ก่อนสงครามโลกครั้งที่1คือในปี ค.ศ. 1914เงิน 1 มาร์กซื้อไข่ไก่ได้ 1 โหล
แต่หลังสงครามช่วงกลางปี1923 ไข่ใบเดียวมีมูลค่า 5,000มาร์ก และพอถึงปลายปี ราคาไข่หนึ่งใบก็พรวดพราดขึ้นไปถึง 8 หมื่นล้านมาร์ก!
เดิมนั้น ธนบัตรที่มีค่าสูงสุดของเยอรมันคือ 1,000 มาร์ก(250ดอลลาร์) เมื่อค่าของเงินเริ่มร่วงในค.ศ. 1922 ก็มีธนบัตร10,000 มาร์ก พิมพ์ออกมาใช้ แต่ไม่ทันไร มันก็ไร้ค่าจนใช้ซื้ออะไรไม่ได้เพราะแม้แต่ไม้ขีดไฟกลักเดียวก็ยังปาเข้าไปถึง 900 ล้านมาร์ก แบงก์ชาติเยอรมันจึงเพิ่มเลขศูนย์หลายๆตัวลงบนธนบัตรที่มีมูลค่าน้อยกว่า (ที่พิมพ์ออกมาแล้วใช้ไม่ทัน หมดค่าไปแล้ว) จากใบละ200,000เป็น 500,000 และหนึ่งล้านมาร์ก จนสุดท้ายธนบัตรราคาสูงสุดก็สูงมากซึ่งมีราคา100ล้านล้านมาร์ก (ใช้ซื้อไข่ไก่ได้1,200ฟอง)
ค่าของเงินที่ตกต่ำลงในทุกนาทีนั้น ก่อให้เกิดความไม่มั่นคงในการวางแผนใช้เงิน คุณอาจเข้าไปในร้านกาแฟโดยมีเงิน 5,000มาร์ก สำหรับกาแฟหนึ่งถ้วย แต่เผลอนั่งเสวนากับเพื่อนพ้องเพียงแค่ชั่วโมงเดียว ราคากาแฟกลายเป็น 8,000มาร์กไปเสียแล้ว
สาเหตุของเงินเฟ้อเกิดจากรัฐบาลเยอรมันได้ใช้เงินจำนวนมหาศาลในการทำสงครามและบูรณะบ้านเมืองที่ย่อยยับหลังสงคราม มิหนำซ้ำประเทศที่ชนะสงครามก็ยังยึดเอาอุตสาหกรรมต่างๆไปด้วย เมื่อค่าเงินต่างประเทศสูงกว่าอย่างน่าใจหาย เยอรมันก็จำเป็นต้องพิมพ์ธนบัตรเพิ่มขึ้น-เพิ่มขึ้นจนกองเป็นภูเขาเลากา เพื่อเอาไปใช้หนี้ต่างประเทศ
ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้อมากที่สุดได้แก่ผู้ที่กินเงินเดือนหรือรับบำนาญ เพราะอัตราเงินเดือนนั้นคงที่ ในขณะที่ค่าของเงินตกวูบ เช่นว่า แม่ม่าย(ตำรวจสามีเสียชีวิต)กับลูกสี่คน เงินบำนาญหนึ่งเดือนจะซื้อไม้ขีดไฟได้ห่อเดียว ดังนั้น การจะอยู่รอดได้ จึงต้องใช้วิธีแลกเปลี่ยน เอาถุงเท้าหนึ่งคู่ไปแลกมันฝรั่งหนึ่งถุง คนเยอรมันยุคนั้นต้องขายของทุกอย่างที่มี ไม่ว่าเฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้า แหวนแต่งงาน พอหมดเกลี้ยงแล้วก็ถึงคราวต้องอดอยากไม่มีอะไรจะกิน
ผู้ที่เบิกบานกับภาวะเงินเฟ้อก็คือผู้ผลิตสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นแก่การดำรงชีพ และประดาชาวไร่ชาวนา สินค้าอุปโภคบริโภคของพวกเขาเป็นที่ต้องการอย่างรุนแรง ขายได้ในราคาที่แพงลิ่ว แล้วเอาเงินซื้อของถูกๆที่ชาวบ้านนำออกมาขาย มาสะสมไว้
เงินกลายเป็นสิ่งไร้ราคา ข้าวของเท่านั้นที่มีค่า มีเรื่องเล่าว่า หญิงสองคนช่วยกันหิ้วกระบุงใส่ธนบัตรเป็นฟ่อนๆเพื่อไปซื้อของ วางกระบุงไว้แป๊บเดียว หันมาอีกทีเหลือแต่กองธนบัตร กระบุงหายไปแล้ว
ในที่สุด รัฐบาลเยอรมันก็ใช้วิธีแก้ไขโดยพิมพ์ธนบัตรชนิดใหม่ เร็นเดนมาร์ก ซึ่งภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมยอมรับ ผู้คนต่างโผเข้าหาเร็นเดนมาร์ก เหมือนคนจะจมน้ำ ไขว่คว้าหาฟาง และเร็นเดนมาร์กก็ได้ผลอย่างอัศจรรย์ เงินมาร์กค่อยๆคงที่ดังเดิม
แต่ขวัญและกำลังใจของคนเยอรมัน สูญสิ้นไปกับวิธีการบริหารประเทศที่เคยใช้กันมาเสียแล้ว พวกเขาจึงหันไปสนับสนุนฮิตเลอร์ผู้แข็งกร้าว จนนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่สองอีกจนได้
และในช่วงเวลาที่เยอรมันฟื้นตัวนี้ อเมริกาก็เศรษฐกิจพังพินาศเพราะหุ้นเป็นสาเหตุ
ตั้งแต่ค.ศ. 1923 เป็นต้นมาชนอเมริกันส่วนใหญ่มีความเป็นอยู่ที่ดีและร่ำรวย โดยเฉพาะผู้ที่ทำธุรกิจและโรงงาน สินค้าขายได้ราคาดี เงินแพร่สะพัด ตลาดหุ้นบูมสุดขีด จะมีก็แต่ชาวไร่ชาวนาเท่านั้นที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในความร่ำรวยมากนัก
หุ้นที่ขายดิบขายดีมี อาทิ เยเนอรัล มอเตอร์,เรดิโอ,โรงงานเหล็กกล้า และห้างสรรพสินค้า แต่แม้บางบริษัทที่ดูไม่เข้าท่าก็ยังพลอยมีค่าหุ้นสูงตามไปด้วย ผู้คนไม่สนใจว่ามูลค่าหุ้นที่สูงขึ้นนั้นเป็นเพราะเหตุใด พวกเขาคลั่งไคล้แต่คอยเฝ้าซื้อหุ้นแล้วก็ขายเอากำไร
จนถึงวันที่ 3 กันยายน 1929 ราคาหุ้นก็สูงสุดขีด หุ้นแต่ละตัวมีค่าสูงเกินจริงนับสิบนับร้อยเท่า
และแล้ว ความหายนะก็ย่างกรายเข้ามาโดยไม่มีใครรู้ว่าอะไรคือสาเหตุ
วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม 1929 ผู้คนเริ่มเทหุ้นออกขาย รวมแล้วถึง 6 ล้านหุ้น วันอังคารปริมาณลดลง และเพิ่มขึ้นอีกในวันพุธ ครั้นถึงวันพฤหัสบดีมันก็เป็นฝันร้ายที่ประวัติศาสตร์จารึกว่าเป็น "พฤหัสดำ (BLACK THURSDAY)" ทันที่ที่ตลาดหุ้นเปิด หุ้นลอตใหญ่ก็ถูกเทออกขาย และราคาจมดิ่งลงอย่างรวดเร็ว ความจริงแล้วมันเกิดขึ้นจากการวางแผนทุบราคาของนักค้าหุ้นรายใหญ่เพื่อหวังผลในวันหน้า หากแต่ผู้เล่นหุ้นรายอื่นเกิดความแตกตื่นและรีบนำหุ้นของตนออกมาขายบ้าง หุ้นทุกตัวราคาตกพรวดพราด เสียงเอะอะภายในอาคารค้าหุ้นดังลั่นออกมาถึงท้องถนน จนกระทั่งมีนักค้าหุ้นรายใหญ่คนหนึ่งออกมากู้สถานการณ์ด้วยการทุ่มเงินกว้านซื้อหุ้นไว้ เหตุการณ์จึงค่อยสงบลง อีกสองวันต่อมา คือศุกร์และเสาร์ มีท่าทีว่าทุกอย่างเรียบร้อยเข้าที่เดิม และในวันอาทิตย์ที่ปิดการค้าขาย ผู้คนก็มีเวลาได้พิจารณาไตร่ตรองทบทวนว่าเกิดอะไรขึ้น
วันพฤหัสดีนั้น ได้ทำให้นักค้าหุ้นรายย่อยหายสาบสูญไปสิ้น และบัดนี้มันกำลังจะกลืนกินระดับผู้มั่งคั่งบ้างแล้ว
วันจันทร์ การค้าขายหุ้นจมดิ่งลงอีก แต่วันที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์หุ้นของอเมริกาก็คือ วันอังคารที่ 29 ราคาหุ้นร่วงพรูราวกับสายน้ำตกไนแองการา เศรษฐีอาทิตย์ที่แล้วหมดเนื้อหมดตัวภายในพริบตา ไม่ว่าเงินมรดกหรือเงินออมที่เอามาลงทุนล้วนหายวับราวถูกสาป เสียงร้องขายลดราคาแบบตามแต่จะให้ หุ้นบางตัวลดจาก48 เหลือแค่ 1 เงินหลายพันล้านดอลลาร์ ไม่ว่าเงินจริงหรือเงินในกระดาษได้หายไปจากโลกโดยสิ้นเชิง พ่อค้า เสมียน คนจน คนรวยเท่าเทียมกัน ทุกครอบครัวในสหรัฐอเมริกาพลิกผันฉับพลันจากมีฐานะ กลายเป็นมีหนี้สินล้นพ้นตัวอย่างถ้วนหน้า หลายคนเลือกทางออกโดยการยิงตัวตาย และอีกหลายคนที่ตำนานระบุว่าใช้วิธีฆ่าตัวตายที่ป๊อปปูล่าร์ที่สุดคือโดดจากหน้าต่างตึกสูง!
แต่การตกต่ำก็ยังไม่สิ้นสุด ราคาหุ้นตกต่อเนื่องอย่างสิ้นหวังต่อไปอีกสองปีครึ่ง จนถึงเดือนกรกฎาคม 1932 หุ้น ยูเอสสตีล ตกจากที่เคยสูงสุด 262 เหลือ 22 หุ้น อนาคอนดา คอปเปอร์ จาก 131 เหลือ 4
ตลาดหุ้นพินาศในอเมริกายังก่อความเดือดร้อนแสนสาหัสให้แก่ประเทศต่างๆในยุโรปอีกด้วย
เนื่องจากสหรัฐฯนำเงินไปลงทุนในยุโรปเป็นจำนวนมหาศาล ในปี ค.ศ. 1929 เงินจำนวนนี้ถูกเรียกกลับเพื่อไปใช้กู้สภาวะตลาดหุ้น และมันไม่เคยคืนกลับไปยุโรปอีกเลย เมื่อขาดเงิน ก็ขาดการจ้างแรงงาน โรงงานอุตสาหกรรมต้องปลดคนงานออก 80% หรือไม่ก็ปิดโรงงานไปเลย
ปลายปี 1932 อังกฤษมีคนตกงาน 3 ล้านคน และหนักที่สุดคือสหรัฐฯซึ่งมีคนว่างงานถึง 15 ล้านคน พอ แฟรงกลิน ดี. รูสเวลท์ ขึ้นเป็นประธานาธิบดีใน ค.ศ. 1933 เขาได้ประกาศปิดธนาคารทั่วประเทศหนึ่งอาทิตย์ เพื่อตรวจสอบสถานภาพ แล้วจึงประกาศให้เปิดได้เฉพาะธนาคารที่การเงินมั่นคง รูสเวลท์แก้ไขปัญหาว่างงานด้วยการสร้างโครงการขนาดใหญ่ เช่น การปลูกป่า การสร้างเขื่อน การสร้างสวนสัตว์ แม้จะถือได้ว่าเขาทำได้สำเร็จ แต่ใน ค.ศ. 1939 ก็ยังมีคนอเมริกันตกงานอยู่อีกถึง 10 ล้านคน--จบ--
Source : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันอาทิตย์ที่31ธันวาคม2543
--สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง--
-อน-
แต่หลังสงครามช่วงกลางปี1923 ไข่ใบเดียวมีมูลค่า 5,000มาร์ก และพอถึงปลายปี ราคาไข่หนึ่งใบก็พรวดพราดขึ้นไปถึง 8 หมื่นล้านมาร์ก!
เดิมนั้น ธนบัตรที่มีค่าสูงสุดของเยอรมันคือ 1,000 มาร์ก(250ดอลลาร์) เมื่อค่าของเงินเริ่มร่วงในค.ศ. 1922 ก็มีธนบัตร10,000 มาร์ก พิมพ์ออกมาใช้ แต่ไม่ทันไร มันก็ไร้ค่าจนใช้ซื้ออะไรไม่ได้เพราะแม้แต่ไม้ขีดไฟกลักเดียวก็ยังปาเข้าไปถึง 900 ล้านมาร์ก แบงก์ชาติเยอรมันจึงเพิ่มเลขศูนย์หลายๆตัวลงบนธนบัตรที่มีมูลค่าน้อยกว่า (ที่พิมพ์ออกมาแล้วใช้ไม่ทัน หมดค่าไปแล้ว) จากใบละ200,000เป็น 500,000 และหนึ่งล้านมาร์ก จนสุดท้ายธนบัตรราคาสูงสุดก็สูงมากซึ่งมีราคา100ล้านล้านมาร์ก (ใช้ซื้อไข่ไก่ได้1,200ฟอง)
ค่าของเงินที่ตกต่ำลงในทุกนาทีนั้น ก่อให้เกิดความไม่มั่นคงในการวางแผนใช้เงิน คุณอาจเข้าไปในร้านกาแฟโดยมีเงิน 5,000มาร์ก สำหรับกาแฟหนึ่งถ้วย แต่เผลอนั่งเสวนากับเพื่อนพ้องเพียงแค่ชั่วโมงเดียว ราคากาแฟกลายเป็น 8,000มาร์กไปเสียแล้ว
สาเหตุของเงินเฟ้อเกิดจากรัฐบาลเยอรมันได้ใช้เงินจำนวนมหาศาลในการทำสงครามและบูรณะบ้านเมืองที่ย่อยยับหลังสงคราม มิหนำซ้ำประเทศที่ชนะสงครามก็ยังยึดเอาอุตสาหกรรมต่างๆไปด้วย เมื่อค่าเงินต่างประเทศสูงกว่าอย่างน่าใจหาย เยอรมันก็จำเป็นต้องพิมพ์ธนบัตรเพิ่มขึ้น-เพิ่มขึ้นจนกองเป็นภูเขาเลากา เพื่อเอาไปใช้หนี้ต่างประเทศ
ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้อมากที่สุดได้แก่ผู้ที่กินเงินเดือนหรือรับบำนาญ เพราะอัตราเงินเดือนนั้นคงที่ ในขณะที่ค่าของเงินตกวูบ เช่นว่า แม่ม่าย(ตำรวจสามีเสียชีวิต)กับลูกสี่คน เงินบำนาญหนึ่งเดือนจะซื้อไม้ขีดไฟได้ห่อเดียว ดังนั้น การจะอยู่รอดได้ จึงต้องใช้วิธีแลกเปลี่ยน เอาถุงเท้าหนึ่งคู่ไปแลกมันฝรั่งหนึ่งถุง คนเยอรมันยุคนั้นต้องขายของทุกอย่างที่มี ไม่ว่าเฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้า แหวนแต่งงาน พอหมดเกลี้ยงแล้วก็ถึงคราวต้องอดอยากไม่มีอะไรจะกิน
ผู้ที่เบิกบานกับภาวะเงินเฟ้อก็คือผู้ผลิตสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นแก่การดำรงชีพ และประดาชาวไร่ชาวนา สินค้าอุปโภคบริโภคของพวกเขาเป็นที่ต้องการอย่างรุนแรง ขายได้ในราคาที่แพงลิ่ว แล้วเอาเงินซื้อของถูกๆที่ชาวบ้านนำออกมาขาย มาสะสมไว้
เงินกลายเป็นสิ่งไร้ราคา ข้าวของเท่านั้นที่มีค่า มีเรื่องเล่าว่า หญิงสองคนช่วยกันหิ้วกระบุงใส่ธนบัตรเป็นฟ่อนๆเพื่อไปซื้อของ วางกระบุงไว้แป๊บเดียว หันมาอีกทีเหลือแต่กองธนบัตร กระบุงหายไปแล้ว
ในที่สุด รัฐบาลเยอรมันก็ใช้วิธีแก้ไขโดยพิมพ์ธนบัตรชนิดใหม่ เร็นเดนมาร์ก ซึ่งภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมยอมรับ ผู้คนต่างโผเข้าหาเร็นเดนมาร์ก เหมือนคนจะจมน้ำ ไขว่คว้าหาฟาง และเร็นเดนมาร์กก็ได้ผลอย่างอัศจรรย์ เงินมาร์กค่อยๆคงที่ดังเดิม
แต่ขวัญและกำลังใจของคนเยอรมัน สูญสิ้นไปกับวิธีการบริหารประเทศที่เคยใช้กันมาเสียแล้ว พวกเขาจึงหันไปสนับสนุนฮิตเลอร์ผู้แข็งกร้าว จนนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่สองอีกจนได้
และในช่วงเวลาที่เยอรมันฟื้นตัวนี้ อเมริกาก็เศรษฐกิจพังพินาศเพราะหุ้นเป็นสาเหตุ
ตั้งแต่ค.ศ. 1923 เป็นต้นมาชนอเมริกันส่วนใหญ่มีความเป็นอยู่ที่ดีและร่ำรวย โดยเฉพาะผู้ที่ทำธุรกิจและโรงงาน สินค้าขายได้ราคาดี เงินแพร่สะพัด ตลาดหุ้นบูมสุดขีด จะมีก็แต่ชาวไร่ชาวนาเท่านั้นที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในความร่ำรวยมากนัก
หุ้นที่ขายดิบขายดีมี อาทิ เยเนอรัล มอเตอร์,เรดิโอ,โรงงานเหล็กกล้า และห้างสรรพสินค้า แต่แม้บางบริษัทที่ดูไม่เข้าท่าก็ยังพลอยมีค่าหุ้นสูงตามไปด้วย ผู้คนไม่สนใจว่ามูลค่าหุ้นที่สูงขึ้นนั้นเป็นเพราะเหตุใด พวกเขาคลั่งไคล้แต่คอยเฝ้าซื้อหุ้นแล้วก็ขายเอากำไร
จนถึงวันที่ 3 กันยายน 1929 ราคาหุ้นก็สูงสุดขีด หุ้นแต่ละตัวมีค่าสูงเกินจริงนับสิบนับร้อยเท่า
และแล้ว ความหายนะก็ย่างกรายเข้ามาโดยไม่มีใครรู้ว่าอะไรคือสาเหตุ
วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม 1929 ผู้คนเริ่มเทหุ้นออกขาย รวมแล้วถึง 6 ล้านหุ้น วันอังคารปริมาณลดลง และเพิ่มขึ้นอีกในวันพุธ ครั้นถึงวันพฤหัสบดีมันก็เป็นฝันร้ายที่ประวัติศาสตร์จารึกว่าเป็น "พฤหัสดำ (BLACK THURSDAY)" ทันที่ที่ตลาดหุ้นเปิด หุ้นลอตใหญ่ก็ถูกเทออกขาย และราคาจมดิ่งลงอย่างรวดเร็ว ความจริงแล้วมันเกิดขึ้นจากการวางแผนทุบราคาของนักค้าหุ้นรายใหญ่เพื่อหวังผลในวันหน้า หากแต่ผู้เล่นหุ้นรายอื่นเกิดความแตกตื่นและรีบนำหุ้นของตนออกมาขายบ้าง หุ้นทุกตัวราคาตกพรวดพราด เสียงเอะอะภายในอาคารค้าหุ้นดังลั่นออกมาถึงท้องถนน จนกระทั่งมีนักค้าหุ้นรายใหญ่คนหนึ่งออกมากู้สถานการณ์ด้วยการทุ่มเงินกว้านซื้อหุ้นไว้ เหตุการณ์จึงค่อยสงบลง อีกสองวันต่อมา คือศุกร์และเสาร์ มีท่าทีว่าทุกอย่างเรียบร้อยเข้าที่เดิม และในวันอาทิตย์ที่ปิดการค้าขาย ผู้คนก็มีเวลาได้พิจารณาไตร่ตรองทบทวนว่าเกิดอะไรขึ้น
วันพฤหัสดีนั้น ได้ทำให้นักค้าหุ้นรายย่อยหายสาบสูญไปสิ้น และบัดนี้มันกำลังจะกลืนกินระดับผู้มั่งคั่งบ้างแล้ว
วันจันทร์ การค้าขายหุ้นจมดิ่งลงอีก แต่วันที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์หุ้นของอเมริกาก็คือ วันอังคารที่ 29 ราคาหุ้นร่วงพรูราวกับสายน้ำตกไนแองการา เศรษฐีอาทิตย์ที่แล้วหมดเนื้อหมดตัวภายในพริบตา ไม่ว่าเงินมรดกหรือเงินออมที่เอามาลงทุนล้วนหายวับราวถูกสาป เสียงร้องขายลดราคาแบบตามแต่จะให้ หุ้นบางตัวลดจาก48 เหลือแค่ 1 เงินหลายพันล้านดอลลาร์ ไม่ว่าเงินจริงหรือเงินในกระดาษได้หายไปจากโลกโดยสิ้นเชิง พ่อค้า เสมียน คนจน คนรวยเท่าเทียมกัน ทุกครอบครัวในสหรัฐอเมริกาพลิกผันฉับพลันจากมีฐานะ กลายเป็นมีหนี้สินล้นพ้นตัวอย่างถ้วนหน้า หลายคนเลือกทางออกโดยการยิงตัวตาย และอีกหลายคนที่ตำนานระบุว่าใช้วิธีฆ่าตัวตายที่ป๊อปปูล่าร์ที่สุดคือโดดจากหน้าต่างตึกสูง!
แต่การตกต่ำก็ยังไม่สิ้นสุด ราคาหุ้นตกต่อเนื่องอย่างสิ้นหวังต่อไปอีกสองปีครึ่ง จนถึงเดือนกรกฎาคม 1932 หุ้น ยูเอสสตีล ตกจากที่เคยสูงสุด 262 เหลือ 22 หุ้น อนาคอนดา คอปเปอร์ จาก 131 เหลือ 4
ตลาดหุ้นพินาศในอเมริกายังก่อความเดือดร้อนแสนสาหัสให้แก่ประเทศต่างๆในยุโรปอีกด้วย
เนื่องจากสหรัฐฯนำเงินไปลงทุนในยุโรปเป็นจำนวนมหาศาล ในปี ค.ศ. 1929 เงินจำนวนนี้ถูกเรียกกลับเพื่อไปใช้กู้สภาวะตลาดหุ้น และมันไม่เคยคืนกลับไปยุโรปอีกเลย เมื่อขาดเงิน ก็ขาดการจ้างแรงงาน โรงงานอุตสาหกรรมต้องปลดคนงานออก 80% หรือไม่ก็ปิดโรงงานไปเลย
ปลายปี 1932 อังกฤษมีคนตกงาน 3 ล้านคน และหนักที่สุดคือสหรัฐฯซึ่งมีคนว่างงานถึง 15 ล้านคน พอ แฟรงกลิน ดี. รูสเวลท์ ขึ้นเป็นประธานาธิบดีใน ค.ศ. 1933 เขาได้ประกาศปิดธนาคารทั่วประเทศหนึ่งอาทิตย์ เพื่อตรวจสอบสถานภาพ แล้วจึงประกาศให้เปิดได้เฉพาะธนาคารที่การเงินมั่นคง รูสเวลท์แก้ไขปัญหาว่างงานด้วยการสร้างโครงการขนาดใหญ่ เช่น การปลูกป่า การสร้างเขื่อน การสร้างสวนสัตว์ แม้จะถือได้ว่าเขาทำได้สำเร็จ แต่ใน ค.ศ. 1939 ก็ยังมีคนอเมริกันตกงานอยู่อีกถึง 10 ล้านคน--จบ--
Source : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันอาทิตย์ที่31ธันวาคม2543
--สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง--
-อน-