แท็ก
GDP
ฐานะการคลังช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ (ม.ค. — มี.ค. 2544)
ฐานะการคลังในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณขาดดุลเงินสด 33.0 พันล้านบาท ทำให้ขาดดุล เงินสดสะสมในช่วง 6 เดือนแรก
ของปีงบประมาณทั้งสิ้น 85.7 พันล้านบาท คาดว่าทั้งปี งบประมาณจะขาดดุลทั้งสิ้น 143.2 พันล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 2.7 ของ GDP
รายได้ไตรมาส 2 จัดเก็บได้ 170.2 พันล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน โดยรายได้ ภาษีจัดเก็บได้ลดลงตามการลดลงของภาษีเงิน
ได้นิติบุคคล สำหรับรายได้ที่มิใช่ภาษีอากร ปรับสูงขึ้น เนื่องจากมีกำไรนำส่งรัฐของรัฐวิสาหกิจบางแห่งที่คงค้างมาจากปีงบประมาณ 2543
โดยรายได้สะสมตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจัดเก็บได้ทั้งสิ้น 334.4 พันล้านบาท คาดว่า ทั้งปีงบประมาณจะจัดเก็บได้ 777.7 พันล้านบาท
รายจ่ายของรัฐบาลในไตรมาสที่ 2 เบิกจ่ายได้ 202.4 พันล้านบาท ทำให้รายจ่ายสะสมตั้งแต่ต้นปีงบประมาณเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 426.9
พันล้านบาท คาดว่าทั้งปีงบประมาณจะเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 899.9 พันล้านบาท (รวมมาตรการของรัฐบาลที่คาดว่าจะเบิกจ่ายได้ในปีงบประมาณ
2544 จำนวน 14.6 พันล้านบาท)
ในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ 2544 (มกราคม - มีนาคม) รัฐบาลขาดดุลเงินสดเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน 14.1
พันล้านบาท เนื่องจากการลดลงของภาษีเงินได้นิติบุคคล อย่างไรก็ตาม ดุลเงินสดปรับลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าจำนวน 19.7 พันล้านบาท
จากการนำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่มีการยื่นเสียภาษีประจำปี 2543 ในเดือนมีนาคม 2544 ประกอบกับรายจ่าย ของรัฐบาลในไตรมาส
นี้ปรับลดลงหลังจากที่มีการ เบิกจ่ายมากในช่วงไตรมาสแรก
ในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2544 (ตุลาคม 2543 - มีนาคม 2544) รัฐบาลขาดดุล เงินสดสะสมทั้งสิ้น 85.7
พันล้านบาท คาดว่าทั้งปี จะขาดดุลเงินสดทั้งสิ้น 143.2 พันล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 2.7 ของ GDP
ฐานะการคลังปีงบประมาณ 2544
(พันล้านบาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ปีงบประมาณ 2544
(ต.ค.- ธ.ค.) (ม.ค. - มี.ค.) (ต.ค. 43 - มี.ค. 44)
รายได้ 164.2 170.2 334.4
(D % จากระยะเดียวกันปีก่อน) (-0.8) (-5.6) (-3.3)
รายจ่าย 224.5 202.4 426.9
(D % จากระยะเดียวกันปีก่อน) -1.2 -4.2 -2.6
ปีงบประมาณปัจจุบัน 187.6 176.2 363.8
ปีงบประมาณก่อน เงินคงคลัง 36.9 - 26.1 0.1 63.0 0.1
ดุลในงบประมาณ -60.3 -32.2 -92.5
ดุลนอกงบประมาณ 7.6 -0.8 6.8
ดุลเงินสด -52.7 -33 -85.7
P/ ข้อมูลเบื้องต้น
ที่มา: กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย
รายได้
ในไตรมาส 2 (ม.ค.-มี.ค.) ของ ปีงบประมาณ 2544 รายได้นำส่งคลังมีจำนวน 170.2 พันล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียว
กันปีก่อน ร้อยละ 5.6 โดยรายได้ภาษีอากรปรับลดลงร้อยละ 8.6 ตามการปรับลดลงของภาษีเงินได้นิติบุคคล เนื่องจากฐานปีก่อนสูง
เพราะมีการเลื่อนนำส่ง ภาษีกลางปี อย่างไรก็ดี ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีจากการนำเข้าสินค้าปรับเพิ่มขึ้น นอกจากนี้รายได้ที่
มิใช่ภาษีอากร ปรับสูงขึ้นมาก เช่นกัน สำหรับรายละเอียดของรายได้ภาษี แต่ละประเภทที่สำคัญมีดังนี้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งเป็นช่วง ยื่นเสียภาษีประจำปี 2543 สูงขึ้นร้อยละ 8.2 ทั้งนี้ เป็นการเพิ่มขึ้นของรายได้ที่มิใช่
ดอกเบี้ยได้แก่ เงินเดือนและค่าจ้าง ขณะที่การจัดเก็บจากฐาน ดอกเบี้ยปรับลดลงตามการลดลงของอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
ภาษีเงินได้นิติบุคคลปรับตัวลดลงถึง ร้อยละ 54.4 เนื่องจากฐานปีก่อนสูงเพราะมีการ เลื่อนนำส่งภาษีกลางปีที่จะต้องนำส่งในเดือน
สิงหาคม 2542 มานำส่งในเดือนกุมภาพันธ์ 2543 แต่ถ้าหักผลของการเลื่อนนำส่งดังกล่าว จะขยายตัวประมาณร้อยละ 8.0 ซึ่งส่วนใหญ่
จัดเก็บได้จากบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์
ภาษีมูลค่าเพิ่มปรับตัวลดลงร้อยละ 7.8 ส่วนหนึ่งเนื่องจากการชะลอลงของการนำเข้าสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค
ภาษีสรรพสามิตปรับสูงขึ้นร้อยละ 5.1 ที่สำคัญได้แก่ แสตมป์ยาสูบและสุรา นอกจากนี้ อากรนำเข้าปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 11.2
ตามการ นำเข้าสินค้าที่เพิ่มมากขึ้น
รายได้ที่มิใช่ภาษีอากร ขยายตัวถึงร้อยละ 29.0 เนื่องจากมีการกำไรนำส่งรัฐวิสาหกิจบางแห่ง ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต
แห่งประเทศไทย และการท่าอากาศยานที่จะต้องนำส่งในปีงบระมาณ 2543 มานำส่งในปีงบประมาณ 2544 แทน
รายได้รัฐบาล (พันล้านบาท)
2543 2544
ไตรมาส 2 สะสม 6 เดือน ไตรมาส 1 ไตรมาส 2P/ สะสม 6 เดือน P/
รายได้ทั้งหมด 180.3 345.7 164.2 170.2 334.4
-0.4 -1.1 (-0.8) (-5.6) (-3.3)
ภาษี 166 307.1 149.4 151.8 301.2
(-1.7) -0.8 -5.8 (-8.6) (-1.9)
ฐานรายได้ 59.4 91.6 40.3 43.6 83.9
(-1.7) (-9.6) -25.4 (-26.6) (-8.4)
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 26.9 46 22.3 29.1 51.4
(-11.8) (-21.9) -16.3 -8.2 -11.6
ภาษีเงินได้นิติบุคคล 30.9 44 17.8 14.1 31.9
-11.1 -9.3 -36.1 (-54.4) (-27.5)
ฐานการบริโภค 81.4 163.5 81.1 79.5 160.6
(-8.2) (-0.5) (-1.3) -2.3 (-1.8)
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 34.5 70.3 37.2 31.9 69.1
(-19.8) (-2.7) -4 (-7.8) (-1.8)
ภาษีสรรพสามิต 42.4 84 40.7 44.5 85.3
-5.8 -4.7 (-2.1) -5.1 -1.5
ฐานการค้าระหว่างประเทศ 20.3 42.3 22.8 22.5 45.3
-30.8 -38.9 -3.5 -11.1 -7.2
รายได้อื่น 14.3 38.5 14.8 18.4 33.2
-32 -3.6 (-39.2) -29 (-13.9)
P/ ข้อมูลเบื้องต้น
ที่มา : กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย
รายจ่าย
รายจ่ายของรัฐบาลในไตรมาสที่ 2 ของ ปีงบประมาณมีทั้งสิ้น 202.4 พันล้านบาท จำแนก เป็นรายจ่ายจากปีงบประมาณปี
ปัจจุบัน รายจ่าย จากงบประมาณปีก่อน (carry-over) และรายจ่าย จากเงินคงคลังจำนวน 176.2, 26.1 และ 0.1 พันล้านบาท
ตามลำดับ ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ปีก่อน รายจ่ายรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 แต่ถ้า เทียบกับไตรมาสแรกของปีงบประมาณจะ
ลดลงประมาณร้อยละ 9.8 เนื่องจากได้มีการเร่งเบิกจ่ายรายจ่ายที่สำคัญในไตรมาสแรกมากแล้ว
การเบิกจ่ายสะสม 6 เดือนแรกของ ปีงบประมาณมีทั้งสิ้น 426.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีงบประมาณก่อนร้อยละ
2.6 เป็นผลจากการเร่งตัวของการเบิกจ่ายจากงบประมาณ ปีปัจจุบันที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.0 โดยมีอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 40.5 ใกล้เคียง
กับเป้าหมาย (ร้อยละ 40.9)
โดยทั้งปีงบประมาณคาดว่าอัตราเบิกจ่ายจะเป็นร้อยละ 90.5 สำหรับรายละเอียดรายจ่ายตามลักษณะงานและเศรษฐกิจมีข้อมูลเพียง 5
เดือนแรกของปีงบประมาณ 2544 โดยรายจ่ายจำแนกตามลักษณะเศรษฐกิจ ปรากฎว่ารายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 โดยรายจ่าย
เงินเดือนและค่าจ้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 แสดงถึงการควบคุม ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคคลากรของรัฐบาล ขณะที่การซื้อ สินค้าและบริการ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.8 ส่วนรายจ่าย ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 จากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา สำหรับราย
จ่ายลงทุนลดลงร้อยละ 13.7 ตามการลดลงของรายจ่ายจากงบประมาณ ปีก่อนๆ (ส่วนใหญ่เป็นงบลงทุน)
รายจ่ายจำแนกตามลักษณะงานพบว่าการ ใช้จ่ายของรัฐบาลด้านสังคมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยรายจ่ายการสังคมสงเคราะห์เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8
รายจ่ายอื่น ๆ ยังคงขยายตัวร้อยละ 8.3 ต่อเนื่องจากงบประมาณก่อน เนื่องจากมีรายจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตรเพิ่มขึ้น
รายจ่ายรัฐบาลในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ
จำแนกตามลักษณะเศรษฐกิจ
(พันล้านบาท)
2542 2543 2544
รายจ่ายจริง 322.8 340.8 355.7
รายจ่ายประจำ 233.5 260.3 286.2
(D %) -17.9 -11.5 -10
เงินเดือนและค่าจ้าง 122.3 124.6 128.5
ซื้อสินค้าและบริการ 54.9 55.2 62.8
ดอกเบี้ย 13.4 20.6 23.8
รายจ่ายลงทุน 89.3 80.5 69.5
(D %) (-30.0) (-9.8) (-13.7)
ที่มา: กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย
รายจ่ายรัฐบาลในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ
จำแนกตามลักษณะงาน
(พันล้านบาท)
2542 2543 2544
การบริหารทั่วไป 71.1 71.9 74.8
(D %) (-0.1) (-0.0) -4
การบริการชุมชน 147.1 148.3 154.8
(D %) -6.3 -0.8 -4.4
การศึกษา 86.8 (7.2) 89.5 (3.1) 90.8 (1.5)
การสังคมสงเคราะห์ 17.7 (24.6) 23.0 (29.9) 24.8 (7.8)
การเศรษฐกิจ 70.7 78.2 80.2
(D %) (-18.9) -10.6 -2.6
อื่นๆ 33.7 42.4 45.9
(D %) -34.2 -25 -8.3
รวม 322.8 340.8 355.7
(D %) (-0.9) -5.6 -4.4
ที่มา: กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ฐานะการคลังในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณขาดดุลเงินสด 33.0 พันล้านบาท ทำให้ขาดดุล เงินสดสะสมในช่วง 6 เดือนแรก
ของปีงบประมาณทั้งสิ้น 85.7 พันล้านบาท คาดว่าทั้งปี งบประมาณจะขาดดุลทั้งสิ้น 143.2 พันล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 2.7 ของ GDP
รายได้ไตรมาส 2 จัดเก็บได้ 170.2 พันล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน โดยรายได้ ภาษีจัดเก็บได้ลดลงตามการลดลงของภาษีเงิน
ได้นิติบุคคล สำหรับรายได้ที่มิใช่ภาษีอากร ปรับสูงขึ้น เนื่องจากมีกำไรนำส่งรัฐของรัฐวิสาหกิจบางแห่งที่คงค้างมาจากปีงบประมาณ 2543
โดยรายได้สะสมตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจัดเก็บได้ทั้งสิ้น 334.4 พันล้านบาท คาดว่า ทั้งปีงบประมาณจะจัดเก็บได้ 777.7 พันล้านบาท
รายจ่ายของรัฐบาลในไตรมาสที่ 2 เบิกจ่ายได้ 202.4 พันล้านบาท ทำให้รายจ่ายสะสมตั้งแต่ต้นปีงบประมาณเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 426.9
พันล้านบาท คาดว่าทั้งปีงบประมาณจะเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 899.9 พันล้านบาท (รวมมาตรการของรัฐบาลที่คาดว่าจะเบิกจ่ายได้ในปีงบประมาณ
2544 จำนวน 14.6 พันล้านบาท)
ในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ 2544 (มกราคม - มีนาคม) รัฐบาลขาดดุลเงินสดเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน 14.1
พันล้านบาท เนื่องจากการลดลงของภาษีเงินได้นิติบุคคล อย่างไรก็ตาม ดุลเงินสดปรับลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าจำนวน 19.7 พันล้านบาท
จากการนำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่มีการยื่นเสียภาษีประจำปี 2543 ในเดือนมีนาคม 2544 ประกอบกับรายจ่าย ของรัฐบาลในไตรมาส
นี้ปรับลดลงหลังจากที่มีการ เบิกจ่ายมากในช่วงไตรมาสแรก
ในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2544 (ตุลาคม 2543 - มีนาคม 2544) รัฐบาลขาดดุล เงินสดสะสมทั้งสิ้น 85.7
พันล้านบาท คาดว่าทั้งปี จะขาดดุลเงินสดทั้งสิ้น 143.2 พันล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 2.7 ของ GDP
ฐานะการคลังปีงบประมาณ 2544
(พันล้านบาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ปีงบประมาณ 2544
(ต.ค.- ธ.ค.) (ม.ค. - มี.ค.) (ต.ค. 43 - มี.ค. 44)
รายได้ 164.2 170.2 334.4
(D % จากระยะเดียวกันปีก่อน) (-0.8) (-5.6) (-3.3)
รายจ่าย 224.5 202.4 426.9
(D % จากระยะเดียวกันปีก่อน) -1.2 -4.2 -2.6
ปีงบประมาณปัจจุบัน 187.6 176.2 363.8
ปีงบประมาณก่อน เงินคงคลัง 36.9 - 26.1 0.1 63.0 0.1
ดุลในงบประมาณ -60.3 -32.2 -92.5
ดุลนอกงบประมาณ 7.6 -0.8 6.8
ดุลเงินสด -52.7 -33 -85.7
P/ ข้อมูลเบื้องต้น
ที่มา: กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย
รายได้
ในไตรมาส 2 (ม.ค.-มี.ค.) ของ ปีงบประมาณ 2544 รายได้นำส่งคลังมีจำนวน 170.2 พันล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียว
กันปีก่อน ร้อยละ 5.6 โดยรายได้ภาษีอากรปรับลดลงร้อยละ 8.6 ตามการปรับลดลงของภาษีเงินได้นิติบุคคล เนื่องจากฐานปีก่อนสูง
เพราะมีการเลื่อนนำส่ง ภาษีกลางปี อย่างไรก็ดี ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีจากการนำเข้าสินค้าปรับเพิ่มขึ้น นอกจากนี้รายได้ที่
มิใช่ภาษีอากร ปรับสูงขึ้นมาก เช่นกัน สำหรับรายละเอียดของรายได้ภาษี แต่ละประเภทที่สำคัญมีดังนี้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งเป็นช่วง ยื่นเสียภาษีประจำปี 2543 สูงขึ้นร้อยละ 8.2 ทั้งนี้ เป็นการเพิ่มขึ้นของรายได้ที่มิใช่
ดอกเบี้ยได้แก่ เงินเดือนและค่าจ้าง ขณะที่การจัดเก็บจากฐาน ดอกเบี้ยปรับลดลงตามการลดลงของอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
ภาษีเงินได้นิติบุคคลปรับตัวลดลงถึง ร้อยละ 54.4 เนื่องจากฐานปีก่อนสูงเพราะมีการ เลื่อนนำส่งภาษีกลางปีที่จะต้องนำส่งในเดือน
สิงหาคม 2542 มานำส่งในเดือนกุมภาพันธ์ 2543 แต่ถ้าหักผลของการเลื่อนนำส่งดังกล่าว จะขยายตัวประมาณร้อยละ 8.0 ซึ่งส่วนใหญ่
จัดเก็บได้จากบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์
ภาษีมูลค่าเพิ่มปรับตัวลดลงร้อยละ 7.8 ส่วนหนึ่งเนื่องจากการชะลอลงของการนำเข้าสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค
ภาษีสรรพสามิตปรับสูงขึ้นร้อยละ 5.1 ที่สำคัญได้แก่ แสตมป์ยาสูบและสุรา นอกจากนี้ อากรนำเข้าปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 11.2
ตามการ นำเข้าสินค้าที่เพิ่มมากขึ้น
รายได้ที่มิใช่ภาษีอากร ขยายตัวถึงร้อยละ 29.0 เนื่องจากมีการกำไรนำส่งรัฐวิสาหกิจบางแห่ง ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต
แห่งประเทศไทย และการท่าอากาศยานที่จะต้องนำส่งในปีงบระมาณ 2543 มานำส่งในปีงบประมาณ 2544 แทน
รายได้รัฐบาล (พันล้านบาท)
2543 2544
ไตรมาส 2 สะสม 6 เดือน ไตรมาส 1 ไตรมาส 2P/ สะสม 6 เดือน P/
รายได้ทั้งหมด 180.3 345.7 164.2 170.2 334.4
-0.4 -1.1 (-0.8) (-5.6) (-3.3)
ภาษี 166 307.1 149.4 151.8 301.2
(-1.7) -0.8 -5.8 (-8.6) (-1.9)
ฐานรายได้ 59.4 91.6 40.3 43.6 83.9
(-1.7) (-9.6) -25.4 (-26.6) (-8.4)
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 26.9 46 22.3 29.1 51.4
(-11.8) (-21.9) -16.3 -8.2 -11.6
ภาษีเงินได้นิติบุคคล 30.9 44 17.8 14.1 31.9
-11.1 -9.3 -36.1 (-54.4) (-27.5)
ฐานการบริโภค 81.4 163.5 81.1 79.5 160.6
(-8.2) (-0.5) (-1.3) -2.3 (-1.8)
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 34.5 70.3 37.2 31.9 69.1
(-19.8) (-2.7) -4 (-7.8) (-1.8)
ภาษีสรรพสามิต 42.4 84 40.7 44.5 85.3
-5.8 -4.7 (-2.1) -5.1 -1.5
ฐานการค้าระหว่างประเทศ 20.3 42.3 22.8 22.5 45.3
-30.8 -38.9 -3.5 -11.1 -7.2
รายได้อื่น 14.3 38.5 14.8 18.4 33.2
-32 -3.6 (-39.2) -29 (-13.9)
P/ ข้อมูลเบื้องต้น
ที่มา : กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย
รายจ่าย
รายจ่ายของรัฐบาลในไตรมาสที่ 2 ของ ปีงบประมาณมีทั้งสิ้น 202.4 พันล้านบาท จำแนก เป็นรายจ่ายจากปีงบประมาณปี
ปัจจุบัน รายจ่าย จากงบประมาณปีก่อน (carry-over) และรายจ่าย จากเงินคงคลังจำนวน 176.2, 26.1 และ 0.1 พันล้านบาท
ตามลำดับ ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ปีก่อน รายจ่ายรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 แต่ถ้า เทียบกับไตรมาสแรกของปีงบประมาณจะ
ลดลงประมาณร้อยละ 9.8 เนื่องจากได้มีการเร่งเบิกจ่ายรายจ่ายที่สำคัญในไตรมาสแรกมากแล้ว
การเบิกจ่ายสะสม 6 เดือนแรกของ ปีงบประมาณมีทั้งสิ้น 426.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีงบประมาณก่อนร้อยละ
2.6 เป็นผลจากการเร่งตัวของการเบิกจ่ายจากงบประมาณ ปีปัจจุบันที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.0 โดยมีอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 40.5 ใกล้เคียง
กับเป้าหมาย (ร้อยละ 40.9)
โดยทั้งปีงบประมาณคาดว่าอัตราเบิกจ่ายจะเป็นร้อยละ 90.5 สำหรับรายละเอียดรายจ่ายตามลักษณะงานและเศรษฐกิจมีข้อมูลเพียง 5
เดือนแรกของปีงบประมาณ 2544 โดยรายจ่ายจำแนกตามลักษณะเศรษฐกิจ ปรากฎว่ารายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 โดยรายจ่าย
เงินเดือนและค่าจ้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 แสดงถึงการควบคุม ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคคลากรของรัฐบาล ขณะที่การซื้อ สินค้าและบริการ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.8 ส่วนรายจ่าย ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 จากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา สำหรับราย
จ่ายลงทุนลดลงร้อยละ 13.7 ตามการลดลงของรายจ่ายจากงบประมาณ ปีก่อนๆ (ส่วนใหญ่เป็นงบลงทุน)
รายจ่ายจำแนกตามลักษณะงานพบว่าการ ใช้จ่ายของรัฐบาลด้านสังคมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยรายจ่ายการสังคมสงเคราะห์เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8
รายจ่ายอื่น ๆ ยังคงขยายตัวร้อยละ 8.3 ต่อเนื่องจากงบประมาณก่อน เนื่องจากมีรายจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตรเพิ่มขึ้น
รายจ่ายรัฐบาลในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ
จำแนกตามลักษณะเศรษฐกิจ
(พันล้านบาท)
2542 2543 2544
รายจ่ายจริง 322.8 340.8 355.7
รายจ่ายประจำ 233.5 260.3 286.2
(D %) -17.9 -11.5 -10
เงินเดือนและค่าจ้าง 122.3 124.6 128.5
ซื้อสินค้าและบริการ 54.9 55.2 62.8
ดอกเบี้ย 13.4 20.6 23.8
รายจ่ายลงทุน 89.3 80.5 69.5
(D %) (-30.0) (-9.8) (-13.7)
ที่มา: กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย
รายจ่ายรัฐบาลในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ
จำแนกตามลักษณะงาน
(พันล้านบาท)
2542 2543 2544
การบริหารทั่วไป 71.1 71.9 74.8
(D %) (-0.1) (-0.0) -4
การบริการชุมชน 147.1 148.3 154.8
(D %) -6.3 -0.8 -4.4
การศึกษา 86.8 (7.2) 89.5 (3.1) 90.8 (1.5)
การสังคมสงเคราะห์ 17.7 (24.6) 23.0 (29.9) 24.8 (7.8)
การเศรษฐกิจ 70.7 78.2 80.2
(D %) (-18.9) -10.6 -2.6
อื่นๆ 33.7 42.4 45.9
(D %) -34.2 -25 -8.3
รวม 322.8 340.8 355.7
(D %) (-0.9) -5.6 -4.4
ที่มา: กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-