จากนี้จนถึงสิ้นปี ภาพเงินบาทจะปรับตัวแข็งขึ้นเป็นบางช่วง แต่ภาพโดยรวมตั้งแต่ ต้นปีมีการปรับตัวอ่อนลงราว 10.3% และประเทศไทยเรา ขณะนี้กำลังเผชิญปัญหายอดเกิน ดุลบัญชีเดินสะพัดลดลง และมีแน้วโน้มทีจะขาดดุล รวมทั้งทุนสำรอง เงินตราต่างประเทศปัจจุบัน ยังคงมีระดับต่ำกว่ามูลค่าทุนสำรอง ก่อนเกินวิกฤตปี 2540 ขณะเดียวกันประเทศไทยก็ถูก มองว่าเป็นประเทศสมาชิกชั้นสองกลุ่มเดียวกับอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ เพราะเศรษฐกิจ ฟื้นตัวช้าเมื่อเทียบ กับสิงคโปร์และมาเลเชีย
สาเหตุที่สำคัญที่ทำให้ค่าเงินบาทและค่าเงินในกลุ่มประเทศเอเชียอ่อนไหว ก็คือ ความไม่มีเสถียรภาพ ทางการเมืองเนื่องมาจากความอึม ครึมทางการเมืองของไทยได้คุกรุ่นขึ้นเรื่อยๆ นับจาก สมาชิกพรรคฝ่ายค้านได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การประชุมประท้วงของกลุ่มสมัชชาคนจน และการณ์คาดคเนเกี่ยวกับการยุบสภา และจัดให้มีการ เลือกตั้งทั่งไปครั้งใหม่ราว เดือนพฤศจิกายนนี้
ส่วนการแก้ไขปัญหา เศรษฐกิจล่าช้าของประเทศ เอเชียที่มีค่าเงินย่ำแย่ในตอนนี้ ได้แก่ อินโดยนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย ล้วนถูกซ้ำเติมจาการ แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ล่าช้ากว่าที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะอินโดยนีเซีย ปฏิรูปเศรษฐกิจได้ไม่ตรงเป้าหมายที่ไอเอ็มเอฟวางกรอบไว้ ทำให้การได้รับเงินกู้ราย งวดจากไอเอ็มเอฟล่าช้า บั่นทอนการฟื้นฟูเศรษฐกิจของอินโดยนีเซีย ขณะที่ไทยเป็นประเทศหนึ่งที่แก้ปัญหา NPL ได้ไม่คืบหน้า
ขณะเดียวกัน ปัจจัยลบด้านราคาน้ำมันแพงยังเป็นตัวแปรหนึ่งที่ทำให้ค่าเงิน บาทอ่อนค่า และอาจก่อให้เกิดปัญหาความวุ้นวาย ทางการเมืองจนเป็นอันตรายแก่ค่าเงิน และเป็นชนวนให้นักลงทุนหนีไปลงทุนในภูมิภาคอื่นแทน
นอกจากนี้ การที่อัตราดอกเบี้ย ต่างประเทศขยับสูงขึ้นอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ประเทศเอเชียบางประเทศจำเป็นต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย เพื่อพยุงค่าเงินท้องถิ่น และป้องกันเงินเฟ้อ และมาตราการการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเป็นสิ่งที่ประเทศเอเชียส่วนใหญ่พยาหลีกเลี่ยง ไม่ต้องการให้เศรษฐกิจชงักงัน และบั่นทอนตลาดหุ้นเงียบเหงาลงอีก
ประเด็นอีกประการหนึ่งก็คือ เศรษฐกิจของ สหรัฐและญี่ปุ่นเป็นปัจจัย เสี่ยงที่ก่อให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจเอเชียได้ หากเศรษฐกิจสหรัฐร้อนแรง กลายเป็นฟองสบู่แตก ตลาดหุ้นสหรัฐจะซบเซาลงฉับพลัน การใช้จ่ายเพื่อการบริโภค ของคนอเมริกาก็จะลดลงไปด้วย ซึ่งมีสัดส่วนราว 60 % ของ GDP สหรัฐ ซึ่งจะเป็นผลให ้เศรษฐกิจสหรัฐทรุดตัวลงในเวลาต่อมา
การที่ญี่ปุ่นขึ้นอัตราดอกเบี้ยท่ามความกังวลที่ว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นยัอยู่ในสภาพฝืดเคือง อาจฉุดให้เศรษฐกิจญี่ปุ่น กับซบเซาลงไปอีก และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจย่าน เอเชียเช่นกัน เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นตลาด ส่งออกของเอเชียเป็นสัดส่วนเฉลี่ยราว 10-15% ของมูลค่าส่งออกของเอเชีย และยังเป็นนักลงทุนสำคัญในย่านนี้ด้วย
หากค่าเงินบาทที่อ่อนไหว ในขณะนี้ได้รับแรงกระทบ ซ้ำเติมจากปัจจัยลบภายนอกดังกล่าว อย่าง รุนแรงอาจ กดดันให้ค่าเงินบาท และตลาดหุ้นในประเทศ ลดลงอย่างต่อเนื่อง--จบ--
--สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง--
-อน-
สาเหตุที่สำคัญที่ทำให้ค่าเงินบาทและค่าเงินในกลุ่มประเทศเอเชียอ่อนไหว ก็คือ ความไม่มีเสถียรภาพ ทางการเมืองเนื่องมาจากความอึม ครึมทางการเมืองของไทยได้คุกรุ่นขึ้นเรื่อยๆ นับจาก สมาชิกพรรคฝ่ายค้านได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การประชุมประท้วงของกลุ่มสมัชชาคนจน และการณ์คาดคเนเกี่ยวกับการยุบสภา และจัดให้มีการ เลือกตั้งทั่งไปครั้งใหม่ราว เดือนพฤศจิกายนนี้
ส่วนการแก้ไขปัญหา เศรษฐกิจล่าช้าของประเทศ เอเชียที่มีค่าเงินย่ำแย่ในตอนนี้ ได้แก่ อินโดยนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย ล้วนถูกซ้ำเติมจาการ แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ล่าช้ากว่าที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะอินโดยนีเซีย ปฏิรูปเศรษฐกิจได้ไม่ตรงเป้าหมายที่ไอเอ็มเอฟวางกรอบไว้ ทำให้การได้รับเงินกู้ราย งวดจากไอเอ็มเอฟล่าช้า บั่นทอนการฟื้นฟูเศรษฐกิจของอินโดยนีเซีย ขณะที่ไทยเป็นประเทศหนึ่งที่แก้ปัญหา NPL ได้ไม่คืบหน้า
ขณะเดียวกัน ปัจจัยลบด้านราคาน้ำมันแพงยังเป็นตัวแปรหนึ่งที่ทำให้ค่าเงิน บาทอ่อนค่า และอาจก่อให้เกิดปัญหาความวุ้นวาย ทางการเมืองจนเป็นอันตรายแก่ค่าเงิน และเป็นชนวนให้นักลงทุนหนีไปลงทุนในภูมิภาคอื่นแทน
นอกจากนี้ การที่อัตราดอกเบี้ย ต่างประเทศขยับสูงขึ้นอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ประเทศเอเชียบางประเทศจำเป็นต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย เพื่อพยุงค่าเงินท้องถิ่น และป้องกันเงินเฟ้อ และมาตราการการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเป็นสิ่งที่ประเทศเอเชียส่วนใหญ่พยาหลีกเลี่ยง ไม่ต้องการให้เศรษฐกิจชงักงัน และบั่นทอนตลาดหุ้นเงียบเหงาลงอีก
ประเด็นอีกประการหนึ่งก็คือ เศรษฐกิจของ สหรัฐและญี่ปุ่นเป็นปัจจัย เสี่ยงที่ก่อให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจเอเชียได้ หากเศรษฐกิจสหรัฐร้อนแรง กลายเป็นฟองสบู่แตก ตลาดหุ้นสหรัฐจะซบเซาลงฉับพลัน การใช้จ่ายเพื่อการบริโภค ของคนอเมริกาก็จะลดลงไปด้วย ซึ่งมีสัดส่วนราว 60 % ของ GDP สหรัฐ ซึ่งจะเป็นผลให ้เศรษฐกิจสหรัฐทรุดตัวลงในเวลาต่อมา
การที่ญี่ปุ่นขึ้นอัตราดอกเบี้ยท่ามความกังวลที่ว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นยัอยู่ในสภาพฝืดเคือง อาจฉุดให้เศรษฐกิจญี่ปุ่น กับซบเซาลงไปอีก และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจย่าน เอเชียเช่นกัน เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นตลาด ส่งออกของเอเชียเป็นสัดส่วนเฉลี่ยราว 10-15% ของมูลค่าส่งออกของเอเชีย และยังเป็นนักลงทุนสำคัญในย่านนี้ด้วย
หากค่าเงินบาทที่อ่อนไหว ในขณะนี้ได้รับแรงกระทบ ซ้ำเติมจากปัจจัยลบภายนอกดังกล่าว อย่าง รุนแรงอาจ กดดันให้ค่าเงินบาท และตลาดหุ้นในประเทศ ลดลงอย่างต่อเนื่อง--จบ--
--สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง--
-อน-