว ติดตามความเคลื่อนไหวและมีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับทิศทางการค้าโลกอยู่เสมอ
ปรับปรุงประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ได้แก่
ปรับโครงสร้างการผลิตทั้งด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และบริการให้มี
ประสิทธิภาพสูงสุดและมีการเชื่อมโยงการผลิตภายในประเทศ
พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อลดต้นทุน
พัฒนาความรู้ด้านการจัดการของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก
พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้และทักษะที่สามารถรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปรับกลยุทธ์ทางการค้า เช่น เจาะขยายตลาด พัฒนาคุณภาพของสินค้า พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาด สร้างภาพลักษณ์ หรือ brand name ของสินค้าไทย เร่งใช้ประโยชน์จาก E-Commerce ปรับปรุงกฎระเบียบและนโยบายต่างๆ ให้เหมาะสมและยืดหยุ่นต่อการประกอบธุรกิจ
ประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการแก้ปัญหาเพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก รวมทั้งบริหารจัดการทรัพยากรทางเศรษฐกิจและสังคมด้วยการเสริมสร้างความเป็นธรรมและความโปร่งใส
8. อะไรเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด (Key Factor) ทั้งจากภายใน และภายนอกที่สามารถสะท้อนเศรษฐกิจปัจจุบัน ที่จะส่งผลกระทบในอนาคต ใช้เป็นลางบอกเหตุ หรือนำไปใช้คาดการณ์ได้อย่างถูกต้อง อาทิ ดัชนีราคาสินค้า อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การลงทุน อัตราเงินเฟ้อ และอื่นๆ เป็นต้น
เครื่องชี้ทางเศรษฐกิจที่สะท้อนสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันและอนาคตที่สำคัญ มีหลายตัวด้วยกัน ได้แก่ อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ดัชนีการผลิต ดัชนีการลงทุน อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ การค้าระหว่างประเทศ และเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจและการค้า
แต่ปัจจัยที่สำคัญที่สุด ก็คือ อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจซึ่งในภาวะเศรษฐกิจของประเทศปัจจุบันจะต้องเน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศให้ฟื้นตัว ก็จะช่วยให้ปัญหาสถาบันการเงินและหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้คลี่คลายลงไปได้เอง และการเร่งรัดการส่งออกก็เป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยให้มีการขยายการผลิตและการลงทุน ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัว ประชาชนมีรายได้สูงขึ้นและมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม การที่จะนำไปใช้ในการคาดการณ์ในอนาคต จำเป็นต้องดูปัจจัยทุกด้านประกอบกัน
9. ในภาพรวมของการส่งออกหมวดสินค้าใดมีศักยภาพในการแข่งขันและหมวดสินค้าใดมีอุปสรรคและควรมีแนวทางในการแก้ไขอย่างไร
การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญๆ ในระยะที่ผ่านมา ปรากฏว่าสินค้าหลายกลุ่มจากประเทศไทยที่มีศักยภาพในการส่งออกไปขายแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลายอย่าง เช่น
1) กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
ประเภทของอุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งออก ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ไดโอด ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ และวงจรพิมพ
การผลิตมีศักยภาพ เนื่องจากมีการผลิตมานาน และพัฒนาอย่างต่อเนื่องประกอบกับมีการร่วมลงทุนจากต่างประเทศ ทำให้มีการนำเข้าเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยมาใช้
แรงงานมีทักษะ
ปัญหาและอุปสรรค
อัตราภาษีนำเข้าวัตถุดิบและชิ้นส่วนเพื่อผลิตสินค้าส่งออกของไทยสูง เมื่อเทียบกับคู่แข่งขันทั้งในอาเซียน เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศนอก อาเซียน เช่น เกาหลีใต้ จีน ไต้หวัน
การขาดสภาพคล่องสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ค่าระวางขนส่งสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นรวมทั้งค่าธรรมเนียมพิเศษที่ถูกเรียกเก็บเพิ่มขึ้นในสายเดินเรือยุโรปและสหรัฐฯ
ไม่มีสถาบันตรวจสอบคุณภาพสินค้าที่เป็นที่ยอมรับของต่างประเทศ ภายในประเทศ ทำให้ต้องส่งผลิตภัณฑ์ไปตรวจสอบในต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์
แนวทางแก้ไข
เร่งปรับปรุงระบบโครงสร้างภาษีศุลกากรวัตถุดิบชิ้นส่วนให้เอื้ออำนวยต่อการผลิตเพื่อการส่งออก
เร่งรัดการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม และสนับสนุนให้มีกองทุนกู้ยืมเพื่อการส่งออก
ส่งเสริมให้มีสถาบันตรวจสอบคุณภาพสินค้าที่ได้มาตรฐานสากล และเป็นที่ยอมรับของต่างประเทศขึ้นภายในประเทศ
2) กลุ่มยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ โดยส่งออกรถแวนและปิคอัพมีมูลค่าสูงที่สุด
มีศักยภาพด้านการผลิตและการตลาด เนื่องจากมีการร่วมลงทุนจากต่างประเทศและเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชีย
บริษัทรถยนต์ระดับโลก เช่น บริษัทมิตซูบิชิมอเตอร์ บริษัทโตโยต้ามอเตอร์คอร์ปอเรชั่นจำกัด และบริษัทฟอร์ดมอเตอร์ เป็นต้น เลือกไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออกที่สำคัญในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
ปัญหาและอุปสรรค
โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ขนาดกลางและขนาดย่อม มีระบบการจัดการผลิตแบบครอบครัว ไม่มีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต และใช้เครื่องจักรที่ล้าสมัย ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง
โครงสร้างภาษีชิ้นส่วนยานยนต์ไม่เหมาะสม
ผู้ประกอบการขาดสภาพคล่องทางการเงิน
แนวทางแก้ไข
ส่งเสริมให้ใช้ระบบการผลิตตามมาตรฐานสากล รวมทั้งการปรับเปลี่ยนใช้เครื่องจักรที่ทันสมัย
เร่งรัดการปรับโครงสร้างภาษีศุลกากรชิ้นส่วนยานยนต์ทั้งระบบให้เอื้ออำนวยต่อการผลิตเพื่อการส่งออก
เร่งรัดการขอคืน หรือชดเชยภาษีที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกให้รวดเร็ว
3) กลุ่มอาหาร
สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากประมง เช่น อาหารทะเลกระป๋อง และกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์ เช่น ไก่สดแช่เย็น แช่แข็งและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้ เช่น สับปะรดกระป๋องและน้ำสับปะรด ผลไม้อบแห้งและแช่อิ่ม หน่อไม้กระป๋อง ข้าวโพดอ่อนกระป๋อง และผลิตภัณฑ์จากข้าว ธัญพืช แป้งและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ
มีศักยภาพด้านการผลิต เนื่องจากไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารที่มีคุณภาพดีและมีชื่อเสียงของโลก มีผลิตภัณฑ์หลากหลาย ผู้ประกอบการมีประสบการณ์และชำนาญเนื่องจากมีการผลิตมานานและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
การผลิตใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นหลักประมาณร้อยละ 80-90
แรงงานมีคุณภาพ
มีการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยโดยเฉพาะโรงงานขนาดใหญ่เพื่อการส่งออก
ปัญหาและอุปสรรค
วัตถุดิบมีคุณภาพไม่ดีพอ และมีปริมาณไม่สม่ำเสมอ
การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมอาหารของไทยยังมีน้อยโดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม
มีข้อกีดกันทางการค้าจากประเทศผู้นำเข้าเกี่ยวกับคุณภาพ และสิ่งแวดล้อม
แนวทางแก้ไข
ส่งเสริมให้เกษตรกรนำระบบการจัดการผลิตที่เหมาะสมมาใช้ และหาซื้อ วัตถุดิบจากแหล่งผลิตอื่นที่มีราคาถูก
ส่งเสริมให้มีระบบการจัดการผลิตที่ได้มาตรฐานสากล รวมถึงการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
4) กลุ่มอัญมณีและเครื่องประดับ
สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เครื่องประดับแท้ เพชร พลอย และไข่มุก เครื่องประดับอัญมณีเทียมและอัญมณีสังเคราะห์
มีแหล่งผลิตที่สำคัญ เช่น ทับทิม แซบไฟร์ และยังเป็นศูนย์กลางของแหล่งวัตถุดิบในภูมิภาคอินโดจีน
แรงงานมีทักษะและความปราณีต ทำให้เป็นที่ยอมรับของตลาดในด้านเจียระไนย
เทคโนโลยีพื้นฐานในการผลิตมีต้นทุนต่ำ เช่น การเผาพลอย การทำตัวเรือน
อุตสาหกรรมเจียระไนยเพชรของไทยส่วนใหญ่ร่วมทุนกับต่างชาติ
เครื่องประดับของไทยส่วนใหญ่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
สำหรับเครื่องประดับอัญมณีเทียม คู่แข่งของไทยมีเพียงรายเดียว คือ จีน
ปัญหาและอุปสรรค
ขาดแคลนช่างฝีมือที่มีความชำนาญ เช่น ช่างเจียระไนยพลอยเนื้ออ่อน นักออกแบบ ช่างเทคนิค
วัตถุดิบมีไม่เพียงพอทั้งปริมาณและคุณภาพ
ขาดเทคโนโลยีการผลิตเพื่อเพิ่มคุณภาพสินค้าและการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากอุตสาหกรรมต้นน้ำถึงปลายน้ำ
ตลาดแคบและขาดการพัฒนารูปแบบสินค้า
ขั้นตอนการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มยุ่งยากและล่าช้า
อัตราภาษีนำเข้าพลอยกระจกสูง
แนวทางแก้ไข
ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรโดยการอบรมให้มีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้านให้ครบขบวนการผลิต
สำรวจแหล่งส่งวัตถุดิบภายในประเทศ และหาซื้อวัตถุดิบจากแหล่งผลิตต่างประเทศ
พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตทั้งขบวนการผลิต โดยการพัฒนาบุคลากร หาผู้เชี่ยวชาญมาชี้แนะ และการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรให้ทันสมัย
พร้อมกับพัฒนารูปแบบสินค้าให้ สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
แสวงหาตลาดใหม่ๆ โดยการเข้าร่วมงานแสดงสินค้า การจัดคณะผู้แทนไปเยือนตลาดต่างประเทศ เป็นต้น
10. ในภาคการค้าและการลงทุนของไทย ควรจะปรับตัวรับมือกับเศรษฐกิจไทยปี 2543 อย่างไร และการเปลี่ยนแปลงการค้าและการลงทุนโลกเป็นอย่างไร
ปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจของไทยได้ฟื้นตัวและผ่านพ้นจุดที่เลวร้ายที่สุดไปแล้ว และมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ภาคการค้าและการลงทุนของไทยควรจะปรับตัวรับมือกับเศรษฐกิจในปี 2543 ดังนี้
- มุ่งเน้นการผลิตสินค้าส่งออกที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศให้มากขึ้น และส่งออกสินค้าภายใต้สัญลักษณ์ของไทยหรือมี Brand name ของตัวเอง
- ควรส่งเสริมอุตสาหกรรมสนับสนุน (Supporting Industries) และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้มีระบบเชื่อมโยงการผลิตและการค้าภายในประเทศและกับต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
- ให้ความสำคัญกับการค้าบริการมากขึ้น เพื่อรองรับการเปิดเสรีในอนาคต
- ให้ความสำคัญกับการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) ซึ่งเป็นรูปแบบการค้าใหม่ ที่สามารถสนองตอบความต้องการผู้ประกอบการในทุกด้านได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
- เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต บุคลากร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้ทันสมัยมากขึ้น
- การพัฒนาขีดความสามารถด้านการตลาด โดยจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้า และสร้างเครือข่ายการค้าในตลาดต่างประเทศ
สำหรับการเปลี่ยนแปลงด้านการค้าและและการลงทุนของโลก ในขณะนี้การค้าและการลงทุนได้มุ่งสู่ทิศทางการเปิดเสรีมากขึ้น การเปิดเสรีมี 2 ระดับ คือ
- การเปิดเสรีในระดับภูมิภาค มีกรอบการดำเนินการแตกต่างกันไปตามขอบเขตของความตกลง เช่น สหภาพยุโรป เขตการค้าเสรีอาเซียน เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ เป็นต้น
- การเปิดเสรีในระดับพหุภาคี หรือ WTO ซึ่งมีประเทศสมาชิก 135 ประเทศ ที่มีบทบาทและเข้าร่วมในการเจรจาเพื่อเปิดเตลาดและวางกฎระเบียบทางการค้าระหว่างประเทศในด้านต่าง ๆ และอีกกว่า 30 ประเทศ กำลังอยู่ในกระบวนการสมัครเข้าเป็นสมาชิก WTO
สถานการณ์การค้าและการลงทุนโลกมีแนวโน้มดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจโลก จากการประมาณการแนวโน้มเศรษฐกิจโลกของ IMF เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2542 ได้คาดการณ์เศรษฐกิจโลกไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจโลก ปี 2543 จะขยายตัวร้อยละ 3.5 สูงกว่าปี 2542 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 3.0 จะทำให้นักลงทุนทั่วโลกมีความมั่นใจมากขึ้น และส่งผลให้การค้าและการลงทุนเพิ่มสูงตามไปด้วย
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-
เศรษฐกิจไทยโดยรวมในปี 2542 มีสัญญาณการฟื้นตัวดีขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2542 โดย ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราเร่งเป็นลำดับร้อยละ 0.9, 3.3 และ 7.7 ในไตรมาสที่ 1, 2 และ 3 ตามลำดับ ทำให้คาดว่าทั้งปีเศรษฐกิจจะขยายตัวประมาณร้อยละ 4
เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจหลักหลายด้านได้กระเตื้องขึ้นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะการส่งออกในระยะ 11 เดือนแรกมีมูลค่า 53.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือขยายตัวร้อยละ 6.7 และคาดว่าทั้งปีจะขยายตัวกว่าร้อยละ 6.4 สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 4.0 ในขณะที่ดัชนีชี้วัดด้านการผลิตก็มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในระยะ 10 เดือนแรกขยายตัวร้อยละ 11.1
ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจก็ปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ โดยอัตราเงินเฟ้อลดลงอย่างต่อเนื่อง คาดว่าทั้งปีอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 1 ในขณะที่ค่าเงินบาทค่อนข้างมีเสถียรภาพ ดุลการค้าและบัญชีเดินสะพัดเกินดุลต่อเนื่อง ส่งผลให้ทุนสำรองระหว่างประเทศมีความเข้มแข็งมากขึ้น อยู่ในระดับ 32 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่าการนำเข้ากว่า 8 เดือน และยอดหนี้ต่างประเทศลดลง
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจจะมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อพิจารณาจากเครื่องชี้วัดดังกล่าวข้างต้น แต่ก็มีจุดอ่อนที่สำคัญ คือ ปัญหาระบบสถาบันการเงิน และหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่ยังอยู่ในระดับสูง ปัญหาการว่างงาน และราคาน้ำมันที่ยังคงอยู่ในระดับสูง จะส่งผลกระทบต่อระดับราคาสินค้า กำลังซื้อและการบริโภคของภาคเอกชน และทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจต้องใช้เวลามากขึ้น
2. แนวโน้มของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ในปี 2543 มีทิศทางเติบโตอย่างไร
แนวโน้มเศรษฐกิจโลก ปี 2543 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวร้อยละ 3.5 เทียบกับร้อยละ 3.0 ในปี 2542 โดยเป็นการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปและญี่ปุ่น ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 และ 1.5 ตามลำดับ ในขณะที่เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ซึ่งยังคงขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 2.6 แต่เป็นอัตราที่ชะลอตัวลง ประกอบกับเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียมีแนวโน้มขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง เนื่องจากประเทศที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจการเงินมีการปรับตัวดีขึ้น คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.4 ปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญคือ การส่งออกที่ขยายตัว การดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อฦูมิภาคเอเชียสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจโลกในปี 2543 ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาว่าจะมีการปรับตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป (soft-landing) หรือปรับตัวลดลง และเศรษฐกิจในยุโรปและญี่ปุ่นจะสามารถปรับตัวสูงขึ้นชดเชยการอ่อนตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา เพื่อรักษาอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลกได้หรือไม่ รวมทั้งผลกระทบจาก Y2K ว่าจะรุนแรงเพียงใด
สำหรับเศรษฐกิจไทย ปี 2543 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่อง ในระดับที่ใกล้เคียงกับปี 2542 คือประมาณร้อยละ 4.4 โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากภาคการส่งออกที่คาดว่าจะยังขยายตัวในระดับสูงประมาณร้อยละ 5-6 ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพ เงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง ประกอบกับมีความคืบหน้าในการปรับโครงสร้างหนี้ รวมทั้งการแก้ไขกฎหมายต่างๆ จะสร้างความมั่นใจให้นักลงทุนและประชาชนต่อระบบเศรษฐกิจมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวที่สำคัญ คือ ปัญหาการว่างงานที่คาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น การลงทุนใหม่ของภาคเอกชนยังไม่เกิดขึ้นหรืออยู่ในระดับต่ำมาก เนื่องจากมีกำลังการผลิตส่วนเกินร้อยละ 37 และปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ทำให้การปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติ และปัจจัยภายนอกประเทศ อาทิ ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้น เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่เริ่มชะลอตัว ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุน และทิศทางการค้าของโลกและของไทยในที่สุด
3. นโยบายด้านใดบ้างที่ภาครัฐจะต้องเน้นเป็นพิเศษ เพื่อปรับสภาพเศรษฐกิจของไทยให้เป็นไปอย่างราบรื่น
จากมุมมองของกระทรวงพาณิชย์ นโยบายของภาครัฐที่จะต้องเน้นเป็นพิเศษเพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวกลับสู่สภาพปกติ และเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว ที่สำคัญก็คือ การดำเนินนโยบายการเงินการคลังเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเจริญเติบโตของภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง รวมทั้งมุ่งมั่นที่จะปฏิรูปโครงสร้างทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมเพื่อวางรากฐานที่แข็งแกร่งในระยะยาว โดยเฉพาะนโยบายด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงพาณิชย์ที่สำคัญ ได้แก่
จะต้องเร่งรัดการตลาดเพื่อส่งเสริมการส่งออกต่อไป โดยมุ่งรักษาส่วนแบ่งในตลาดเดิม และขยายการส่งออกไปยังตลาดใหม่ๆ โดยผ่านทางโครงการต่างๆ ที่มีอยู่แล้ว เช่น การส่งเสริมเอกลักษณ์สินค้าไทย เป็นต้น ปรับโครงสร้างภาคเกษตรและอุตสาหกรรม โดยเน้นการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการนำเทคโนโลยีและเทคนิคการจัดการสมัยใหม่มาใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ทั้งนี้จะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ปรับโครงสร้างภาษีศุลกากรทั้งระบบ เพื่อให้เอื้ออำนวยต่อการเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตทั้งภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ทั้งนี้รัฐจะต้องมีนโยบายที่ชัดเจน และแน่วแน่ว่าจะเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ภาคส่งออก รักษาอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และที่สำคัญคือต้องมีเสถียรภาพในระดับที่ก่อให้เกิดความมั่นใจในการประกอบธุรกิจ 4. อุปสรรคปัญหาที่ภาครัฐควรจะขจัดไปมีอะไรบ้างในด้านผลกระทบทั้งระยะสั้นและระยะยาว
จากวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2540 ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และภาครัฐบาลได้แก้ไขปัญหาต่างๆ จนมีส่วนทำให้เศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นแล้วก็ตาม แต่ยังมีปัญหาที่เป็นปัจจัยให้เกิดการชะลอต่อการฟื้นตัวแบบยั่งยืนของเศรษฐกิจทั้งด้านบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชน ซึ่งรัฐบาลควรจะขจัดปัญหาเหล่านี้ให้หมดไป ได้แก่
ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) สูงมาก เนื่องจากการนำเงินไปลงทุนในธุรกิจที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจในระยะยาว ทำให้สถาบันการเงินมีสินทรัพย์ด้อยคุณภาพในสัดส่วนที่เพิ่มสูงขึ้นมาก ส่งผลให้สถาบันการเงินไทยถูกปรับลดลำดับความน่าเชื่อถือ (Credit rating) จากสถาบันจัดลำดับต่างๆ หลายครั้ง โดย ณ ตุลาคม 2542 มีสถาบันการเงินทั้งระบบมี NPL ร้อยละ 43.8 ของสินเชื่อทั้งระบบ ปัญหาการว่างงาน จากการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร เมื่อเดือนพฤษภาคม 2542 พบว่ามีผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.87 ล้านคน (ร้อยละ 5.7 ของจำนวนกำลังแรงงานซึ่งมีจำนวนรวม 33.08 ล้านคน) ขณะที่เดือนกุมภาพันธ์ 2542 มีจำนวน 1.72 ล้านคน และคาดว่าปี 2543 คนว่างงานจะเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการปรับโครงสร้างองค์กรของภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะสถาบันการเงิน ปัญหาการใช้กำลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรมยังไม่เต็มที่ ปัจจุบันมีการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเป็นเฉลี่ยประมาณร้อยละ 63.0 (ตุลาคม 2542) และการลงทุนยังไม่ขยายตัวเท่าที่ควรเนื่องจากมีกำลังการผลิตส่วนเกินอยู่มาก ปัญหาที่อาจส่งผลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ มีปัจจัยหลายอย่างที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ เช่น ราคาน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้น จะส่งผลกระทบต่อระดับราคาสินค้า การบริโภคและความสามารถในการส่งออก การแข็งค่าของเงินเยนและเงินเหรียญสหรัฐ และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางต่างๆ เช่น ธนาคารกลางสหรัฐฯ และยุโรป เป็นต้น ปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออก เช่น การคืนภาษีวัตถุดิบ การคืนภาษี VAT การเจรจาแก้ไขปัญหาที่ต่างประเทศใช้เป็นข้ออ้างในการกีดกันสินค้าออกของไทย เช่น การทุ่มตลาด และกฎระเบียบวิธีการในการคุ้มครองสุขอนามัยของพืชและสัตว์ เป็นต้น 5. ภาคเอกชนควรจะต้องปรับกลยุทธ์ทางด้านการตลาด และการลงทุนอย่างไร เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในตลาดโลก
ในยุคโลกาภิวัตน์หรือโลกไร้พรมแดน การค้าระหว่างประเทศจะมีเสรีมากขึ้น การแข่งขันทางการค้าจะทวีความรุนแรง และจะเป็นยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศ เศรษฐกิจและการค้าของโลกจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ภาคเอกชนจะต้องปรับกลยุทธ์ทางด้านการตลาดและการลงทุน เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก
กลยุทธ์ทางด้านการตลาด
นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการตลาดตามความเหมาะสม โดยผ่านทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) ซึ่งจะทวีความสำคัญอย่างมากและรวดเร็ว จะต้องติดตามข้อมูลข่าวสารการค้า กฎระเบียบของประเทศคู่ค้า ตลอดจน พันธกรณีการเปิดเสรีของไทยใน WTO APEC และ AFTA พัฒนากลยุทธ์และบุคลากรด้านการตลาด เพื่อให้สามารถวางแผนและกำหนด กลยุทธ์การตลาดในระยะยาวได้
เร่งนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้สินค้า และมีความหลากหลายสอดคล้องกับความต้องการของตลาด เร่งแสวงหาตลาดใหม่ และขยายเครือข่ายการค้าให้มากขึ้น รวมทั้งสร้างพันธมิตรทางการตลาดกับต่างประเทศ มีความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนอย่างใกล้ชิด เพื่อร่วมกันวิเคราะห์ สถานการณ์ ปัญหาและหาแนวทางแก้ไข ตลอดจนการดำเนินนโยบายด้านการตลาดในเชิงรุก กลยุทธ์ทางด้านการลงทุน
เน้นการลงทุนเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของตลาด (Market oriented) มากขึ้น ต้องมีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในกิจการผลิต การบริการ หรือการวิจัยพัฒนา จะช่วยให้ลดต้นทุนของธุรกรรมรวมทั้งลดขั้นตอนในการลงทุนและการจัดการต่างๆ ลงด้วย ขยายการลงทุนออกไปลงทุนในต่างประเทศ เพื่อเป็นเครือข่ายในการส่งวัตถุดิบที่จำเป็นกลับเข้ามาใช้ในประเทศ หรือขยายฐานการผลิตไปต่างประเทศ และขยายเครือข่ายการค้าให้มากขึ้น 6. ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการค้า การลงทุน การเงิน และการบริการของไทย
การพัฒนาศักยภาพด้านการค้ามีแนวทางที่สำคัญดังนี้
เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้ามากขึ้น และเพื่อใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดและลดน้อยลงให้ได้ประโยชน์มากที่สุด รวมทั้งปรับปรุงคุณภาพสินค้าให้เป็นที่ยอมรับของตลาดต่างประเทศ โดยการใช้ตรายี่ห้อ (brand name) ของสินค้าไทย ให้ความสำคัญกับการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) ซึ่งเป็นรูปแบบการค้าใหม่ที่สามารถสนองตอบความต้องการของผู้ประกอบการในทุกๆ ด้าน เช่น ลดต้นทุนในการดำเนินกิจกรรมทางการค้า การติดต่อธุรกิจการค้าทั่วโลกได้ตลอดเวลา สะดวก รวดเร็ว และเข้าถึงลูกค้าได้เป็นจำนวนมาก การขยายเครือข่ายการค้า โดยการสร้างตัวแทนการค้าหรือหุ้นส่วนในต่างประเทศ เพื่อให้เป็นผู้ช่วยกระจายสินค้า การเจาะตลาดและโฆษณาสินค้า ภาคเอกชนควรมีการรวมตัวกันจัดตั้งเป็นองค์กรกลาง เพื่อสร้างอำนาจการต่อรอง สามารถพึ่งพาตนเองได้ และสร้างพันธมิตรกับบริษัทข้ามชาติ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและร่วมมือกันในด้านการค้า การพัฒนาศักยภาพด้านการลงทุน มีแนวทางดังนี้
เน้นการลงทุนในการผลิตสินค้าที่ไทยมีศักยภาพหรือขีดความสามารถในการแข่งขันสูง การรวมกิจการและหาพันธมิตรร่วมทุน จะช่วยเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจ ขยายการลงทุนของไทยในต่างประเทศให้มากขึ้น เพื่อใช้เป็นเครือข่ายในการเชื่อมโยงการผลิตหรือขยายฐานการผลิตไปต่างประเทศ รวมทั้งขยายเครือข่ายการค้าทั่วโลก สำหรับด้านการบริการมีแนวทางการพัฒนาดังนี้
เร่งพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานและเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวภายในประเทศ เพื่อเป็นศูนย์กลางการประชุม การค้าและการท่องเที่ยวในภูมิภาค เน้นการพัฒนาบริการด้านสุขภาพ เพื่อให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศได้เข้ามาพักผ่อนและใช้บริการในการดูแลรักษาสุขภาพที่ได้มาตรฐานและเป็นธรรมชาติ พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ และทักษะในการให้บริการได้อย่างมี ประสิทธิภาพ 7. ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจไทยกับประเทศกลุ่มการค้าต่างๆ ในปีต่อไปจะมีทิศทางอย่างไรและไทยควรจะปรับตัวเพื่อรองรับอย่างไร
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของไทยจะมีความใกล้ชิดกันในระดับภูมิภาคมากขึ้น โดยเฉพาะในอาเซียนและเอเปค ขณะเดียวกันความสัมพันธ์ในระดับพหุภาคีก็มีความสำคัญในการกำหนดทิศทางการค้าโลกและยังเป็นกรอบแนวทางในการกำหนดทิศทางการเจรจาเพื่อเปิดเสรีทางการค้าในระดับภูมิภาค
กระแสการค้าโลกจะมีแนวโน้มเปิดเสรีมากขึ้นทั้งในกรอบขององค์กรการค้าโลกและการรวมกลุ่มเศรษฐกิจการค้า โดยกลุ่มเศรษฐกิจการค้าที่ใกล้ตัวและมีผลเร็วที่สุด ก็คือ
อาเซียน ซึ่งรวมตัวกันเป็นเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) โดยจะมีการลดภาษีสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมลงเหลือ 0-5% ครอบคลุมสินค้าร้อยละ 85 ของจำนวนรายการสินค้าที่ผูกพัน (Inclusion List) โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มเร่งลดภาษี (Fast Track) ในปี 2543 และเพิ่มเป็นร้อยละ 90 ของสินค้าใน Inclusion List ในปี 2544 และเพิ่มเป็นร้อยละ 100 ในปี 2545 นอกจากนี้ ที่ประชุมระดับผู้นำของอาเซียนยังได้มีมติร่วมกันให้ประเทศสมาชิกลดภาษีลงเหลือ ร้อยละ 0 (แทนที่จะเป็นร้อยละ 0-5) ในปี 2553 สำหรับประเทศสมาชิกเดิม และในปี 2558 สำหรับประเทศสมาชิกใหม่
กลุ่มเอเปค ได้มีความพยายามที่จะเร่งรัดให้ประเทศสมาชิกดำเนินการให้มีการเปิดเสรีทางการค้า การลงทุน และบริการภายในระยะเวลาที่กำหนด (ค.ศ. 2010 สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้ว และ ค.ศ. 2020 สำหรับประเทศกำลังพัฒนา) นอกจากนี้ยังมีบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ นิวซีแลนด์ ชิลี และเกาหลีใต้ ที่เริ่มเจรจาจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีทวิภาคีระหว่างกัน เพื่อให้มีการเปิดเสรีเร็วกว่าที่กำหนดไว้อีก
การเจรจาการค้าพหุภาคีรอบใหม่ขององค์การการค้าโลก จะเป็นการเจรจาต่อเนื่องในเรื่องที่ได้เจรจาในรอบที่แล้ว คือ รอบอุรุกวัย ได้แก่ เรื่องสินค้าเกษตรและการค้าบริการ สำหรับเรื่องใหม่ ๆ ที่คาดว่าจะนำเข้ามาเจรจา เช่น การค้ากับการลงทุน นโยบายการแข่งขัน การอำนวยความสะดวกทางการค้า และความโปร่งใสในการจัดซื้อโดยรัฐ รวมทั้งการพยายามเชื่อมโยงเรื่องสิ่งแวดล้อมและมาตรฐานแรงงานเข้ากับการค้า ซึ่งอาจมีผลให้การเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์การค้าโลกหรือจัดทำกฎเกณฑ์การค้าในเรื่องใหม่ ๆ ขึ้น แต่ ณ ขณะนี้ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าการเจรจารอบใหม่จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ในปี ค.ศ. 2000
แนวทางการปรับตัวของไทย การค้าโลกที่เปิดเสรีมากขึ้น ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่การแข่งขันทางการค้าจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ดังนั้น ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องเตรียมความพร้อมในการปรับตัวเพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและการค้าโลกที่จะมีผลกระทบต่อไทย
ภาครัฐ
ต้องมีการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อประมวลสถานะปัจจุบันของไทยและติดตามความเคลื่อนไหวของการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ทางการค้า และกระแสผลักดันในการเปิดเสรี เพื่อเตรียมการรองรับในการเจรจาให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทยสูงสุด ร่วมมือกับภาคเอกชนในการกำหนดท่าที และความเตรียมพร้อมในการเจรจาเพื่อรักษา และส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติ ปรับปรุงกฎหมายและมาตรการของไทยให้มีความพร้อมในการป้องกันและตอบรับการใช้นโยบายการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมจากต่างประเทศ ที่จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม เช่น กฎหมาย AD/CVD กฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช กฎหมายประกันภัย กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งการพิจารณาร่างกฎหมายใหม่ที่อาจส่งผลต่อการค้าในอนาคต เช่น กฎระเบียบการกำกับดูแลการค้าผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ และการค้าบริการอื่นๆ ปรับโครงสร้างอัตราภาษีศุลกากรทั้งระบบให้เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและสอดคล้องกับข้อผูกพันภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA)
ภาคเอกชน
ต้องมีความตื่นตัว ติดตามความเคลื่อนไหวและมีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับทิศทางการค้าโลกอยู่เสมอ
ปรับปรุงประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ได้แก่
ปรับโครงสร้างการผลิตทั้งด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และบริการให้มี
ประสิทธิภาพสูงสุดและมีการเชื่อมโยงการผลิตภายในประเทศ
พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อลดต้นทุน
พัฒนาความรู้ด้านการจัดการของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก
พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้และทักษะที่สามารถรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปรับกลยุทธ์ทางการค้า เช่น เจาะขยายตลาด พัฒนาคุณภาพของสินค้า พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาด สร้างภาพลักษณ์ หรือ brand name ของสินค้าไทย เร่งใช้ประโยชน์จาก E-Commerce ปรับปรุงกฎระเบียบและนโยบายต่างๆ ให้เหมาะสมและยืดหยุ่นต่อการประกอบธุรกิจ
ประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการแก้ปัญหาเพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก รวมทั้งบริหารจัดการทรัพยากรทางเศรษฐกิจและสังคมด้วยการเสริมสร้างความเป็นธรรมและความโปร่งใส
8. อะไรเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด (Key Factor) ทั้งจากภายใน และภายนอกที่สามารถสะท้อนเศรษฐกิจปัจจุบัน ที่จะส่งผลกระทบในอนาคต ใช้เป็นลางบอกเหตุ หรือนำไปใช้คาดการณ์ได้อย่างถูกต้อง อาทิ ดัชนีราคาสินค้า อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การลงทุน อัตราเงินเฟ้อ และอื่นๆ เป็นต้น
เครื่องชี้ทางเศรษฐกิจที่สะท้อนสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันและอนาคตที่สำคัญ มีหลายตัวด้วยกัน ได้แก่ อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ดัชนีการผลิต ดัชนีการลงทุน อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ การค้าระหว่างประเทศ และเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจและการค้า
แต่ปัจจัยที่สำคัญที่สุด ก็คือ อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจซึ่งในภาวะเศรษฐกิจของประเทศปัจจุบันจะต้องเน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศให้ฟื้นตัว ก็จะช่วยให้ปัญหาสถาบันการเงินและหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้คลี่คลายลงไปได้เอง และการเร่งรัดการส่งออกก็เป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยให้มีการขยายการผลิตและการลงทุน ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัว ประชาชนมีรายได้สูงขึ้นและมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม การที่จะนำไปใช้ในการคาดการณ์ในอนาคต จำเป็นต้องดูปัจจัยทุกด้านประกอบกัน
9. ในภาพรวมของการส่งออกหมวดสินค้าใดมีศักยภาพในการแข่งขันและหมวดสินค้าใดมีอุปสรรคและควรมีแนวทางในการแก้ไขอย่างไร
การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญๆ ในระยะที่ผ่านมา ปรากฏว่าสินค้าหลายกลุ่มจากประเทศไทยที่มีศักยภาพในการส่งออกไปขายแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลายอย่าง เช่น
1) กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
ประเภทของอุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งออก ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ไดโอด ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ และวงจรพิมพ
การผลิตมีศักยภาพ เนื่องจากมีการผลิตมานาน และพัฒนาอย่างต่อเนื่องประกอบกับมีการร่วมลงทุนจากต่างประเทศ ทำให้มีการนำเข้าเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยมาใช้
แรงงานมีทักษะ
ปัญหาและอุปสรรค
อัตราภาษีนำเข้าวัตถุดิบและชิ้นส่วนเพื่อผลิตสินค้าส่งออกของไทยสูง เมื่อเทียบกับคู่แข่งขันทั้งในอาเซียน เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศนอก อาเซียน เช่น เกาหลีใต้ จีน ไต้หวัน
การขาดสภาพคล่องสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ค่าระวางขนส่งสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นรวมทั้งค่าธรรมเนียมพิเศษที่ถูกเรียกเก็บเพิ่มขึ้นในสายเดินเรือยุโรปและสหรัฐฯ
ไม่มีสถาบันตรวจสอบคุณภาพสินค้าที่เป็นที่ยอมรับของต่างประเทศ ภายในประเทศ ทำให้ต้องส่งผลิตภัณฑ์ไปตรวจสอบในต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์
แนวทางแก้ไข
เร่งปรับปรุงระบบโครงสร้างภาษีศุลกากรวัตถุดิบชิ้นส่วนให้เอื้ออำนวยต่อการผลิตเพื่อการส่งออก
เร่งรัดการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม และสนับสนุนให้มีกองทุนกู้ยืมเพื่อการส่งออก
ส่งเสริมให้มีสถาบันตรวจสอบคุณภาพสินค้าที่ได้มาตรฐานสากล และเป็นที่ยอมรับของต่างประเทศขึ้นภายในประเทศ
2) กลุ่มยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ โดยส่งออกรถแวนและปิคอัพมีมูลค่าสูงที่สุด
มีศักยภาพด้านการผลิตและการตลาด เนื่องจากมีการร่วมลงทุนจากต่างประเทศและเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชีย
บริษัทรถยนต์ระดับโลก เช่น บริษัทมิตซูบิชิมอเตอร์ บริษัทโตโยต้ามอเตอร์คอร์ปอเรชั่นจำกัด และบริษัทฟอร์ดมอเตอร์ เป็นต้น เลือกไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออกที่สำคัญในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
ปัญหาและอุปสรรค
โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ขนาดกลางและขนาดย่อม มีระบบการจัดการผลิตแบบครอบครัว ไม่มีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต และใช้เครื่องจักรที่ล้าสมัย ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง
โครงสร้างภาษีชิ้นส่วนยานยนต์ไม่เหมาะสม
ผู้ประกอบการขาดสภาพคล่องทางการเงิน
แนวทางแก้ไข
ส่งเสริมให้ใช้ระบบการผลิตตามมาตรฐานสากล รวมทั้งการปรับเปลี่ยนใช้เครื่องจักรที่ทันสมัย
เร่งรัดการปรับโครงสร้างภาษีศุลกากรชิ้นส่วนยานยนต์ทั้งระบบให้เอื้ออำนวยต่อการผลิตเพื่อการส่งออก
เร่งรัดการขอคืน หรือชดเชยภาษีที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกให้รวดเร็ว
3) กลุ่มอาหาร
สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากประมง เช่น อาหารทะเลกระป๋อง และกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์ เช่น ไก่สดแช่เย็น แช่แข็งและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้ เช่น สับปะรดกระป๋องและน้ำสับปะรด ผลไม้อบแห้งและแช่อิ่ม หน่อไม้กระป๋อง ข้าวโพดอ่อนกระป๋อง และผลิตภัณฑ์จากข้าว ธัญพืช แป้งและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ
มีศักยภาพด้านการผลิต เนื่องจากไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารที่มีคุณภาพดีและมีชื่อเสียงของโลก มีผลิตภัณฑ์หลากหลาย ผู้ประกอบการมีประสบการณ์และชำนาญเนื่องจากมีการผลิตมานานและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
การผลิตใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นหลักประมาณร้อยละ 80-90
แรงงานมีคุณภาพ
มีการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยโดยเฉพาะโรงงานขนาดใหญ่เพื่อการส่งออก
ปัญหาและอุปสรรค
วัตถุดิบมีคุณภาพไม่ดีพอ และมีปริมาณไม่สม่ำเสมอ
การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมอาหารของไทยยังมีน้อยโดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม
มีข้อกีดกันทางการค้าจากประเทศผู้นำเข้าเกี่ยวกับคุณภาพ และสิ่งแวดล้อม
แนวทางแก้ไข
ส่งเสริมให้เกษตรกรนำระบบการจัดการผลิตที่เหมาะสมมาใช้ และหาซื้อ วัตถุดิบจากแหล่งผลิตอื่นที่มีราคาถูก
ส่งเสริมให้มีระบบการจัดการผลิตที่ได้มาตรฐานสากล รวมถึงการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
4) กลุ่มอัญมณีและเครื่องประดับ
สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เครื่องประดับแท้ เพชร พลอย และไข่มุก เครื่องประดับอัญมณีเทียมและอัญมณีสังเคราะห์
มีแหล่งผลิตที่สำคัญ เช่น ทับทิม แซบไฟร์ และยังเป็นศูนย์กลางของแหล่งวัตถุดิบในภูมิภาคอินโดจีน
แรงงานมีทักษะและความปราณีต ทำให้เป็นที่ยอมรับของตลาดในด้านเจียระไนย
เทคโนโลยีพื้นฐานในการผลิตมีต้นทุนต่ำ เช่น การเผาพลอย การทำตัวเรือน
อุตสาหกรรมเจียระไนยเพชรของไทยส่วนใหญ่ร่วมทุนกับต่างชาติ
เครื่องประดับของไทยส่วนใหญ่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
สำหรับเครื่องประดับอัญมณีเทียม คู่แข่งของไทยมีเพียงรายเดียว คือ จีน
ปัญหาและอุปสรรค
ขาดแคลนช่างฝีมือที่มีความชำนาญ เช่น ช่างเจียระไนยพลอยเนื้ออ่อน นักออกแบบ ช่างเทคนิค
วัตถุดิบมีไม่เพียงพอทั้งปริมาณและคุณภาพ
ขาดเทคโนโลยีการผลิตเพื่อเพิ่มคุณภาพสินค้าและการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากอุตสาหกรรมต้นน้ำถึงปลายน้ำ
ตลาดแคบและขาดการพัฒนารูปแบบสินค้า
ขั้นตอนการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มยุ่งยากและล่าช้า
อัตราภาษีนำเข้าพลอยกระจกสูง
แนวทางแก้ไข
ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรโดยการอบรมให้มีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้านให้ครบขบวนการผลิต
สำรวจแหล่งส่งวัตถุดิบภายในประเทศ และหาซื้อวัตถุดิบจากแหล่งผลิตต่างประเทศ
พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตทั้งขบวนการผลิต โดยการพัฒนาบุคลากร หาผู้เชี่ยวชาญมาชี้แนะ และการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรให้ทันสมัย
พร้อมกับพัฒนารูปแบบสินค้าให้ สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
แสวงหาตลาดใหม่ๆ โดยการเข้าร่วมงานแสดงสินค้า การจัดคณะผู้แทนไปเยือนตลาดต่างประเทศ เป็นต้น
10. ในภาคการค้าและการลงทุนของไทย ควรจะปรับตัวรับมือกับเศรษฐกิจไทยปี 2543 อย่างไร และการเปลี่ยนแปลงการค้าและการลงทุนโลกเป็นอย่างไร
ปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจของไทยได้ฟื้นตัวและผ่านพ้นจุดที่เลวร้ายที่สุดไปแล้ว และมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ภาคการค้าและการลงทุนของไทยควรจะปรับตัวรับมือกับเศรษฐกิจในปี 2543 ดังนี้
- มุ่งเน้นการผลิตสินค้าส่งออกที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศให้มากขึ้น และส่งออกสินค้าภายใต้สัญลักษณ์ของไทยหรือมี Brand name ของตัวเอง
- ควรส่งเสริมอุตสาหกรรมสนับสนุน (Supporting Industries) และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้มีระบบเชื่อมโยงการผลิตและการค้าภายในประเทศและกับต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
- ให้ความสำคัญกับการค้าบริการมากขึ้น เพื่อรองรับการเปิดเสรีในอนาคต
- ให้ความสำคัญกับการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) ซึ่งเป็นรูปแบบการค้าใหม่ ที่สามารถสนองตอบความต้องการผู้ประกอบการในทุกด้านได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
- เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต บุคลากร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้ทันสมัยมากขึ้น
- การพัฒนาขีดความสามารถด้านการตลาด โดยจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้า และสร้างเครือข่ายการค้าในตลาดต่างประเทศ
สำหรับการเปลี่ยนแปลงด้านการค้าและและการลงทุนของโลก ในขณะนี้การค้าและการลงทุนได้มุ่งสู่ทิศทางการเปิดเสรีมากขึ้น การเปิดเสรีมี 2 ระดับ คือ
- การเปิดเสรีในระดับภูมิภาค มีกรอบการดำเนินการแตกต่างกันไปตามขอบเขตของความตกลง เช่น สหภาพยุโรป เขตการค้าเสรีอาเซียน เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ เป็นต้น
- การเปิดเสรีในระดับพหุภาคี หรือ WTO ซึ่งมีประเทศสมาชิก 135 ประเทศ ที่มีบทบาทและเข้าร่วมในการเจรจาเพื่อเปิดเตลาดและวางกฎระเบียบทางการค้าระหว่างประเทศในด้านต่าง ๆ และอีกกว่า 30 ประเทศ กำลังอยู่ในกระบวนการสมัครเข้าเป็นสมาชิก WTO
สถานการณ์การค้าและการลงทุนโลกมีแนวโน้มดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจโลก จากการประมาณการแนวโน้มเศรษฐกิจโลกของ IMF เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2542 ได้คาดการณ์เศรษฐกิจโลกไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจโลก ปี 2543 จะขยายตัวร้อยละ 3.5 สูงกว่าปี 2542 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 3.0 จะทำให้นักลงทุนทั่วโลกมีความมั่นใจมากขึ้น และส่งผลให้การค้าและการลงทุนเพิ่มสูงตามไปด้วย
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-