กรุงเทพฯ--15 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
การประชุมรัฐมนตรี 4 ฝ่าย (ไทย-ลาว-เวียดนาม-ญี่ปุ่น) เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) และการพัฒนาพื้นที่ตามเส้นทางหมายเลข 9
วันนี้ (14 พฤศจิกายน 2544) นายรัฐกิจ มานะทัต อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรี 4 ฝ่าย (ไทย-ลาว-เวียดนาม-ญี่ปุ่น) เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 และการพัฒนาตามเส้นทางหมายเลข 9 ในวันที่ 22 พฤศจิกายน ศกนี้ ณ โรงแรมพลอยพาเลซ จังหวัดมุกดาหาร และหลังจากการประชุมที่จังหวัดมุกดาหาร คณะจะเดินทางต่อไปยังแขวงสะหวันนะเขตของลาว และนครดานังของเวียดนาม เพื่อประชุมและเยี่ยมชมสถานที่สำคัญ เช่น จุดสร้างสะพาน เส้นทางหมายเลข 9 และท่าเรือน้ำลึก
เส้นทางหมายเลข 9 และสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ เชื่อมโยงชายฝั่งทะเลจีนใต้และอันดามัน ที่เรียกว่า East West Economic Corridor (EWEC) ในกรอบความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion - GMS) โครงการนี้เชื่อมโยงนครดานังในเวียดนาม — ลาว — ไทย — ถึงเมืองท่าเมาะละแหม่ง และ กรุงย่างกุ้งของพม่าในด้านเศรษฐกิจ โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณในการ ออกแบบและก่อสร้างจากธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank — ADB), Japan International Cooperation Agency (JICA), และ Japan Bank of International Cooperation (JBIC) คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จในปี 2006 นอกจากการสร้างโครงสร้างพื้นฐานแล้ว ADB ยังได้จัดทำแผนพัฒนาด้านการลงทุน Pre-Investment Study for the Greater Mekong Subregion East- West Economic Corridor และ JICA ได้จัดทำโครงการพัฒนาแบบเบ็ดเสร็จพื้นที่ชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย และแขวงสะหวัน-นะเขตและคำม่วนของ สปป. ลาว ด้วย
ในระหว่างการเยือนลาวและเวียดนามของ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อเดือนเมษายนและมิถุนายน ศกนี้ ลาวและเวียดนามได้ตอบรับข้อเสนอของไทยให้มีการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ 3 ฝ่าย (ไทย ลาว เวียดนาม) เพื่อหารือเรื่องการใช้ประโยชน์จากสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 และเส้นทางหมายเลข 9 และต่อมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยได้เชิญรัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่นเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวด้วย ในฐานะที่ญี่ปุ่นให้ความสนับสนุนทางการเงินอย่างมากสำหรับโครงการนี้ วัตถุประสงค์ของการประชุมดังกล่าวเพื่อเน้นการแสดงออกถึงความมุ่งมั่นทางการเมือง (political will) ของประเทศที่เกี่ยวข้อง ในการร่วมมือกันพัฒนาสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 และเส้นทางหมายเลข 9 เพื่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจร่วมกัน ผลประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากความร่วมมือในโครงการนี้คือ การขยายความสัมพันธ์ด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ระหว่างไทย — ลาว - เวียดนาม รวมทั้งความร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่ โดยอาศัยปัจจัยในการผลิตที่แต่ละประเทศมีแตกต่างกันมาใช้ให้เกิดประโยชน์เกื้อกูลซึ่งกันและกัน เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดทางเศรษฐกิจ และเพื่อความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก แม้ว่าโครงการความร่วมมือนี้จะเป็น ส่วนหนึ่งของกรอบความร่วมมือ GMS แต่ก็สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลชุดปัจจุบัน ที่ให้ความสำคัญกับการกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากเล็งเห็นว่าประเทศเหล่านี้เป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพสูงมาก และมีลู่ทางอีกมากที่จะขยายความสัมพันธ์เพื่อความเจริญเติบโตร่วมกันในภูมิภาค
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
การประชุมรัฐมนตรี 4 ฝ่าย (ไทย-ลาว-เวียดนาม-ญี่ปุ่น) เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) และการพัฒนาพื้นที่ตามเส้นทางหมายเลข 9
วันนี้ (14 พฤศจิกายน 2544) นายรัฐกิจ มานะทัต อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรี 4 ฝ่าย (ไทย-ลาว-เวียดนาม-ญี่ปุ่น) เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 และการพัฒนาตามเส้นทางหมายเลข 9 ในวันที่ 22 พฤศจิกายน ศกนี้ ณ โรงแรมพลอยพาเลซ จังหวัดมุกดาหาร และหลังจากการประชุมที่จังหวัดมุกดาหาร คณะจะเดินทางต่อไปยังแขวงสะหวันนะเขตของลาว และนครดานังของเวียดนาม เพื่อประชุมและเยี่ยมชมสถานที่สำคัญ เช่น จุดสร้างสะพาน เส้นทางหมายเลข 9 และท่าเรือน้ำลึก
เส้นทางหมายเลข 9 และสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ เชื่อมโยงชายฝั่งทะเลจีนใต้และอันดามัน ที่เรียกว่า East West Economic Corridor (EWEC) ในกรอบความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion - GMS) โครงการนี้เชื่อมโยงนครดานังในเวียดนาม — ลาว — ไทย — ถึงเมืองท่าเมาะละแหม่ง และ กรุงย่างกุ้งของพม่าในด้านเศรษฐกิจ โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณในการ ออกแบบและก่อสร้างจากธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank — ADB), Japan International Cooperation Agency (JICA), และ Japan Bank of International Cooperation (JBIC) คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จในปี 2006 นอกจากการสร้างโครงสร้างพื้นฐานแล้ว ADB ยังได้จัดทำแผนพัฒนาด้านการลงทุน Pre-Investment Study for the Greater Mekong Subregion East- West Economic Corridor และ JICA ได้จัดทำโครงการพัฒนาแบบเบ็ดเสร็จพื้นที่ชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย และแขวงสะหวัน-นะเขตและคำม่วนของ สปป. ลาว ด้วย
ในระหว่างการเยือนลาวและเวียดนามของ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อเดือนเมษายนและมิถุนายน ศกนี้ ลาวและเวียดนามได้ตอบรับข้อเสนอของไทยให้มีการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ 3 ฝ่าย (ไทย ลาว เวียดนาม) เพื่อหารือเรื่องการใช้ประโยชน์จากสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 และเส้นทางหมายเลข 9 และต่อมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยได้เชิญรัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่นเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวด้วย ในฐานะที่ญี่ปุ่นให้ความสนับสนุนทางการเงินอย่างมากสำหรับโครงการนี้ วัตถุประสงค์ของการประชุมดังกล่าวเพื่อเน้นการแสดงออกถึงความมุ่งมั่นทางการเมือง (political will) ของประเทศที่เกี่ยวข้อง ในการร่วมมือกันพัฒนาสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 และเส้นทางหมายเลข 9 เพื่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจร่วมกัน ผลประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากความร่วมมือในโครงการนี้คือ การขยายความสัมพันธ์ด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ระหว่างไทย — ลาว - เวียดนาม รวมทั้งความร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่ โดยอาศัยปัจจัยในการผลิตที่แต่ละประเทศมีแตกต่างกันมาใช้ให้เกิดประโยชน์เกื้อกูลซึ่งกันและกัน เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดทางเศรษฐกิจ และเพื่อความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก แม้ว่าโครงการความร่วมมือนี้จะเป็น ส่วนหนึ่งของกรอบความร่วมมือ GMS แต่ก็สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลชุดปัจจุบัน ที่ให้ความสำคัญกับการกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากเล็งเห็นว่าประเทศเหล่านี้เป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพสูงมาก และมีลู่ทางอีกมากที่จะขยายความสัมพันธ์เพื่อความเจริญเติบโตร่วมกันในภูมิภาค
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-