ชาวญี่ปุ่นเป็นชนชาติที่ใส่ใจในสุขภาพ จึงนิยมบริโภคกุ้งซึ่งเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ในแต่ละปีชาวญี่ปุ่นบริโภคกุ้งสูงกว่า 300,000 ตัน ขณะที่ญี่ปุ่นผลิตกุ้งได้เพียง 10% ของปริมาณการบริโภคกุ้งรวมเท่านั้น ทำให้ญี่ปุ่นต้องนำเข้ากุ้งจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ประเทศที่ครองส่วนแบ่งตลาดกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งในญี่ปุ่นมากที่สุดในปี 2543 คือ รัสเซีย รองลงมา ได้แก่ อินโดนีเซีย อินเดีย เวียดนาม และไทย ตามลำดับ
ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2544 ไทยส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งไปญี่ปุ่นสูงถึง 8.6 พันล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่า 100% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากคู่แข่งหลายรายของไทยในตลาดกุ้งเผชิญกับปัญหาโรคกุ้งระบาด ทำให้มีปริมาณผลผลิตกุ้งออกสู่ตลาดลดลง ไทยจึงสามารถขยายการส่งออกกุ้งได้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งหลังของปี 2544 คาดว่าอินโดนีเซียและอินเดียจะสามารถแก้ไขปัญหาโรคกุ้งระบาดได้และสามารถขยายการส่งออกกุ้งได้เพิ่มขึ้นซึ่งอาจส่งผลกระทบให้ผู้ส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งของไทยส่งออกได้ลดลง อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์กุ้งของไทยน่าจะได้รับผลกระทบไม่มากนักเนื่องจากผลิตภัณฑ์กุ้งไทยมีคุณภาพตามมาตรฐานของญี่ปุ่นและปลอดโรคระบาด
กฎระเบียบที่สำคัญเกี่ยวกับการนำเข้ากุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งของญี่ปุ่นพอสรุปได้ดังนี้
1. ภาษีนำเข้า ญี่ปุ่นเก็บภาษีนำเข้ากุ้งต่ำมาก แบ่งเป็น
พิกัดฮาร์โมไนซ์ สินค้า อัตรา MFN*
(สำหรับสมาชิก WTO รวมทั้งไทย) อัตราภาษีปกติ
(สำหรับประเทศอื่นๆ ที่ไม่ใช่สมาชิก WTO)
HS 0306.23-190 กุ้งสด กุ้งแช่เย็น 1.0% 4.0%
HS 0306.13-000 กุ้งแช่แข็ง 1.0% 4.0%
หมายเหตุ *อัตรา MFN (Most-Favoured Nation) คือ อัตราภาษีศุลกากรนำเข้าที่ประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ใช้เรียกเก็บจากประเทศคู่ค้าที่เป็นสมาชิก WTO ด้วยกันโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ
2. มาตรฐานการนำเข้ากุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งของญี่ปุ่น กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งที่นำเข้าต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบตามมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ (Ministry of Health and Welfare) ของญี่ปุ่นกำหนด จึงจะสามารถนำเข้าไปจำหน่ายในญี่ปุ่นได้ ที่สำคัญได้แก่
2.1 Quarantine Law เป็นกฎหมายที่กำหนดให้กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งที่นำเข้าจากประเทศที่มีการระบาดของเชื้ออหิวาตกโรค (Cholera) เช่น อินเดีย เวียดนาม ต้องผ่านการตรวจสอบก่อนการนำเข้าในญี่ปุ่น หากตรวจพบว่ากุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งที่จะนำเข้ามีเชื้ออหิวาตกโรค จะต้องนำไปกำจัดสิ่งปนเปื้อน (Decontaminate) ก่อนนำเข้าไปจำหน่ายในญี่ปุ่น ในกรณีที่ไม่สามารถกำจัดสิ่งปนเปื้อนได้ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งนั้นจะถูกทำลาย (Dispose) โดย ไม่อนุญาตให้นำเข้าไปจำหน่ายในญี่ปุ่น ทั้งนี้ ญี่ปุ่นยึดรายชื่อประเทศที่มีการระบาดของอหิวาตกโรคตามประกาศขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ซึ่งปัจจุบันไทยไม่อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการระบาดของเชื้ออหิวาตกโรค
2.2 Food Sanitation Law กำหนดให้ผู้นำเข้ากุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งเพื่อใช้บริโภคในประเทศหรือนำเข้าไปเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปต้องส่งเอกสารการนำเข้าที่เรียกว่า “Notification Form for Importation of Foods ” รวมทั้งเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้แก่เจ้าหน้าที่ Quarantine ของญี่ปุ่นภายใน 7 วันก่อนที่สินค้าดังกล่าวจะถึงท่าเรือในญี่ปุ่น โดยเจ้าหน้าที่ Quarantine ของญี่ปุ่นจะสุ่มตรวจสอบสินค้าตัวอย่าง หากพบว่าได้มาตรฐานตามที่กำหนดไว้และไม่มีสารตกค้างในระดับที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภค จึงจะอนุญาตให้นำเข้า อย่างไรก็ตาม ผู้นำเข้าในญี่ปุ่นอาจขอให้ผู้ส่งออกดำเนินการตรวจสอบสินค้าล่วงหน้าก่อนการส่งออกกับหน่วยงานของรัฐบาล ในประเทศผู้ส่งออกที่กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการของญี่ปุ่นให้การยอมรับ
3. ข้อกำหนดว่าด้วยการปิดฉลากสินค้า (Legally Required Labeling) ซึ่งอยู่ภายใต้ Food Sanitation Law กำหนดให้กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งที่นำเข้าต้องปิดฉลากสินค้าดังนี้
- กุ้งแช่แข็งแบบปอกเปลือกเป็นตัวหรือหั่นเป็นชิ้นๆ ต้องปิดฉลากสินค้าโดยระบุรายละเอียดต่างๆ เช่น ชื่อสินค้า วันหมดอายุ แหล่งกำเนิดของสินค้า ชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิต/ผู้นำเข้า โดยระบุคำว่า “Imported ” หากเป็นสินค้านำเข้า รายการของสิ่งปรุงแต่ง (ถ้ามี) วิธีการเก็บรักษา รวมทั้งต้องมีการระบุคำว่า “Defrosted ” หากเป็นสินค้าที่ต้องมีการละลายน้ำแข็งก่อนใช้ เป็นต้น
- กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งประเภทอื่นๆ กำหนดให้ระบุเพียงรายละเอียดบางรายการบนฉลากสินค้า เช่น ประเภทของสินค้า ขนาด หน่วยบรรจุ ชื่อของบริษัทที่เป็นผู้บรรจุสินค้า เป็นต้น
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กันยายน 2544--
-อน-
ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2544 ไทยส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งไปญี่ปุ่นสูงถึง 8.6 พันล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่า 100% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากคู่แข่งหลายรายของไทยในตลาดกุ้งเผชิญกับปัญหาโรคกุ้งระบาด ทำให้มีปริมาณผลผลิตกุ้งออกสู่ตลาดลดลง ไทยจึงสามารถขยายการส่งออกกุ้งได้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งหลังของปี 2544 คาดว่าอินโดนีเซียและอินเดียจะสามารถแก้ไขปัญหาโรคกุ้งระบาดได้และสามารถขยายการส่งออกกุ้งได้เพิ่มขึ้นซึ่งอาจส่งผลกระทบให้ผู้ส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งของไทยส่งออกได้ลดลง อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์กุ้งของไทยน่าจะได้รับผลกระทบไม่มากนักเนื่องจากผลิตภัณฑ์กุ้งไทยมีคุณภาพตามมาตรฐานของญี่ปุ่นและปลอดโรคระบาด
กฎระเบียบที่สำคัญเกี่ยวกับการนำเข้ากุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งของญี่ปุ่นพอสรุปได้ดังนี้
1. ภาษีนำเข้า ญี่ปุ่นเก็บภาษีนำเข้ากุ้งต่ำมาก แบ่งเป็น
พิกัดฮาร์โมไนซ์ สินค้า อัตรา MFN*
(สำหรับสมาชิก WTO รวมทั้งไทย) อัตราภาษีปกติ
(สำหรับประเทศอื่นๆ ที่ไม่ใช่สมาชิก WTO)
HS 0306.23-190 กุ้งสด กุ้งแช่เย็น 1.0% 4.0%
HS 0306.13-000 กุ้งแช่แข็ง 1.0% 4.0%
หมายเหตุ *อัตรา MFN (Most-Favoured Nation) คือ อัตราภาษีศุลกากรนำเข้าที่ประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ใช้เรียกเก็บจากประเทศคู่ค้าที่เป็นสมาชิก WTO ด้วยกันโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ
2. มาตรฐานการนำเข้ากุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งของญี่ปุ่น กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งที่นำเข้าต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบตามมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ (Ministry of Health and Welfare) ของญี่ปุ่นกำหนด จึงจะสามารถนำเข้าไปจำหน่ายในญี่ปุ่นได้ ที่สำคัญได้แก่
2.1 Quarantine Law เป็นกฎหมายที่กำหนดให้กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งที่นำเข้าจากประเทศที่มีการระบาดของเชื้ออหิวาตกโรค (Cholera) เช่น อินเดีย เวียดนาม ต้องผ่านการตรวจสอบก่อนการนำเข้าในญี่ปุ่น หากตรวจพบว่ากุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งที่จะนำเข้ามีเชื้ออหิวาตกโรค จะต้องนำไปกำจัดสิ่งปนเปื้อน (Decontaminate) ก่อนนำเข้าไปจำหน่ายในญี่ปุ่น ในกรณีที่ไม่สามารถกำจัดสิ่งปนเปื้อนได้ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งนั้นจะถูกทำลาย (Dispose) โดย ไม่อนุญาตให้นำเข้าไปจำหน่ายในญี่ปุ่น ทั้งนี้ ญี่ปุ่นยึดรายชื่อประเทศที่มีการระบาดของอหิวาตกโรคตามประกาศขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ซึ่งปัจจุบันไทยไม่อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการระบาดของเชื้ออหิวาตกโรค
2.2 Food Sanitation Law กำหนดให้ผู้นำเข้ากุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งเพื่อใช้บริโภคในประเทศหรือนำเข้าไปเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปต้องส่งเอกสารการนำเข้าที่เรียกว่า “Notification Form for Importation of Foods ” รวมทั้งเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้แก่เจ้าหน้าที่ Quarantine ของญี่ปุ่นภายใน 7 วันก่อนที่สินค้าดังกล่าวจะถึงท่าเรือในญี่ปุ่น โดยเจ้าหน้าที่ Quarantine ของญี่ปุ่นจะสุ่มตรวจสอบสินค้าตัวอย่าง หากพบว่าได้มาตรฐานตามที่กำหนดไว้และไม่มีสารตกค้างในระดับที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภค จึงจะอนุญาตให้นำเข้า อย่างไรก็ตาม ผู้นำเข้าในญี่ปุ่นอาจขอให้ผู้ส่งออกดำเนินการตรวจสอบสินค้าล่วงหน้าก่อนการส่งออกกับหน่วยงานของรัฐบาล ในประเทศผู้ส่งออกที่กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการของญี่ปุ่นให้การยอมรับ
3. ข้อกำหนดว่าด้วยการปิดฉลากสินค้า (Legally Required Labeling) ซึ่งอยู่ภายใต้ Food Sanitation Law กำหนดให้กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งที่นำเข้าต้องปิดฉลากสินค้าดังนี้
- กุ้งแช่แข็งแบบปอกเปลือกเป็นตัวหรือหั่นเป็นชิ้นๆ ต้องปิดฉลากสินค้าโดยระบุรายละเอียดต่างๆ เช่น ชื่อสินค้า วันหมดอายุ แหล่งกำเนิดของสินค้า ชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิต/ผู้นำเข้า โดยระบุคำว่า “Imported ” หากเป็นสินค้านำเข้า รายการของสิ่งปรุงแต่ง (ถ้ามี) วิธีการเก็บรักษา รวมทั้งต้องมีการระบุคำว่า “Defrosted ” หากเป็นสินค้าที่ต้องมีการละลายน้ำแข็งก่อนใช้ เป็นต้น
- กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งประเภทอื่นๆ กำหนดให้ระบุเพียงรายละเอียดบางรายการบนฉลากสินค้า เช่น ประเภทของสินค้า ขนาด หน่วยบรรจุ ชื่อของบริษัทที่เป็นผู้บรรจุสินค้า เป็นต้น
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กันยายน 2544--
-อน-