บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๑
ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
----------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๕ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภา
ผู้แทนราษฎร นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร
คนที่หนึ่ง และนายบุญชง วีสมหมาย รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง
ขึ้นบัลลังก์
ประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวเปิดประชุมแล้วให้เลขาธิการ
สภาผู้แทนราษฎรอ่านพระบรมราชโองการ ให้ที่ประชุมทราบ รวม ๓ ฉบับ คือ
๑. พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศ พระราชกฤษฎีกา
เรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๔๔
๒. พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศ แต่งตั้งประธาน
กรรมการและกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
๓. พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศ แต่งตั้งองคมนตรี
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่อง
ต่าง ๆ ดังนี้
๑. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๑ (สมัยสามัญทั่วไป) วันศุกร์ที่ ๑
มิถุนายน ๒๕๔๔ ได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติซึ่งสภาผู้แทนราษฎร
เห็นชอบแล้ว จำนวน ๒ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลจังหวัด
ปากพนัง พ.ศ. ....
(๒) ร่างพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. ....
๒. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑ (สมัยวิสามัญ) วันศุกร์ที่ ๒๙ มิถุนายน
๒๕๔๔ ได้ลงมติอนุมัติพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. ๒๕๔๔
๓. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีแจ้งเหตุขัดข้องที่นายกรัฐมนตรีไม่
สามารถพิจารณาให้คำรับรองร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินได้ภายในกำหนด
เวลา ๑๕ วัน เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติอยู่ในระหว่างการพิจารณาของส่วน
ราชการที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๖ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. ....
ซึ่ง นายระวัง เนตรโพธิ์แก้ว กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๒) ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการนครธนบุรี พ.ศ. ....
ซึ่ง นายนิยม วรปัญญา กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๓) ร่างพระราชบัญญัติการกีฬาและกิจการเยาวชน พ.ศ. ....
ซึ่ง นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก เป็นผู้เสนอ
(๔) ร่างพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหาร
บางส่วนของสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงศึกษาธิการ ไปเป็นของกระทรวงกีฬา
และกิจการเยาวชน พ.ศ. .... ซึ่ง นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก เป็นผู้เสนอ
(๕) ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูการกีฬา
พ.ศ. .... ซึ่ง นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก เป็นผู้เสนอ
(๖) ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. .... ซึ่ง
นายระวัง เนตรโพธิ์แก้ว กับคณะ เป็นผู้เสนอ
๔. รับทราบประธานสภาผู้แทนราษฎรอนุญาตให้คณะกรรมาธิการ
วิสามัญเพื่อศึกษาปัญหาชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ขยายเวลาพิจารณาศึกษา
ในระหว่างปิดสมัยประชุมออกไปอีก ๖๐ วัน นับตั้งแต่วันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๔
และอนุญาตให้คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาปัญหาราคาพืชผลทางการ
เกษตรตกต่ำ ขยายเวลาพิจารณาศึกษาในระหว่างปิดสมัยประชุมออกไปอีก ๖๐ วัน
นับตั้งแต่วันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๔๔
ที่ประชุมรับทราบภายหลังการอภิปรายของสมาชิกฯ โดยมีประธาน
คณะกรรมาธิการทั้งสองคณะเป็นผู้ตอบชี้แจง
๕. รับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
ประจำปี ๒๕๔๓
ก่อนที่สมาชิกฯ จะอภิปราย ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ขออนุญาตให้
พลตำรวจโท วาสนา เพิ่มลาภ และพันตำรวจเอก พีระพันธ์ เปรมภูติ ผู้แทนจาก
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เข้าชี้แจงข้อเท็จจริงต่อที่ประชุมประกอบ
การอภิปรายของรัฐมนตรี ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๔๔
ข้อ ๖๘ ตามที่รัฐมนตรีร้องขอ
ในช่วงของการอภิปรายซักถาม รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง
ได้ปฏิบัติหน้าที่แทนเมื่อได้อภิปรายจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้รับทราบ
รายงานดังกล่าวโดยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (พลเอก ธรรมรักษ์
อิศรางกูร ณ อยุธยา) และผู้แทนจากสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
เป็นผู้ตอบชี้แจง
ก่อนที่ที่ประชุมจะพิจารณาในระเบียบวาระต่อไป ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธาน
สภาผู้แทนราษฎรได้กล่าวนำสมาชิกฯ ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งได้
ประกาศรับรองผลการเลือกตั้งและได้อยู่ในที่ประชุมแล้ว เพื่อปฏิญาณตนต่อที่ประชุม
ก่อนเข้ารับหน้าที่ ตามมาตรา ๑๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ดังนี้
๑. นายเกรียง กัลป์ตินันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัด
อุบลราชธานี
๒. นายพีระพงษ์ เฮงสวัสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดบุรีรัมย์
๓. นายพงศกร อรรณนพพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดขอนแก่น
๔. นางนัฐมล สมบูรณ์เทอดธนา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัด
สุรินทร์ และ
๕. พลตรี ศรชัย มนตริวัต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกาญจนบุรี
(ลำดับที่ ๕ ได้กล่าวปฏิญาณตนในระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครอง
การดำเนินงานขององค์การห้ามอาวุธเคมี พ.ศ. ....)
ต่อจากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งให้
ที่ประชุมรับทราบเรื่อง ได้จัดให้มีการถ่ายทอดการประชุมทางวิทยุกระจายเสียง
แห่งประเทศไทยและวิทยุรัฐสภาในการประชุมทุกครั้ง ส่วนการถ่ายทอดทางสถานี
โทรทัศน์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ทำหนังสือขอความร่วมมือไปยังนายกรัฐมนตรีแล้ว
ที่ประชุมรับทราบ
หลังจากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้
ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๑ จำนวน ๓
ครั้ง คือ
ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญทั่วไป) วันจันทร์ที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔
ครั้งที่ ๒ (สมัยสามัญทั่วไป) วันศุกร์ที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔
ครั้งที่ ๓ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔
ที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมทั้ง ๓ ครั้งดังกล่าว
ก่อนที่ที่ประชุมจะพิจารณาระเบียบวาระต่อไป ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน
ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอนำระเบียบวาระที่ ๗ เรื่องอื่น ๆ
ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
ระเบียบวาระที่ ๗ เรื่องอื่น ๆ ตามลำดับ ดังนี้
๑. ตั้งซ่อมกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. .... แทนตำแหน่งที่ว่างลง
๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๑)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายปรีชา มุสิกุล เป็นกรรมาธิการแทน
นายปรีชา สุวรรณทัต
๒. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภาในคณะกรรมาธิการ
การสาธารณสุข แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๒ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๒)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายไพศาล จันทวารา เป็นกรรมาธิการแทน
นายปรีชา มุสิกุล และนายพิทักษ์ สันติวงศ์เดชา เป็นกรรมาธิการแทน นายเอนก
ทับสุวรรณ
ต่อมา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สองได้ปฏิบัติหน้าที่แทน และ
ได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระที่ ๗ เรื่องอื่น ๆ ในลำดับถัดไป
๓. ตั้งซ่อมกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕
แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๓)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายสุธรรม แสงประทุม เป็นกรรมาธิการแทน
นายเกษม วัฒนชัย
๔. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภาในคณะกรรมาธิการ
กิจการสภาผู้แทนราษฎร แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ยังมิได้บรรจุระเบียบ
วาระ)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายพงศกร อรรณนพพร เป็นกรรมาธิการแทน
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์
จากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุม
พิจารณาระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานขององค์การห้ามอาวุธเคมี
พ.ศ. .... ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๑)
๒. ร่างพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งคณะ
กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๒)
๓. ร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๓)
๔. ร่างพระราชบัญญัติโอนที่ราชพัสดุที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ในท้องที่ตำบลเชียงบาน อำเภอเชียงคำ
จังหวัดพะเยา ให้แก่นายสิงห์ ใจวังโลก พ.ศ. .... ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญ
พิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๔)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๔ ฉบับ ในวาระที่ ๒
ทีละฉบับ ตามลำดับ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตรา
จนจบร่าง และได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ทั้ง ๔ ฉบับ ตามลำดับ เพื่อเสนอให้
วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ
เลิกประชุมเวลา ๑๗.๑๕ นาฬิกา
(นางศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๗๑ ๓๓๖๗
โทรสาร ๐ ๒๒๗๑ ๓๓๖๗
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๔ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานขององค์การห้ามอาวุธเคมี พ.ศ. ....
๒. ร่างพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
๓. ร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
๔. ร่างพระราชบัญญัติโอนที่ราชพัสดุที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์
ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ในท้องที่ตำบลเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ให้แก่นายสิงห์ ใจวังโลก
พ.ศ. ....
********************************
ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
----------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๕ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภา
ผู้แทนราษฎร นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร
คนที่หนึ่ง และนายบุญชง วีสมหมาย รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง
ขึ้นบัลลังก์
ประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวเปิดประชุมแล้วให้เลขาธิการ
สภาผู้แทนราษฎรอ่านพระบรมราชโองการ ให้ที่ประชุมทราบ รวม ๓ ฉบับ คือ
๑. พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศ พระราชกฤษฎีกา
เรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๔๔
๒. พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศ แต่งตั้งประธาน
กรรมการและกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
๓. พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศ แต่งตั้งองคมนตรี
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่อง
ต่าง ๆ ดังนี้
๑. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๑ (สมัยสามัญทั่วไป) วันศุกร์ที่ ๑
มิถุนายน ๒๕๔๔ ได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติซึ่งสภาผู้แทนราษฎร
เห็นชอบแล้ว จำนวน ๒ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลจังหวัด
ปากพนัง พ.ศ. ....
(๒) ร่างพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. ....
๒. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑ (สมัยวิสามัญ) วันศุกร์ที่ ๒๙ มิถุนายน
๒๕๔๔ ได้ลงมติอนุมัติพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. ๒๕๔๔
๓. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีแจ้งเหตุขัดข้องที่นายกรัฐมนตรีไม่
สามารถพิจารณาให้คำรับรองร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินได้ภายในกำหนด
เวลา ๑๕ วัน เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติอยู่ในระหว่างการพิจารณาของส่วน
ราชการที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๖ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. ....
ซึ่ง นายระวัง เนตรโพธิ์แก้ว กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๒) ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการนครธนบุรี พ.ศ. ....
ซึ่ง นายนิยม วรปัญญา กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๓) ร่างพระราชบัญญัติการกีฬาและกิจการเยาวชน พ.ศ. ....
ซึ่ง นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก เป็นผู้เสนอ
(๔) ร่างพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหาร
บางส่วนของสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงศึกษาธิการ ไปเป็นของกระทรวงกีฬา
และกิจการเยาวชน พ.ศ. .... ซึ่ง นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก เป็นผู้เสนอ
(๕) ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูการกีฬา
พ.ศ. .... ซึ่ง นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก เป็นผู้เสนอ
(๖) ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. .... ซึ่ง
นายระวัง เนตรโพธิ์แก้ว กับคณะ เป็นผู้เสนอ
๔. รับทราบประธานสภาผู้แทนราษฎรอนุญาตให้คณะกรรมาธิการ
วิสามัญเพื่อศึกษาปัญหาชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ขยายเวลาพิจารณาศึกษา
ในระหว่างปิดสมัยประชุมออกไปอีก ๖๐ วัน นับตั้งแต่วันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๔
และอนุญาตให้คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาปัญหาราคาพืชผลทางการ
เกษตรตกต่ำ ขยายเวลาพิจารณาศึกษาในระหว่างปิดสมัยประชุมออกไปอีก ๖๐ วัน
นับตั้งแต่วันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๔๔
ที่ประชุมรับทราบภายหลังการอภิปรายของสมาชิกฯ โดยมีประธาน
คณะกรรมาธิการทั้งสองคณะเป็นผู้ตอบชี้แจง
๕. รับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
ประจำปี ๒๕๔๓
ก่อนที่สมาชิกฯ จะอภิปราย ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ขออนุญาตให้
พลตำรวจโท วาสนา เพิ่มลาภ และพันตำรวจเอก พีระพันธ์ เปรมภูติ ผู้แทนจาก
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เข้าชี้แจงข้อเท็จจริงต่อที่ประชุมประกอบ
การอภิปรายของรัฐมนตรี ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๔๔
ข้อ ๖๘ ตามที่รัฐมนตรีร้องขอ
ในช่วงของการอภิปรายซักถาม รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง
ได้ปฏิบัติหน้าที่แทนเมื่อได้อภิปรายจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้รับทราบ
รายงานดังกล่าวโดยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (พลเอก ธรรมรักษ์
อิศรางกูร ณ อยุธยา) และผู้แทนจากสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
เป็นผู้ตอบชี้แจง
ก่อนที่ที่ประชุมจะพิจารณาในระเบียบวาระต่อไป ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธาน
สภาผู้แทนราษฎรได้กล่าวนำสมาชิกฯ ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งได้
ประกาศรับรองผลการเลือกตั้งและได้อยู่ในที่ประชุมแล้ว เพื่อปฏิญาณตนต่อที่ประชุม
ก่อนเข้ารับหน้าที่ ตามมาตรา ๑๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ดังนี้
๑. นายเกรียง กัลป์ตินันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัด
อุบลราชธานี
๒. นายพีระพงษ์ เฮงสวัสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดบุรีรัมย์
๓. นายพงศกร อรรณนพพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดขอนแก่น
๔. นางนัฐมล สมบูรณ์เทอดธนา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัด
สุรินทร์ และ
๕. พลตรี ศรชัย มนตริวัต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกาญจนบุรี
(ลำดับที่ ๕ ได้กล่าวปฏิญาณตนในระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครอง
การดำเนินงานขององค์การห้ามอาวุธเคมี พ.ศ. ....)
ต่อจากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งให้
ที่ประชุมรับทราบเรื่อง ได้จัดให้มีการถ่ายทอดการประชุมทางวิทยุกระจายเสียง
แห่งประเทศไทยและวิทยุรัฐสภาในการประชุมทุกครั้ง ส่วนการถ่ายทอดทางสถานี
โทรทัศน์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ทำหนังสือขอความร่วมมือไปยังนายกรัฐมนตรีแล้ว
ที่ประชุมรับทราบ
หลังจากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้
ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๑ จำนวน ๓
ครั้ง คือ
ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญทั่วไป) วันจันทร์ที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔
ครั้งที่ ๒ (สมัยสามัญทั่วไป) วันศุกร์ที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔
ครั้งที่ ๓ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔
ที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมทั้ง ๓ ครั้งดังกล่าว
ก่อนที่ที่ประชุมจะพิจารณาระเบียบวาระต่อไป ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน
ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอนำระเบียบวาระที่ ๗ เรื่องอื่น ๆ
ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
ระเบียบวาระที่ ๗ เรื่องอื่น ๆ ตามลำดับ ดังนี้
๑. ตั้งซ่อมกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. .... แทนตำแหน่งที่ว่างลง
๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๑)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายปรีชา มุสิกุล เป็นกรรมาธิการแทน
นายปรีชา สุวรรณทัต
๒. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภาในคณะกรรมาธิการ
การสาธารณสุข แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๒ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๒)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายไพศาล จันทวารา เป็นกรรมาธิการแทน
นายปรีชา มุสิกุล และนายพิทักษ์ สันติวงศ์เดชา เป็นกรรมาธิการแทน นายเอนก
ทับสุวรรณ
ต่อมา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สองได้ปฏิบัติหน้าที่แทน และ
ได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระที่ ๗ เรื่องอื่น ๆ ในลำดับถัดไป
๓. ตั้งซ่อมกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕
แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๓)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายสุธรรม แสงประทุม เป็นกรรมาธิการแทน
นายเกษม วัฒนชัย
๔. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภาในคณะกรรมาธิการ
กิจการสภาผู้แทนราษฎร แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ยังมิได้บรรจุระเบียบ
วาระ)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายพงศกร อรรณนพพร เป็นกรรมาธิการแทน
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์
จากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุม
พิจารณาระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานขององค์การห้ามอาวุธเคมี
พ.ศ. .... ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๑)
๒. ร่างพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งคณะ
กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๒)
๓. ร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๓)
๔. ร่างพระราชบัญญัติโอนที่ราชพัสดุที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ในท้องที่ตำบลเชียงบาน อำเภอเชียงคำ
จังหวัดพะเยา ให้แก่นายสิงห์ ใจวังโลก พ.ศ. .... ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญ
พิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๔)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๔ ฉบับ ในวาระที่ ๒
ทีละฉบับ ตามลำดับ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตรา
จนจบร่าง และได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ทั้ง ๔ ฉบับ ตามลำดับ เพื่อเสนอให้
วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ
เลิกประชุมเวลา ๑๗.๑๕ นาฬิกา
(นางศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๗๑ ๓๓๖๗
โทรสาร ๐ ๒๒๗๑ ๓๓๖๗
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๔ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานขององค์การห้ามอาวุธเคมี พ.ศ. ....
๒. ร่างพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
๓. ร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
๔. ร่างพระราชบัญญัติโอนที่ราชพัสดุที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์
ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ในท้องที่ตำบลเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ให้แก่นายสิงห์ ใจวังโลก
พ.ศ. ....
********************************