กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง
สินค้า ปริมาณส่งออก(พันตัน) มูลค่าส่งออก (ล้าน US$)
2542 2543 % 2542 2543 %
กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง 138.1 144.3 4.5 1,274.1 1,512.7 18.7
ตลาดส่งออกสำคัญที่ขยายตัว
- สหรัฐอเมริกา 518.5 731.3 41.0
- ญี่ปุ่น 288.0 328.1 13.9
- อาเซียน 93.4 111.0 18.8
- สิงคโปร์ 91.5 108.2 18.3
- แคนาดา 47.4 50.3 6.1
- ฮ่องกง 25.7 42.3 64.8
- เกาหลีใต้ 20.8 28.3 36.2
ตลาดส่งออกสำคัญที่หดตัว
- EU 70.4 61.0 -13.4
- สหราชอาณาจักร 15.8 15.2 -3.2
- จีน 89.5 47.1 -47.4
- ไต้หวัน 46.7 46.5 -0.3
- ออสเตรเลีย 57.8 42.7 -26.0
มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท)
2542 2543 %
48,348.2 60,270.3 24.7
ภาวะการส่งออก
- สถานการณ์การเลี้ยงกุ้งปี 2543 อยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากภูมิอากาศที่เอื้ออำนวย ประกอบกับราคากุ้งที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปลาย
ปี 2542 จูงใจให้เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้งขยายการผลิตมากขึ้น ทั้งนี้ราคากุ้งกุลาดำ (ขนาด 31-40 ตัว/ก.ก.) ที่เกษตรกรขายได้เพิ่มขึ้นจากเฉลี่ย
274.9 บาท/ก.ก. ในปี 2542 เป็น 339.1 บาท/ก.ก. ในปี 2543
- ปี 2543 การส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งของไทยในเทอม US$ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกหลังจากที่หดตัวมาตลอดตั้งแต่ปี 2539 เนื่อง
จากในปีนี้ราคาส่งออกเฉลี่ยในเทอม US$ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 13.6 ขณะที่ปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5
- ความต้องการกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในตลาดสหรัฐฯ ซึ่งความต้องการกุ้งเพิ่มสูงมาก ขณะที่ปริมาณผลผลิตกุ้ง
ในตลาดโลกมีไม่เพียงพอกับความต้องการ เนื่องจากผู้ผลิตกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งรายสำคัญในแถบลาตินอเมริกา คือ เอกวาดอร์ และเม็กซิโก ประสบปัญหา
โรคกุ้งระบาด จึงเป็นโอกาสดีของไทยในการขยายการส่งออกไปสหรัฐฯ นอกจากนี้ การที่ผู้ผลิตกุ้งสด แช่เย็นแช่แข็งรายใหญ่ของไทยหลายรายสามารถ
ปรับตัวเข้าสู่มาตรฐานด้านสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อมตามที่สหรัฐฯกำหนดได้อย่างทันท่วงทีทำให้ไทยสามารถรักษาส่วนแบ่งตลาดกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งไว้ได้
โดยปัจจุบันไทยครองส่วนแบ่งตลาดกุ้งมากเป็นอันดับ 1 ในสหรัฐฯ
- ปี 2543 การส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งของไทยไปตลาดญี่ปุ่นในเทอม US$ เริ่มขยายตัวหลังจากที่หดตัวมาตลอดตั้งแต่ปี 2539 โดยได้รับ
ผลดีจากเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องและค่าเงินเยน ที่แข็งขึ้น ส่งผลให้กำลังซื้อในตลาดญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น
- การส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งของไทยไปตลาดจีนยังคงหดตัวต่อเนื่องจากปี 2542 เนื่องจากกำแพงภาษีนำเข้าของจีนที่สูงถึงร้อยละ 30
รวมทั้งราคากุ้งไทยที่อยู่ในระดับค่อนข้างสูง ทำให้ผู้นำเข้าในจีนหันไปนำเข้ากุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งจากคู่แข่งของไทย เช่น อินเดีย บังกลาเทศ และเวียด
นาม ซึ่งมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าแทน
- การส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งของไทยไปตลาด EU ประสบปัญหาการถูกกีดกัน โดยในช่วงเดือนสิงหาคม 2543 กลุ่ม FIAN (FoodFirst
Information& Action Network) ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนที่ เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชนในเยอรมนี ได้ประกาศต่อต้านกุ้งที่
ผลิตจากไทยและเอกวาดอร์ โดยระบุว่าการทำนากุ้งของไทยเป็นสาเหตุของการทำลายป่าชายเลนและทำให้ดินเค็ม
- ในปี 2544 แม้ว่าการส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งของไทยยังคงได้รับผลดีจากปัญหาโรคกุ้งระบาดใน ประเทศแถบลาตินอเมริกาตั้งแต่ปี
2542 ที่ยังไม่มีท่าทีว่าจะคลี่คลายลง และอาจต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะฟื้นตัว ขณะที่ผลผลิตกุ้งไทยมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เพราะราคากุ้งที่
สูงในปี 2543 จูงใจให้เกษตรกรขยายการผลิตมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของการส่งออกกุ้งของไทยอาจเผชิญกับอุปสรรคสำคัญหลายประการ
ได้แก่
- ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งหลักของไทย มีแนวโน้มชะลอการขยายตัวลง
- การขยายการผลิตกุ้งของประเทศผู้ผลิตสำคัญ เช่น อินโดนีเซีย เวียดนาม จีน และบราซิล รวมทั้งการที่สหรัฐฯอาจหันไปนำเข้ากุ้ง
จากประเทศในแถบลาตินอเมริกาที่ไม่มีปัญหาโรคกุ้งระบาด เช่น บราซิล มากขึ้น
- การที่เวียดนามซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยสามารถขยายการส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในตลาดสหรัฐฯ
และญี่ปุ่นโดยเฉพาะในตลาดญี่ปุ่น เวียดนามสามารถครองส่วนแบ่งตลาดได้มากเป็นอันดับ 3 รองจากอินเดีย และอินโดนีเซีย โดยในปี 2543 (ม.ค.-
ก.ย.)เวียดนามมีส่วนแบ่งตลาดกุ้งในญี่ปุ่นสูงถึงร้อยละ 14 ขณะที่ไทยมีส่วนแบ่งตลาดเพียงร้อยละ 7 และคาดว่าในปี 2544เวียดนามจะสามารถส่งออก
และขยายตลาดกุ้งในญี่ปุ่นได้มากขึ้นตามนโยบายส่งเสริมการผลิตกุ้งเพื่อการส่งออกอย่างจริงจังทั้งในด้านการขยายพื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้ง และการแก้ไข
กฎหมายเพื่อจูงใจให้นักลงทุนเข้าไปลงทุนเพาะเลี้ยงกุ้งในเวียดนามมากขึ้น
- การประกาศใช้นโยบายความปลอดภัยด้านสินค้าอาหารตาม White Paper ของ EU คาดว่าจะ เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกกุ้งของ
ไทยในระยะข้างหน้า
- การตัดสิทธิ GSP กุ้งไทยของ EU มีแนวโน้มทำให้กุ้งไทยเสียเปรียบในการแข่งขันกับประเทศที่ยังได้สิทธิไม่ต้องเสียภาษีในการส่ง
กุ้งเข้าไปจำหน่ายใน EU เช่น บังกลาเทศ มาดากัสการ์ และ เซเนกัล นอกจากนี้ อีกหลายประเทศก็ได้สิทธิเสียภาษีในการส่งกุ้งไปจำหน่ายใน EU
ในอัตราต่ำ เช่น เอกวาดอร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และพม่า
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย--
-อน-
สินค้า ปริมาณส่งออก(พันตัน) มูลค่าส่งออก (ล้าน US$)
2542 2543 % 2542 2543 %
กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง 138.1 144.3 4.5 1,274.1 1,512.7 18.7
ตลาดส่งออกสำคัญที่ขยายตัว
- สหรัฐอเมริกา 518.5 731.3 41.0
- ญี่ปุ่น 288.0 328.1 13.9
- อาเซียน 93.4 111.0 18.8
- สิงคโปร์ 91.5 108.2 18.3
- แคนาดา 47.4 50.3 6.1
- ฮ่องกง 25.7 42.3 64.8
- เกาหลีใต้ 20.8 28.3 36.2
ตลาดส่งออกสำคัญที่หดตัว
- EU 70.4 61.0 -13.4
- สหราชอาณาจักร 15.8 15.2 -3.2
- จีน 89.5 47.1 -47.4
- ไต้หวัน 46.7 46.5 -0.3
- ออสเตรเลีย 57.8 42.7 -26.0
มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท)
2542 2543 %
48,348.2 60,270.3 24.7
ภาวะการส่งออก
- สถานการณ์การเลี้ยงกุ้งปี 2543 อยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากภูมิอากาศที่เอื้ออำนวย ประกอบกับราคากุ้งที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปลาย
ปี 2542 จูงใจให้เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้งขยายการผลิตมากขึ้น ทั้งนี้ราคากุ้งกุลาดำ (ขนาด 31-40 ตัว/ก.ก.) ที่เกษตรกรขายได้เพิ่มขึ้นจากเฉลี่ย
274.9 บาท/ก.ก. ในปี 2542 เป็น 339.1 บาท/ก.ก. ในปี 2543
- ปี 2543 การส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งของไทยในเทอม US$ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกหลังจากที่หดตัวมาตลอดตั้งแต่ปี 2539 เนื่อง
จากในปีนี้ราคาส่งออกเฉลี่ยในเทอม US$ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 13.6 ขณะที่ปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5
- ความต้องการกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในตลาดสหรัฐฯ ซึ่งความต้องการกุ้งเพิ่มสูงมาก ขณะที่ปริมาณผลผลิตกุ้ง
ในตลาดโลกมีไม่เพียงพอกับความต้องการ เนื่องจากผู้ผลิตกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งรายสำคัญในแถบลาตินอเมริกา คือ เอกวาดอร์ และเม็กซิโก ประสบปัญหา
โรคกุ้งระบาด จึงเป็นโอกาสดีของไทยในการขยายการส่งออกไปสหรัฐฯ นอกจากนี้ การที่ผู้ผลิตกุ้งสด แช่เย็นแช่แข็งรายใหญ่ของไทยหลายรายสามารถ
ปรับตัวเข้าสู่มาตรฐานด้านสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อมตามที่สหรัฐฯกำหนดได้อย่างทันท่วงทีทำให้ไทยสามารถรักษาส่วนแบ่งตลาดกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งไว้ได้
โดยปัจจุบันไทยครองส่วนแบ่งตลาดกุ้งมากเป็นอันดับ 1 ในสหรัฐฯ
- ปี 2543 การส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งของไทยไปตลาดญี่ปุ่นในเทอม US$ เริ่มขยายตัวหลังจากที่หดตัวมาตลอดตั้งแต่ปี 2539 โดยได้รับ
ผลดีจากเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องและค่าเงินเยน ที่แข็งขึ้น ส่งผลให้กำลังซื้อในตลาดญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น
- การส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งของไทยไปตลาดจีนยังคงหดตัวต่อเนื่องจากปี 2542 เนื่องจากกำแพงภาษีนำเข้าของจีนที่สูงถึงร้อยละ 30
รวมทั้งราคากุ้งไทยที่อยู่ในระดับค่อนข้างสูง ทำให้ผู้นำเข้าในจีนหันไปนำเข้ากุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งจากคู่แข่งของไทย เช่น อินเดีย บังกลาเทศ และเวียด
นาม ซึ่งมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าแทน
- การส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งของไทยไปตลาด EU ประสบปัญหาการถูกกีดกัน โดยในช่วงเดือนสิงหาคม 2543 กลุ่ม FIAN (FoodFirst
Information& Action Network) ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนที่ เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชนในเยอรมนี ได้ประกาศต่อต้านกุ้งที่
ผลิตจากไทยและเอกวาดอร์ โดยระบุว่าการทำนากุ้งของไทยเป็นสาเหตุของการทำลายป่าชายเลนและทำให้ดินเค็ม
- ในปี 2544 แม้ว่าการส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งของไทยยังคงได้รับผลดีจากปัญหาโรคกุ้งระบาดใน ประเทศแถบลาตินอเมริกาตั้งแต่ปี
2542 ที่ยังไม่มีท่าทีว่าจะคลี่คลายลง และอาจต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะฟื้นตัว ขณะที่ผลผลิตกุ้งไทยมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เพราะราคากุ้งที่
สูงในปี 2543 จูงใจให้เกษตรกรขยายการผลิตมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของการส่งออกกุ้งของไทยอาจเผชิญกับอุปสรรคสำคัญหลายประการ
ได้แก่
- ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งหลักของไทย มีแนวโน้มชะลอการขยายตัวลง
- การขยายการผลิตกุ้งของประเทศผู้ผลิตสำคัญ เช่น อินโดนีเซีย เวียดนาม จีน และบราซิล รวมทั้งการที่สหรัฐฯอาจหันไปนำเข้ากุ้ง
จากประเทศในแถบลาตินอเมริกาที่ไม่มีปัญหาโรคกุ้งระบาด เช่น บราซิล มากขึ้น
- การที่เวียดนามซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยสามารถขยายการส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในตลาดสหรัฐฯ
และญี่ปุ่นโดยเฉพาะในตลาดญี่ปุ่น เวียดนามสามารถครองส่วนแบ่งตลาดได้มากเป็นอันดับ 3 รองจากอินเดีย และอินโดนีเซีย โดยในปี 2543 (ม.ค.-
ก.ย.)เวียดนามมีส่วนแบ่งตลาดกุ้งในญี่ปุ่นสูงถึงร้อยละ 14 ขณะที่ไทยมีส่วนแบ่งตลาดเพียงร้อยละ 7 และคาดว่าในปี 2544เวียดนามจะสามารถส่งออก
และขยายตลาดกุ้งในญี่ปุ่นได้มากขึ้นตามนโยบายส่งเสริมการผลิตกุ้งเพื่อการส่งออกอย่างจริงจังทั้งในด้านการขยายพื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้ง และการแก้ไข
กฎหมายเพื่อจูงใจให้นักลงทุนเข้าไปลงทุนเพาะเลี้ยงกุ้งในเวียดนามมากขึ้น
- การประกาศใช้นโยบายความปลอดภัยด้านสินค้าอาหารตาม White Paper ของ EU คาดว่าจะ เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกกุ้งของ
ไทยในระยะข้างหน้า
- การตัดสิทธิ GSP กุ้งไทยของ EU มีแนวโน้มทำให้กุ้งไทยเสียเปรียบในการแข่งขันกับประเทศที่ยังได้สิทธิไม่ต้องเสียภาษีในการส่ง
กุ้งเข้าไปจำหน่ายใน EU เช่น บังกลาเทศ มาดากัสการ์ และ เซเนกัล นอกจากนี้ อีกหลายประเทศก็ได้สิทธิเสียภาษีในการส่งกุ้งไปจำหน่ายใน EU
ในอัตราต่ำ เช่น เอกวาดอร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และพม่า
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย--
-อน-