1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
กรมประมงประสบความสำเร็จในการเพาะปลาชะโด
ปลาชะโดเป็นปลาที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับปลาช่อน เป็นปลาน้ำจืดที่ค่อนข้างดุ ลำตัวเรียวยาวเป็นรูปทรงกระบอกลักษณะคล้ายๆกับปลาช่อน แต่เมื่อโตเต็มวัยจะมีขนาดใหญ่กว่า ปลาชะโดจัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ เพราะมีรสชาติอร่อยสามารถบริโภคสดและแปรรูป เช่น ปลาย่าง ปลาเค็ม ปลาชะโดขนาดเล็กใช้เลี้ยงเป็นปลาสวยงามเรียกว่า”ปลาตอร์ปิโด” ต่างประเทศมีความนิยมสูงทั้งปลาชะโดขนาดใหญ่และขนาดเล็ก
โดยปกติปลาชะโดจะพบทั่วไปในแม่น้ำและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ปัจจุบันมีปริมาณลดลงมาก ดังนั้นสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสิงห์บุรี ได้รวบรวมลูกปลาชะโดจำนวนหนึ่งจากแหล่งน้ำธรรมชาติมาเลี้ยงไว้ จนกระทั่งปี 2545 จึงได้เริ่มศึกษาการเพาะพันธุ์และสังเกตพบว่า พ่อแม่พันธุ์จะมีไข่แก่และน้ำเชื้อสมบูรณ์ระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม จึงได้นำพ่อแม่พันธุ์อายุ 5 ปี จำนวน 5 คู่ มาฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ให้พ่อแม่พันธุ์ หลังจากฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ 34-36 ชั่วโมง พ่อแม่ปลาจะผสมพันธุ์วางไข่ จนประสบความสำเร็จในการเพาะพันธุ์ปลาชะโดอย่างสมบูรณ์แล้วเมื่อเดือนสิงหาคม 2548 สามารถเพาะพันธุ์ได้ถึง 5 ครั้ง อัตรารอด 80 เปอร์เซ็นต์ ได้ลูกปลา 5,000 ตัว ลูกปลามีสุขภาพแข็งแรง จะให้ไรแดงเป็นอาหาร ลูกปลาเกิดจากพ่อแม่พันธุ์ในบ่อเลี้ยง ในวงการเพาะเลี้ยงถือว่าเป็นความสำเร็จที่ครบวงจร เพราะไม่ต้องกังวลเรื่องขาดแคลนพ่อแม่พันธุ์จากธรรมชาติ ขณะนี้สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสิงห์บุรีได้เริ่มฝึกปลาชะโดอายุ 2 ปีที่จะใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ในอนาคตให้กินอาหารเม็ดลอยน้ำแทนอาหารสด เพื่อเตรียมสำหรับส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงเป็นเชิงพาณิชย์ต่อไป
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 12 - 20 ก.ย. 48) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,448.54 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 739.25 ตัน สัตว์น้ำจืด 709.29 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.57 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 7.35 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 134.02 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 25.32 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 31.40 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.33 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.19 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 61.82 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.37 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 94.44 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 106.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 11.56 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 157.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 154.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 144.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 152.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 141.25 บาท ของสัปดาห์ก่อน 10.75 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 154.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 162.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 8.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.15 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.44 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.78 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 51.40 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.38 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 122.78 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 120.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.78 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.54 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 4.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.11 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 26 - 30 ก.ย. 2548) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.30 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 20.96 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.34 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 38 ประจำวันที่ 26 ก.ย.—2 ต.ค.2548--
-พห-
การผลิต
กรมประมงประสบความสำเร็จในการเพาะปลาชะโด
ปลาชะโดเป็นปลาที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับปลาช่อน เป็นปลาน้ำจืดที่ค่อนข้างดุ ลำตัวเรียวยาวเป็นรูปทรงกระบอกลักษณะคล้ายๆกับปลาช่อน แต่เมื่อโตเต็มวัยจะมีขนาดใหญ่กว่า ปลาชะโดจัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ เพราะมีรสชาติอร่อยสามารถบริโภคสดและแปรรูป เช่น ปลาย่าง ปลาเค็ม ปลาชะโดขนาดเล็กใช้เลี้ยงเป็นปลาสวยงามเรียกว่า”ปลาตอร์ปิโด” ต่างประเทศมีความนิยมสูงทั้งปลาชะโดขนาดใหญ่และขนาดเล็ก
โดยปกติปลาชะโดจะพบทั่วไปในแม่น้ำและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ปัจจุบันมีปริมาณลดลงมาก ดังนั้นสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสิงห์บุรี ได้รวบรวมลูกปลาชะโดจำนวนหนึ่งจากแหล่งน้ำธรรมชาติมาเลี้ยงไว้ จนกระทั่งปี 2545 จึงได้เริ่มศึกษาการเพาะพันธุ์และสังเกตพบว่า พ่อแม่พันธุ์จะมีไข่แก่และน้ำเชื้อสมบูรณ์ระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม จึงได้นำพ่อแม่พันธุ์อายุ 5 ปี จำนวน 5 คู่ มาฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ให้พ่อแม่พันธุ์ หลังจากฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ 34-36 ชั่วโมง พ่อแม่ปลาจะผสมพันธุ์วางไข่ จนประสบความสำเร็จในการเพาะพันธุ์ปลาชะโดอย่างสมบูรณ์แล้วเมื่อเดือนสิงหาคม 2548 สามารถเพาะพันธุ์ได้ถึง 5 ครั้ง อัตรารอด 80 เปอร์เซ็นต์ ได้ลูกปลา 5,000 ตัว ลูกปลามีสุขภาพแข็งแรง จะให้ไรแดงเป็นอาหาร ลูกปลาเกิดจากพ่อแม่พันธุ์ในบ่อเลี้ยง ในวงการเพาะเลี้ยงถือว่าเป็นความสำเร็จที่ครบวงจร เพราะไม่ต้องกังวลเรื่องขาดแคลนพ่อแม่พันธุ์จากธรรมชาติ ขณะนี้สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสิงห์บุรีได้เริ่มฝึกปลาชะโดอายุ 2 ปีที่จะใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ในอนาคตให้กินอาหารเม็ดลอยน้ำแทนอาหารสด เพื่อเตรียมสำหรับส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงเป็นเชิงพาณิชย์ต่อไป
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 12 - 20 ก.ย. 48) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,448.54 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 739.25 ตัน สัตว์น้ำจืด 709.29 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.57 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 7.35 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 134.02 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 25.32 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 31.40 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.33 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.19 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 61.82 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.37 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 94.44 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 106.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 11.56 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 157.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 154.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 144.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 152.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 141.25 บาท ของสัปดาห์ก่อน 10.75 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 154.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 162.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 8.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.15 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.44 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.78 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 51.40 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.38 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 122.78 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 120.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.78 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.54 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 4.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.11 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 26 - 30 ก.ย. 2548) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.30 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 20.96 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.34 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 38 ประจำวันที่ 26 ก.ย.—2 ต.ค.2548--
-พห-