กรุงเทพฯ--2 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (29 มิถุนายน 2544) นายนรชิต สิงหเสนี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงต่อผู้สื่อข่าวว่า ศูนย์นักศึกษามณีลอยจังหวัดราชบุรีซึ่งอยู่ในความควบคุมดูแลของกระทรวงมหาดไทยนั้นจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นที่พักพิงให้กับนักศึกษาพม่าก่อนเดินทางไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สาม โดยนับตั้งแต่เปิดศูนย์ฯ มีนักศึกษาพม่าไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สามเป็นจำนวนหลายพันคน ประเทศที่สามที่รับนักศึกษาเหล่านี้ไปตั้งถิ่นฐานมีอาทิ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อังกฤษ ฯลฯ สภาความมั่นคงแห่งชาติซึ่งดูแลนโยบายเกี่ยวกับผู้หลบหนีเข้าเมืองได้กำหนดนโยบาย ในการบริหารดูแลศูนย์นักศึกษามณีลอยไว้ชัดเจน โดยนักศึกษาที่ได้เข้ามาพำนักในศูนย์ฯ อยู่ในความดูแลของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (United Nations High Commission for Refugees — UNHCR) ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย ขณะนี้เหลืออยู่ประมาณ 300 คน และในจำนวนนี้แทบทั้งหมดได้ผ่านกระบวนการเพื่อเดินทางไปตั้งถิ่นฐานยังประเทศที่สามแล้ว เพียงแต่ยังไม่ได้ เดินทางไปเนื่องจากยังอยู่ในกระบวนการดำเนินการอยู่และคาดว่าจะเดินทางหมดในปีนี้ จึงเป็น เหตุผลที่เป็นไปตามนโยบายรัฐบาลในการปิดศูนย์นักศึกษามณีลอยภายในปี 2544
อย่างไรก็ดี นอกเหนือจากนักศึกษาพม่าที่พักพิงอยู่ในศูนย์มณีลอยแล้วปรากฎว่า ได้มีชาวพม่ากลุ่มอื่นที่หลบหนีเข้าไปอยู่ในศูนย์ฯ โดยผิดกฏหมายอีกประมาณ 300 คน ซึ่งเมื่อปิด ศูนย์มณีลอยแล้วทางการไทยจะดำเนินการกับคนเหล่านี้ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง โดยอาจมีการเตรียมการส่งบุคคลเหล่านี้กลับประเทศเมื่อสถานการณ์อำนวย ในการนี้ โฆษกกระทรวงการ ต่างประเทศได้ย้ำว่า การปิดศูนย์มณีลอยเป็นนโยบายที่ดำเนินการมานานแล้วและไม่ได้เป็นผล จากการเยือนพม่าของนายกรัฐมนตรีแต่อย่างใด
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7--จบ--
-อน-
วันนี้ (29 มิถุนายน 2544) นายนรชิต สิงหเสนี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงต่อผู้สื่อข่าวว่า ศูนย์นักศึกษามณีลอยจังหวัดราชบุรีซึ่งอยู่ในความควบคุมดูแลของกระทรวงมหาดไทยนั้นจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นที่พักพิงให้กับนักศึกษาพม่าก่อนเดินทางไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สาม โดยนับตั้งแต่เปิดศูนย์ฯ มีนักศึกษาพม่าไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สามเป็นจำนวนหลายพันคน ประเทศที่สามที่รับนักศึกษาเหล่านี้ไปตั้งถิ่นฐานมีอาทิ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อังกฤษ ฯลฯ สภาความมั่นคงแห่งชาติซึ่งดูแลนโยบายเกี่ยวกับผู้หลบหนีเข้าเมืองได้กำหนดนโยบาย ในการบริหารดูแลศูนย์นักศึกษามณีลอยไว้ชัดเจน โดยนักศึกษาที่ได้เข้ามาพำนักในศูนย์ฯ อยู่ในความดูแลของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (United Nations High Commission for Refugees — UNHCR) ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย ขณะนี้เหลืออยู่ประมาณ 300 คน และในจำนวนนี้แทบทั้งหมดได้ผ่านกระบวนการเพื่อเดินทางไปตั้งถิ่นฐานยังประเทศที่สามแล้ว เพียงแต่ยังไม่ได้ เดินทางไปเนื่องจากยังอยู่ในกระบวนการดำเนินการอยู่และคาดว่าจะเดินทางหมดในปีนี้ จึงเป็น เหตุผลที่เป็นไปตามนโยบายรัฐบาลในการปิดศูนย์นักศึกษามณีลอยภายในปี 2544
อย่างไรก็ดี นอกเหนือจากนักศึกษาพม่าที่พักพิงอยู่ในศูนย์มณีลอยแล้วปรากฎว่า ได้มีชาวพม่ากลุ่มอื่นที่หลบหนีเข้าไปอยู่ในศูนย์ฯ โดยผิดกฏหมายอีกประมาณ 300 คน ซึ่งเมื่อปิด ศูนย์มณีลอยแล้วทางการไทยจะดำเนินการกับคนเหล่านี้ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง โดยอาจมีการเตรียมการส่งบุคคลเหล่านี้กลับประเทศเมื่อสถานการณ์อำนวย ในการนี้ โฆษกกระทรวงการ ต่างประเทศได้ย้ำว่า การปิดศูนย์มณีลอยเป็นนโยบายที่ดำเนินการมานานแล้วและไม่ได้เป็นผล จากการเยือนพม่าของนายกรัฐมนตรีแต่อย่างใด
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7--จบ--
-อน-