มาตรการด้านการเกษตร
1. โครงการนำร่องเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรกรรายย่อย
เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2543 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบโครงการนำร่องเพื่อพัฒนา เกษตรกรรมของเกษตรกรรายย่อยตามที่กระทรวง
เกษตรและสหกรณ์เสนอดังนี้
1) ให้มีการดำเนินงานโครงการนำร่องเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรกรรายย่อย และอนุมัติร่างระเบียบกระทรวงเกษตร
และสหกรณ์ว่าด้วยเงินอุดหนุนโครงการดังกล่าวเพื่อรองรับ การบริหารงบประมาณโครงการ
2) ให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานโครงการดังกล่าว ปีงบประมาณ
2544-2546 ภายในวงเงินรวม 633 ล้านบาท โดยในปีงบประมาณ 2544 จัดสรรให้ 224.63 ล้านบาท
2. เงินเพิ่มค่าอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2542/43
สืบเนื่องจากการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2543 ได้มีการพิจารณา แนวทางในการแก้ไขปัญหาเงินเพิ่มค่าอ้อย
ขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2542/43 แล้วมีมติให้กระทรวง การคลังประสานกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรพิจารณาจัดสรรวงเงิน
5,320 ล้านบาท เพื่อนำไปจ่ายเพิ่มเป็นค่าอ้อยขั้นต้นให้ชาวไร่อ้อยตันละ 100 บาท ต่อมาเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2543 คณะรัฐมนตรีมีมติตาม
ที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายเสนอ ดังนี้
1) เห็นชอบให้ดำเนินการแยกภาษีมูลค่าเพิ่มออกจากราคาจำหน่ายน้ำตาลทรายภายในประเทศ และรายได้ที่เพิ่มขึ้นให้นำเข้ากองทุนอ้อย
และน้ำตาลทราย
2) เห็นชอบมาตรการในการปรับปรุงอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายดังนี้
2.1) การปรับปรุงในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอ้อย
(1) กำหนดพื้นที่เหมาะสมสำหรับเพาะปลูกอ้อยและกำหนดปริมาณอ้อยเป้าหมายให้ชาวไร่ผลิต
(2) จัดระเบียบการส่งอ้อยของชาวไร่ โดยให้อ้อยที่เพาะปลูกในพื้นที่ใกล้โรงงานใดเป็นคู่สัญญากับโรงงานนั้นเพื่อลดต้นทุนการผลิต
(3) กำหนดปริมาณอ้อยเป้าหมายในแต่ละปีการผลิตให้สอดคล้องกับภาวะตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ และกำหนดระเบียบการจัด
การอ้อยส่วนเกิน
2.2) การปรับปรุงด้านโรงงานน้ำตาล
(1) จัดระเบียบการรับอ้อยของโรงงาน
(2) กำหนดปริมาณการผลิตน้ำตาลทรายเป้าหมายในแต่ละปีการผลิต เพื่อ ไม่ให้มีปริมาณน้ำตาลทรายผลิตเกินความต้องการของตลาด
กำหนดมาตรฐานประสิทธิภาพการผลิตน้ำตาลทรายของโรงงาน
กำหนดระเบียบจัดการน้ำตาลทรายส่วนที่ผลิตเกินปริมาณที่กำหนด
3. โครงการจัดหาปุ๋ยเคมีเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรปี 2543
เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2543 คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาโครงการฯ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอและมีมติเห็นชอบตามมติ
คณะกรรมการและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ในโครงการฯ ดังกล่าว โดยให้องค์กรเกษตรกรเป็นผู้จัดหาวงเงินจัดซื้อจำนวน 2,885.4
ล้านบาท ระยะเวลาชำระเงินคืน 1 ปี ดังนี้
1) อนุมัติเงินยืมปลอดดอกเบี้ยจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรสำหรับค่าปุ๋ย วงเงิน 1,300 ล้านบาท เพื่อให้องค์กรเกษตรกร
ยืมไปซื้อปุ๋ย และเงินจ่ายขาดในการดำเนินงานของส่วนราชการตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 1 ของวงเงินฯ จำนวน 33.6 ล้านบาท
2) วงเงิน 1,585.4 ล้านบาท ให้ใช้เงินปลอดดอกเบี้ยจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรหากมีไม่เพียงพอจะขอใช้จากกองทุนอื่น ๆ
4. อนุมัติขยายระยะเวลาการใช้วงเงินกู้โครงการแทรกแซงตลาดยางพารา
เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2543 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติขยายระยะเวลาการใช้วงเงินกู้โครงการแทรกแซงตลาดยางพารา ตามที่กระทรวง
เกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้
อนุมัติให้องค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) คงดำเนินการตามมาตรการโครงการแทรกแซงตลาดยางพาราต่อไป และให้ขยายระยะเวลาวง
เงินกู้โครงการฯ ทุกวงเงินกู้รวม 16,177 ล้านบาท จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2544 เนื่องจากระยะเวลาโครงการฯ จะสิ้นสุดในวันที่ 30 มิถุนายน
2543 และราคายางมีแนวโน้มลดลง
มาตรการด้านอุตสาหกรรม
1. แผนแม่บทการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ภาคอุตสาหกรรม)
วันที่ 11 เมษายน 2543 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบแผนแม่บทการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ภาคอุตสาหกรรม)
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอดังนี้
1) ให้กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานหลักในการประสาน และจัดทำแผน ปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(ภาคอุตสาหกรรม) โดยร่วมกับส่วนราชการและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา หรือเสนอต่อคณะกรรมการส่งเสริม
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่จะจัดตั้งเมื่อพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมมีผลบังคับใช้
2) ให้กระทรวงอุตสาหกรรมแต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะ ทำงานร่วม ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำ
แผนปฏิบัติการตามข้อ 1
2. การจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์
วันที่ 15 เมษายน 2543 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ ตามที่กระทรวง
วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอดังนี้
1) ให้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ โดยการสร้างสายการผลิตต้นแบบระดับ 0.5 ไมครอน
ด้วยเครื่องจักรใหม่
2) ให้จัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมสำหรับดำเนินโครงการ โดยประกอบด้วยเงินลงทุนที่กู้จากต่างประเทศ ในปีงบประมาณ 2543
จำนวน 36.723 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือ 1,395.50 ล้านบาท (ที่อัตราแลกเปลี่ยน 38 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ.) และค่าดำเนินการจาก
งบประมาณแผ่นดินปีละ 150 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2544 - 2548) รวม 750 ล้านบาท ทั้งนี้ภายหลังเมื่อศูนย์ฯ เปิดดำเนิน
การและมีรายได้แล้ว เห็นควรให้นำรายได้สมทบเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เพื่อลดภาระงบประมาณแผ่นดิน
3. การให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ปี 2543
วันที่ 23 พฤษภาคม 2543 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแนวทางการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(SMEs) ปี 2543 ตามที่กระทรวงการคลังและกระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ดังนี้
ให้ความเห็นชอบวงเงินให้สินเชื่อและวงเงินค้ำประกันสินเชื่อที่สถาบันการเงิน เฉพาะกิจที่เกี่ยวข้องจะให้ความสนับสนุนแก่ SMEs
ในปี 2543 จำนวน 29,700 ราย ในวงเงินรวม 50,300 ล้านบาท ดังนี้
สถาบันการเงิน วงเงินให้สินเชื่อ (ล้านบาท) วงเงินค้ำประกัน (ล้านบาท)
1. ธนาคารแห่งประเทศไทย 13,000
2. บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม 6,000
3. บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 15,000
4. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย 7,000
5. ธนาคารออมสิน 1,300
6. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 4,000
7. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม 4,000
รวม 46,300 4,000
ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจเหล่านี้ได้จัดทำแผนงานและกลยุทธ์การดำเนินงานที่จะสนับสนุนการปล่อยสินเชื่อและค้ำประกันสินเชื่อแก่
SMEs ไว้เรียบร้อยแล้วเพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้สินเชื่อและค้ำประกันสินเชื่อแก่ SMEs ให้บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.)
และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เพิ่มทุน ช่วงแรกในวงเงิน 2,500 ล้านบาท และ 4,000 ล้านบาท ตามลำดับ ทั้งนี้
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการเพิ่มทุนช่วงแรกให้ บอย. แล้วจำนวน 1,000 ล้านบาท เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2542 และจะเพิ่มทุนให้ บอย.
อีกจำนวน 1,500 ล้านบาท เพื่อให้ สอดคล้องกับแผนการใช้เงินของ บอย.
มาตรการด้านอสังหาริมทรัพย์
1. ร่างพระราชบัญญัติการจัดการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา
เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2543 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหลักการของร่างพระราชบัญญัติ การจัดการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา
และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความมั่นใจในการซื้อขาย
อสังหาริมทรัพย์ โดยการสร้างระบบการจัดการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา ซึ่งจะมีผู้จัดการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของ
ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายในการรับชำระเงินงวดจาก ผู้ซื้อ และโอนเงินดังกล่าวให้ผู้ขายเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายให้ผู้ซื้อ อย่างไรก็ดี
ระบบนี้จะทำให้ต้นทุนในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์สูงขึ้น ดังนั้นในร่าง พระราชบัญญัติฉบับนี้จึงไม่ได้บังคับให้ผู้ซื้อและผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ทุกรายต้องใช้ระบบนี้ในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
2. มาตรการส่งเสริมการฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์
เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2543 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการส่งเสริมการฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ 3 ประการ ดังนี้
1) ขยายระยะเวลาการลดค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์ (จากร้อยละ 2 เหลือ ร้อยละ 0.01 ของราคาประเมิน)
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2542 จากเดิมซึ่งจะ สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2543 เป็นสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2544
และขยายขอบข่ายการลด ค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้รวมถึงการโอนที่ดินเปล่าที่ได้รับอนุญาตจัดสรร และการโอนอาคารและ/หรือที่ดินโดยการ
เคหะแห่งชาติหรือหน่วยงานราชการที่มีอำนาจทำการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย
2) ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย เพิ่มเติม จากเดิมที่ยกเว้น
ภาษีฯ ให้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท เป็น ไม่เกิน 50,000 บาท และขยายสิทธิประโยชน์ข้างต้นให้ครอบคลุมถึงการซื้อ หรือเช่าซื้อ
อาคาร ที่อยู่อาศัยมากกว่า 1 หลัง รวมถึงดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้ยืมใหม่เพื่อชดใช้เงินกู้ยืมเดิม (Refinance) ทั้งนี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่
วันที่ 1 มกราคม 2543
3). ลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรทุกประเภท จากร้อยละ 3.3
เหลือร้อยละ 0.11 ของรายรับก่อนหักรายจ่าย โดยให้มีผลบังคับใช้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2544
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
1. โครงการนำร่องเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรกรรายย่อย
เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2543 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบโครงการนำร่องเพื่อพัฒนา เกษตรกรรมของเกษตรกรรายย่อยตามที่กระทรวง
เกษตรและสหกรณ์เสนอดังนี้
1) ให้มีการดำเนินงานโครงการนำร่องเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรกรรายย่อย และอนุมัติร่างระเบียบกระทรวงเกษตร
และสหกรณ์ว่าด้วยเงินอุดหนุนโครงการดังกล่าวเพื่อรองรับ การบริหารงบประมาณโครงการ
2) ให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานโครงการดังกล่าว ปีงบประมาณ
2544-2546 ภายในวงเงินรวม 633 ล้านบาท โดยในปีงบประมาณ 2544 จัดสรรให้ 224.63 ล้านบาท
2. เงินเพิ่มค่าอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2542/43
สืบเนื่องจากการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2543 ได้มีการพิจารณา แนวทางในการแก้ไขปัญหาเงินเพิ่มค่าอ้อย
ขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2542/43 แล้วมีมติให้กระทรวง การคลังประสานกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรพิจารณาจัดสรรวงเงิน
5,320 ล้านบาท เพื่อนำไปจ่ายเพิ่มเป็นค่าอ้อยขั้นต้นให้ชาวไร่อ้อยตันละ 100 บาท ต่อมาเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2543 คณะรัฐมนตรีมีมติตาม
ที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายเสนอ ดังนี้
1) เห็นชอบให้ดำเนินการแยกภาษีมูลค่าเพิ่มออกจากราคาจำหน่ายน้ำตาลทรายภายในประเทศ และรายได้ที่เพิ่มขึ้นให้นำเข้ากองทุนอ้อย
และน้ำตาลทราย
2) เห็นชอบมาตรการในการปรับปรุงอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายดังนี้
2.1) การปรับปรุงในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอ้อย
(1) กำหนดพื้นที่เหมาะสมสำหรับเพาะปลูกอ้อยและกำหนดปริมาณอ้อยเป้าหมายให้ชาวไร่ผลิต
(2) จัดระเบียบการส่งอ้อยของชาวไร่ โดยให้อ้อยที่เพาะปลูกในพื้นที่ใกล้โรงงานใดเป็นคู่สัญญากับโรงงานนั้นเพื่อลดต้นทุนการผลิต
(3) กำหนดปริมาณอ้อยเป้าหมายในแต่ละปีการผลิตให้สอดคล้องกับภาวะตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ และกำหนดระเบียบการจัด
การอ้อยส่วนเกิน
2.2) การปรับปรุงด้านโรงงานน้ำตาล
(1) จัดระเบียบการรับอ้อยของโรงงาน
(2) กำหนดปริมาณการผลิตน้ำตาลทรายเป้าหมายในแต่ละปีการผลิต เพื่อ ไม่ให้มีปริมาณน้ำตาลทรายผลิตเกินความต้องการของตลาด
กำหนดมาตรฐานประสิทธิภาพการผลิตน้ำตาลทรายของโรงงาน
กำหนดระเบียบจัดการน้ำตาลทรายส่วนที่ผลิตเกินปริมาณที่กำหนด
3. โครงการจัดหาปุ๋ยเคมีเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรปี 2543
เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2543 คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาโครงการฯ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอและมีมติเห็นชอบตามมติ
คณะกรรมการและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ในโครงการฯ ดังกล่าว โดยให้องค์กรเกษตรกรเป็นผู้จัดหาวงเงินจัดซื้อจำนวน 2,885.4
ล้านบาท ระยะเวลาชำระเงินคืน 1 ปี ดังนี้
1) อนุมัติเงินยืมปลอดดอกเบี้ยจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรสำหรับค่าปุ๋ย วงเงิน 1,300 ล้านบาท เพื่อให้องค์กรเกษตรกร
ยืมไปซื้อปุ๋ย และเงินจ่ายขาดในการดำเนินงานของส่วนราชการตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 1 ของวงเงินฯ จำนวน 33.6 ล้านบาท
2) วงเงิน 1,585.4 ล้านบาท ให้ใช้เงินปลอดดอกเบี้ยจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรหากมีไม่เพียงพอจะขอใช้จากกองทุนอื่น ๆ
4. อนุมัติขยายระยะเวลาการใช้วงเงินกู้โครงการแทรกแซงตลาดยางพารา
เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2543 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติขยายระยะเวลาการใช้วงเงินกู้โครงการแทรกแซงตลาดยางพารา ตามที่กระทรวง
เกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้
อนุมัติให้องค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) คงดำเนินการตามมาตรการโครงการแทรกแซงตลาดยางพาราต่อไป และให้ขยายระยะเวลาวง
เงินกู้โครงการฯ ทุกวงเงินกู้รวม 16,177 ล้านบาท จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2544 เนื่องจากระยะเวลาโครงการฯ จะสิ้นสุดในวันที่ 30 มิถุนายน
2543 และราคายางมีแนวโน้มลดลง
มาตรการด้านอุตสาหกรรม
1. แผนแม่บทการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ภาคอุตสาหกรรม)
วันที่ 11 เมษายน 2543 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบแผนแม่บทการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ภาคอุตสาหกรรม)
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอดังนี้
1) ให้กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานหลักในการประสาน และจัดทำแผน ปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(ภาคอุตสาหกรรม) โดยร่วมกับส่วนราชการและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา หรือเสนอต่อคณะกรรมการส่งเสริม
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่จะจัดตั้งเมื่อพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมมีผลบังคับใช้
2) ให้กระทรวงอุตสาหกรรมแต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะ ทำงานร่วม ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำ
แผนปฏิบัติการตามข้อ 1
2. การจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์
วันที่ 15 เมษายน 2543 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ ตามที่กระทรวง
วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอดังนี้
1) ให้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ โดยการสร้างสายการผลิตต้นแบบระดับ 0.5 ไมครอน
ด้วยเครื่องจักรใหม่
2) ให้จัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมสำหรับดำเนินโครงการ โดยประกอบด้วยเงินลงทุนที่กู้จากต่างประเทศ ในปีงบประมาณ 2543
จำนวน 36.723 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือ 1,395.50 ล้านบาท (ที่อัตราแลกเปลี่ยน 38 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ.) และค่าดำเนินการจาก
งบประมาณแผ่นดินปีละ 150 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2544 - 2548) รวม 750 ล้านบาท ทั้งนี้ภายหลังเมื่อศูนย์ฯ เปิดดำเนิน
การและมีรายได้แล้ว เห็นควรให้นำรายได้สมทบเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เพื่อลดภาระงบประมาณแผ่นดิน
3. การให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ปี 2543
วันที่ 23 พฤษภาคม 2543 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแนวทางการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(SMEs) ปี 2543 ตามที่กระทรวงการคลังและกระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ดังนี้
ให้ความเห็นชอบวงเงินให้สินเชื่อและวงเงินค้ำประกันสินเชื่อที่สถาบันการเงิน เฉพาะกิจที่เกี่ยวข้องจะให้ความสนับสนุนแก่ SMEs
ในปี 2543 จำนวน 29,700 ราย ในวงเงินรวม 50,300 ล้านบาท ดังนี้
สถาบันการเงิน วงเงินให้สินเชื่อ (ล้านบาท) วงเงินค้ำประกัน (ล้านบาท)
1. ธนาคารแห่งประเทศไทย 13,000
2. บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม 6,000
3. บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 15,000
4. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย 7,000
5. ธนาคารออมสิน 1,300
6. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 4,000
7. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม 4,000
รวม 46,300 4,000
ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจเหล่านี้ได้จัดทำแผนงานและกลยุทธ์การดำเนินงานที่จะสนับสนุนการปล่อยสินเชื่อและค้ำประกันสินเชื่อแก่
SMEs ไว้เรียบร้อยแล้วเพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้สินเชื่อและค้ำประกันสินเชื่อแก่ SMEs ให้บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.)
และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เพิ่มทุน ช่วงแรกในวงเงิน 2,500 ล้านบาท และ 4,000 ล้านบาท ตามลำดับ ทั้งนี้
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการเพิ่มทุนช่วงแรกให้ บอย. แล้วจำนวน 1,000 ล้านบาท เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2542 และจะเพิ่มทุนให้ บอย.
อีกจำนวน 1,500 ล้านบาท เพื่อให้ สอดคล้องกับแผนการใช้เงินของ บอย.
มาตรการด้านอสังหาริมทรัพย์
1. ร่างพระราชบัญญัติการจัดการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา
เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2543 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหลักการของร่างพระราชบัญญัติ การจัดการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา
และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความมั่นใจในการซื้อขาย
อสังหาริมทรัพย์ โดยการสร้างระบบการจัดการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา ซึ่งจะมีผู้จัดการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของ
ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายในการรับชำระเงินงวดจาก ผู้ซื้อ และโอนเงินดังกล่าวให้ผู้ขายเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายให้ผู้ซื้อ อย่างไรก็ดี
ระบบนี้จะทำให้ต้นทุนในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์สูงขึ้น ดังนั้นในร่าง พระราชบัญญัติฉบับนี้จึงไม่ได้บังคับให้ผู้ซื้อและผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ทุกรายต้องใช้ระบบนี้ในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
2. มาตรการส่งเสริมการฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์
เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2543 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการส่งเสริมการฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ 3 ประการ ดังนี้
1) ขยายระยะเวลาการลดค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์ (จากร้อยละ 2 เหลือ ร้อยละ 0.01 ของราคาประเมิน)
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2542 จากเดิมซึ่งจะ สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2543 เป็นสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2544
และขยายขอบข่ายการลด ค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้รวมถึงการโอนที่ดินเปล่าที่ได้รับอนุญาตจัดสรร และการโอนอาคารและ/หรือที่ดินโดยการ
เคหะแห่งชาติหรือหน่วยงานราชการที่มีอำนาจทำการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย
2) ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย เพิ่มเติม จากเดิมที่ยกเว้น
ภาษีฯ ให้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท เป็น ไม่เกิน 50,000 บาท และขยายสิทธิประโยชน์ข้างต้นให้ครอบคลุมถึงการซื้อ หรือเช่าซื้อ
อาคาร ที่อยู่อาศัยมากกว่า 1 หลัง รวมถึงดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้ยืมใหม่เพื่อชดใช้เงินกู้ยืมเดิม (Refinance) ทั้งนี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่
วันที่ 1 มกราคม 2543
3). ลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรทุกประเภท จากร้อยละ 3.3
เหลือร้อยละ 0.11 ของรายรับก่อนหักรายจ่าย โดยให้มีผลบังคับใช้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2544
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-