ข่าวในประเทศ
1. ธปท.รายงานเรื่องหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อ ครม.เศรษฐกิจ นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา รองผู้ว่าการ ธปท.กล่าวถึงความคืบหน้าในการแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) และการปรับโครงสร้างหนี้ที่ได้รายงานต่อ ครม.เศรษฐกิจว่า ในเดือน ส.ค.43 ยอดคงค้างเอ็นพีแอลอยู่ที่ระดับร้อยละ 31.24 ของสินเชื่อรวม หรือลดลงประมาณ 3,800 ล.บาท ซึ่งเป็นจำนวนค่อนข้างน้อย แต่หากมีการโอนเอ็นพีแอลของ ธ.กรุงไทยจำนวน 5 แสน ล.บาทไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์ (เอเอ็มซี) สุขุมวิท จะทำให้เอ็นพีแอลทั้งระบบ ณ สิ้นเดือน ก.ย.43 ลดลงเหลือร้อยละ 20 ของสินเชื่อรวม การจะให้เอ็นพีแอลทั้งระบบปรับลดเหลือร้อยละ 7.4 ภายในสิ้นปี 43 ตามที่ ธปท.เคยประมาณการไว้ คงเป็นไปได้ยาก เนื่องจากอุปสรรคเรื่องความล่าช้าในการจัดตั้งเอเอ็มซีของ ธพ. การโอนหนี้เสียไปยังเอเอ็มซี รวมทั้งกระบวนการชั้นศาลในการปรับโครงสร้างหนี้ (มติชน 10)
2. ความคืบหน้าการพิจารณาเงื่อนไขสัญญาการขาย ธ.ศรีนคร นายรัฐกรณ์ นิ่มวัฒนา ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.ในฐานะกรรมการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ ได้ตกลงให้บริษัทแม่ของ เอชเอสบีซี ประเทศเนเธอร์แลนด์ สามารถจ่ายค่าหุ้นของ ธ.ศรีนคร ที่ซื้อจากกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 16,000 ล.บาท โดยไม่ต้องมีผู้ค้ำประกันได้ตามที่เสนอมา เพราะเห็นว่ามีสินทรัพย์สูงถึง 20,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. แต่บริษัทแม่ของเอชเอสบีซีต้องดำรงเงินสำรองสุทธิให้มีสินทรัพย์ไม่ต่ำกว่า 5,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. หากมีสินทรัพย์ต่ำกว่าต้องดำเนินการให้ได้ภายใน 45 วัน แต่ถ้าไม่สามารถดำเนินการได้ตามสัญญา กองทุนฟื้นฟูฯ สามารถนำตั๋วสัญญาใช้เงินไปขึ้นเป็นเงินสดได้ทันที (เดลินิวส์ 10)
3. ธ.กรุงศรีอยุธยาประมาณการว่าเศรษฐกิจในปี 44 จะขยายตัวร้อยละ 4.3 เทียบกับร้อยละ 4.2 ในปี 43 กลุ่มวิชาการ ธ.กรุงศรีอยุธยา จำกัด ระบุแนวโน้มเศรษฐกิจในปี 44 ว่า หากปัจจัยภายนอกประเทศโดยเฉพาะเศรษฐกิจของ สรอ. และญี่ปุ่น มีการเจริญเติบโตที่แข็งแกร่ง จะส่งผลดีต่อภาคการส่งออกไทย เนื่องจากมูลค่าการส่งออกไปยัง สรอ.และญี่ปุ่นมีสัดส่วนเป็นอันดับ 1 และ 4 ของมูลค่าการส่งออกตามลำดับ และเมื่อสามารถแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) การจัดการด้านการบริหารหนี้สาธารณะและราคาสินค้าเกษตรฟื้นตัว จะส่งผลให้เศรษฐกิจฟื้นตัว สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศได้ ทำให้เงินทุนไหลกลับเข้ามาในระดับหนึ่ง ประชาชนจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ จากสมมติฐานค่าเงินบาทที่ระดับเฉลี่ย 40 บาท/ดอลลาร์ และราคาน้ำมันดิบที่บาร์เรลละ 27 ดอลลาร์ คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 44 จะมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 4.3 เทียบกับร้อยละ 4.2 ในปี 43 โดยมีปัจจัยหนุนที่สำคัญคือ การส่งออก การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค และการลงทุนภาคเอกชน (แนวหน้า 10)
4. ไทยเป็นประเทศที่มึความพร้อมทางด้าน E-BUSINESS อยู่ในอันดับที่ 28 ก.วิทยาศาสตร์และ สศช.รายงานต่อ ครม.เศรษฐกิจว่า The Economics Intelligent Unit จัดอันดับไทยเป็นประเทศที่ 28 จาก 60 ประเทศ ที่มีความพร้อมด้าน E-BUSINESS รองจากสิงคโปร์ แต่สูงกว่ามาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และจีน (วัฏจักร 10)
ข่าวต่างประเทศ
1. ผลผลิตอุตสาหกรรมของมาเลเซียเพิ่มขึ้นในเดือน ส.ค. 43 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 9 ต.ค. 43 ทบวงสถิติของมาเลเซีย เปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 43 ผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.7 จากระยะเดียวกันปี 42 เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมการผลิตเติบโตอย่างแข็งแกร่ง สนับสนุนให้คาดหมายว่าผลิตภัณฑ์ในประเทศ ( GDP) จะขยายตัวอย่างมากในปี 43 อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์เตือนว่า การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักของอุตสาหกรรมการผลิต อาจจะเติบโตชะลอลงในช่วงครึ่งแรกปี 44 หากความต้องการจากประเทศ สรอ. มีความผันผวน สำหรับในช่วง เดือน ม.ค.-ส.ค. 43 ผลผลิตอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.2 ขณะเดียวกัน ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมการผลิตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 27.8 จากระยะเดียวกันของปี 42 เนื่องจากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นอย่างมาก นาย Pin Tan นักเศรษฐศาสตร์ของ JP Morgan กล่าวว่า ตัวเลขผลผลิตฯในเดือน ส.ค. 43 ต่ำกว่าเล็กน้อยจากประมาณการของตลาด แต่อัตราการเติบโตยังอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง (รอยเตอร์ 9)
2. ราคาผลผลิตของอังกฤษเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือน ก.ย.43 รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 9 ต.ค.43 สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษรายงานว่า เดือน ก.ย.43 ราคาผลผลิตสินค้าอุตสาหกรรมของโรงงาน ก่อนปรับฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.3 ในเดือน ส.ค.43 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เทียบต่อปี ซึ่งเพิ่มในอัตราเดียวกันกับเดือน ส.ค.43 โดยมีสาเหตุมาจากราคาน้ำมันดิบและราคาน้ำมันเบนซินสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ราคาผลผลิตฯ ที่เป็นแกน ซึ่งไม่รวมราคาอาหาร เครื่องดื่ม ยาสูบ และราคาน้ำมัน ที่ผันผวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 หลังจากปรับฤดูกาล เทียบกับที่ไม่เปลี่ยนแปลงในเดือน ส.ค.43 นับเป็นอัตราการเพิ่มสูงสุดตั้งแต่เดือน พ.ย.42 หรือหากเทียบต่อปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เท่ากับเดือน ส.ค.43 ทางด้านราคาวัตถุดิบ ปรับฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ในเดือน ส.ค.43 หากเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 ในเดือน ส.ค.43 เพิ่มสูงเกินความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ โดยมีสาเหตุมาจากราคาน้ำมันดิบเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งในเดือน ก.ย.43 เพียงเดือนเดียว ราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 17.1 ส่วนราคาวัตถุดิบที่เป็นแกน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 เทียบต่อปี ทั้งนี้ สำนักงานฯ กล่าวว่า ราคาผลผลิตจะอ่อนตัวลงในเดือนต่อไป เนื่องจากราคาน้ำมันได้ลดลงในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา (รอยเตอร์ 9)
3. ดัชนีราคาขายส่งภายในประเทศของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือน ก.ย. 43 รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 10 ต.ค. 43 เดือน ก.ย. 43 ดัชนีราคาขายส่งภายในประเทศ (WPI) อยู่ที่ระดับร้อยละ 96.2 ลดลงร้อยละ 0.1 เทียบต่อเดือน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เทียบต่อปี (รอยเตอร์9)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 9 ต.ค. 43 42.521 (42.379)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 9 ต.ค. 43
ซื้อ 42.3496 (42.1963) ขาย 42.6602 (42.5052)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,400 (5,400) ขาย 5,500 (5,500)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 30.72 (29.43)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.19 (16.19) ดีเซลหมุนเร็ว 14.44 (14.44)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.รายงานเรื่องหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อ ครม.เศรษฐกิจ นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา รองผู้ว่าการ ธปท.กล่าวถึงความคืบหน้าในการแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) และการปรับโครงสร้างหนี้ที่ได้รายงานต่อ ครม.เศรษฐกิจว่า ในเดือน ส.ค.43 ยอดคงค้างเอ็นพีแอลอยู่ที่ระดับร้อยละ 31.24 ของสินเชื่อรวม หรือลดลงประมาณ 3,800 ล.บาท ซึ่งเป็นจำนวนค่อนข้างน้อย แต่หากมีการโอนเอ็นพีแอลของ ธ.กรุงไทยจำนวน 5 แสน ล.บาทไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์ (เอเอ็มซี) สุขุมวิท จะทำให้เอ็นพีแอลทั้งระบบ ณ สิ้นเดือน ก.ย.43 ลดลงเหลือร้อยละ 20 ของสินเชื่อรวม การจะให้เอ็นพีแอลทั้งระบบปรับลดเหลือร้อยละ 7.4 ภายในสิ้นปี 43 ตามที่ ธปท.เคยประมาณการไว้ คงเป็นไปได้ยาก เนื่องจากอุปสรรคเรื่องความล่าช้าในการจัดตั้งเอเอ็มซีของ ธพ. การโอนหนี้เสียไปยังเอเอ็มซี รวมทั้งกระบวนการชั้นศาลในการปรับโครงสร้างหนี้ (มติชน 10)
2. ความคืบหน้าการพิจารณาเงื่อนไขสัญญาการขาย ธ.ศรีนคร นายรัฐกรณ์ นิ่มวัฒนา ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.ในฐานะกรรมการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ ได้ตกลงให้บริษัทแม่ของ เอชเอสบีซี ประเทศเนเธอร์แลนด์ สามารถจ่ายค่าหุ้นของ ธ.ศรีนคร ที่ซื้อจากกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 16,000 ล.บาท โดยไม่ต้องมีผู้ค้ำประกันได้ตามที่เสนอมา เพราะเห็นว่ามีสินทรัพย์สูงถึง 20,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. แต่บริษัทแม่ของเอชเอสบีซีต้องดำรงเงินสำรองสุทธิให้มีสินทรัพย์ไม่ต่ำกว่า 5,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. หากมีสินทรัพย์ต่ำกว่าต้องดำเนินการให้ได้ภายใน 45 วัน แต่ถ้าไม่สามารถดำเนินการได้ตามสัญญา กองทุนฟื้นฟูฯ สามารถนำตั๋วสัญญาใช้เงินไปขึ้นเป็นเงินสดได้ทันที (เดลินิวส์ 10)
3. ธ.กรุงศรีอยุธยาประมาณการว่าเศรษฐกิจในปี 44 จะขยายตัวร้อยละ 4.3 เทียบกับร้อยละ 4.2 ในปี 43 กลุ่มวิชาการ ธ.กรุงศรีอยุธยา จำกัด ระบุแนวโน้มเศรษฐกิจในปี 44 ว่า หากปัจจัยภายนอกประเทศโดยเฉพาะเศรษฐกิจของ สรอ. และญี่ปุ่น มีการเจริญเติบโตที่แข็งแกร่ง จะส่งผลดีต่อภาคการส่งออกไทย เนื่องจากมูลค่าการส่งออกไปยัง สรอ.และญี่ปุ่นมีสัดส่วนเป็นอันดับ 1 และ 4 ของมูลค่าการส่งออกตามลำดับ และเมื่อสามารถแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) การจัดการด้านการบริหารหนี้สาธารณะและราคาสินค้าเกษตรฟื้นตัว จะส่งผลให้เศรษฐกิจฟื้นตัว สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศได้ ทำให้เงินทุนไหลกลับเข้ามาในระดับหนึ่ง ประชาชนจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ จากสมมติฐานค่าเงินบาทที่ระดับเฉลี่ย 40 บาท/ดอลลาร์ และราคาน้ำมันดิบที่บาร์เรลละ 27 ดอลลาร์ คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 44 จะมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 4.3 เทียบกับร้อยละ 4.2 ในปี 43 โดยมีปัจจัยหนุนที่สำคัญคือ การส่งออก การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค และการลงทุนภาคเอกชน (แนวหน้า 10)
4. ไทยเป็นประเทศที่มึความพร้อมทางด้าน E-BUSINESS อยู่ในอันดับที่ 28 ก.วิทยาศาสตร์และ สศช.รายงานต่อ ครม.เศรษฐกิจว่า The Economics Intelligent Unit จัดอันดับไทยเป็นประเทศที่ 28 จาก 60 ประเทศ ที่มีความพร้อมด้าน E-BUSINESS รองจากสิงคโปร์ แต่สูงกว่ามาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และจีน (วัฏจักร 10)
ข่าวต่างประเทศ
1. ผลผลิตอุตสาหกรรมของมาเลเซียเพิ่มขึ้นในเดือน ส.ค. 43 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 9 ต.ค. 43 ทบวงสถิติของมาเลเซีย เปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 43 ผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.7 จากระยะเดียวกันปี 42 เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมการผลิตเติบโตอย่างแข็งแกร่ง สนับสนุนให้คาดหมายว่าผลิตภัณฑ์ในประเทศ ( GDP) จะขยายตัวอย่างมากในปี 43 อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์เตือนว่า การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักของอุตสาหกรรมการผลิต อาจจะเติบโตชะลอลงในช่วงครึ่งแรกปี 44 หากความต้องการจากประเทศ สรอ. มีความผันผวน สำหรับในช่วง เดือน ม.ค.-ส.ค. 43 ผลผลิตอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.2 ขณะเดียวกัน ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมการผลิตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 27.8 จากระยะเดียวกันของปี 42 เนื่องจากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นอย่างมาก นาย Pin Tan นักเศรษฐศาสตร์ของ JP Morgan กล่าวว่า ตัวเลขผลผลิตฯในเดือน ส.ค. 43 ต่ำกว่าเล็กน้อยจากประมาณการของตลาด แต่อัตราการเติบโตยังอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง (รอยเตอร์ 9)
2. ราคาผลผลิตของอังกฤษเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือน ก.ย.43 รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 9 ต.ค.43 สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษรายงานว่า เดือน ก.ย.43 ราคาผลผลิตสินค้าอุตสาหกรรมของโรงงาน ก่อนปรับฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.3 ในเดือน ส.ค.43 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เทียบต่อปี ซึ่งเพิ่มในอัตราเดียวกันกับเดือน ส.ค.43 โดยมีสาเหตุมาจากราคาน้ำมันดิบและราคาน้ำมันเบนซินสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ราคาผลผลิตฯ ที่เป็นแกน ซึ่งไม่รวมราคาอาหาร เครื่องดื่ม ยาสูบ และราคาน้ำมัน ที่ผันผวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 หลังจากปรับฤดูกาล เทียบกับที่ไม่เปลี่ยนแปลงในเดือน ส.ค.43 นับเป็นอัตราการเพิ่มสูงสุดตั้งแต่เดือน พ.ย.42 หรือหากเทียบต่อปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เท่ากับเดือน ส.ค.43 ทางด้านราคาวัตถุดิบ ปรับฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ในเดือน ส.ค.43 หากเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 ในเดือน ส.ค.43 เพิ่มสูงเกินความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ โดยมีสาเหตุมาจากราคาน้ำมันดิบเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งในเดือน ก.ย.43 เพียงเดือนเดียว ราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 17.1 ส่วนราคาวัตถุดิบที่เป็นแกน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 เทียบต่อปี ทั้งนี้ สำนักงานฯ กล่าวว่า ราคาผลผลิตจะอ่อนตัวลงในเดือนต่อไป เนื่องจากราคาน้ำมันได้ลดลงในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา (รอยเตอร์ 9)
3. ดัชนีราคาขายส่งภายในประเทศของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือน ก.ย. 43 รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 10 ต.ค. 43 เดือน ก.ย. 43 ดัชนีราคาขายส่งภายในประเทศ (WPI) อยู่ที่ระดับร้อยละ 96.2 ลดลงร้อยละ 0.1 เทียบต่อเดือน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เทียบต่อปี (รอยเตอร์9)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 9 ต.ค. 43 42.521 (42.379)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 9 ต.ค. 43
ซื้อ 42.3496 (42.1963) ขาย 42.6602 (42.5052)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,400 (5,400) ขาย 5,500 (5,500)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 30.72 (29.43)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.19 (16.19) ดีเซลหมุนเร็ว 14.44 (14.44)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-