บทสรุปนักลงทุน
การอบ/ตากแห้งเป็นกรรมวิธีในการถนอมอาหารทะเลชนิดหนึ่ง ซึ่งทำให้สามารถเก็บ
รักษาอาหารทะเลได้เป็นระยะเวลานานขึ้นและเป็นที่นิยมบริโภคของคนไทยและประเทศในเอ
เชียโดยเฉพาะกุ้งแห้งและปลาหมึกแห้ง อาหารทะเลตากแห้งที่ผลิตได้ส่วนใหญ่จะบริโภคภายใน
ประเทศ มีการส่งออกประมาณร้อยละ 17 ของผลผลิตทั้งหมด ปริมาณความต้องการบริโภคใน
ประเทศในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาได้ปรับตัวลดลงตามภาวะเศรษฐกิจ เนื่องจากอาหารทะเลตากแห้ง
เป็นอาหารที่มีราคาค่อนข้างสูง และประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบในบางช่วง ทำให้ราคาเพิ่มขึ้นไป
อีก แต่คาดว่าความต้องการบริโภคในประเทศจะเริ่มกระเตื้องขึ้นหลังจากภาวะเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น
ในปี 2543 สำหรับการส่งออกมีแนวโน้มลดลงเช่นกันตามการลดลงของวัตถุดิบ ส่วนการนำเข้ามี
แนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการนำเข้าปลาหมึกแห้งจากเวียดนามที่มีขนาดใหญ่และราคาต่ำกว่าปลาหมึก
แห้งในประเทศ
การผลิตอาหารทะเลตากแห้งของประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นโรงงานขนาดเล็กและอุต
สาหกรรมในครัวเรือน มีแหล่งที่ตั้งกระจายอยู่ตามจังหวัดแถบชายทะเลทั้งในภาคใต้และภาค
ตะวันออก โดยมีการจำหน่ายสินค้าผ่านตัวแทนในตลาดสดและห้องเย็นเพื่อทำการส่งออก วัตถุดิบที่
ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นกุ้งฝอยและปลาหมึกกล้วย โดยมีอัตรากำไรเฉลี่ยประมาณร้อยละ 5-6 ของราคา
ขาย
ปัญหาที่อุตสาหกรรมอาหารทะเลตากแห้งเผชิญส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาด้านต้นทุนวัตถุดิบมี
ราคาสูงและขาดแคลน ขณะที่คุณภาพของวัตถุดิบค่อนข้างต่ำโดยขนาดกุ้งที่จับได้ค่อนข้างเล็ก จาก
สภาพแวดล้อมทางทะเลของไทยที่ค่อนข้างเสื่อมโทรมและต้นทุนน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ราคาขายไม่
สามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นได้เนื่องจากตลาดมีความต้องการลดลง
การตลาด
ความต้องการในปัจจุบันและอนาคต
อาหารทะเลตากแห้ง สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลักตามวัตถุดิบ คือ ปลาหมึก
แห้ง กุ้งแห้งและหอยแห้ง โดยปลาหมึกจะมีสัดส่วนการแปรรูปโดยการตากแห้งมากที่สุดประมาณร้อย
ละ 24 ของผลผลิตปลาหมึกที่จับได้ทั้งหมด รองลงมาคือกุ้งร้อยละ 17 ของผลผลิตกุ้งทั้งหมด ใน
ขณะที่การผลิตหอยแห้งจะมีเพียงร้อยละ 1 ของผลผลิตหอยทั้งหมด ในการแปรรูปส่วนใหญ่จะเป็น
การทำให้แห้งโดยไม่ผ่านการปรุงรส โดยเฉพาะกุ้งแห้ง ส่วนปลาหมึกและหอยแห้งจะมีบางส่วนที่
ผ่านการปรุงรสโดยการใช้ส่วนผสมต่าง ๆ เพื่อให้รสชาติน่ารับประทานมากขึ้น ทางด้านราคา
จำหน่ายจะขึ้นกับขนาดและคุณภาพของผลผลิต ทั้งนี้ อาจมีการแปรตามราคาวัตถุดิบที่มักปรับตัว
ขึ้นลงตามฤดูกาล อย่างไรก็ตาม ราคากุ้งและปลาหมึกแห้งจะมีเสถียรภาพมากกว่าราคาหอยแห้ง ทำ
ให้ในช่วงที่ราคาวัตถุดิบสูงจะส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตมาก เนื่องจากผู้ผลิตส่วนใหญ่จะเป็นรายเล็กไม่มี
สถานที่เก็บรักษาเพื่อรอให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น จึงจำเป็นต้องขายผลผลิตออกไปแม้ว่าอาจจะขาดทุน
เพราะจำเป็นต้องนำเงินที่ขายได้มาเป็นทุนหมุนเวียนเพื่อทำการผลิตต่อไป
ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่สามารถจับสัตว์น้ำทะเลได้เป็นจำนวนมากในแต่ละปี และ
มีการนำไปใช้เพื่อการบริโภคในรูปแบบต่าง ๆกันทั้งการบริโภคสด และเข้าสู่อุตสาหกรรมการผลิต
ประเภทต่าง ๆ เช่น อาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็ง อาหารทะเลกระป๋อง ทำเค็มและตากแห้ง เป็นต้น
กรณีของอาหารทะเลตากแห้งนั้นจะใช้ผลผลิตสัตว์น้ำทะเลประมาณร้อยละ 3 ของผลผลิตทั้งหมด
ที่จับได้ ส่วนใหญ่เป็นกุ้งและปลาหมึก สำหรับปริมาณความต้องการอาหารทะเลตากแห้งมีแนวโน้ม
เพิ่มขึ้นตามลำดับตามจำนวนประชากรและรายได้ เนื่องจากอาหารทะลตากแห้งสามารถเก็บไว้
บริโภคได้นานและสามารถนำไปประกอบอาหารหรือรับประทานเป็นอาหารว่างได้ ตลาดส่วนใหญ่
จะเป็นตลาดเพื่อการบริโภคภายในประเทศประมาณร้อยละ 60-70 คิดเป็นปริมาณปีละ 4-5 พันตัน
อย่างไรก็ตาม จากปริมาณการจับกุ้งและปลาหมึกในแต่ละปีที่มีแนวโน้มลดลงและภาวะเศรษฐกิจใน
ประเทศที่เกิดการถดถอยตั้งแต่กลางปี 2540 ได้ทำให้ความต้องการอาหารทะเลตากแห้งในประเทศ
ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ผู้ผลิตประสบปัญหาต้นทุนการผลิตสูงขึ้นโดยเฉพาะค่าวัตถุดิบ
และพลังงาน ขณะที่ไม่สามารถปรับราคาขายเพิ่มขึ้นได้ แต่คาดว่าจากภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มปรับตัวดี
ขึ้นในปี 2543 จะทำให้ความต้องการอาหารทะเลตากแห้งเริ่มเพิ่มขึ้นอีกครั้ง
ทางด้านการค้าระหว่างประเทศของกุ้งและปลาหมึกแห้งนั้น เนื่องจากรหัสสินค้าของกรม
ศุลกากรประกอบไปด้วยกุ้งและปลาหมึกหลายประเภททั้งตากแห้ง ทำเค็มหรือแช่ในน้ำเกลือ แต่
คาดว่ากุ้งและปลาหมึกตากแห้งจะมีสัดส่วนมากที่สุด ตามสัดส่วนการผลิตอาหารทะเลตากแห้ง ทำ
ให้สามารถใช้ตัวเลขส่งออกและนำเข้าในรหัสสินค้าดังกล่าวเป็นตัวแทนของการส่งออกและนำเข้า
กุ้งและปลาหมึกแห้งได้ดี โดยปริมาณการส่งออกกุ้งและปลาหมึกแห้งซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 74 และ 26
ของปริมาณส่งออกอาหารทะเลตากแห้งทั้งหมด มีแนวโน้มลดลงเป็นลำดับจาก 2,600 ตัน ในปี 2538
เหลือเพียง 1,680 ตันในปี 2541 เท่านั้น และคาดว่าจะลดลงต่อเนื่องอีกร้อยละ 17 และ 14 เป็น 1,400
และ 1,200 ตันในปี 2542-2543 ตามลำดับ ตามการลดลงของวัตถุดิบ ทางด้านการนำเข้าซึ่งส่วนใหญ่
เป็นปลาหมึกแห้งกือบทั้งหมดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าปลาหมึกแห้งจาก
เวียดนามซึ่งมีขนาดใหญ่และราคาต่ำกว่าปลาหมึกแห้งในประเทศ โดยในปี 2541 มีการนำเข้าเพิ่ม
ขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ 96 สำหรับในปี 2542 และ 2543 คาดว่าปริมาณนำเข้าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น
ประมาณร้อยละ 35 และ 11 เป็น 1,800 และ 2,000 ตันตามลำดับ
ผู้ผลิตในปัจจุบัน (คู่แข่ง)
ปัจจุบันมีผู้ผลิตกุ้งและปลาหมึกแห้งที่ขึ้นทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมประมาณ
82 โรงาน แยกเป็นกุ้งแห้ง 59 โรงงาน และปลาหมึกแห้ง 23 โรงงาน โดยทั้งหมดเป็นโรงงานขนาด
กลางและย่อมมีจำนวนเงินทุนไม่มากนัก แหล่งที่ตั้งส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดชายทะเลแถบภาคใต้และภาค
ตะวันออก อย่างไรก็ตาม คาดว่าจำนวนผู้ผลิตอาหารทะเลตากแห้งทั้งหมดจะมากกว่าจำนวนที่กล่าว
ข้างต้น เนื่องจากยังมีการผลิตอาหารทะเลตากแห้งในรูปของอุตสาหกรรมในครัวเรือนโดยไม่ได้จด
ทะเบียนเป็นโรงงานอีกจำนวนมาก เป็นที่น่าสังเกตว่าโรงงานที่ผลิตอาหารทะเลตากแห้งส่วนใหญ่
จะผลิตอาหารทะเลตากแห้งแต่ละประเภทเป็นการเฉพาะ จะไม่ทำการผลิตอาหารทะเลตากแห้งหลาย
ประเภทในโรงงานเดียวกัน เนื่องจากกรรมวิธีการผลิตค่อนข้างมีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะปลาหมึก
แห้งจำเป็นต้องใช้แรงงานที่มีความชำนาญในการตัดแต่งปลาหมึก ซึ่งจะมีผลไปถึงการกำหนดราคา
จำหน่าย
รายชื่อผู้ประกอบการสำคัญของอุตสาหกรรมกุ้งแห้ง
ขนาดกลางและย่อม เงินทุนจดทะเบียน (บาท)
บริษัท เซ้าท์แอมซีฟู้ด จำกัด 15,000,00
นางบุปผา เพราพริ้ง 4,220,000
นายสุเต็น เหลาะเหม 4,100,000
นายสุธีรพันธ์ หนังสือ 2,650,000
นายขจร สายสกล 1,700,000
ที่มา: กรมโรงงานอุตสาหกรรม
รายชื่อผู้ประกอบการสำคัญของอุตสาหกรรมปลาหมึกแห้ง
ขนาดกลางและย่อม เงินทุนจดทะเบียน (บาท)
บริษัท ปัตตานี ดีไฮเดทฟูดส์ จำกัด 75,000,000
บริษัท บลู ซีฟูดส์ จำกัด 18,600,000
บริษัท ตั้งกิจรุ่งไพศาล จำกัด 12,600,000
บริษัท ไทยจินมี่ฟู้ดส์ จำกัด 8,500,000
บริษัท อรุณอินเตอร์เนชันแนล จำกัด 7,300,000
ที่มา: กรมโรงงานอุตสาหกรรม
ช่องทางการจำหน่าย
การจำหน่ายอาหารทะลตากแห้งส่วนใหญ่จะขายผ่านตัวแทนจำหน่ายหรือผู้ค้าในตลาดสด และมี
บางส่วนจำหน่ายให้แก่ห้องเย็นเพื่อทำการส่งออก
วัตถุดิบที่ใช้และแหล่งวัตถุดิบ
วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตกุ้งแห้ง คือ กุ้งฝอย และเกลือ สำหรับวัตถุดิบหลักในการผลิต
ปลาหมึกแห้ง คือ ปลาหมึกกล้วย ส่วนปลาหมึกกระดองและปลาหมึกสายมีเพียงเล็กน้อย โดยหาก
เป็นการผลิตปลาหมึกปรุงรสก็จะต้องมีเครื่องปรุงรสต่าง ๆเป็นวัตถุดิบด้วย ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้จะ
ศึกษาเฉพาะปลาหมึกแห้งชนิดไม่ปรุงรส ซึ่งมีสัดส่วนการผลิตมากที่สุดเท่านั้น ทางด้านแหล่งวัตถุ
ดิบจะอยู่ตามจังหวัดตามแถบชายทะเลทั้งภาคตะวันออกและภาคใต้
โครงสร้างต้นทุนการผลิต
ประเภท สัดส่วน(%)
กุ้งแห้ง ปลาหมึกแห้ง
1. วัตถุดิบ (ในประเทศทั้งหมด) 94 87
2. แรงงาน 3 10
3. โสหุ้ยการผลิต 2 3
4. ค่าเสื่อมราคาและอื่น ๆ 1 1
รวม 100 100
ที่มา: จากการสอบถามผู้ประกอบการ
กรรมวิธีการผลิต
กุ้งฝอยสด
กรณีกุ้งแห้ง |
V
ทำความสะอาดด้วย
|
V
ต้มในน้ำผสมเกลือ ด้วยเครื่องต้มไอ
นํ้าประมาณ 10 นาที
|
V
ตากแดดประมาณ 2 ชั่ว
|
V
เข้าเครื่องอบประมาณ 2 ชั่ว
|
V
เข้าเครื่องตีเพื่อแยกเปลือก
|
V
แยกสิ่งแปลกปลอม
เช่น เปลือกหอย ป ด้วย
|
V
บรรจุถุงเพื่อจำหน่าย
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
กรณีปลาหมึกแห้ง ปลาหมึกสด
|
V
ทำความสะอาดด้วย
|
V
ตัดตาและเอาหมึกดำออกด้วย
|
V
ตากแดด 1-2 วันหรือเข้าเตาอบ
|
V
บรรจุถุงรอ
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิต
เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตกุ้งแห้ง ประกอบด้วยเครื่องต้ม เครื่องอบ และเครื่องตีเปลือก ส่วน
การผลิตปลาหมึกแห้งนั้น เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนจึงมีเพียงตู้เย็นสำหรับเก็บรักษา
ปลาหมึกแห้งที่ทำการผลิตเสร็จแล้วเท่านั้น หากเป็นการผลิตที่มีขนาดใหญ่ขึ้นจำเป็นต้องมีเตาอบ
ปลาหมึกเพื่อใช้วิธีการอบแทนการตากแดดด้วย เพื่อให้สามารถทำให้การผลิตได้โดยไม่ต้องขึ้นกับ
สภาวะอากาศ
การลงทุนและการเงิน
ในการลงทุนตั้งโรงงานผลิตอาหารทะเลตากแห้ง ควรตั้งอยู่ในจังหวัดที่ติดทะเลเนื่องจาก
เป็นแหล่งวัตถุดิบ
กรณีการลงทุนผลิตกุ้งแห้งขนาดการผลิต 53 ตันต่อปี (ทำงาน 6 ชั่วโมงต่อวัน) และการ
ผลิตปลาหมึกแห้งขนาดการผลิต 12 ตันต่อปี (ทำงาน 6 ชั่วโมงต่อวัน) ประกอบด้วยเงินลงทุน
และอุปกรณ์ ดังต่อไปนี้
เงินลงทุน
กรณีกุ้งแห้ง
1. เงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนเริ่มต้น 2,030,000 บาท
- ค่าที่ดินและค่าสิ่งปลูกสร้าง 1,000,000 บาท
- ค่าเครื่องจักร 630,000 บาท
(เครื่องต้ม เครื่องอบ และเครื่องตีเปลือก)
- ค่ายานพาหนะขนส่งสินค้า 400,000 บาท
2. เงินทุนหมุนเวียนประมาณ 1,200,000 บาท/เดือน
กรณีปลาหมึกแห้ง
1.! เงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนเริ่มต้น 1,120,000 บาท
- ค่าที่ดินและค่าสิ่งปลูกสร้าง 700,000 บาท
- ค่าเครื่องจักร (ตู้เย็น) 20,000 บาท
- ค่ายานพาหนะขนส่งสินค้า 400,000 บาท
2.! เงินทุนหมุนเวียนประมาณ 180,000 บาท/เดือน
บุคลากร
การผลิตกุ้งแห้งใช้บุคลากรประมาณ 4 คน ส่วนการผลิตปลาหมึกแห้งใช้
บุคลากรประมาณ 3 คน โดยการผลิตทั้ง 2 ประเภทรวมแรงงานของเจ้าของกิจการด้วย
ค่าใช้จ่ายต่อปี
กรณีกุ้งแห้ง
ต้นทุนการขาย
1. ต้นทุนวัตถุดิบ 11,700,000 บาทต่อปี
2. ต้นทุนแรงงาน 240,000 บาทต่อปี
3. ต้นทุนค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 63,000 บาทต่อปี
4. ต้นทุนค่าโสหุ้ยการผลิต 139,000 บาทต่อปี
4.1 สาธารณูปโภค
- ค่าน้ำ 12,000 บาทต่อปี
- ค่าไฟ 70,000 บาทต่อปี
- ค่าโทรศัพท์ 12,000 บาทต่อปี
4.2! ค่าขนส่ง
- ค่าน้ำมัน 45,000 บาทต่อปี
กำไรเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 5 ของยอดขาย
หมายเหตุ: ยอดขายเฉลี่ย 53,000 กก. ราคาเฉลี่ย 240 บาท/กก. คิดเป็นรายได้ 12.72 ล้านบาท
กรณีปลาหมึกแห้ง
ต้นทุนการขาย
1. ต้นทุนวัตถุดิบ 1,800,000 บาทต่อปี
2. ต้นทุนแรงงาน 180,000 บาทต่อปี
3. ต้นทุนค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 4,000 บาทต่อปี
4. ต้นทุนค่าโสหุ้ยการผลิต 56,000 บาทต่อปี
! 4.1 สาธารณูปโภค
- ค่าน้ำ 2,000 บาทต่อปี
- ค่าไฟ 24,000 บาทต่อปี
- ค่าโทรศัพท์ 10,000 บาทต่อปี
4.2! ค่าขนส่ง
- ค่าน้ำมัน 30,000 บาทต่อปี
กำไรเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 6 ของยอดขาย
หมายเหตุ: ยอดขายเฉลี่ย 12,000 กก. ราคา 181 บาท/กก. คิดเป็นรายได้ 2.172 ล้านบาท
ภาคผนวก
ตารางที่ 1: การส่งออกกุ้งและปลาหมึกแห้งระหว่างปี พ.ศ. 2538-2542
ปี ปริมาณ (ตัน) % เปลี่ยนแปลง มูลค่า (ล้านบาท) % เปลี่ยนแปลง
2538 2,607.40 -8.49 760.26 -2.88
2539 2,110.42 -19.06 662.26 -12.89
2540 1,554.16 -26.35 485.97 -26.61
2541 1,683.75 +8.33 565.31 +16.32
2542 (ม.ค.-มิ.ย.) 709.53 -2.06 267.91 +1.00
ที่มา: กรมศุลกากร
ตารางที่ 2: ตลาดส่งออกหลักช่วง 6 เดือนแรกของปี 2542
ประเทศ สัดส่วน (%)
1.! ฮ่องกง 36.92
2.! ญี่ปุ่น 35.92
3.! สหรัฐฯ 11.97
4.! แคนาดา 3.28
5.! ออสเตรเลีย 2.56
6.! อื่น ๆ 9.35
รวม 100
ที่มา: กรมศุลกากร
ตารางที่ 3: การนำเข้ากุ้งและปลาหมึกแห้งระหว่างปี พ.ศ. 2538-2542
ปี ปริมาณ (หน่วย) % เปลี่ยนแปลง มูลค่า (ล้านบาท) % เปลี่ยนแปลง
2538 404.70 -74.00 14.90 -88.7
2539 618.11 +52.73 23.49 +57.65
2540 682.00 +10.33 68.02 +289.57
2541 1,337.65 +96.13 127.57 +87.54
2542 (ม.ค.-มิ.ย.) 933.77 +266.14 77.35 +342.50
ที่มา: กรมศุลกากร
ตารางที่ 4: ตลาดนำเข้าหลักช่วง 6 เดือนแรกของปี 2542
ประเทศ สัดส่วน (%)
1.! เวียดนาม 27.28
2.! จีน 24.60
3.! กัมพูชา 15.78
4.! ลาว 15.61
5.! ไต้หวัน 8.25
6.! อื่น ๆ 8.48
รวม 100
ที่มา: กรมศุลกากร
ราคาซื้อขาย
จะมีความหลากหลายขึ้นกับขนาดของผลผลิต โดยข้อมูลราคาที่รวบรวมได้จากกรมเศรษฐกิจการ
พาณิชย์ ปรากฏดังตารางที่ 5
ตารางที่ 5: ราคาขายส่งกุ้งแห้งและปลาหมึกแห้งตลาดกรุงเทพฯ
ปี ราคา (บาท/กก.)
กุ้งแห้ง ปลาหมึกแห้ง
2540 183 356
2541 173 357
2542 (ม.ค.-ก.ย.) 322 275
ที่มา: กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
แหล่งขายเครื่องจักร (ในประเทศหรือต่างประเทศ)
ตารางที่ 6: รายชื่อผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย
บริษัท ที่อยู่
หจก. กรุงเทพจรรยา 670-106 ซ.จรัลสนิทวงศ์ 66 บางพลัด กทม. 10700
โทร. 424-0635
กล้วยน้ำไท เซลล์แอนด์เซอร์วิส 3651/2-4 ถ.พระราม 4 พระโขนง คลองเตย กทม.
10110 โทร. 259-0189-90, 261-0864-65
บริษัท ไฮเทค เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด 4/69-71 ถ.พระราม 2 เขตบางขุนเทียน กทม. 10150
โทร. 897-0860-9
บริษัท ไทยสตรีม เซอร์วิสแอนด์ซัพพลาย จำกัด 754/31-32 สุขุมวิท 101 บางจาก พระโขนง
กทม.10260 โทร. 332-8246-7
Convenience Food Systems(Thai) Ltd. 1042 ซ.พูนสิน ถ.สุขุมวิท 66/1 แขวงบางจาก เขต
พระโขนง กทม. 10260 โทร. 361-1680-1
บริษัท รีไลอันซ์ เทค-เซอร์วิส จำกัด 396 หมู่ที่ 2 คลองแค ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน
จ.สมุทรสาคร 74130 โทร. 810-0601-5, 429-1428
ที่มา: รวบรวมโดยบริษัท ศูนย์วิจัย ไทยพาณิชย์ จำกัด
ข้อมูลที่เกี่ยวกับกฎระเบียบและการขออนุญาตต่าง ๆ
1.!การขออนุญาตตั้งโรงงาน เป็นไปตามขั้นตอนการขออนุญาตตั้งโรงงานทั่วไป ดูราย
ละเอียดได้จากคู่มือการจัดตั้งโรงงานและการขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
การอบ/ตากแห้งเป็นกรรมวิธีในการถนอมอาหารทะเลชนิดหนึ่ง ซึ่งทำให้สามารถเก็บ
รักษาอาหารทะเลได้เป็นระยะเวลานานขึ้นและเป็นที่นิยมบริโภคของคนไทยและประเทศในเอ
เชียโดยเฉพาะกุ้งแห้งและปลาหมึกแห้ง อาหารทะเลตากแห้งที่ผลิตได้ส่วนใหญ่จะบริโภคภายใน
ประเทศ มีการส่งออกประมาณร้อยละ 17 ของผลผลิตทั้งหมด ปริมาณความต้องการบริโภคใน
ประเทศในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาได้ปรับตัวลดลงตามภาวะเศรษฐกิจ เนื่องจากอาหารทะเลตากแห้ง
เป็นอาหารที่มีราคาค่อนข้างสูง และประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบในบางช่วง ทำให้ราคาเพิ่มขึ้นไป
อีก แต่คาดว่าความต้องการบริโภคในประเทศจะเริ่มกระเตื้องขึ้นหลังจากภาวะเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น
ในปี 2543 สำหรับการส่งออกมีแนวโน้มลดลงเช่นกันตามการลดลงของวัตถุดิบ ส่วนการนำเข้ามี
แนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการนำเข้าปลาหมึกแห้งจากเวียดนามที่มีขนาดใหญ่และราคาต่ำกว่าปลาหมึก
แห้งในประเทศ
การผลิตอาหารทะเลตากแห้งของประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นโรงงานขนาดเล็กและอุต
สาหกรรมในครัวเรือน มีแหล่งที่ตั้งกระจายอยู่ตามจังหวัดแถบชายทะเลทั้งในภาคใต้และภาค
ตะวันออก โดยมีการจำหน่ายสินค้าผ่านตัวแทนในตลาดสดและห้องเย็นเพื่อทำการส่งออก วัตถุดิบที่
ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นกุ้งฝอยและปลาหมึกกล้วย โดยมีอัตรากำไรเฉลี่ยประมาณร้อยละ 5-6 ของราคา
ขาย
ปัญหาที่อุตสาหกรรมอาหารทะเลตากแห้งเผชิญส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาด้านต้นทุนวัตถุดิบมี
ราคาสูงและขาดแคลน ขณะที่คุณภาพของวัตถุดิบค่อนข้างต่ำโดยขนาดกุ้งที่จับได้ค่อนข้างเล็ก จาก
สภาพแวดล้อมทางทะเลของไทยที่ค่อนข้างเสื่อมโทรมและต้นทุนน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ราคาขายไม่
สามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นได้เนื่องจากตลาดมีความต้องการลดลง
การตลาด
ความต้องการในปัจจุบันและอนาคต
อาหารทะเลตากแห้ง สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลักตามวัตถุดิบ คือ ปลาหมึก
แห้ง กุ้งแห้งและหอยแห้ง โดยปลาหมึกจะมีสัดส่วนการแปรรูปโดยการตากแห้งมากที่สุดประมาณร้อย
ละ 24 ของผลผลิตปลาหมึกที่จับได้ทั้งหมด รองลงมาคือกุ้งร้อยละ 17 ของผลผลิตกุ้งทั้งหมด ใน
ขณะที่การผลิตหอยแห้งจะมีเพียงร้อยละ 1 ของผลผลิตหอยทั้งหมด ในการแปรรูปส่วนใหญ่จะเป็น
การทำให้แห้งโดยไม่ผ่านการปรุงรส โดยเฉพาะกุ้งแห้ง ส่วนปลาหมึกและหอยแห้งจะมีบางส่วนที่
ผ่านการปรุงรสโดยการใช้ส่วนผสมต่าง ๆ เพื่อให้รสชาติน่ารับประทานมากขึ้น ทางด้านราคา
จำหน่ายจะขึ้นกับขนาดและคุณภาพของผลผลิต ทั้งนี้ อาจมีการแปรตามราคาวัตถุดิบที่มักปรับตัว
ขึ้นลงตามฤดูกาล อย่างไรก็ตาม ราคากุ้งและปลาหมึกแห้งจะมีเสถียรภาพมากกว่าราคาหอยแห้ง ทำ
ให้ในช่วงที่ราคาวัตถุดิบสูงจะส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตมาก เนื่องจากผู้ผลิตส่วนใหญ่จะเป็นรายเล็กไม่มี
สถานที่เก็บรักษาเพื่อรอให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น จึงจำเป็นต้องขายผลผลิตออกไปแม้ว่าอาจจะขาดทุน
เพราะจำเป็นต้องนำเงินที่ขายได้มาเป็นทุนหมุนเวียนเพื่อทำการผลิตต่อไป
ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่สามารถจับสัตว์น้ำทะเลได้เป็นจำนวนมากในแต่ละปี และ
มีการนำไปใช้เพื่อการบริโภคในรูปแบบต่าง ๆกันทั้งการบริโภคสด และเข้าสู่อุตสาหกรรมการผลิต
ประเภทต่าง ๆ เช่น อาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็ง อาหารทะเลกระป๋อง ทำเค็มและตากแห้ง เป็นต้น
กรณีของอาหารทะเลตากแห้งนั้นจะใช้ผลผลิตสัตว์น้ำทะเลประมาณร้อยละ 3 ของผลผลิตทั้งหมด
ที่จับได้ ส่วนใหญ่เป็นกุ้งและปลาหมึก สำหรับปริมาณความต้องการอาหารทะเลตากแห้งมีแนวโน้ม
เพิ่มขึ้นตามลำดับตามจำนวนประชากรและรายได้ เนื่องจากอาหารทะลตากแห้งสามารถเก็บไว้
บริโภคได้นานและสามารถนำไปประกอบอาหารหรือรับประทานเป็นอาหารว่างได้ ตลาดส่วนใหญ่
จะเป็นตลาดเพื่อการบริโภคภายในประเทศประมาณร้อยละ 60-70 คิดเป็นปริมาณปีละ 4-5 พันตัน
อย่างไรก็ตาม จากปริมาณการจับกุ้งและปลาหมึกในแต่ละปีที่มีแนวโน้มลดลงและภาวะเศรษฐกิจใน
ประเทศที่เกิดการถดถอยตั้งแต่กลางปี 2540 ได้ทำให้ความต้องการอาหารทะเลตากแห้งในประเทศ
ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ผู้ผลิตประสบปัญหาต้นทุนการผลิตสูงขึ้นโดยเฉพาะค่าวัตถุดิบ
และพลังงาน ขณะที่ไม่สามารถปรับราคาขายเพิ่มขึ้นได้ แต่คาดว่าจากภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มปรับตัวดี
ขึ้นในปี 2543 จะทำให้ความต้องการอาหารทะเลตากแห้งเริ่มเพิ่มขึ้นอีกครั้ง
ทางด้านการค้าระหว่างประเทศของกุ้งและปลาหมึกแห้งนั้น เนื่องจากรหัสสินค้าของกรม
ศุลกากรประกอบไปด้วยกุ้งและปลาหมึกหลายประเภททั้งตากแห้ง ทำเค็มหรือแช่ในน้ำเกลือ แต่
คาดว่ากุ้งและปลาหมึกตากแห้งจะมีสัดส่วนมากที่สุด ตามสัดส่วนการผลิตอาหารทะเลตากแห้ง ทำ
ให้สามารถใช้ตัวเลขส่งออกและนำเข้าในรหัสสินค้าดังกล่าวเป็นตัวแทนของการส่งออกและนำเข้า
กุ้งและปลาหมึกแห้งได้ดี โดยปริมาณการส่งออกกุ้งและปลาหมึกแห้งซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 74 และ 26
ของปริมาณส่งออกอาหารทะเลตากแห้งทั้งหมด มีแนวโน้มลดลงเป็นลำดับจาก 2,600 ตัน ในปี 2538
เหลือเพียง 1,680 ตันในปี 2541 เท่านั้น และคาดว่าจะลดลงต่อเนื่องอีกร้อยละ 17 และ 14 เป็น 1,400
และ 1,200 ตันในปี 2542-2543 ตามลำดับ ตามการลดลงของวัตถุดิบ ทางด้านการนำเข้าซึ่งส่วนใหญ่
เป็นปลาหมึกแห้งกือบทั้งหมดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าปลาหมึกแห้งจาก
เวียดนามซึ่งมีขนาดใหญ่และราคาต่ำกว่าปลาหมึกแห้งในประเทศ โดยในปี 2541 มีการนำเข้าเพิ่ม
ขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ 96 สำหรับในปี 2542 และ 2543 คาดว่าปริมาณนำเข้าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น
ประมาณร้อยละ 35 และ 11 เป็น 1,800 และ 2,000 ตันตามลำดับ
ผู้ผลิตในปัจจุบัน (คู่แข่ง)
ปัจจุบันมีผู้ผลิตกุ้งและปลาหมึกแห้งที่ขึ้นทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมประมาณ
82 โรงาน แยกเป็นกุ้งแห้ง 59 โรงงาน และปลาหมึกแห้ง 23 โรงงาน โดยทั้งหมดเป็นโรงงานขนาด
กลางและย่อมมีจำนวนเงินทุนไม่มากนัก แหล่งที่ตั้งส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดชายทะเลแถบภาคใต้และภาค
ตะวันออก อย่างไรก็ตาม คาดว่าจำนวนผู้ผลิตอาหารทะเลตากแห้งทั้งหมดจะมากกว่าจำนวนที่กล่าว
ข้างต้น เนื่องจากยังมีการผลิตอาหารทะเลตากแห้งในรูปของอุตสาหกรรมในครัวเรือนโดยไม่ได้จด
ทะเบียนเป็นโรงงานอีกจำนวนมาก เป็นที่น่าสังเกตว่าโรงงานที่ผลิตอาหารทะเลตากแห้งส่วนใหญ่
จะผลิตอาหารทะเลตากแห้งแต่ละประเภทเป็นการเฉพาะ จะไม่ทำการผลิตอาหารทะเลตากแห้งหลาย
ประเภทในโรงงานเดียวกัน เนื่องจากกรรมวิธีการผลิตค่อนข้างมีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะปลาหมึก
แห้งจำเป็นต้องใช้แรงงานที่มีความชำนาญในการตัดแต่งปลาหมึก ซึ่งจะมีผลไปถึงการกำหนดราคา
จำหน่าย
รายชื่อผู้ประกอบการสำคัญของอุตสาหกรรมกุ้งแห้ง
ขนาดกลางและย่อม เงินทุนจดทะเบียน (บาท)
บริษัท เซ้าท์แอมซีฟู้ด จำกัด 15,000,00
นางบุปผา เพราพริ้ง 4,220,000
นายสุเต็น เหลาะเหม 4,100,000
นายสุธีรพันธ์ หนังสือ 2,650,000
นายขจร สายสกล 1,700,000
ที่มา: กรมโรงงานอุตสาหกรรม
รายชื่อผู้ประกอบการสำคัญของอุตสาหกรรมปลาหมึกแห้ง
ขนาดกลางและย่อม เงินทุนจดทะเบียน (บาท)
บริษัท ปัตตานี ดีไฮเดทฟูดส์ จำกัด 75,000,000
บริษัท บลู ซีฟูดส์ จำกัด 18,600,000
บริษัท ตั้งกิจรุ่งไพศาล จำกัด 12,600,000
บริษัท ไทยจินมี่ฟู้ดส์ จำกัด 8,500,000
บริษัท อรุณอินเตอร์เนชันแนล จำกัด 7,300,000
ที่มา: กรมโรงงานอุตสาหกรรม
ช่องทางการจำหน่าย
การจำหน่ายอาหารทะลตากแห้งส่วนใหญ่จะขายผ่านตัวแทนจำหน่ายหรือผู้ค้าในตลาดสด และมี
บางส่วนจำหน่ายให้แก่ห้องเย็นเพื่อทำการส่งออก
วัตถุดิบที่ใช้และแหล่งวัตถุดิบ
วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตกุ้งแห้ง คือ กุ้งฝอย และเกลือ สำหรับวัตถุดิบหลักในการผลิต
ปลาหมึกแห้ง คือ ปลาหมึกกล้วย ส่วนปลาหมึกกระดองและปลาหมึกสายมีเพียงเล็กน้อย โดยหาก
เป็นการผลิตปลาหมึกปรุงรสก็จะต้องมีเครื่องปรุงรสต่าง ๆเป็นวัตถุดิบด้วย ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้จะ
ศึกษาเฉพาะปลาหมึกแห้งชนิดไม่ปรุงรส ซึ่งมีสัดส่วนการผลิตมากที่สุดเท่านั้น ทางด้านแหล่งวัตถุ
ดิบจะอยู่ตามจังหวัดตามแถบชายทะเลทั้งภาคตะวันออกและภาคใต้
โครงสร้างต้นทุนการผลิต
ประเภท สัดส่วน(%)
กุ้งแห้ง ปลาหมึกแห้ง
1. วัตถุดิบ (ในประเทศทั้งหมด) 94 87
2. แรงงาน 3 10
3. โสหุ้ยการผลิต 2 3
4. ค่าเสื่อมราคาและอื่น ๆ 1 1
รวม 100 100
ที่มา: จากการสอบถามผู้ประกอบการ
กรรมวิธีการผลิต
กุ้งฝอยสด
กรณีกุ้งแห้ง |
V
ทำความสะอาดด้วย
|
V
ต้มในน้ำผสมเกลือ ด้วยเครื่องต้มไอ
นํ้าประมาณ 10 นาที
|
V
ตากแดดประมาณ 2 ชั่ว
|
V
เข้าเครื่องอบประมาณ 2 ชั่ว
|
V
เข้าเครื่องตีเพื่อแยกเปลือก
|
V
แยกสิ่งแปลกปลอม
เช่น เปลือกหอย ป ด้วย
|
V
บรรจุถุงเพื่อจำหน่าย
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
กรณีปลาหมึกแห้ง ปลาหมึกสด
|
V
ทำความสะอาดด้วย
|
V
ตัดตาและเอาหมึกดำออกด้วย
|
V
ตากแดด 1-2 วันหรือเข้าเตาอบ
|
V
บรรจุถุงรอ
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิต
เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตกุ้งแห้ง ประกอบด้วยเครื่องต้ม เครื่องอบ และเครื่องตีเปลือก ส่วน
การผลิตปลาหมึกแห้งนั้น เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนจึงมีเพียงตู้เย็นสำหรับเก็บรักษา
ปลาหมึกแห้งที่ทำการผลิตเสร็จแล้วเท่านั้น หากเป็นการผลิตที่มีขนาดใหญ่ขึ้นจำเป็นต้องมีเตาอบ
ปลาหมึกเพื่อใช้วิธีการอบแทนการตากแดดด้วย เพื่อให้สามารถทำให้การผลิตได้โดยไม่ต้องขึ้นกับ
สภาวะอากาศ
การลงทุนและการเงิน
ในการลงทุนตั้งโรงงานผลิตอาหารทะเลตากแห้ง ควรตั้งอยู่ในจังหวัดที่ติดทะเลเนื่องจาก
เป็นแหล่งวัตถุดิบ
กรณีการลงทุนผลิตกุ้งแห้งขนาดการผลิต 53 ตันต่อปี (ทำงาน 6 ชั่วโมงต่อวัน) และการ
ผลิตปลาหมึกแห้งขนาดการผลิต 12 ตันต่อปี (ทำงาน 6 ชั่วโมงต่อวัน) ประกอบด้วยเงินลงทุน
และอุปกรณ์ ดังต่อไปนี้
เงินลงทุน
กรณีกุ้งแห้ง
1. เงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนเริ่มต้น 2,030,000 บาท
- ค่าที่ดินและค่าสิ่งปลูกสร้าง 1,000,000 บาท
- ค่าเครื่องจักร 630,000 บาท
(เครื่องต้ม เครื่องอบ และเครื่องตีเปลือก)
- ค่ายานพาหนะขนส่งสินค้า 400,000 บาท
2. เงินทุนหมุนเวียนประมาณ 1,200,000 บาท/เดือน
กรณีปลาหมึกแห้ง
1.! เงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนเริ่มต้น 1,120,000 บาท
- ค่าที่ดินและค่าสิ่งปลูกสร้าง 700,000 บาท
- ค่าเครื่องจักร (ตู้เย็น) 20,000 บาท
- ค่ายานพาหนะขนส่งสินค้า 400,000 บาท
2.! เงินทุนหมุนเวียนประมาณ 180,000 บาท/เดือน
บุคลากร
การผลิตกุ้งแห้งใช้บุคลากรประมาณ 4 คน ส่วนการผลิตปลาหมึกแห้งใช้
บุคลากรประมาณ 3 คน โดยการผลิตทั้ง 2 ประเภทรวมแรงงานของเจ้าของกิจการด้วย
ค่าใช้จ่ายต่อปี
กรณีกุ้งแห้ง
ต้นทุนการขาย
1. ต้นทุนวัตถุดิบ 11,700,000 บาทต่อปี
2. ต้นทุนแรงงาน 240,000 บาทต่อปี
3. ต้นทุนค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 63,000 บาทต่อปี
4. ต้นทุนค่าโสหุ้ยการผลิต 139,000 บาทต่อปี
4.1 สาธารณูปโภค
- ค่าน้ำ 12,000 บาทต่อปี
- ค่าไฟ 70,000 บาทต่อปี
- ค่าโทรศัพท์ 12,000 บาทต่อปี
4.2! ค่าขนส่ง
- ค่าน้ำมัน 45,000 บาทต่อปี
กำไรเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 5 ของยอดขาย
หมายเหตุ: ยอดขายเฉลี่ย 53,000 กก. ราคาเฉลี่ย 240 บาท/กก. คิดเป็นรายได้ 12.72 ล้านบาท
กรณีปลาหมึกแห้ง
ต้นทุนการขาย
1. ต้นทุนวัตถุดิบ 1,800,000 บาทต่อปี
2. ต้นทุนแรงงาน 180,000 บาทต่อปี
3. ต้นทุนค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 4,000 บาทต่อปี
4. ต้นทุนค่าโสหุ้ยการผลิต 56,000 บาทต่อปี
! 4.1 สาธารณูปโภค
- ค่าน้ำ 2,000 บาทต่อปี
- ค่าไฟ 24,000 บาทต่อปี
- ค่าโทรศัพท์ 10,000 บาทต่อปี
4.2! ค่าขนส่ง
- ค่าน้ำมัน 30,000 บาทต่อปี
กำไรเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 6 ของยอดขาย
หมายเหตุ: ยอดขายเฉลี่ย 12,000 กก. ราคา 181 บาท/กก. คิดเป็นรายได้ 2.172 ล้านบาท
ภาคผนวก
ตารางที่ 1: การส่งออกกุ้งและปลาหมึกแห้งระหว่างปี พ.ศ. 2538-2542
ปี ปริมาณ (ตัน) % เปลี่ยนแปลง มูลค่า (ล้านบาท) % เปลี่ยนแปลง
2538 2,607.40 -8.49 760.26 -2.88
2539 2,110.42 -19.06 662.26 -12.89
2540 1,554.16 -26.35 485.97 -26.61
2541 1,683.75 +8.33 565.31 +16.32
2542 (ม.ค.-มิ.ย.) 709.53 -2.06 267.91 +1.00
ที่มา: กรมศุลกากร
ตารางที่ 2: ตลาดส่งออกหลักช่วง 6 เดือนแรกของปี 2542
ประเทศ สัดส่วน (%)
1.! ฮ่องกง 36.92
2.! ญี่ปุ่น 35.92
3.! สหรัฐฯ 11.97
4.! แคนาดา 3.28
5.! ออสเตรเลีย 2.56
6.! อื่น ๆ 9.35
รวม 100
ที่มา: กรมศุลกากร
ตารางที่ 3: การนำเข้ากุ้งและปลาหมึกแห้งระหว่างปี พ.ศ. 2538-2542
ปี ปริมาณ (หน่วย) % เปลี่ยนแปลง มูลค่า (ล้านบาท) % เปลี่ยนแปลง
2538 404.70 -74.00 14.90 -88.7
2539 618.11 +52.73 23.49 +57.65
2540 682.00 +10.33 68.02 +289.57
2541 1,337.65 +96.13 127.57 +87.54
2542 (ม.ค.-มิ.ย.) 933.77 +266.14 77.35 +342.50
ที่มา: กรมศุลกากร
ตารางที่ 4: ตลาดนำเข้าหลักช่วง 6 เดือนแรกของปี 2542
ประเทศ สัดส่วน (%)
1.! เวียดนาม 27.28
2.! จีน 24.60
3.! กัมพูชา 15.78
4.! ลาว 15.61
5.! ไต้หวัน 8.25
6.! อื่น ๆ 8.48
รวม 100
ที่มา: กรมศุลกากร
ราคาซื้อขาย
จะมีความหลากหลายขึ้นกับขนาดของผลผลิต โดยข้อมูลราคาที่รวบรวมได้จากกรมเศรษฐกิจการ
พาณิชย์ ปรากฏดังตารางที่ 5
ตารางที่ 5: ราคาขายส่งกุ้งแห้งและปลาหมึกแห้งตลาดกรุงเทพฯ
ปี ราคา (บาท/กก.)
กุ้งแห้ง ปลาหมึกแห้ง
2540 183 356
2541 173 357
2542 (ม.ค.-ก.ย.) 322 275
ที่มา: กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
แหล่งขายเครื่องจักร (ในประเทศหรือต่างประเทศ)
ตารางที่ 6: รายชื่อผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย
บริษัท ที่อยู่
หจก. กรุงเทพจรรยา 670-106 ซ.จรัลสนิทวงศ์ 66 บางพลัด กทม. 10700
โทร. 424-0635
กล้วยน้ำไท เซลล์แอนด์เซอร์วิส 3651/2-4 ถ.พระราม 4 พระโขนง คลองเตย กทม.
10110 โทร. 259-0189-90, 261-0864-65
บริษัท ไฮเทค เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด 4/69-71 ถ.พระราม 2 เขตบางขุนเทียน กทม. 10150
โทร. 897-0860-9
บริษัท ไทยสตรีม เซอร์วิสแอนด์ซัพพลาย จำกัด 754/31-32 สุขุมวิท 101 บางจาก พระโขนง
กทม.10260 โทร. 332-8246-7
Convenience Food Systems(Thai) Ltd. 1042 ซ.พูนสิน ถ.สุขุมวิท 66/1 แขวงบางจาก เขต
พระโขนง กทม. 10260 โทร. 361-1680-1
บริษัท รีไลอันซ์ เทค-เซอร์วิส จำกัด 396 หมู่ที่ 2 คลองแค ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน
จ.สมุทรสาคร 74130 โทร. 810-0601-5, 429-1428
ที่มา: รวบรวมโดยบริษัท ศูนย์วิจัย ไทยพาณิชย์ จำกัด
ข้อมูลที่เกี่ยวกับกฎระเบียบและการขออนุญาตต่าง ๆ
1.!การขออนุญาตตั้งโรงงาน เป็นไปตามขั้นตอนการขออนุญาตตั้งโรงงานทั่วไป ดูราย
ละเอียดได้จากคู่มือการจัดตั้งโรงงานและการขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--