ภาวะเศรษฐกิจการเงินเดือนพฤษภาคม 2544 ดีขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย โดยมีเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจที่สำคัญที่เป็นปัจจัยบวก ได้แก่ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม โครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุน ปริมาณผลผลิตอุตสาหกรรมที่สำคัญ (เยื่อกระดาษและเครื่องดื่ม) ปริมาณการซื้อขายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ การเกินดุลการค้าชายแดนไทย-ลาว สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล เงินโอนกลับจากแรงงานที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน รวมทั้งภาครัฐยังคงใช้นโยบายการขาดดุลงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง สำหรับปัจจัยที่เป็นลบ ได้แก่ ราคาข้าวเปลือกเจ้า ปริมาณการใช้ไฟฟ้า และแรงงานเดินทางไปทำงานต่างประเทศลดลงจากเดือนก่อน ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากเดือนก่อน นอกจากนี้ ผลการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจในภาคฯ เดือนนี้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อน อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ยังน่าเป็นห่วง ได้แก่ ราคาพืชผลเกษตรสำคัญยังอยู่ระดับต่ำไม่คุ้มกับการลงทุน และสถาบันการเงินยังคงระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ
ภาคการเกษตร
การผลิตพืชผลเกษตรที่สำคัญของภาค ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงฤดูการเพาะปลูก ด้านราคาข้าวปรับตัวลดลง มันสำปะหลังปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่วนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ยังคงทรงตัว
ข้าว
ในเดือนพฤษภาคมผลผลิตข้าวอยู่ช่วงต้นฤดูการเพาะปลูก ด้านการตลาด ราคาข้าวนาปีปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากความต้องการของตลาดลดลง ประกอบกับเป็นช่วงข้าวนาปรังออกสู่ท้องตลาด
ราคาขายส่งข้าวเปลือกเจ้า 10% เกวียนละ 4,241 บาท ลดลงร้อยละ 4.3 จากเดือนก่อนเกวียนละ 4,433 บาท ข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดสั้น) เกวียนละ 5,056 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ข้าวสารเจ้า 10% กระสอบละ 923 บาท ลดลงร้อยละ 0.6 จากเดือนก่อนกระสอบละ 929 บาท ข้าวสารเหนียว 10% (เมล็ดสั้น) กระสอบละ 1,009 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 จากเดือนก่อน กระสอบละ 989 บาท
มันสำปะหลัง
การผลิตมันสำปะหลังอยู่ในช่วงฤดูการเพาะปลูก แต่ยังมีพื้นที่เพาะปลูกบางส่วน มีผลผลิตมันสำปะหลังเหลืออยู่ และเกษตรกรได้ขุดหัวมันเพื่อออกจำหน่าย ทางด้านการตลาดความต้องการตลาดภายในท้องถิ่นยังมีอยู่มาก โดยเฉพาะโรงงานแปรรูปมันสำปะหลังขนาดใหญ่ เช่น นครราชสีมา กาฬสินธุ์ ส่งผลให้ราคามันสำปะหลังขยับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยราคาขายส่งเฉลี่ยหัวมันสดกิโลกรัมละ 0.90 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.4 จากเดือนก่อนกิโลกรัมละ 0.76 บาท มันเส้นกิโลกรัมละ 1.70 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 จากเดือนก่อนกิโลกรัมละ 1.55 บาท
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
การผลิตข้าวโพดอยู่ในช่วงฤดูการเพาะปลูก ราคาข้าวโพดยังคงทรงตัว โดยราคาขายส่งเฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.10 บาท
อ้อยโรงงาน
การผลิตอ้อยอยู่ในช่วงฤดูการเพาะปลูก และยังคงประสบปัญหาการเกิดโรคระบาด (โรคหนอนกออ้อยและโรคใบขาว) การแก้ปัญหาดังกล่าวได้ใช้เงินกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย โดยได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุน เป็นผู้ควบคุมดูแล สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับการจัดสรรทั้งสิ้น 33,105,110 บาท และแบ่งพื้นที่ให้ความช่วยเหลือเป็น 7 เขต ในวันที่ 3 พฤษภาคม 2544 คณะกรรมการบริหารกองทุนได้โอนเงินไปยังเขตต่าง ๆ เพื่อจัดซื้อสารเคมีและแตนเบียน เพื่อแจกจ่ายให้ชาวไร่ที่เกิดปัญหา
การติดตามและสำรวจการระบาด ศูนย์เกษตรอ้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยขอนแก่นออกสำรวจสภาพปัญหา สำหรับภาคเอกชนได้มีการติดป้ายประชาสัมพันธ์ให้ไถทิ้ง และให้เมล็ดพันธุ์ถั่วมะแฮะมาปลูกในราคากิโลกรัมละ 15 บาท (ปกติ 30 บาท) เพื่อช่วยแก้ปัญญาการเกิดโรคระบาด
ภาคอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมน้ำตาล
โรงงานน้ำตาลในภาคเริ่มทยอยปิดหีบตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2544 และได้ปิดหีบวันสุดท้ายวันที่ 26 มีนาคม 2544 โดยปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งสิ้น 18.1 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 13.0 จากปีก่อน เนื่องจากปัญหาการระบาดของหนอนกออ้อยและโรคใบขาว ทำให้สามารถผลิตน้ำตาลได้ 19.0 ล้านกระสอบ
การลงทุนภาคเอกชน
การส่งเสริมการลงทุน
เดือนนี้มีโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน 5 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 จากเดือนก่อน ใช้เงินลงทุน 465.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัวจากเดือนก่อน ได้แก่
1. บริษัท สตาร์แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ผลิต Poly-Propylene Yarn กำลังการผลิตปีละ 1,620 ตัน เงินลงทุน 68.7 ล้านบาท จ้างแรงงาน 13 คน (กิจการร่วมทุนระหว่างอังกฤษ ปากีสถาน) จังหวัดนครราชสีมา
2. บริษัท ไทยมิลเทคอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผลิต Sheet Drain กำลังการผลิตปีละ 12.5 ล้านเมตร เงินลงทุน 11 ล้านบาท จ้างแรงงาน 10 คน (กิจการร่วมทุนกับญี่ปุ่น) จังหวัดนครราชสีมา
3. กิจการผลิตดินสอดำและดินสอสี กำลังการผลิตปีละ 750,000 กุรุส เงินลงทุน 25 ล้านบาท การจ้างงาน 80 คน จังหวัดอุดรธานี
4. กิจการปลูกป่า โดยผลิตต้นยูคาลิปตัสปีละ 1.2 ล้านตัน เงินลงทุน 300 ล้านบาท การจ้างงาน 120 คน จังหวัดชัยภูมิ
5. บริษัท ไทยชิม จำกัด ผลิตอาหารสำเร็จรูปแช่แข็งจากถั่วเหลือง กำลังการผลิตปีละ 246 ตัน เงินลงทุน 61 ล้านบาท การจ้างงาน 150 คน (กิจการร่วมทุนกับญี่ปุ่น) จังหวัดนครราชสีมา
จดทะเบียนธุรกิจ
เดือนพฤษภาคม 2544 มีการจดทะเบียนธุรกิจประกอบกิจการ 546 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 28.2 แต่เงินทุน 361.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 44.9
การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของภาคเอกชน
ในเดือนนี้การใช้จ่ายภาคเอกชนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยมี :-
การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 257.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 6.2 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากบริษัทขอนแก่นบริวเวอรี่ จำกัด เป็นบริษัทในเครือบุญรอด ซึ่งเดิมบริษัทแม่เป็นผู้ยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่มที่ส่วนกลาง ปัจจุบันบริษัทฯได้ยื่นชำระภาษีให้กับท้องถิ่นเป็นเดือนแรก
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในเดือนนี้ 662 ล้านกิโลวัตต์/ชั่วโมง ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.7 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3
สินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล ณ สิ้นพฤษภาคม 2544 มีทั้งสิ้น 37,745.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.7
ปริมาณการซื้อขายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ จากข้อมูลการจดทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของสำนักงานขนส่งจังหวัดในภาคฯเดือนนี้มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ทั้งสิ้น 1,019 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.1 จากเดือนก่อน รถบรรทุกส่วนบุคคล 2,014 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.8 และรถจักรยานยนต์ 15,768 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 เนื่องจากตลาดรถยนต์และรถจักรยานยนต์มีการแข่งขันกันออกแคมเปญและกิจกรรมส่งเสริมการขายมากขึ้น
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป
อัตราเงินเฟ้อเดือนนี้วัดจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนสูงขึ้นร้อยละ 2.9 ทั้งนี้เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 1.2 และดัชนีราคาหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 3.8
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเทียบจากเดือนก่อนสูงขึ้นร้อยละ 1.0 เนื่องจากดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 1.4 และดัชนีราคาหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 0.8
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม สินค้าที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ สินค้าหมวดผักและผลไม้ สูงขึ้นร้อยละ 7.4 หมวดเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำสูงขึ้นร้อยละ 1.7 หมวดไข่และผลิตภัณฑ์นม สูงขึ้นร้อยละ 0.7 สินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ หมวดข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งลดลงร้อยละ 2.5 และหมวดเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ลดลงร้อยละ 0.2
หมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม สินค้าที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ หมวดยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นมากที่สุดร้อยละ 8.2 หมวดยานพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร สูงขึ้นร้อยละ 0.7 ในส่วนหมวดอื่น ๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
แรงงานต่างประเทศ
ในเดือนนี้มีแรงงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดินทางไปทำงานยังต่างประเทศจำนวน 10,813 คน ลดลงร้อยละ 7.6 จากเดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 โดยแรงงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานจากจังหวัดอุดรธานี สัดส่วนร้อยละ 13.6 รองลงมาได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา สัดส่วนร้อยละ 10.5 จังหวัดขอนแก่น สัดส่วนร้อยละ 7.1 และจังหวัดบุรีรัมย์ สัดส่วนร้อยละ 6.3 ประเทศที่แรงงานนิยมเดินทางไปทำงานมากที่สุดยังคงเป็นประเทศไต้หวัน
การค้าชายแดนไทย-ลาว
การค้าชายแดนไทย-ลาวในเดือนพฤษภาคมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากระยะ 4 เดือนแรกของปี 2544 โดยมูลค่าการค้า 2,110.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายนถึงร้อยละ 35.4 เนื่องจากการส่งออก 1,665.3 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.4 จากเดือนก่อน เป็นผลจากมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นของสินค้าทุกหมวดโดยเฉพาะหมวดสินค้าทุน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนถึงร้อยละ 81.9 การนำเข้า 445.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.6 ส่งผลให้ไทยยังคงเกินดุลการค้าลาว 1,219.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 30.1
สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า 234.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 17.4 น้ำมันปิโตรเลียมและเชื้อเพลิงอื่น ๆ 178.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 81.2 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 151.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 213.5 สินค้าอุปโภคบริโภคในครัวเรือน 147.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.5 วัสดุก่อสร้าง 140.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.3 ส่วนยานพาหนะและอุปกรณ์ 157.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 25.4
สำหรับสินค้านำเข้าที่สำคัญยังคงเป็นไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 384.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 54.3 สินแร่ 21.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 32.5 หนังโค-กระบือ 5.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.8 ในขณะที่การนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ 0.3 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนถึงร้อยละ 88.9
ภาคการเงิน
ณ สิ้นพฤษภาคม 2544 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีจำนวนธนาคารพาณิชย์ทั้งสิ้น 495 สำนักงาน ลดลงจากเดือนก่อน 8 สำนักงาน เนื่องจากการลดขนาดองค์กรเพื่อลดต้นทุนของธนาคาร (ประกอบด้วย ธนาคารเอเชีย 6 สำนักงาน ธนาคารรัตนสิน และธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารละ 1 สำนักงาน)
จากข้อมูลเบื้องต้นเงินฝากคงค้าง 242,774.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อน ในขณะที่สินเชื่อคงค้าง 194,810.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 จากเดือนก่อน เนื่องจากธนาคารพาณิชย์บางแห่งเริ่มปล่อยสินเชื่อในบางธุรกรรมเพิ่มขึ้น ได้แก่ สินเชื่ออุตสาหกรรมเครื่องดื่ม สินเชื่ออุตสาหกรรมน้ำตาล และสินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (ในส่วนของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยส่วนบุคคล และสินเชื่อเพื่อการเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ) สำหรับอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 79.4 มาอยู่ที่ร้อยละ 80.2 ในเดือนนี้
สำหรับเงินโอนของผู้ที่ไปทำงานในต่างประเทศกลับภูมิลำเนาในภาคฯเดือนนี้ มีปริมาณเงินโอนกลับมาทั้งสิ้น 2,876.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 จากเดือนก่อน และร้อยละ 14.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนเนื่องจากช่วงที่ผ่านมามีผู้เดินทางไปทำงานต่างประเทศมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้รายได้ส่งกลับยังคงเพิ่มสูงขึ้น แต่ทั้งนี้ในเดือนพฤษภาคมจำนวนผู้ที่เดินทางไปทำงานในต่างประเทศเริ่มลดลงบ้าง เนื่องจากมาตรการลดแรงงานจากต่างประเทศของไต้หวันเพื่อแก้ปัญหาการว่างงานในประเทศ ซึ่งไต้หวันเป็นแหล่งแรงงานที่คนไทยนิยมไปทำงานมากที่สุด
ภาคการคลัง
เดือนพฤษภาคม 2544 ฐานะการคลังรัฐบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีเงินในงบประมาณขาดดุล 12,031.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.0 จากเดือนก่อน ขาดดุล 9,396.6 ล้านบาท เนื่องจากรายจ่ายรัฐบาลในภาคฯ 13,221.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 25.8 จากเดือนก่อน 10,514.4 ผลจากรายจ่ายลงทุน 5,093.9 ล้านบาท (คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 38.5 ของยอดเบิกจ่ายรวมทั้งภาคฯ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 86.7 จากเดือนก่อน 2,728.5 ล้านบาท จากการเบิกจ่ายของหมวดเงินอุดหนุนและหมวดครุภัณฑ์เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ และเมื่อรวมรายจ่ายงบประมาณภาครัฐกับรายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) 6.4 ล้านบาท ทำให้รายจ่ายรวม 13,228.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7 จากเดือนก่อน 10,527.8 ล้านบาท ส่วนรายได้รัฐบาลในภาคฯ 1,190.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 จากเดือนก่อน 1,117.8 ล้านบาท จากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้น
สำหรับความคืบหน้าในการเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี 2544 ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2544 นั้น มีผลการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 77.0 ของวงเงินประจำงวดที่ได้รับอนุมัติ เป็นการเบิกจ่ายงบประจำถึงร้อยละ 92.0 ของวงเงินประจำงวดฯ ขณะที่งบลงทุนเบิกจ่ายเพียงร้อยละ 54.5 ซึ่งอยู่ในอัตราส่วนที่ค่อนข้างต่ำ โดยมีสาเหตุหลักจากการดำเนินการของส่วนราชการล่าช้า ประกอบกับในปีนี้มีโครงการถ่ายโอนงานและกิจกรรมสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งยังไม่มีความพร้อมทั้งในด้านบุคลากรและอุปกรณ์เครื่องใช้
การสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
ผลการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดือนพฤษภาคม 2544 จากผู้ประกอบการในภาคฯ จำนวน 120 ราย สามารถสรุปได้ดังนี้
1. ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน พ.ค. 44 อยู่ที่ระดับร้อยละ 47.3 อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับเดือนก่อน และต่ำกว่าระดับที่เศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพ ทั้งนี้ เป็นผลจากปัจจัยความเชื่อมั่นด้านอำนาจซื้อของประชาชน ด้านการลงทุนโดยรวมและด้านแนวโน้มการส่งออกลดลงจากเดือนก่อน ขณะที่ปัจจัยด้านผลประกอบการ ด้านการจ้างงานและด้านต้นทุนการประกอบการดีขึ้นจากเดือนก่อน สำหรับแนวโน้มความเชื่อมั่นทางธุรกิจในอีก 4 เดือนข้างหน้าคาดว่าจะลดลง โดยจะลดลงเป็นร้อยละ 45.7 ในเดือนหน้า และร้อยละ 46.0 ในช่วง ก.ค.-ก.ย. 44
2. การแข่งขันทางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศลดลงจากเดือนก่อน แต่ยังคงมีการแข่งขันที่รุนแรง
3. ภาวะการเงินเดือน พ.ค. 44 ผู้ประกอบการมีสภาพคล่องทางธุรกิจเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ทำให้สามารถให้เครดิตแก่ลูกค้าได้เพิ่มขึ้น ขณะที่ภาระดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการ
1. ภาครัฐควรให้ความสนใจเรื่องค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคพื้นฐานและราคาน้ำมันที่สูงขึ้น รวมทั้งค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนของสินค้าต่าง ๆ ปรับสูงขึ้น
2. ภาครัฐควรเร่งผลักดันให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้มากขึ้น และเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ประชาชนผู้ฝากเงิน
3. ภาครัฐควรเร่งการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อเพิ่มเม็ดเงินสู่ท้องถิ่น
4. ภาครัฐควรดูแลเรื่องนโยบายการส่งเสริมการส่งออก โดยเร่งการคืนภาษีส่งออกให้เร็วขึ้น เนื่องจากปัจจุบันการคืนภาษีส่งออกมีความล่าช้า (ประมาณ 5 เดือน) ทำให้ผู้ประกอบการขาดเงินทุนหมุนเวียน
5. ภาครัฐควรให้ความสนใจเรื่องราคาพืชผลเกษตรสำคัญที่ตกต่ำ เนื่องจากส่งผลต่ออำนาจซื้อของเกษตรกร
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-
ภาคการเกษตร
การผลิตพืชผลเกษตรที่สำคัญของภาค ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงฤดูการเพาะปลูก ด้านราคาข้าวปรับตัวลดลง มันสำปะหลังปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่วนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ยังคงทรงตัว
ข้าว
ในเดือนพฤษภาคมผลผลิตข้าวอยู่ช่วงต้นฤดูการเพาะปลูก ด้านการตลาด ราคาข้าวนาปีปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากความต้องการของตลาดลดลง ประกอบกับเป็นช่วงข้าวนาปรังออกสู่ท้องตลาด
ราคาขายส่งข้าวเปลือกเจ้า 10% เกวียนละ 4,241 บาท ลดลงร้อยละ 4.3 จากเดือนก่อนเกวียนละ 4,433 บาท ข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดสั้น) เกวียนละ 5,056 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ข้าวสารเจ้า 10% กระสอบละ 923 บาท ลดลงร้อยละ 0.6 จากเดือนก่อนกระสอบละ 929 บาท ข้าวสารเหนียว 10% (เมล็ดสั้น) กระสอบละ 1,009 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 จากเดือนก่อน กระสอบละ 989 บาท
มันสำปะหลัง
การผลิตมันสำปะหลังอยู่ในช่วงฤดูการเพาะปลูก แต่ยังมีพื้นที่เพาะปลูกบางส่วน มีผลผลิตมันสำปะหลังเหลืออยู่ และเกษตรกรได้ขุดหัวมันเพื่อออกจำหน่าย ทางด้านการตลาดความต้องการตลาดภายในท้องถิ่นยังมีอยู่มาก โดยเฉพาะโรงงานแปรรูปมันสำปะหลังขนาดใหญ่ เช่น นครราชสีมา กาฬสินธุ์ ส่งผลให้ราคามันสำปะหลังขยับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยราคาขายส่งเฉลี่ยหัวมันสดกิโลกรัมละ 0.90 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.4 จากเดือนก่อนกิโลกรัมละ 0.76 บาท มันเส้นกิโลกรัมละ 1.70 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 จากเดือนก่อนกิโลกรัมละ 1.55 บาท
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
การผลิตข้าวโพดอยู่ในช่วงฤดูการเพาะปลูก ราคาข้าวโพดยังคงทรงตัว โดยราคาขายส่งเฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.10 บาท
อ้อยโรงงาน
การผลิตอ้อยอยู่ในช่วงฤดูการเพาะปลูก และยังคงประสบปัญหาการเกิดโรคระบาด (โรคหนอนกออ้อยและโรคใบขาว) การแก้ปัญหาดังกล่าวได้ใช้เงินกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย โดยได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุน เป็นผู้ควบคุมดูแล สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับการจัดสรรทั้งสิ้น 33,105,110 บาท และแบ่งพื้นที่ให้ความช่วยเหลือเป็น 7 เขต ในวันที่ 3 พฤษภาคม 2544 คณะกรรมการบริหารกองทุนได้โอนเงินไปยังเขตต่าง ๆ เพื่อจัดซื้อสารเคมีและแตนเบียน เพื่อแจกจ่ายให้ชาวไร่ที่เกิดปัญหา
การติดตามและสำรวจการระบาด ศูนย์เกษตรอ้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยขอนแก่นออกสำรวจสภาพปัญหา สำหรับภาคเอกชนได้มีการติดป้ายประชาสัมพันธ์ให้ไถทิ้ง และให้เมล็ดพันธุ์ถั่วมะแฮะมาปลูกในราคากิโลกรัมละ 15 บาท (ปกติ 30 บาท) เพื่อช่วยแก้ปัญญาการเกิดโรคระบาด
ภาคอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมน้ำตาล
โรงงานน้ำตาลในภาคเริ่มทยอยปิดหีบตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2544 และได้ปิดหีบวันสุดท้ายวันที่ 26 มีนาคม 2544 โดยปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งสิ้น 18.1 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 13.0 จากปีก่อน เนื่องจากปัญหาการระบาดของหนอนกออ้อยและโรคใบขาว ทำให้สามารถผลิตน้ำตาลได้ 19.0 ล้านกระสอบ
การลงทุนภาคเอกชน
การส่งเสริมการลงทุน
เดือนนี้มีโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน 5 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 จากเดือนก่อน ใช้เงินลงทุน 465.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัวจากเดือนก่อน ได้แก่
1. บริษัท สตาร์แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ผลิต Poly-Propylene Yarn กำลังการผลิตปีละ 1,620 ตัน เงินลงทุน 68.7 ล้านบาท จ้างแรงงาน 13 คน (กิจการร่วมทุนระหว่างอังกฤษ ปากีสถาน) จังหวัดนครราชสีมา
2. บริษัท ไทยมิลเทคอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผลิต Sheet Drain กำลังการผลิตปีละ 12.5 ล้านเมตร เงินลงทุน 11 ล้านบาท จ้างแรงงาน 10 คน (กิจการร่วมทุนกับญี่ปุ่น) จังหวัดนครราชสีมา
3. กิจการผลิตดินสอดำและดินสอสี กำลังการผลิตปีละ 750,000 กุรุส เงินลงทุน 25 ล้านบาท การจ้างงาน 80 คน จังหวัดอุดรธานี
4. กิจการปลูกป่า โดยผลิตต้นยูคาลิปตัสปีละ 1.2 ล้านตัน เงินลงทุน 300 ล้านบาท การจ้างงาน 120 คน จังหวัดชัยภูมิ
5. บริษัท ไทยชิม จำกัด ผลิตอาหารสำเร็จรูปแช่แข็งจากถั่วเหลือง กำลังการผลิตปีละ 246 ตัน เงินลงทุน 61 ล้านบาท การจ้างงาน 150 คน (กิจการร่วมทุนกับญี่ปุ่น) จังหวัดนครราชสีมา
จดทะเบียนธุรกิจ
เดือนพฤษภาคม 2544 มีการจดทะเบียนธุรกิจประกอบกิจการ 546 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 28.2 แต่เงินทุน 361.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 44.9
การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของภาคเอกชน
ในเดือนนี้การใช้จ่ายภาคเอกชนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยมี :-
การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 257.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 6.2 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากบริษัทขอนแก่นบริวเวอรี่ จำกัด เป็นบริษัทในเครือบุญรอด ซึ่งเดิมบริษัทแม่เป็นผู้ยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่มที่ส่วนกลาง ปัจจุบันบริษัทฯได้ยื่นชำระภาษีให้กับท้องถิ่นเป็นเดือนแรก
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในเดือนนี้ 662 ล้านกิโลวัตต์/ชั่วโมง ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.7 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3
สินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล ณ สิ้นพฤษภาคม 2544 มีทั้งสิ้น 37,745.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.7
ปริมาณการซื้อขายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ จากข้อมูลการจดทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของสำนักงานขนส่งจังหวัดในภาคฯเดือนนี้มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ทั้งสิ้น 1,019 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.1 จากเดือนก่อน รถบรรทุกส่วนบุคคล 2,014 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.8 และรถจักรยานยนต์ 15,768 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 เนื่องจากตลาดรถยนต์และรถจักรยานยนต์มีการแข่งขันกันออกแคมเปญและกิจกรรมส่งเสริมการขายมากขึ้น
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป
อัตราเงินเฟ้อเดือนนี้วัดจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนสูงขึ้นร้อยละ 2.9 ทั้งนี้เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 1.2 และดัชนีราคาหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 3.8
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเทียบจากเดือนก่อนสูงขึ้นร้อยละ 1.0 เนื่องจากดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 1.4 และดัชนีราคาหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 0.8
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม สินค้าที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ สินค้าหมวดผักและผลไม้ สูงขึ้นร้อยละ 7.4 หมวดเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำสูงขึ้นร้อยละ 1.7 หมวดไข่และผลิตภัณฑ์นม สูงขึ้นร้อยละ 0.7 สินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ หมวดข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งลดลงร้อยละ 2.5 และหมวดเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ลดลงร้อยละ 0.2
หมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม สินค้าที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ หมวดยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นมากที่สุดร้อยละ 8.2 หมวดยานพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร สูงขึ้นร้อยละ 0.7 ในส่วนหมวดอื่น ๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
แรงงานต่างประเทศ
ในเดือนนี้มีแรงงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดินทางไปทำงานยังต่างประเทศจำนวน 10,813 คน ลดลงร้อยละ 7.6 จากเดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 โดยแรงงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานจากจังหวัดอุดรธานี สัดส่วนร้อยละ 13.6 รองลงมาได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา สัดส่วนร้อยละ 10.5 จังหวัดขอนแก่น สัดส่วนร้อยละ 7.1 และจังหวัดบุรีรัมย์ สัดส่วนร้อยละ 6.3 ประเทศที่แรงงานนิยมเดินทางไปทำงานมากที่สุดยังคงเป็นประเทศไต้หวัน
การค้าชายแดนไทย-ลาว
การค้าชายแดนไทย-ลาวในเดือนพฤษภาคมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากระยะ 4 เดือนแรกของปี 2544 โดยมูลค่าการค้า 2,110.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายนถึงร้อยละ 35.4 เนื่องจากการส่งออก 1,665.3 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.4 จากเดือนก่อน เป็นผลจากมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นของสินค้าทุกหมวดโดยเฉพาะหมวดสินค้าทุน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนถึงร้อยละ 81.9 การนำเข้า 445.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.6 ส่งผลให้ไทยยังคงเกินดุลการค้าลาว 1,219.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 30.1
สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า 234.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 17.4 น้ำมันปิโตรเลียมและเชื้อเพลิงอื่น ๆ 178.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 81.2 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 151.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 213.5 สินค้าอุปโภคบริโภคในครัวเรือน 147.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.5 วัสดุก่อสร้าง 140.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.3 ส่วนยานพาหนะและอุปกรณ์ 157.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 25.4
สำหรับสินค้านำเข้าที่สำคัญยังคงเป็นไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 384.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 54.3 สินแร่ 21.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 32.5 หนังโค-กระบือ 5.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.8 ในขณะที่การนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ 0.3 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนถึงร้อยละ 88.9
ภาคการเงิน
ณ สิ้นพฤษภาคม 2544 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีจำนวนธนาคารพาณิชย์ทั้งสิ้น 495 สำนักงาน ลดลงจากเดือนก่อน 8 สำนักงาน เนื่องจากการลดขนาดองค์กรเพื่อลดต้นทุนของธนาคาร (ประกอบด้วย ธนาคารเอเชีย 6 สำนักงาน ธนาคารรัตนสิน และธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารละ 1 สำนักงาน)
จากข้อมูลเบื้องต้นเงินฝากคงค้าง 242,774.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อน ในขณะที่สินเชื่อคงค้าง 194,810.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 จากเดือนก่อน เนื่องจากธนาคารพาณิชย์บางแห่งเริ่มปล่อยสินเชื่อในบางธุรกรรมเพิ่มขึ้น ได้แก่ สินเชื่ออุตสาหกรรมเครื่องดื่ม สินเชื่ออุตสาหกรรมน้ำตาล และสินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (ในส่วนของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยส่วนบุคคล และสินเชื่อเพื่อการเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ) สำหรับอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 79.4 มาอยู่ที่ร้อยละ 80.2 ในเดือนนี้
สำหรับเงินโอนของผู้ที่ไปทำงานในต่างประเทศกลับภูมิลำเนาในภาคฯเดือนนี้ มีปริมาณเงินโอนกลับมาทั้งสิ้น 2,876.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 จากเดือนก่อน และร้อยละ 14.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนเนื่องจากช่วงที่ผ่านมามีผู้เดินทางไปทำงานต่างประเทศมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้รายได้ส่งกลับยังคงเพิ่มสูงขึ้น แต่ทั้งนี้ในเดือนพฤษภาคมจำนวนผู้ที่เดินทางไปทำงานในต่างประเทศเริ่มลดลงบ้าง เนื่องจากมาตรการลดแรงงานจากต่างประเทศของไต้หวันเพื่อแก้ปัญหาการว่างงานในประเทศ ซึ่งไต้หวันเป็นแหล่งแรงงานที่คนไทยนิยมไปทำงานมากที่สุด
ภาคการคลัง
เดือนพฤษภาคม 2544 ฐานะการคลังรัฐบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีเงินในงบประมาณขาดดุล 12,031.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.0 จากเดือนก่อน ขาดดุล 9,396.6 ล้านบาท เนื่องจากรายจ่ายรัฐบาลในภาคฯ 13,221.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 25.8 จากเดือนก่อน 10,514.4 ผลจากรายจ่ายลงทุน 5,093.9 ล้านบาท (คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 38.5 ของยอดเบิกจ่ายรวมทั้งภาคฯ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 86.7 จากเดือนก่อน 2,728.5 ล้านบาท จากการเบิกจ่ายของหมวดเงินอุดหนุนและหมวดครุภัณฑ์เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ และเมื่อรวมรายจ่ายงบประมาณภาครัฐกับรายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) 6.4 ล้านบาท ทำให้รายจ่ายรวม 13,228.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7 จากเดือนก่อน 10,527.8 ล้านบาท ส่วนรายได้รัฐบาลในภาคฯ 1,190.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 จากเดือนก่อน 1,117.8 ล้านบาท จากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้น
สำหรับความคืบหน้าในการเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี 2544 ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2544 นั้น มีผลการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 77.0 ของวงเงินประจำงวดที่ได้รับอนุมัติ เป็นการเบิกจ่ายงบประจำถึงร้อยละ 92.0 ของวงเงินประจำงวดฯ ขณะที่งบลงทุนเบิกจ่ายเพียงร้อยละ 54.5 ซึ่งอยู่ในอัตราส่วนที่ค่อนข้างต่ำ โดยมีสาเหตุหลักจากการดำเนินการของส่วนราชการล่าช้า ประกอบกับในปีนี้มีโครงการถ่ายโอนงานและกิจกรรมสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งยังไม่มีความพร้อมทั้งในด้านบุคลากรและอุปกรณ์เครื่องใช้
การสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
ผลการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดือนพฤษภาคม 2544 จากผู้ประกอบการในภาคฯ จำนวน 120 ราย สามารถสรุปได้ดังนี้
1. ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน พ.ค. 44 อยู่ที่ระดับร้อยละ 47.3 อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับเดือนก่อน และต่ำกว่าระดับที่เศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพ ทั้งนี้ เป็นผลจากปัจจัยความเชื่อมั่นด้านอำนาจซื้อของประชาชน ด้านการลงทุนโดยรวมและด้านแนวโน้มการส่งออกลดลงจากเดือนก่อน ขณะที่ปัจจัยด้านผลประกอบการ ด้านการจ้างงานและด้านต้นทุนการประกอบการดีขึ้นจากเดือนก่อน สำหรับแนวโน้มความเชื่อมั่นทางธุรกิจในอีก 4 เดือนข้างหน้าคาดว่าจะลดลง โดยจะลดลงเป็นร้อยละ 45.7 ในเดือนหน้า และร้อยละ 46.0 ในช่วง ก.ค.-ก.ย. 44
2. การแข่งขันทางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศลดลงจากเดือนก่อน แต่ยังคงมีการแข่งขันที่รุนแรง
3. ภาวะการเงินเดือน พ.ค. 44 ผู้ประกอบการมีสภาพคล่องทางธุรกิจเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ทำให้สามารถให้เครดิตแก่ลูกค้าได้เพิ่มขึ้น ขณะที่ภาระดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการ
1. ภาครัฐควรให้ความสนใจเรื่องค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคพื้นฐานและราคาน้ำมันที่สูงขึ้น รวมทั้งค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนของสินค้าต่าง ๆ ปรับสูงขึ้น
2. ภาครัฐควรเร่งผลักดันให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้มากขึ้น และเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ประชาชนผู้ฝากเงิน
3. ภาครัฐควรเร่งการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อเพิ่มเม็ดเงินสู่ท้องถิ่น
4. ภาครัฐควรดูแลเรื่องนโยบายการส่งเสริมการส่งออก โดยเร่งการคืนภาษีส่งออกให้เร็วขึ้น เนื่องจากปัจจุบันการคืนภาษีส่งออกมีความล่าช้า (ประมาณ 5 เดือน) ทำให้ผู้ประกอบการขาดเงินทุนหมุนเวียน
5. ภาครัฐควรให้ความสนใจเรื่องราคาพืชผลเกษตรสำคัญที่ตกต่ำ เนื่องจากส่งผลต่ออำนาจซื้อของเกษตรกร
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-