สรุปผลการสัมมนาโครงการการศึกษาวิจัยเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศเพื่อรองรับการเจรจาเปิดเสรีทางการค้าวันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2544
การสัมมนาโครงการการศึกษาวิจัยเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2544 ณ โรงแรมอโนมา กรุงเทพฯ โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนา ประมาณ 180 คน ประกอบด้วย ผู้แทนจากภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งนักวิชาการและสื่อมวลชน เพื่อเสนอผลการศึกษาวิเคราะห์เชิงปริมาณและการศึกษาเชิงคุณภาพเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์ต่อมาตรการกีดกันทางการค้าที่สำคัญได้แก่ มาตรการต่อต้านการทุ่มตลาด มาตรการตอบโต้การอุดหนุน มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช มาตรการอุปสรรคทางเทคนิคทางการค้า มาตรการ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งผลการศึกษาในประเด็นทางกฎหมายต่อมาตรการต่างๆ ดังกล่าว
ผลการสัมมนาสรุปได้ดังนี้
ผู้วิจารณ์และผู้เข้าร่วมสัมมนาส่วนใหญ่มีความเห็นว่า รายงานการศึกษานี้ได้รวบรวมมาตรการที่มิใช่ภาษีได้สมบูรณ์ เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานต่างๆ ที่จะนำไปใช้ได้ต่อไป และกรมฯ ควรเผยแพร่ รายงานการศึกษานี้ให้มากที่สุด
รายงานการศึกษานี้เป็นรายงานแรก ที่ได้ทำการประมาณการ ผลกระทบของการใช้มาตรการที่มิใช่ภาษีของประเทศผู้นำเข้าที่มีต่อสินค้าออกของไทย คือ กุ้งแช่แข็ง ไก่แช่แข็ง และดอกกล้วยไม้ ซึ่งยังไม่เคยมีการทำวิจัยลักษณะนี้มาก่อน ผลการศึกษาอยู่ในขั้นที่ยอมรับได้แต่ควรปรับปรุงตัวแบบจำลองให้มีนัยสำคัญทางสถิติให้มากขึ้น และเพิ่มตัวแปรที่น่าจะเกี่ยวข้องให้มากขึ้น
ประเด็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับมาตรการที่มิใช่ภาษีทั้ง 6 มาตรการ ได้แก่ มาตรการต่อต้านการ ทุ่มตลาด (AD) มาตรการตอบโต้การอุดหนุน (CVD) มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) มาตรการอุปสรรคทางเทคนิคทางการค้า (TBT) มาตรการสิ่งแวดล้อม และมาตรการด้านแรงงาน มีเนื้อหาสาระครอบคลุมครบถ้วน แต่ยังไม่ได้ลงไปในรายละเอียด
สำหรับส่วนของท่าทีและกลยุทธ์ของประเทศไทยต่อมาตรการที่มิใช่ภาษีต่างๆ ควรดำเนินการภายใต้ WTO จะเป็นประโยชน์แก่ประเทศไทยมากที่สุด เนื่องจากในเวทีอื่นๆ เช่น APEC เป็นเวทีที่สหรัฐฯ ใช้สำหรับผลักดัน WTO ให้เปิดเสรี ส่วน ASEM เป็นเวทีที่สหภาพยุโรปใช้คานอำนาจสหรัฐฯ ในขณะที่อาเซียนเป็นการรวมกลุ่มเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการผลิตแต่ใช้เป็นเวทีในการแก้ปัญหาทางการค้าไม่ได้ สำหรับ East Asia มีแนวโน้มที่จะเป็นประโยชน์ด้านการเจรจามากขึ้น เนื่องจากจีนจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น
ส่วนสำคัญที่รายงานยังขาดอยู่คือ ถ้าจะสู้ในกรอบของ WTO จำเป็นจะต้องมีการปรับโครงสร้างและประสิทธิภาพในการผลิต การบริหารรัฐเศรษฐกิจ และการเตรียมพร้อมเรื่องการค้าขายระหว่างประเทศ ซึ่งหลายส่วนไม่เกี่ยวข้องกับกระทรวงพาณิชย์ นอกจากนั้น ควรศึกษากลยุทธ์ด้านการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศด้วย
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
การสัมมนาโครงการการศึกษาวิจัยเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2544 ณ โรงแรมอโนมา กรุงเทพฯ โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนา ประมาณ 180 คน ประกอบด้วย ผู้แทนจากภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งนักวิชาการและสื่อมวลชน เพื่อเสนอผลการศึกษาวิเคราะห์เชิงปริมาณและการศึกษาเชิงคุณภาพเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์ต่อมาตรการกีดกันทางการค้าที่สำคัญได้แก่ มาตรการต่อต้านการทุ่มตลาด มาตรการตอบโต้การอุดหนุน มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช มาตรการอุปสรรคทางเทคนิคทางการค้า มาตรการ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งผลการศึกษาในประเด็นทางกฎหมายต่อมาตรการต่างๆ ดังกล่าว
ผลการสัมมนาสรุปได้ดังนี้
ผู้วิจารณ์และผู้เข้าร่วมสัมมนาส่วนใหญ่มีความเห็นว่า รายงานการศึกษานี้ได้รวบรวมมาตรการที่มิใช่ภาษีได้สมบูรณ์ เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานต่างๆ ที่จะนำไปใช้ได้ต่อไป และกรมฯ ควรเผยแพร่ รายงานการศึกษานี้ให้มากที่สุด
รายงานการศึกษานี้เป็นรายงานแรก ที่ได้ทำการประมาณการ ผลกระทบของการใช้มาตรการที่มิใช่ภาษีของประเทศผู้นำเข้าที่มีต่อสินค้าออกของไทย คือ กุ้งแช่แข็ง ไก่แช่แข็ง และดอกกล้วยไม้ ซึ่งยังไม่เคยมีการทำวิจัยลักษณะนี้มาก่อน ผลการศึกษาอยู่ในขั้นที่ยอมรับได้แต่ควรปรับปรุงตัวแบบจำลองให้มีนัยสำคัญทางสถิติให้มากขึ้น และเพิ่มตัวแปรที่น่าจะเกี่ยวข้องให้มากขึ้น
ประเด็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับมาตรการที่มิใช่ภาษีทั้ง 6 มาตรการ ได้แก่ มาตรการต่อต้านการ ทุ่มตลาด (AD) มาตรการตอบโต้การอุดหนุน (CVD) มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) มาตรการอุปสรรคทางเทคนิคทางการค้า (TBT) มาตรการสิ่งแวดล้อม และมาตรการด้านแรงงาน มีเนื้อหาสาระครอบคลุมครบถ้วน แต่ยังไม่ได้ลงไปในรายละเอียด
สำหรับส่วนของท่าทีและกลยุทธ์ของประเทศไทยต่อมาตรการที่มิใช่ภาษีต่างๆ ควรดำเนินการภายใต้ WTO จะเป็นประโยชน์แก่ประเทศไทยมากที่สุด เนื่องจากในเวทีอื่นๆ เช่น APEC เป็นเวทีที่สหรัฐฯ ใช้สำหรับผลักดัน WTO ให้เปิดเสรี ส่วน ASEM เป็นเวทีที่สหภาพยุโรปใช้คานอำนาจสหรัฐฯ ในขณะที่อาเซียนเป็นการรวมกลุ่มเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการผลิตแต่ใช้เป็นเวทีในการแก้ปัญหาทางการค้าไม่ได้ สำหรับ East Asia มีแนวโน้มที่จะเป็นประโยชน์ด้านการเจรจามากขึ้น เนื่องจากจีนจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น
ส่วนสำคัญที่รายงานยังขาดอยู่คือ ถ้าจะสู้ในกรอบของ WTO จำเป็นจะต้องมีการปรับโครงสร้างและประสิทธิภาพในการผลิต การบริหารรัฐเศรษฐกิจ และการเตรียมพร้อมเรื่องการค้าขายระหว่างประเทศ ซึ่งหลายส่วนไม่เกี่ยวข้องกับกระทรวงพาณิชย์ นอกจากนั้น ควรศึกษากลยุทธ์ด้านการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศด้วย
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-