กล้วยไม้ : สหภาพยุโรปเข้มงวดการตรวจสอบเพลี้ยไฟในกล้วยไม้ไทย
สถานการณ์การส่งออกดอกกล้วยไม้ไปยังสหภาพยุโรป ปี 2542 มีปริมาณ 2,713 ตัน ลดลงจาก 2,867 ตันในปี 2541 คิดเป็นร้อยละ 5.37 ส่วนมูลค่าส่งออก 209.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 204.9 ล้านบาทในปีที่แล้ว คิดเป็นร้อยละ 2.20 ซึ่งสาเหตุของปริมาณการส่งออกลดลงเนื่องจากสหภาพยุโรปตัดสิทธิ GSP และปัญหาเพลี้ยไฟที่ติดไปกับดอกกล้วยไม้ทำให้ประเทศคู่ค้าในกลุ่มสหภาพยุโรป ตรวจสอบเข้มงวดถึงแม้ว่าคณะกรรมาธิการด้านสุขอนามัยพืชสหภาพยุโรปได้ผ่อนผันระยะเวลาการประเมินผลมาตรการเพลี้ยไฟไปอีก 1 ปี (จากกันยายน 2542 เป็นกันยายน 2543) ตามที่กรมวิชาการเกษตรได้เสนอวิธีการควบคุมเพลี้ยไฟในกล้วยไม้ด้วยวิธีการจุ่มสารเคมี (Dipping) และกำหนดเขตการผลิตกล้วยไม้ปลอดเพลี้ยไฟแล้วก็ตาม แต่จากผลการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและเร่งรัดการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2543 ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาปัญหาเกี่ยวกับการส่งออกกล้วยไม้ของไทยไปจำหน่ายในสหภาพยุโรป ปรากฏว่ายังมีการตรวจพบเพลี้ยไฟติดไปกับดอกกล้วยไม้ของไทย โดยสำนักงานพาณิชย์ ณ กรุงบรัสเซลล์รายงานว่า ได้ติดตามเรื่องนี้กับคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปทราบว่า ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปเกือบทุกประเทศที่เป็นจุดนำเข้ากล้วยไม้ของไทย ได้ตรวจพบเพลี้ยไฟติดไปกับกล้วยไม้ ดังนั้น Standing Committee on Plant Health จะนำปัญหานี้เข้าที่ประชุมในราวปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2543 และมีแนวโน้มที่จะมีมติให้ห้ามนำเข้ากล้วยไม้จากประเทศไทยโดยสิ้นเชิง นอกจากนี้คณะกรรมาธิการฯ ยังแสดงความไม่พอใจกับการที่ไทยไม่นำมาตรการฉุกเฉินเพื่อต่อต้านการแพร่ระบาดของเพลี้ยไฟไปปฏิบัติอย่างจริงจัง ข้อคิดเห็น
1. กรมวิชาการเกษตร จะต้องตรวจสอบและออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชให้กับผู้ส่งออกกล้วยไม้ไปสหภาพยุโรปอย่างเข้มงวด และต้องจัดทำ Black list กับผู้ส่งออกที่ไม่ได้มาตรฐานอย่างจริงจัง
2. กรมส่งเสริมการเกษตร ผู้ส่งออกและเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไม้จะต้องให้ความร่วมมือในการใช้มาตรการจัดทำเขตผลิตกล้วยไม้ปลอดเพลี้ยไฟอย่างต่อเนื่อง
3. สนับสนุนเกษตรกร ที่เข้าร่วมโครงการเขตปลอดเพลี้ยไฟเพื่อเป็นแรงจูงใจโดยให้ความช่วยเหลือในการลดต้นทุนการผลิตในรูปปัจจัยการผลิต ลดค่ากระแสไฟฟ้าและอื่น ๆ
2.สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
หอมหัวใหญ่ : คชก. อนุมัติเงินแก้ไขปัญหาราคาตกต่ำ
คชก. ได้ให้ความเห็นชอบการดำเนินการแก้ไขปัญหาราคาหอมหัวใหญ่ตกต่ำ ปี 2542/43 ตามข้อเสนอของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2543 ดังนี้
1) กำหนดราคาเป้าหมายนำ
- หอมหัวใหญ่เกรดคละ (ขนาด 4-9 ซม.) ของ อ.แม่วาง และ อ. สันป่าตอง จ. เชียงใหม่ กิโลกรัมละ 4.60 บาท
- หอมหัวใหญ่สดคละ (รวมใบ) ของ อ. ฝาง อ.ไชยปราการ และ อ.พร้าว จ. เชียงใหม่ กิโลกรัมละ 3.25 บาท
2) อนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย จำนวน 67 ล้านบาท ให้กรม-ส่งเสริมสหกรณ์นำไปให้สหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่ใช้รวบรวมหอมหัวใหญ่จากสมาชิกที่จดทะเบียนผู้ปลูกกับทางราชการซึ่งได้รับจัดสรรเมล็ดพันธุ์จากสหกรณ์และปลูกจริง ด้วยการจ่ายเงินให้สมาชิกในอัตราร้อยละ 60 ของราคาเป้าหมายนำ ปริมาณรวม 29,500 ตัน เพื่อนำไปจำหน่ายต่อไป โดยให้ค่าใช้จ่ายในการจัดการด้านการตลาดของสหกรณ์ ตามที่จ่ายจริงไม่เกินร้อยละ 3 ของวงเงินดำเนินการ ระยะเวลารับซื้อ 15 มีนาคม ถึง 30 เมษายน 2543 ระยะเวลาโครงการ มีนาคม - 30 พฤศจิกายน 2543แนวโน้ม : แนวโน้มการผลิตการตลาดสินค้าเกษตร ปี 2543
2.2 แนวโน้มการผลิตการตลาดสินค้าเกษตร ปี 2543
1) การผลิต
1.1) สินค้าเกษตรกรที่คาดว่าจะมีปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปีมันสำปะหลัง อ้อย ถั่วเหลือง ปาล์มน้ำมัน ยางพารา กาแฟ สับปะรด ทุเรียน พริกไทย มันฝรั่ง กระเทียม และสุกร
1.2) สินค้าเกษตรกรที่คาดว่าจะมีปริมาณผลผลิตลดลง ได้แก่ ข้าวนาปรัง ข้าวโพด หอมหัวใหญ่ และโคเนื้อ
2) การตลาด
2.1) การใช้ภายในประเทศ
(1) กลุ่มสินค้าที่คาดว่ามีปริมาณการใช้ภายในประเทศเพิ่มขึ้น ได้แก่ มันสำปะหลัง อ้อย ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ยางพารา กาแฟ มันฝรั่ง สุกร ไก่เนื้อ และไก่ไข่
(2) กลุ่มสินค้าที่คาดว่ามีปริมาณการใช้ภายในประเทศลดลง ได้แก่ ข้าว และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
(3) กลุ่มสินค้าที่คาดว่ามีปริมาณการใช้ภายในประเทศใกล้เคียงกับปี 2542 ได้แก่ ถั่วลิสง พริกไทย กล้วยไม้ กุ้งกุลาดำ และปลาหมึกสด
2.2) การส่งออก
(1) สินค้าเกษตรที่คาดว่าจะมีปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นจากปี 2542 ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง น้ำตาล ถั่วเขียว ถั่วลิสง ยางพารา กาแฟ กล้วยไม้ สุกร สับปะรด ทุเรียน ลำไย ไก่เนื้อ ปลาทูน่า ปลาป่น
(2) สินค้าเกษตรที่คาดว่าจะมีปริมาณส่งออกลดลงจากปี 2542 ได้แก่ ข้าว ข้าวฟ่าง มันสำปะหลัง พริกไทย หอมแดง หอมหัวใหญ่ กุ้งกุลาดำ ปลาหมึกสด
(3) สินค้าเกษตรที่คาดว่าจะส่งออกใกล้เคียงกับปี 2542 ได้แก่ ถั่วเหลือง มันฝรั่ง ไก่ไข่
2.3) ราคา
(1) สินค้าเกษตรที่คาดว่าราคาจะสูงขึ้นจากปี 2542 ได้แก่ ข้าวฟ่าง กุ้งกุลาดำ ปลาหมึกสด ปลาทูน่ากระป๋อง และปลาป่น
(2) สินค้าเกษตรที่คาดว่าราคาจะโน้มลดลง ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ฝ้าย ถั่วเหลือง กาแฟ สับปะรด ทุเรียน ลำไย หอมแดง และหอมหัวใหญ่
(3) สินค้าเกษตรที่คาดว่าราคาใกล้เคียงกับปี 2542 ได้แก่ อ้อย ปาล์มน้ำมัน ยางพารา พริกไทย มันฝรั่ง กระเทียม และกล้วยไม้
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรประจำวันที่ 6-12 มีนาคม 2543--
สถานการณ์การส่งออกดอกกล้วยไม้ไปยังสหภาพยุโรป ปี 2542 มีปริมาณ 2,713 ตัน ลดลงจาก 2,867 ตันในปี 2541 คิดเป็นร้อยละ 5.37 ส่วนมูลค่าส่งออก 209.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 204.9 ล้านบาทในปีที่แล้ว คิดเป็นร้อยละ 2.20 ซึ่งสาเหตุของปริมาณการส่งออกลดลงเนื่องจากสหภาพยุโรปตัดสิทธิ GSP และปัญหาเพลี้ยไฟที่ติดไปกับดอกกล้วยไม้ทำให้ประเทศคู่ค้าในกลุ่มสหภาพยุโรป ตรวจสอบเข้มงวดถึงแม้ว่าคณะกรรมาธิการด้านสุขอนามัยพืชสหภาพยุโรปได้ผ่อนผันระยะเวลาการประเมินผลมาตรการเพลี้ยไฟไปอีก 1 ปี (จากกันยายน 2542 เป็นกันยายน 2543) ตามที่กรมวิชาการเกษตรได้เสนอวิธีการควบคุมเพลี้ยไฟในกล้วยไม้ด้วยวิธีการจุ่มสารเคมี (Dipping) และกำหนดเขตการผลิตกล้วยไม้ปลอดเพลี้ยไฟแล้วก็ตาม แต่จากผลการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและเร่งรัดการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2543 ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาปัญหาเกี่ยวกับการส่งออกกล้วยไม้ของไทยไปจำหน่ายในสหภาพยุโรป ปรากฏว่ายังมีการตรวจพบเพลี้ยไฟติดไปกับดอกกล้วยไม้ของไทย โดยสำนักงานพาณิชย์ ณ กรุงบรัสเซลล์รายงานว่า ได้ติดตามเรื่องนี้กับคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปทราบว่า ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปเกือบทุกประเทศที่เป็นจุดนำเข้ากล้วยไม้ของไทย ได้ตรวจพบเพลี้ยไฟติดไปกับกล้วยไม้ ดังนั้น Standing Committee on Plant Health จะนำปัญหานี้เข้าที่ประชุมในราวปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2543 และมีแนวโน้มที่จะมีมติให้ห้ามนำเข้ากล้วยไม้จากประเทศไทยโดยสิ้นเชิง นอกจากนี้คณะกรรมาธิการฯ ยังแสดงความไม่พอใจกับการที่ไทยไม่นำมาตรการฉุกเฉินเพื่อต่อต้านการแพร่ระบาดของเพลี้ยไฟไปปฏิบัติอย่างจริงจัง ข้อคิดเห็น
1. กรมวิชาการเกษตร จะต้องตรวจสอบและออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชให้กับผู้ส่งออกกล้วยไม้ไปสหภาพยุโรปอย่างเข้มงวด และต้องจัดทำ Black list กับผู้ส่งออกที่ไม่ได้มาตรฐานอย่างจริงจัง
2. กรมส่งเสริมการเกษตร ผู้ส่งออกและเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไม้จะต้องให้ความร่วมมือในการใช้มาตรการจัดทำเขตผลิตกล้วยไม้ปลอดเพลี้ยไฟอย่างต่อเนื่อง
3. สนับสนุนเกษตรกร ที่เข้าร่วมโครงการเขตปลอดเพลี้ยไฟเพื่อเป็นแรงจูงใจโดยให้ความช่วยเหลือในการลดต้นทุนการผลิตในรูปปัจจัยการผลิต ลดค่ากระแสไฟฟ้าและอื่น ๆ
2.สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
หอมหัวใหญ่ : คชก. อนุมัติเงินแก้ไขปัญหาราคาตกต่ำ
คชก. ได้ให้ความเห็นชอบการดำเนินการแก้ไขปัญหาราคาหอมหัวใหญ่ตกต่ำ ปี 2542/43 ตามข้อเสนอของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2543 ดังนี้
1) กำหนดราคาเป้าหมายนำ
- หอมหัวใหญ่เกรดคละ (ขนาด 4-9 ซม.) ของ อ.แม่วาง และ อ. สันป่าตอง จ. เชียงใหม่ กิโลกรัมละ 4.60 บาท
- หอมหัวใหญ่สดคละ (รวมใบ) ของ อ. ฝาง อ.ไชยปราการ และ อ.พร้าว จ. เชียงใหม่ กิโลกรัมละ 3.25 บาท
2) อนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย จำนวน 67 ล้านบาท ให้กรม-ส่งเสริมสหกรณ์นำไปให้สหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่ใช้รวบรวมหอมหัวใหญ่จากสมาชิกที่จดทะเบียนผู้ปลูกกับทางราชการซึ่งได้รับจัดสรรเมล็ดพันธุ์จากสหกรณ์และปลูกจริง ด้วยการจ่ายเงินให้สมาชิกในอัตราร้อยละ 60 ของราคาเป้าหมายนำ ปริมาณรวม 29,500 ตัน เพื่อนำไปจำหน่ายต่อไป โดยให้ค่าใช้จ่ายในการจัดการด้านการตลาดของสหกรณ์ ตามที่จ่ายจริงไม่เกินร้อยละ 3 ของวงเงินดำเนินการ ระยะเวลารับซื้อ 15 มีนาคม ถึง 30 เมษายน 2543 ระยะเวลาโครงการ มีนาคม - 30 พฤศจิกายน 2543แนวโน้ม : แนวโน้มการผลิตการตลาดสินค้าเกษตร ปี 2543
2.2 แนวโน้มการผลิตการตลาดสินค้าเกษตร ปี 2543
1) การผลิต
1.1) สินค้าเกษตรกรที่คาดว่าจะมีปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปีมันสำปะหลัง อ้อย ถั่วเหลือง ปาล์มน้ำมัน ยางพารา กาแฟ สับปะรด ทุเรียน พริกไทย มันฝรั่ง กระเทียม และสุกร
1.2) สินค้าเกษตรกรที่คาดว่าจะมีปริมาณผลผลิตลดลง ได้แก่ ข้าวนาปรัง ข้าวโพด หอมหัวใหญ่ และโคเนื้อ
2) การตลาด
2.1) การใช้ภายในประเทศ
(1) กลุ่มสินค้าที่คาดว่ามีปริมาณการใช้ภายในประเทศเพิ่มขึ้น ได้แก่ มันสำปะหลัง อ้อย ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ยางพารา กาแฟ มันฝรั่ง สุกร ไก่เนื้อ และไก่ไข่
(2) กลุ่มสินค้าที่คาดว่ามีปริมาณการใช้ภายในประเทศลดลง ได้แก่ ข้าว และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
(3) กลุ่มสินค้าที่คาดว่ามีปริมาณการใช้ภายในประเทศใกล้เคียงกับปี 2542 ได้แก่ ถั่วลิสง พริกไทย กล้วยไม้ กุ้งกุลาดำ และปลาหมึกสด
2.2) การส่งออก
(1) สินค้าเกษตรที่คาดว่าจะมีปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นจากปี 2542 ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง น้ำตาล ถั่วเขียว ถั่วลิสง ยางพารา กาแฟ กล้วยไม้ สุกร สับปะรด ทุเรียน ลำไย ไก่เนื้อ ปลาทูน่า ปลาป่น
(2) สินค้าเกษตรที่คาดว่าจะมีปริมาณส่งออกลดลงจากปี 2542 ได้แก่ ข้าว ข้าวฟ่าง มันสำปะหลัง พริกไทย หอมแดง หอมหัวใหญ่ กุ้งกุลาดำ ปลาหมึกสด
(3) สินค้าเกษตรที่คาดว่าจะส่งออกใกล้เคียงกับปี 2542 ได้แก่ ถั่วเหลือง มันฝรั่ง ไก่ไข่
2.3) ราคา
(1) สินค้าเกษตรที่คาดว่าราคาจะสูงขึ้นจากปี 2542 ได้แก่ ข้าวฟ่าง กุ้งกุลาดำ ปลาหมึกสด ปลาทูน่ากระป๋อง และปลาป่น
(2) สินค้าเกษตรที่คาดว่าราคาจะโน้มลดลง ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ฝ้าย ถั่วเหลือง กาแฟ สับปะรด ทุเรียน ลำไย หอมแดง และหอมหัวใหญ่
(3) สินค้าเกษตรที่คาดว่าราคาใกล้เคียงกับปี 2542 ได้แก่ อ้อย ปาล์มน้ำมัน ยางพารา พริกไทย มันฝรั่ง กระเทียม และกล้วยไม้
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรประจำวันที่ 6-12 มีนาคม 2543--