ตารางที่ 8 การผลิตและการใช้ลิกไนต์/ถ่านหิน
หน่วย : พันตัน
2543 2544(ม.ค. — มิ.ย.)
ปริมาณ อัตราเพิ่ม (%) สัดส่วน(%)
การผลิตลิกไนต์ 17786 8,955 2.6 100
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ 13,652 7,022 9.7 78.4
เหมืองเอกชน 4,134 1,933 -17.1 21.6
- บ้านปู 1,938 1,204 27.1 13.4
- ลานนา 1,123 474 -26 5.3
- อื่นๆ 1,073 255 -65.7 2.9
การนำเข้าถ่านหิน 4,183 2,367 20.6
Supply 21969 11322 6.3
การใช้ลิกไนต์ 17551 9,326 6.3 100
ผลิตกระแสไฟฟ้า 14,121 7,520 8.8 80.6
อุตสาหกรรม 3,430 1,807 -2.8 19.4
การใช้ถ่านหิน 4,183 2,367 20.6 100
ผลิตกระแสไฟฟ้า (SPP) 2,055 1,075 4.7 45.5
อุตสาหกรรม 2,128 1,291 38.2 54.5
Demand 21734 11693 9
2.5 น้ำมันสำเร็จรูป การใช้น้ำมันสำเร็จรูปได้ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปีก่อนโดยปริมาณการใช้ใน 6 เดือนแรกของปีนี้อยู่ที่ระดับ 593 พันบาร์เรล/วัน ลดลงร้อยละ 6.1 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2543 การใช้น้ำมันสำเร็จรูปในเดือนเมษายน ลดลงร้อยละ 6.2 พฤษภาคม และมิถุนายน ลดลงร้อยละ 6.4 และ 6.1 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2543
น้ำมันเบนซิน ปริมาณการใช้ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2544 อยู่ในระดับ 116.5 พันบาร์เรล/วันลดลงร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สาเหตุหลักมาจากมีรถแท็กซี่จำนวนหนึ่ง ปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์ไปใช้ LPG ทดแทนน้ำมันเบนซินพิเศษ และการใช้รถยนต์ ยังคงชะลอตัวอยู่ เนื่องจากราคาน้ำมันเบนซินพิเศษสูงขึ้นมาก การใช้น้ำมันเบนซินพิเศษ ลดลงร้อยละ 23.4 ในขณะที่การใช้น้ำมันเบนซินธรรมดา เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.2 ทำให้สัดส่วนการใช้น้ำมันเบนซินธรรมดา สูงขึ้นมาอยู่ในระดับร้อยละ 56 และเบนซินพิเศษ เหลือร้อยละ 44 ทั้งนี้เป็นผลจากการรณรงค์ ให้มีการใช้น้ำมัน ที่มีค่าออกเทน ให้เหมาะสมกับประเภทรถ และมาตรการดังกล่าว ได้รับการตอบรับ จากประชาชนด้วยดี ทำให้มีการใช้น้ำมันเบนซินธรรมดา (ออกเทน 87 และ 91) เพิ่มขึ้น การผลิตน้ำมันเบนซินมีจำนวน 148.6 พันบาร์เรล/วัน ยังคงมากกว่าความต้องการใช้ จึงมีการส่งออกสุทธิ 30.4 พันบาร์เรล/วัน
น้ำมันดีเซล ปริมาณการใช้ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้อยู่ในระดับ 267.4 พันบาร์เรล/วัน ลดลงร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2543 การใช้น้ำมันดีเซล ได้ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ตั้งแต่ครึ่งหลังของปีก่อนจนถึง 6 เดือนแรกปีนี้ สาเหตุส่วนหนึ่ง มาจากการใช้เป็นเชื้อเพลิง ในการผลิตไฟฟ้าลดลง ประกอบกับราคาน้ำมันดีเซลที่สูงขึ้นมาก และภาวะเศรษฐกิจโดยรวมยังไม่ดี ในขณะที่การผลิตเฉลี่ยอยู่ในระดับ 283 พันบาร์เรล/วัน น้ำมันดีเซลมีทั้งการนำเข้าและส่งออก โดยมีการส่งออกน้ำมันดีเซล (สุทธิ) เป็นจำนวน 14.9 พันบาร์เรล/วัน
น้ำมันเตา ปริมาณการใช้อยู่ในระดับ 81.5 พันบาร์เรล/วัน ลดลงถึงร้อยละ 34.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2543 ทั้งนี้เนื่องจากการใช้น้ำมันเตา ในภาคการผลิตกระแสไฟฟ้า ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ลดลงร้อยละ 74 ส่วนการใช้ในภาคอุตสาหกรรมและอื่นๆ ลดลงร้อยละ 2.4 เนื่องจากราคาน้ำมันเตาอยู่ในระดับที่สูง อาจเป็นสาเหตุให้อุตสาหกรรม บางแห่งหันไปใช้เชื้อเพลิงอื่นแทน การผลิตน้ำมันเตาอยู่ในระดับ 117 พันบาร์เรล/วัน ซึ่งสูงกว่าความต้องการใช้ เป็นผลให้มีการส่งออกน้ำมันเตา (สุทธิ) จำนวน 28.5 พันบาร์เรล/วัน
ตารางที่ 9 ปริมาณการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า
ชนิดของเชื้อเพลิง 2543 2544 (ม.ค. — มิ.ย.)
ปริมาณเชื้อเพลิง ปริมาณเชื้อเพลิง การเปลี่ยนแปลง (%)
ก๊าซธรรมชาติ (ล้านลบฟ./วัน) 1,297 1,491 16.6
น้ำมันเตา (ล้านลิตร) 2,364 405 -74.2
ลิกไนต์ (พันตัน) 14,121 7,520 8.8
ดีเซล (ล้านลิตร) 29 10.5 -52.1
น้ำมันเครื่องบิน ปริมาณการใช้ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2544 อยู่ในระดับ 64 พันบาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 จากปีก่อน ในขณะที่ผลิตได้ 71.0 พันบาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 การผลิตยังคงสูงกว่าความต้องการใช้ภายในประเทศ เป็นผลให้มีการส่งออกสุทธิ จำนวน 5.3 พันบาร์เรล/วัน
ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ปริมาณการใช้เพื่อเป็นพลังงาน (ใช้ในครัวเรือนอุตสาหกรรม และรถยนต์) ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2544 อยู่ในระดับ 63.0 พันบาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.9 เมื่อเทียบ กับช่วงเดียวกันของปีก่อน การใช้ LPG ในรถยนต์เพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 96.0 ทั้งนี้เป็นผลมาจากการนำไปใช้ ในรถแท๊กซี่ ปัจจุบันรถแท๊กซี่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเปลี่ยนมาใช้ LPG เพิ่มมากขึ้น เนื่องจาก LPG มีราคาถูกกว่าเบนซิน และการใช้ของครัวเรือนและอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นมากเช่นกัน การใช้เพื่อเป็นวัตถุดิบของ ภาคอุตสาหกรรม (Feedstock) อยู่ในระดับ 11.0 พันบาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 32.8 ปริมาณการผลิตอยู่ในระดับ 100.2 พันบาร์เรล/วัน ซึ่งสูงกว่าความต้องการใช้จึงมีการส่งออกสุทธิเป็นจำนวน 25.8 พันบาร์เรล/วัน
ตารางที่ 10 การใช้ LPG
หน่วย : พันบาร์เรลต่อวัน
2543 2544 (ม.ค. — มิ.ย.)
2544 การเปลี่ยนแปลง (%)
ครัวเรือน 43 45 10.4
อุตสาหกรรม 10 11 6.4
รถยนต์ 5 8 96
อุตสาหกรรมปิโตรเคมี 9 11 32.8
รวม 67 74 18.2
ตารางที่ 11 การผลิต การใช้ การนำเข้า และการส่งออกน้ำมันสำเร็จรู ปปี 2544
ปริมาณ (พันบาร์เรล/วัน) การเปลี่ยนแปลง (%)
การใช้ การผลิต การนำเข้า การส่งออก การใช้ การผลิต การนำเข้า การส่งออก
เบนซิน 116.5 148.6 0.5 30.9 -2.5 8.6 -42.7 111.5
- เบนซินพิเศษ 51.5 76 0.5 22.2 -23.4 -3.1 -100 194.9
- เบนซินธรรมดา 65 72.7 - 8.7 24.2 24.3 -1.9 23.2
ดีเซล 267.4 283 7.3 22.2 -2.3 1.6 -63.8 10.8
ก๊าด 0.9 8.2 - 6.2 13.3 45.4 - 53.9
น้ำมันเครื่องบิน 64 71 0.1 5.4 6.9 3.5 0 -30.5
น้ำมันเตา 81.5 117 - 28.5 -34 -4.2 -100 269
ก๊าซปิโตรเลียมเหลว 63 100.2 - 25.8 15.9 15.8 - 9.5
รวม 593.3 728 7.9 119 -6.1 4.2 -78.6 53.1
รายได้ภาษีสรรพสามิตและฐานะกองทุนน้ำมัน ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ รัฐบาลมีรายได้ภาษีสรรพสามิตจากน้ำมันสำเร็จรูปประมาณ 33,169 ล้านบาท ลดลงจากปี 2543 เป็นจำนวน 994 ล้านบาท ฐานะกองทุนน้ำมัน ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2544 ติดลบประมาณ 13,603 ล้านบาท
ตารางที่ 11 รายได้ภาษีสรรพสามิตและฐานะกองทุน
หน่วย : ล้านบาท
ฐานะกองทุนน้ำมัน รายรับ (รายจ่าย) ภาษีสรรพสามิต
ณ สิ้นปี 2535 1,930 -4,717 40,693
2536 78 -1,852 44,717
2537 -732 -810 46,969
2538 -1,116 -384 54,838
2539 787 1,903 58,899
2540 235 -552 64,768
2541 4,606 4,371 66,139
2542 4,418 -187 65,076
2543 -4,673 -9,091 65,026
2544 (ณ 30 มิ.ย. 44) -13603 -8,930 33,169
3. สถานการณ์ไฟฟ้า
3.1 กำลังการผลิตติดตั้ง กำลังการผลิตติดตั้งไฟฟ้าของ กฟผ. การรับซื้อจากเอกชนและ ไฟฟ้านำเข้า ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2544 มีจำนวน 22,335 เมกะวัตต์ โดยเป็นกำลังการผลิตติดตั้งของ กฟผ. จำนวน 15,116 เมกะวัตต์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 67.7 รับซื้อจาก IPP จำนวน 5,266 เมกะวัตต์ รับซื้อจาก SPP 1,613 เมกะวัตต์ คิดเป็นสัดส่วนโดยรวมร้อยละ 30.8 และนำเข้าจาก สปป.ลาว 340 เมกะวัตต์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.5
3.2 การผลิตพลังงานไฟฟ้า ปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้าของประเทศ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2544 มีจำนวน 51,951 กิกะวัตต์ชั่วโมง (เป็นการผลิตจาก กฟผ. ร้อยละ 60 รับซื้อจากเอกชนและนำเข้า ร้อยละ 40) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนในอัตราร้อยละ 6.3 ในขณะที่ความต้องการไฟฟ้าสูงสุดอยู่ในระดับ 16,126 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 8.1 ค่าตัวประกอบการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ย (Load Factor) อยู่ในระดับร้อยละ 74.14 ซึ่งต่ำกว่าปีที่ผ่านมา และอัตราสำรองไฟฟ้าขั้นต่ำ (Reserved Margin) อยู่ในระดับ 31.0
ตารางที่ 12 ความต้องการไฟฟ้าและค่าตัวประกอบการใช้ไฟฟ้า
พ.ศ. ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด ค่าตัวประกอบการใช้ไฟฟ้า
(เมกะวัตต์) (ร้อยละ)
2535 8,904 73.5
2536 9,839 74.2
2537 11,064 74.3
2538 12,268 74.9
2539 13,311 75.1
2540 14,506 73.5
2541 14,180 73.4
2542 13,712 76.1
2543 14,918 75.2
2544 (ม.ค.-มิ.ย.) 16,126 74.1
การผลิตพลังงานไฟฟ้าประกอบด้วยพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากแหล่งต่างๆ คือ จากก๊าซธรรมชาติ (รวม EGCO IPP และ SPP) จำนวน 35,704 กิกะวัตต์-ชั่วโมง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 69 จากลิกไนต์/ถ่านหิน (รวม SPP) จำนวน 9,868 กิกะวัตต์-ชั่วโมง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19 จากพลังน้ำ จำนวน 3,293 กิกะวัตต์-ชั่วโมง คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 6 จากน้ำมันเตาจำนวน 1,514 กิกะวัตต์-ชั่วโมง คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 3 จากนำเข้าและอื่นๆ จำนวน 1,573 กิกะวัตต์-ชั่วโมง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3
การผลิตพลังงานไฟฟ้าตามชนิดของเชื้อเพลิงที่สำคัญ พอสรุปได้ดังนี้
(ก) การผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 23.5 เนื่องจากโรงไฟฟ้าราชบุรีได้จ่ายไฟเข้าระบบของ กฟผ. โดยใช้ก๊าซธรรมชาติจากประเทศพม่า ประกอบกับบริษัท ไตรเอ็นเนอร์ยี จำกัด และบริษัท ผลิตไฟฟ้าอิสระ (ประเทศไทย) จำกัด แต่ละบริษัทมีกำลังการผลิตติดตั้ง 700 เมกะวัตต์ และเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) ได้เริ่มจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบของ กฟผ. ในช่วงต้นปี 2543 นอกจากนี้ ผู้ผลิตไฟฟ้า SPP ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง จ่ายไฟฟ้าเข้ามาเสริมในระบบ กฟผ. มากขึ้น
(ข) การผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน/ลิกไนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 เป็นการเพิ่มขึ้นในส่วนของ SPP คือ บ. ไทยโคเจนเนอเรชั่น จก. ขนาด 90 เมกะวัตต์ ใช้ถ่านหินนำเข้าเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเต็มกำลังตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม 2543 เป็นต้นมา อีกส่วนหนึ่งเพิ่มขึ้นที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
(ค) การผลิตไฟฟ้าจากน้ำมันเตาลดลงถึงร้อยละ 76.6 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการใช้น้ำมันเตาในการผลิตลดลงมากเพราะน้ำมันเตามีราคาสูง
(ง) การผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2543 ร้อยละ 2.9 เนื่องจากน้ำในเขื่อนมีปริมาณมาก
(จ) การผลิตไฟฟ้าจากน้ำมันดีเซลลดลงร้อยละ 23.1 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจาก กฟผ. ใช้เชื้อเพลิงที่มีราคาถูกกว่า เช่น ก๊าซธรรมชาติ มาทดแทนมากขึ้น
(ฉ) การนำเข้าไฟฟ้าจาก สปป. ลาว ลดลงร้อยละ 6.2
3.3 การใช้ไฟฟ้า ปริมาณการใช้ไฟฟ้า ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2544 มีจำนวน 46,169 กิกะวัตต์ ชั่วโมง ขยายตัวจากช่วงเดียวกันในปีก่อนร้อยละ 7.3 โดยสาขาธุรกิและอุตสาหรรมขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 บ้านอยู่อาศัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 และภาคเกษตรขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 ในขณะที่ทางด้าน ลูกค้าตรง กฟผ. ลดลงร้อยละ 2.4
การใช้ไฟฟ้าในเขตนครหลวง ขยายตัวขึ้นมากในอัตราร้อยละ 7.0 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยการใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นทุกสาขากล่าวคือ สาขาธุรกิจและสาขาอุตสาหกรรมมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าอยู่ในระดับ 5,743 และ 6,560 กิกะวัตต์-ชั่วโมง หรือเพิ่มขึ้นจากช่วง 6 เดือนแรกของปี 2543 คิดเป็นร้อยละ 6.4 สำหรับสาขาบ้านอยู่อาศัย การใช้ไฟฟ้าอยู่ในระดับ 3,726 กิกะวัตต์-ชั่วโมง เพิ่มขึ้นจากปี 2543 คิดเป็นร้อยละ 9.1
การใช้ไฟฟ้าในเขตภูมิภาค เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 7.8 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2543 ในสาขาธุรกิจ สาขาอุตสาหกรรม การใช้ไฟฟ้าอยู่ในระดับ 5,239 และ 14,078 กิกะวัตต์-ชั่วโมง เพิ่มขึ้นจาก ช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.4 การใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยอยู่ในระดับ 6,832 กิกะวัตต์-ชั่วโมง เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 11.1
ในส่วนลูกค้าตรงของ กฟผ. ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น โรงงานผลิตปูนซีเมนต์ ความต้องการไฟฟ้าในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2544 อยู่ในระดับ 888 กิกะวัตต์-ชั่วโมง ลดลงจากปีก่อน ร้อยละ 2.4
ตารางที่ 14 การจำหน่ายไฟฟ้าแยกตามประเภทผู้ใช้
หน่วย : กิกะวัตต์-ชั่วโมง
2543 2543 2544 (ม.ค. — มิ.ย.)
ปริมาณ อัตราเพิ่ม (%)
การใช้ไฟฟ้าในเขตนครหลวง
บ้านและที่อยู่อาศัย 6,882 3,762 9.1
ธุรกิจ 10,996 5,743 6.4
อุตสาหกรรม 12,456 6,506 6.4
อื่นๆ 1,790 935 6.4
รวม 32,124 16,946 7
การใช้ไฟฟ้าในเขตภูมิภาค
บ้านและที่อยู่อาศัย 12,511 6,832 11.1
ธุรกิจ 10,053 5,239 6.8
อุตสาหกรรม 27,016 14,078 6.8
เกษตรกรรม 154 110 13.7
อื่นๆ 3,986 2,077 6.8
รวม 53,721 28,336 7.8
ลูกค้าตรง กฟผ. 1,752 888 -2.4
รวมทั้งสิ้น 87,597 46,169 7.3
--วารสารนโยบายพลังงาน ฉบับที่ 53 กรกฎาคม-กันยายน 2544--
-ยก-
หน่วย : พันตัน
2543 2544(ม.ค. — มิ.ย.)
ปริมาณ อัตราเพิ่ม (%) สัดส่วน(%)
การผลิตลิกไนต์ 17786 8,955 2.6 100
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ 13,652 7,022 9.7 78.4
เหมืองเอกชน 4,134 1,933 -17.1 21.6
- บ้านปู 1,938 1,204 27.1 13.4
- ลานนา 1,123 474 -26 5.3
- อื่นๆ 1,073 255 -65.7 2.9
การนำเข้าถ่านหิน 4,183 2,367 20.6
Supply 21969 11322 6.3
การใช้ลิกไนต์ 17551 9,326 6.3 100
ผลิตกระแสไฟฟ้า 14,121 7,520 8.8 80.6
อุตสาหกรรม 3,430 1,807 -2.8 19.4
การใช้ถ่านหิน 4,183 2,367 20.6 100
ผลิตกระแสไฟฟ้า (SPP) 2,055 1,075 4.7 45.5
อุตสาหกรรม 2,128 1,291 38.2 54.5
Demand 21734 11693 9
2.5 น้ำมันสำเร็จรูป การใช้น้ำมันสำเร็จรูปได้ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปีก่อนโดยปริมาณการใช้ใน 6 เดือนแรกของปีนี้อยู่ที่ระดับ 593 พันบาร์เรล/วัน ลดลงร้อยละ 6.1 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2543 การใช้น้ำมันสำเร็จรูปในเดือนเมษายน ลดลงร้อยละ 6.2 พฤษภาคม และมิถุนายน ลดลงร้อยละ 6.4 และ 6.1 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2543
น้ำมันเบนซิน ปริมาณการใช้ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2544 อยู่ในระดับ 116.5 พันบาร์เรล/วันลดลงร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สาเหตุหลักมาจากมีรถแท็กซี่จำนวนหนึ่ง ปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์ไปใช้ LPG ทดแทนน้ำมันเบนซินพิเศษ และการใช้รถยนต์ ยังคงชะลอตัวอยู่ เนื่องจากราคาน้ำมันเบนซินพิเศษสูงขึ้นมาก การใช้น้ำมันเบนซินพิเศษ ลดลงร้อยละ 23.4 ในขณะที่การใช้น้ำมันเบนซินธรรมดา เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.2 ทำให้สัดส่วนการใช้น้ำมันเบนซินธรรมดา สูงขึ้นมาอยู่ในระดับร้อยละ 56 และเบนซินพิเศษ เหลือร้อยละ 44 ทั้งนี้เป็นผลจากการรณรงค์ ให้มีการใช้น้ำมัน ที่มีค่าออกเทน ให้เหมาะสมกับประเภทรถ และมาตรการดังกล่าว ได้รับการตอบรับ จากประชาชนด้วยดี ทำให้มีการใช้น้ำมันเบนซินธรรมดา (ออกเทน 87 และ 91) เพิ่มขึ้น การผลิตน้ำมันเบนซินมีจำนวน 148.6 พันบาร์เรล/วัน ยังคงมากกว่าความต้องการใช้ จึงมีการส่งออกสุทธิ 30.4 พันบาร์เรล/วัน
น้ำมันดีเซล ปริมาณการใช้ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้อยู่ในระดับ 267.4 พันบาร์เรล/วัน ลดลงร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2543 การใช้น้ำมันดีเซล ได้ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ตั้งแต่ครึ่งหลังของปีก่อนจนถึง 6 เดือนแรกปีนี้ สาเหตุส่วนหนึ่ง มาจากการใช้เป็นเชื้อเพลิง ในการผลิตไฟฟ้าลดลง ประกอบกับราคาน้ำมันดีเซลที่สูงขึ้นมาก และภาวะเศรษฐกิจโดยรวมยังไม่ดี ในขณะที่การผลิตเฉลี่ยอยู่ในระดับ 283 พันบาร์เรล/วัน น้ำมันดีเซลมีทั้งการนำเข้าและส่งออก โดยมีการส่งออกน้ำมันดีเซล (สุทธิ) เป็นจำนวน 14.9 พันบาร์เรล/วัน
น้ำมันเตา ปริมาณการใช้อยู่ในระดับ 81.5 พันบาร์เรล/วัน ลดลงถึงร้อยละ 34.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2543 ทั้งนี้เนื่องจากการใช้น้ำมันเตา ในภาคการผลิตกระแสไฟฟ้า ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ลดลงร้อยละ 74 ส่วนการใช้ในภาคอุตสาหกรรมและอื่นๆ ลดลงร้อยละ 2.4 เนื่องจากราคาน้ำมันเตาอยู่ในระดับที่สูง อาจเป็นสาเหตุให้อุตสาหกรรม บางแห่งหันไปใช้เชื้อเพลิงอื่นแทน การผลิตน้ำมันเตาอยู่ในระดับ 117 พันบาร์เรล/วัน ซึ่งสูงกว่าความต้องการใช้ เป็นผลให้มีการส่งออกน้ำมันเตา (สุทธิ) จำนวน 28.5 พันบาร์เรล/วัน
ตารางที่ 9 ปริมาณการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า
ชนิดของเชื้อเพลิง 2543 2544 (ม.ค. — มิ.ย.)
ปริมาณเชื้อเพลิง ปริมาณเชื้อเพลิง การเปลี่ยนแปลง (%)
ก๊าซธรรมชาติ (ล้านลบฟ./วัน) 1,297 1,491 16.6
น้ำมันเตา (ล้านลิตร) 2,364 405 -74.2
ลิกไนต์ (พันตัน) 14,121 7,520 8.8
ดีเซล (ล้านลิตร) 29 10.5 -52.1
น้ำมันเครื่องบิน ปริมาณการใช้ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2544 อยู่ในระดับ 64 พันบาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 จากปีก่อน ในขณะที่ผลิตได้ 71.0 พันบาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 การผลิตยังคงสูงกว่าความต้องการใช้ภายในประเทศ เป็นผลให้มีการส่งออกสุทธิ จำนวน 5.3 พันบาร์เรล/วัน
ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ปริมาณการใช้เพื่อเป็นพลังงาน (ใช้ในครัวเรือนอุตสาหกรรม และรถยนต์) ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2544 อยู่ในระดับ 63.0 พันบาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.9 เมื่อเทียบ กับช่วงเดียวกันของปีก่อน การใช้ LPG ในรถยนต์เพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 96.0 ทั้งนี้เป็นผลมาจากการนำไปใช้ ในรถแท๊กซี่ ปัจจุบันรถแท๊กซี่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเปลี่ยนมาใช้ LPG เพิ่มมากขึ้น เนื่องจาก LPG มีราคาถูกกว่าเบนซิน และการใช้ของครัวเรือนและอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นมากเช่นกัน การใช้เพื่อเป็นวัตถุดิบของ ภาคอุตสาหกรรม (Feedstock) อยู่ในระดับ 11.0 พันบาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 32.8 ปริมาณการผลิตอยู่ในระดับ 100.2 พันบาร์เรล/วัน ซึ่งสูงกว่าความต้องการใช้จึงมีการส่งออกสุทธิเป็นจำนวน 25.8 พันบาร์เรล/วัน
ตารางที่ 10 การใช้ LPG
หน่วย : พันบาร์เรลต่อวัน
2543 2544 (ม.ค. — มิ.ย.)
2544 การเปลี่ยนแปลง (%)
ครัวเรือน 43 45 10.4
อุตสาหกรรม 10 11 6.4
รถยนต์ 5 8 96
อุตสาหกรรมปิโตรเคมี 9 11 32.8
รวม 67 74 18.2
ตารางที่ 11 การผลิต การใช้ การนำเข้า และการส่งออกน้ำมันสำเร็จรู ปปี 2544
ปริมาณ (พันบาร์เรล/วัน) การเปลี่ยนแปลง (%)
การใช้ การผลิต การนำเข้า การส่งออก การใช้ การผลิต การนำเข้า การส่งออก
เบนซิน 116.5 148.6 0.5 30.9 -2.5 8.6 -42.7 111.5
- เบนซินพิเศษ 51.5 76 0.5 22.2 -23.4 -3.1 -100 194.9
- เบนซินธรรมดา 65 72.7 - 8.7 24.2 24.3 -1.9 23.2
ดีเซล 267.4 283 7.3 22.2 -2.3 1.6 -63.8 10.8
ก๊าด 0.9 8.2 - 6.2 13.3 45.4 - 53.9
น้ำมันเครื่องบิน 64 71 0.1 5.4 6.9 3.5 0 -30.5
น้ำมันเตา 81.5 117 - 28.5 -34 -4.2 -100 269
ก๊าซปิโตรเลียมเหลว 63 100.2 - 25.8 15.9 15.8 - 9.5
รวม 593.3 728 7.9 119 -6.1 4.2 -78.6 53.1
รายได้ภาษีสรรพสามิตและฐานะกองทุนน้ำมัน ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ รัฐบาลมีรายได้ภาษีสรรพสามิตจากน้ำมันสำเร็จรูปประมาณ 33,169 ล้านบาท ลดลงจากปี 2543 เป็นจำนวน 994 ล้านบาท ฐานะกองทุนน้ำมัน ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2544 ติดลบประมาณ 13,603 ล้านบาท
ตารางที่ 11 รายได้ภาษีสรรพสามิตและฐานะกองทุน
หน่วย : ล้านบาท
ฐานะกองทุนน้ำมัน รายรับ (รายจ่าย) ภาษีสรรพสามิต
ณ สิ้นปี 2535 1,930 -4,717 40,693
2536 78 -1,852 44,717
2537 -732 -810 46,969
2538 -1,116 -384 54,838
2539 787 1,903 58,899
2540 235 -552 64,768
2541 4,606 4,371 66,139
2542 4,418 -187 65,076
2543 -4,673 -9,091 65,026
2544 (ณ 30 มิ.ย. 44) -13603 -8,930 33,169
3. สถานการณ์ไฟฟ้า
3.1 กำลังการผลิตติดตั้ง กำลังการผลิตติดตั้งไฟฟ้าของ กฟผ. การรับซื้อจากเอกชนและ ไฟฟ้านำเข้า ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2544 มีจำนวน 22,335 เมกะวัตต์ โดยเป็นกำลังการผลิตติดตั้งของ กฟผ. จำนวน 15,116 เมกะวัตต์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 67.7 รับซื้อจาก IPP จำนวน 5,266 เมกะวัตต์ รับซื้อจาก SPP 1,613 เมกะวัตต์ คิดเป็นสัดส่วนโดยรวมร้อยละ 30.8 และนำเข้าจาก สปป.ลาว 340 เมกะวัตต์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.5
3.2 การผลิตพลังงานไฟฟ้า ปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้าของประเทศ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2544 มีจำนวน 51,951 กิกะวัตต์ชั่วโมง (เป็นการผลิตจาก กฟผ. ร้อยละ 60 รับซื้อจากเอกชนและนำเข้า ร้อยละ 40) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนในอัตราร้อยละ 6.3 ในขณะที่ความต้องการไฟฟ้าสูงสุดอยู่ในระดับ 16,126 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 8.1 ค่าตัวประกอบการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ย (Load Factor) อยู่ในระดับร้อยละ 74.14 ซึ่งต่ำกว่าปีที่ผ่านมา และอัตราสำรองไฟฟ้าขั้นต่ำ (Reserved Margin) อยู่ในระดับ 31.0
ตารางที่ 12 ความต้องการไฟฟ้าและค่าตัวประกอบการใช้ไฟฟ้า
พ.ศ. ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด ค่าตัวประกอบการใช้ไฟฟ้า
(เมกะวัตต์) (ร้อยละ)
2535 8,904 73.5
2536 9,839 74.2
2537 11,064 74.3
2538 12,268 74.9
2539 13,311 75.1
2540 14,506 73.5
2541 14,180 73.4
2542 13,712 76.1
2543 14,918 75.2
2544 (ม.ค.-มิ.ย.) 16,126 74.1
การผลิตพลังงานไฟฟ้าประกอบด้วยพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากแหล่งต่างๆ คือ จากก๊าซธรรมชาติ (รวม EGCO IPP และ SPP) จำนวน 35,704 กิกะวัตต์-ชั่วโมง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 69 จากลิกไนต์/ถ่านหิน (รวม SPP) จำนวน 9,868 กิกะวัตต์-ชั่วโมง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19 จากพลังน้ำ จำนวน 3,293 กิกะวัตต์-ชั่วโมง คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 6 จากน้ำมันเตาจำนวน 1,514 กิกะวัตต์-ชั่วโมง คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 3 จากนำเข้าและอื่นๆ จำนวน 1,573 กิกะวัตต์-ชั่วโมง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3
การผลิตพลังงานไฟฟ้าตามชนิดของเชื้อเพลิงที่สำคัญ พอสรุปได้ดังนี้
(ก) การผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 23.5 เนื่องจากโรงไฟฟ้าราชบุรีได้จ่ายไฟเข้าระบบของ กฟผ. โดยใช้ก๊าซธรรมชาติจากประเทศพม่า ประกอบกับบริษัท ไตรเอ็นเนอร์ยี จำกัด และบริษัท ผลิตไฟฟ้าอิสระ (ประเทศไทย) จำกัด แต่ละบริษัทมีกำลังการผลิตติดตั้ง 700 เมกะวัตต์ และเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) ได้เริ่มจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบของ กฟผ. ในช่วงต้นปี 2543 นอกจากนี้ ผู้ผลิตไฟฟ้า SPP ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง จ่ายไฟฟ้าเข้ามาเสริมในระบบ กฟผ. มากขึ้น
(ข) การผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน/ลิกไนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 เป็นการเพิ่มขึ้นในส่วนของ SPP คือ บ. ไทยโคเจนเนอเรชั่น จก. ขนาด 90 เมกะวัตต์ ใช้ถ่านหินนำเข้าเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเต็มกำลังตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม 2543 เป็นต้นมา อีกส่วนหนึ่งเพิ่มขึ้นที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
(ค) การผลิตไฟฟ้าจากน้ำมันเตาลดลงถึงร้อยละ 76.6 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการใช้น้ำมันเตาในการผลิตลดลงมากเพราะน้ำมันเตามีราคาสูง
(ง) การผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2543 ร้อยละ 2.9 เนื่องจากน้ำในเขื่อนมีปริมาณมาก
(จ) การผลิตไฟฟ้าจากน้ำมันดีเซลลดลงร้อยละ 23.1 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจาก กฟผ. ใช้เชื้อเพลิงที่มีราคาถูกกว่า เช่น ก๊าซธรรมชาติ มาทดแทนมากขึ้น
(ฉ) การนำเข้าไฟฟ้าจาก สปป. ลาว ลดลงร้อยละ 6.2
3.3 การใช้ไฟฟ้า ปริมาณการใช้ไฟฟ้า ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2544 มีจำนวน 46,169 กิกะวัตต์ ชั่วโมง ขยายตัวจากช่วงเดียวกันในปีก่อนร้อยละ 7.3 โดยสาขาธุรกิและอุตสาหรรมขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 บ้านอยู่อาศัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 และภาคเกษตรขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 ในขณะที่ทางด้าน ลูกค้าตรง กฟผ. ลดลงร้อยละ 2.4
การใช้ไฟฟ้าในเขตนครหลวง ขยายตัวขึ้นมากในอัตราร้อยละ 7.0 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยการใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นทุกสาขากล่าวคือ สาขาธุรกิจและสาขาอุตสาหกรรมมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าอยู่ในระดับ 5,743 และ 6,560 กิกะวัตต์-ชั่วโมง หรือเพิ่มขึ้นจากช่วง 6 เดือนแรกของปี 2543 คิดเป็นร้อยละ 6.4 สำหรับสาขาบ้านอยู่อาศัย การใช้ไฟฟ้าอยู่ในระดับ 3,726 กิกะวัตต์-ชั่วโมง เพิ่มขึ้นจากปี 2543 คิดเป็นร้อยละ 9.1
การใช้ไฟฟ้าในเขตภูมิภาค เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 7.8 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2543 ในสาขาธุรกิจ สาขาอุตสาหกรรม การใช้ไฟฟ้าอยู่ในระดับ 5,239 และ 14,078 กิกะวัตต์-ชั่วโมง เพิ่มขึ้นจาก ช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.4 การใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยอยู่ในระดับ 6,832 กิกะวัตต์-ชั่วโมง เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 11.1
ในส่วนลูกค้าตรงของ กฟผ. ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น โรงงานผลิตปูนซีเมนต์ ความต้องการไฟฟ้าในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2544 อยู่ในระดับ 888 กิกะวัตต์-ชั่วโมง ลดลงจากปีก่อน ร้อยละ 2.4
ตารางที่ 14 การจำหน่ายไฟฟ้าแยกตามประเภทผู้ใช้
หน่วย : กิกะวัตต์-ชั่วโมง
2543 2543 2544 (ม.ค. — มิ.ย.)
ปริมาณ อัตราเพิ่ม (%)
การใช้ไฟฟ้าในเขตนครหลวง
บ้านและที่อยู่อาศัย 6,882 3,762 9.1
ธุรกิจ 10,996 5,743 6.4
อุตสาหกรรม 12,456 6,506 6.4
อื่นๆ 1,790 935 6.4
รวม 32,124 16,946 7
การใช้ไฟฟ้าในเขตภูมิภาค
บ้านและที่อยู่อาศัย 12,511 6,832 11.1
ธุรกิจ 10,053 5,239 6.8
อุตสาหกรรม 27,016 14,078 6.8
เกษตรกรรม 154 110 13.7
อื่นๆ 3,986 2,077 6.8
รวม 53,721 28,336 7.8
ลูกค้าตรง กฟผ. 1,752 888 -2.4
รวมทั้งสิ้น 87,597 46,169 7.3
--วารสารนโยบายพลังงาน ฉบับที่ 53 กรกฎาคม-กันยายน 2544--
-ยก-