การผลิตพืชผล เดือนสิงหาคม ลดลงจากช่วงเดียวกัน ของปีก่อนร้อยละ 11.3 ผลผลิตที่ลดลงมากได้แก่ ข้าว ยางพาราและถั่วเหลือง เนื่องจากมีฝนตกชุกและน้ำท่วมในบางพื้นที่ ทำให้ การเก็บเกี่ยวและการเพาะปลูกต้องล่าช้าออกไป ส่วนยางพาราลดลง เนื่องจากสภาพฝนตกชุกในภาคใต้ ทำให้เกษตรกรไม่สามารถกรีดยางได้ ราคาพืชผลในเดือนสิงหาคม ยังคงลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.9 ราคาพืชผลที่ลดลงมาก ได้แก่ ข้าวโพด (-14.7%) มันสำปะหลัง (-15.2%) และผลไม้ (-32.0%) เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดมากประกอบกับราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกยังคงลดลงต่อเนื่อง
การผลิตสัตว์น้ำ ปริมาณสัตว์น้ำขึ้นท่าในช่วง 7 เดือนแรกของปีลดลงร้อยละ 2.7 ซึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามในส่วนของผลผลิตกุ้งกุลาดำ กลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการขยายการเพาะเลี้ยง โดยในบางพื้นที่มีการเปิดฟาร์มเพาะเลี้ยงใหม่ เนื่องจากราคากุ้งกุลาดำอยู่ ในเกณฑ์สูง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนและตลาด ต่างประเทศยังคงมีความต้องการต่อเนื่อง เพื่อทดแทนผลผลิตโลกที่ลดลงจากปัญหาการเกิดโรคระบาดตัวแดงดวงขาวใน เอกวาดอร์และเม็กซิโก
ปริมาณน้ำในเขื่อนสำคัญ ในเดือนนี้ได้มีการปรับเปลี่ยนค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำสำคัญ 10 ปีย้อนหลัง โดยใช้ข้อมูลตั้งแต่ปี 2533 — 2542 แทนข้อมูลชุดเดิมเพื่อปรับข้อมูลให้ทันสมัย ทั้งนี้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2543 อยู่ที่ 51,690 ลูกบาศก์เมตรคิดเป็นร้อยละ 78.1 ของความจุรวม จากอิทธิพลของพายุหลายลูกที่พาดผ่านประเทศไทย ทำให้มีฝนตกหนักต่อเนื่อง ส่งผลให้พื้นที่การเกษตร การเลี้ยงปศุสัตว์และการทำประมงได้รับ ความเสียหายค่อนข้างมาก รายงานความเสียหายล่าสุด (14 กันยายน 2543) มีพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายแล้วรวม 1,047,117 ไร่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกข้าว ปศุสัตว์ เสียหายรวม 837,320 ตัวซึ่งส่วนใหญ่เป็นไก่ เป็ดและโค ส่วนบ่อปลาเสียหายรวม 48,644 บ่อ อย่างไรก็ตามหน่วยงาน ของรัฐได้เข้าไปดำเนินการช่วยเหลือในเบื้องต้นแล้ว ในรูปของเมล็ดพันธุ์ข้าวและพันธุ์ปลา อาหารสัตว์และเวชภัณฑ์ป้องกันรักษาสัตว์ รายได้จากการขายพืชผลที่สำคัญของเกษตรกร ในเดือนสิงหาคม ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 19.2 ซึ่งเป็นผลจากการที่ผลผลิตพืชผลและราคาพืชผลที่เกษตรกรขายได้ลดลงร้อยละ 11.3 และ 8.9 ตามลำดับ ราคาสินค้าเกษตร ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2543ดัชนีราคาสินค้าเกษตรรวม ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11.1 โดยราคาลดลงในหมวดพืชผล (-14.6%) และหมวดปศุสัตว์ (-11.4%) ขณะที่ราคาหมวดสัตว์น้ำและป่าไม้ เพิ่มจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.8 และ 3.4 ตามลำดับ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
การผลิตสัตว์น้ำ ปริมาณสัตว์น้ำขึ้นท่าในช่วง 7 เดือนแรกของปีลดลงร้อยละ 2.7 ซึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามในส่วนของผลผลิตกุ้งกุลาดำ กลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการขยายการเพาะเลี้ยง โดยในบางพื้นที่มีการเปิดฟาร์มเพาะเลี้ยงใหม่ เนื่องจากราคากุ้งกุลาดำอยู่ ในเกณฑ์สูง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนและตลาด ต่างประเทศยังคงมีความต้องการต่อเนื่อง เพื่อทดแทนผลผลิตโลกที่ลดลงจากปัญหาการเกิดโรคระบาดตัวแดงดวงขาวใน เอกวาดอร์และเม็กซิโก
ปริมาณน้ำในเขื่อนสำคัญ ในเดือนนี้ได้มีการปรับเปลี่ยนค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำสำคัญ 10 ปีย้อนหลัง โดยใช้ข้อมูลตั้งแต่ปี 2533 — 2542 แทนข้อมูลชุดเดิมเพื่อปรับข้อมูลให้ทันสมัย ทั้งนี้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2543 อยู่ที่ 51,690 ลูกบาศก์เมตรคิดเป็นร้อยละ 78.1 ของความจุรวม จากอิทธิพลของพายุหลายลูกที่พาดผ่านประเทศไทย ทำให้มีฝนตกหนักต่อเนื่อง ส่งผลให้พื้นที่การเกษตร การเลี้ยงปศุสัตว์และการทำประมงได้รับ ความเสียหายค่อนข้างมาก รายงานความเสียหายล่าสุด (14 กันยายน 2543) มีพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายแล้วรวม 1,047,117 ไร่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกข้าว ปศุสัตว์ เสียหายรวม 837,320 ตัวซึ่งส่วนใหญ่เป็นไก่ เป็ดและโค ส่วนบ่อปลาเสียหายรวม 48,644 บ่อ อย่างไรก็ตามหน่วยงาน ของรัฐได้เข้าไปดำเนินการช่วยเหลือในเบื้องต้นแล้ว ในรูปของเมล็ดพันธุ์ข้าวและพันธุ์ปลา อาหารสัตว์และเวชภัณฑ์ป้องกันรักษาสัตว์ รายได้จากการขายพืชผลที่สำคัญของเกษตรกร ในเดือนสิงหาคม ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 19.2 ซึ่งเป็นผลจากการที่ผลผลิตพืชผลและราคาพืชผลที่เกษตรกรขายได้ลดลงร้อยละ 11.3 และ 8.9 ตามลำดับ ราคาสินค้าเกษตร ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2543ดัชนีราคาสินค้าเกษตรรวม ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11.1 โดยราคาลดลงในหมวดพืชผล (-14.6%) และหมวดปศุสัตว์ (-11.4%) ขณะที่ราคาหมวดสัตว์น้ำและป่าไม้ เพิ่มจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.8 และ 3.4 ตามลำดับ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-