สหรัฐอเมริกา
เดือนมกราคม 2544 ธนาคารกลางสหรัฐฯปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ลงร้อยละ 1 จากร้อยละ 6.50 เป็นร้อยละ 5.50 เนื่องจากความมั่นใจผู้ผลิตและ ผู้บริโภคยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานซึ่งส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของทั้งผู้บริโภคและผลกำไรของภาคธุรกิจ และทำให้ยอดขายปลีกและการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนลดลง ภาคการผลิตยังคงหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง ดัชนีการสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการ (NAPM) ในเดือนมกราคมอยู่ที่ระดับ 41.2 ต่ำสุดนับตั้งแต่ ช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปี 2534 การผลิตสินค้า อุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือน ที่ 3 ยอดการสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม ที่เป็นดัชนีชี้นำการผลิตในช่วง 1-2 ไตรมาสข้างหน้านั้นขยายตัวเพียงร้อยละ 0.8 ต่อปี สำหรับการบริโภคของประชาชนมีแนวโน้มชะลอตัวลงอย่างชัดเจน ผลการสำรวจความมั่นใจของผู้บริโภคปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือน ที่ 4 ไปอยู่ที่ระดับ 114.4 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือนธันวาคม 2539 โดยดัชนียอดขายสินค้าปลีกในเดือนธันวาคมขยายตัวร้อยละ 3.4 จากปีก่อนหน้า เทียบกับ ที่ขยายตัวร้อยละ 5.2 ในเดือนพฤศจิกายน
อัตราการว่างงานในเดือนมกราคมขยายตัวร้อยละ 4.2 เพิ่มสูงขึ้นจากระดับร้อยละ 4.0 ในเดือนตุลาคม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงภาวะการจ้างงานที่เริ่มคลายความตึงตัว
ดัชนีราคาผู้บริโภคที่ไม่รวมราคาของหมวดอาหารและพลังงาน (Core CPI) ในเดือนธันวาคมปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 และ 2.6 ต่อปีตามลำดับ ซึ่งใกล้เคียงกับที่นักเศรษฐศาสตร์ได้คาดการณ์ไว้และใกล้เคียงกับระดับของเดือนก่อนหน้า ส่วนแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ จากระดับราคาสินค้าและวัตถุดิบยังอยู่ในระดับที่ไม่น่าวิตก
ยุโรป
ในช่วงที่ผ่านมา เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ ยูโร 11 มีสัญญาณของการชะลอตัวลง โดย GDP ขยายตัวร้อยละ 3.4 ต่อปีในไตรมาสที่ 3 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 3.7 ในไตรมาสที่ 2 และคาดว่าจะ ปรับตัวลดลงต่อเนื่องในไตรมาสที่ 4 เนื่องจากราคา น้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงดังกล่าว ตลอดจนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของโลกโดยเฉพาะในประเทศสหรัฐฯ ได้ชะลอตัวลง ส่งผลลบต่อทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและค่าเงินยูโรที่อ่อนลง ในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ดัชนีราคาผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ ร้อยละ 2.6 ต่อปีในเดือนธันวาคม (เทียบกับร้อยละ 2.9 ต่อปีในเดือนพฤศจิกายน) ซึ่งนับเป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกันที่สูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 2 ของทางธนาคารกลางยุโรป อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาผู้บริโภคในกลุ่มประเทศยูโร มีแนวโน้มที่จะปรับตัวลดลง แต่ยังคงสูงกว่าเป้าหมายของธนาคารกลางยุโรปไปจนถึงสิ้นไตรมาสแรกของปีนี้
สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคหลัก (core CPI) ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ต่อปีในเดือนธันวาคมเป็นเดือน ที่ 3 ติดต่อกัน เทียบกับระดับที่ร้อยละ 1.5 ต่อปีในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา สำหรับดัชนีผู้ผลิตได้ปรับตัวลดลงจากระดับร้อยละ 6.3 ต่อปีในเดือนพฤศจิกายนมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.4 ต่อปีในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา
ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 4.75 ในการประชุมเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นไปตามที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ จากครั้งล่าสุดที่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 4.75 ในวันที่ 5 ตุลาคมในปีที่ผ่านมา นักวิเคราะห์คาดว่า ECB จะยังรอดูสภาพเศรษฐกิจ ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในอนาคต (Neutral Bias)
เอเชียตะวันออก
การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเริ่มแสดงสัญญาณการชะลอตัวลง โดยรัฐบาลได้ประกาศปรับลดตัวเลขการขยายตัวของ GDP ไตรมาสที่ 3 ของปี 2543 จากเดิมที่ร้อยละ 1.5 เป็นร้อยละ 0.6 ต่อปี โดยปัจจัยสำคัญมาจากการปรับตัวเลขการลงทุนของภาคธุรกิจ จากที่ขยายตัวร้อยละ 9.7 ต่อปี เป็นร้อยละ 3.3 ต่อปี
ขณะเดียวกันเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 ที่ประชุม BOJ Policy Board ได้มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ย Overnight Call Rate ไว้ที่ร้อยละ 0.25 ต่อปีเช่นเดิม แต่มีมติให้ลดอัตราดอกเบี้ย Official Discount rate (ODR) ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ BOJ ให้กู้กับธนาคารพาณิชย์จากร้อยละ 0.5 ต่อปีเป็นร้อยละ 0.35 ต่อปี การลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวนี้ถือเป็นการลด Discount rate เป็นครั้งแรกนับจากเดือนกันยายน 2538 เป็นต้นมา นอกจากนี้ BOJ ยังได้ประกาศมาตรการเสริม สภาพคล่องในช่วงก่อนการปิดบัญชีประจำปีในเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความตึงตัวของตลาดเงิน โดยกำหนดให้มี Standby Credit Facility ที่อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์เข้ามาขอกู้เงินได้หากเกิดการขาดสภาพคล่องขึ้นในช่วงดังกล่าว นอกจากนี้ BOJ ยังจะเพิ่มการซื้อตั๋วเงินคลังแบบ Outright จากที่ได้เคยหยุดไปนับตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2543
ผู้ว่าการธนาคารกลางจีน Dai Xianglong ได้ตั้งเป้าหมายที่จะลดระดับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (non-performing loans : NPLs) ในธนาคารพาณิชย์ของรัฐขนาดใหญ่ 4 แห่ง ได้แก่ Industrial & Commercial Bank of China (ICBC), Bank of China, China Construction Bank และ Agricultural Bank of China ซึ่งปัจจุบัน NPLs มีอยู่ประมาณร้อยละ 30 ของเงินกู้ทั้งหมดให้เหลือเพียงร้อยละ 20 ภายใน 3 ปี โดย ICBC และ Bank of China จะทยอยลดระดับ NPLs เฉลี่ยปีละประมาณร้อยละ 3 และ China Construction Bank จะลด NPLs เฉลี่ยร้อยละ 2 ต่อปี ส่วน Agricultural Bank of China จะลด NPLs ลงเฉลี่ยร้อยละ 3-4 ต่อปี
นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ของรัฐทั้ง 4 แห่งจะต้องเพิ่ม capital adequacy ratio เพื่อให้สามารถแข่งขันกับธนาคารต่างชาติได้เมื่อจีนเปิดเสรีภาคการเงิน โดย ICBC, Bank of China และ China Construction Bank จะปรับปรุง capital adequacy ratio ให้ได้ร้อยละ 8 ตามมาตรฐานสากลภายในก่อนสิ้นปีนี้ ส่วน Agricultural Bank of China ที่มีฐานะการเงินอ่อนแอที่สุดใน 4 แห่งจะปรับเพิ่ม capital adequacy ratio เป็นร้อยละ 5 ในปีนี้
เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2544 ทางการฮ่องกงประกาศตัวเลขการส่งออกเดือนธันวาคมขยายตัวร้อยละ 4.6 ชะลอลงจากเดือนพฤศจิกายนที่ขยายตัวร้อยละ 8.7 (yoy) โดยการส่งออกไปยังสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และประเทศกลุ่มเอเชียตะวันออกชะลอลงในเดือนธันวาคมเช่นกัน ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่าผลกระทบจากการชะลอลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ส่งผลต่อการส่งออกของฮ่องกงเร็วกว่าที่คาด และคาดว่าการส่งออกจะชะลอลงต่อไปอีกใน 2-3 เดือนข้างหน้า อย่างไรก็ตาม การส่งออกที่ชะลอลงจะส่งผลกระทบต่อความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของฮ่องกงไม่มากนัก เนื่องจากยังมีปัจจัยบวกอื่นที่สามารถส่งเสริมฐานะทางเศรษฐกิจของฮ่องกงต่อไปได้ เช่น ระดับอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศที่ลดลง และการเข้าเป็นสมาชิกองค์การ การค้าโลกของประเทศจีน
เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2544 ธนาคารกลางฮ่องกง (HKMA) ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานสำหรับการให้กู้ยืมแก่ธนาคารพาณิชย์ประเภทข้ามคืน (base rate) ลงร้อยละ 0.5 จากร้อยละ 7.5 เป็นร้อยละ 7.0 ตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed Fund ของสหรัฐฯ ที่ลดลงร้อยละ 0.5 จากร้อยละ 6.0 เป็นร้อยละ 5.5 เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2544 เนื่องจากเงินดอลลาร์ฮ่องกงผูกค่ากับเงินดอลลาร์ สรอ. ภายใต้ระบบ currency board
เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2544 สมาคมธนาคารในไต้หวันประกาศจะจัดตั้งบริษัท financial asset service ขึ้น เพื่อทำหน้าที่เป็นบุคคลที่สามในการขายสินทรัพย์ที่ได้มาจากการซื้อหนี้เสียของบริษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) โดยบริษัท financial asset service จะได้รับคำสั่งจากบริษัท AMC และจะได้รับมอบอำนาจจากทางการในการขายสินทรัพย์ดังกล่าว ซึ่งคาดว่าการจัดตั้งบริษัท financial asset service จะต้องใช้เงินประมาณ 18.2-30.3 ล้านดอลลาร์สรอ. และจะเริ่มดำเนินการได้ในปลายเดือนมีนาคม 2544 โดยแผนในเบื้องต้นคือธนาคารพาณิชย์ ในประเทศเป็นเจ้าของร่วมกันเป็นจำนวน 2 ใน 3 ของ ทุนจดทะเบียน และส่วนที่เหลือจะให้เป็นของหุ้นส่วน ชาวต่างชาติ
ในการประชุมแถลงข่าวที่จัดขึ้นเป็นพิเศษ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2544 ธนาคารกลางไต้หวัน ได้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย discount rate และ accommodation with collateral rate (อัตราดอกเบี้ย ที่ธนาคารกลางให้กู้แก่ธนาคารพาณิชย์เพื่อปล่อยกู้แก่ภาคเศรษฐกิจที่ได้รับการส่งเสริม) ลงร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 4.375 และ 4.75 ตามลำดับ โดยให้เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2544 เป็นต้นไป เพื่อช่วยกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไต้หวัน เนื่องจากเห็นว่าอัตราการว่างงานได้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา นอกจากนี้ ตลาดหุ้นและค่าเงินดอลลาร์ของไต้หวันในขณะนี้มีเสถียรภาพดี จึงเป็นโอกาสเหมาะที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงดังกล่าว
การส่งออกของไต้หวันในเดือนมกราคม 2544 มีมูลค่า 9.9 พันล้านดอลลาร์สรอ. ลดลงร้อยละ 17 จากเดือนเดียวกันปีก่อน นับเป็นการหดตัวครั้งแรก ในรอบ 23 เดือน และหดตัวมากที่สุดในรอบ 3 ปี โดยมีสาเหตุมาจาก (1) ฐานการคำนวณสูงในปีที่แล้วเนื่องจากเทศกาลวันหยุดตรุษจีนในปีนี้ตกอยู่ในเดือนมกราคม แต่ปีที่แล้วอยู่ในเดือนกุมภาพันธ์ จึงทำให้จำนวนวันที่บริษัทเปิดทำงานในปีนี้มีน้อยกว่าปีที่แล้ว และ (2) การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่เป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ของไต้หวัน ส่งผลให้ความต้องการซื้อสินค้าจากไต้หวันลดน้อยลง
ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 9.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 15 (yoy) เนื่องจากผู้ผลิตเริ่มลดกำลังการผลิตลงตามความต้องการสินค้านำเข้าในไต้หวันที่ลดลง ทำให้ดุลการค้าเกินดุลเพียง 546 ล้านดอลลาร์สรอ. ลดลงถึงร้อยละ 40 (yoy)
เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2544 ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย overnight call rate จากร้อยละ 5.25 เป็นร้อยละ 5.0 นับเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2543 การปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้มีปัจจัยสำคัญดังนี้ 1) แนวโน้มการลดลงของการส่งออกโดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ตามแนวโน้มการชะลอลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ 2) การชะลอลงของอุปสงค์ในประเทศ โดยการผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอลงอย่างต่อเนื่องในตลอด 4 เดือนที่ผ่านมา 3) การปรับโครงสร้างภาคธุรกิจและสถาบันการเงินอาจส่งผลให้มีการปลดจำนวนพนักงานมากขึ้นซึ่งจะกระทบต่อการบริโภคในประเทศ โดยยอดขายปลีกและขายส่งในเดือนธันวาคมที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.9 เดือนเดียวกันปีก่อน
อาเซียน
ในช่วงที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายการเงินของฟิลิปปินส์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานของทางการลงร้อยละ 0.5 ติดต่อกัน 4 ครั้ง มีผลในวันที่ 15 มกราคม, 29 มกราคม, 5 กุมภาพันธ์ และ 12 กุมภาพันธ์ 2544 ตามลำดับ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย overnight borrowing rate ลดลงจากร้อยละ 13.0 เป็นร้อยละ 11.0 และ overnight lending rate ลดลงจากร้อยละ 15.25 เป็นร้อยละ 13.25 (ซึ่งเป็นระดับเดียวกับในช่วงก่อนเกิดวิกฤติการเมืองภายในประเทศเมื่อปลายปีที่แล้ว) โดยธนาคารกลางได้ให้เหตุผลต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยว่าเนื่องจากตลาดการเงินมีเสถียรภาพมากขึ้น และแรงกดดันด้านเงินเฟ้อลดลง
เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2544 ทางการฟิลิปปินส์ประกาศตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 4 ขยายตัวร้อยละ 3.6 (yoy) ซึ่งเป็นไปตามความคาดหมายของตลาด รวมทั้งปรับลด GDP สำหรับไตรมาสที่ 3 จากร้อยละ 4.8 เป็นร้อยละ 4.6 (yoy) ส่งผลให้ GDP สำหรับปี 2543 ขยายตัวร้อยละ 3.9 (yoy) เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 3.2 ในปี 2542
การส่งออกสินค้าของฟิลิปปินส์ในปี 2543 ขยายตัวร้อยละ 8.7 (yoy) มีมูลค่ารวม 38.1 พันล้านดอลลาร์สรอ. เทียบกับ 35.0 พันล้านดอลลาร์สรอ. ในปี 2542 โดยการส่งออกในเดือนธันวาคมขยายตัว ร้อยละ 18.8 เร่งขึ้นจากเดือนพฤศจิกายนที่ร้อยละ 7.9 หลังจากหดตัวต่อเนื่องในเดือนกันยายนและตุลาคมตามการชะลอลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของฟิลิปปินส์ ทั้งนี้ การส่งออกที่ขยายตัวสูงขึ้นนั้นเป็นผลจากการฟื้นตัวของการส่งออกสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ (ขยายตัวร้อยละ 15.6 (yoy) ในเดือนธันวาคม) ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 60 ของการส่งออกสินค้ารวมของประเทศ
เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2544 ทางการฟิลิปปินส์ประกาศตัวเลขอัตราเงินเฟ้อประจำเดือนมกราคม 2544 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 (yoy) ซึ่งนับว่าสูงที่สุดในรอบ 22 เดือน เทียบกับร้อยละ 6.6 (yoy) ในเดือนธันวาคม 2543 ทั้งนี้ เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดอาหาร และเครื่องอุปโภคบริโภค และผลจากการอ่อนค่าลงของเงินเปโซ อนึ่ง นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่า แรงกดดันด้านเงินเฟ้อจะเริ่มชะลอลงในราวเดือนเมษายนเนื่องจากค่าเงินเปโซและภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นภายใต้การบริหารงานของคณะรัฐบาลชุดใหม่ อนึ่ง ทางการฟิลิปปินส์คาดอัตราเงินเฟ้อในปี 2544 ที่ร้อยละ 6.0-7.0 เทียบกับร้อยละ 4.4 ในปี 2543
ทางการมาเลเซียมีแผนจัดตั้งบริษัทค้ำประกันการออกพันธบัตร (insurance guarantee firm for bonds) มูลค่า 500 ล้านริงกิต (131.6 ล้านดอลลาร์สรอ.) เพื่อช่วยในการพัฒนาตลาดพันธบัตร โดยคาดว่ากระทรวงการคลังจะเป็นผู้ถือหุ้นหลักในบริษัทดังกล่าว และมีผู้ถือหุ้นใหญ่อีก 2 รายคือ Amanah Capital Partners Bhd และ Malaysian National Reinsurance Bhd ทั้งนี้ บริษัทค้ำประกันที่จะจัดตั้งใหม่ดังกล่าวจะให้การค้ำประกันกับพันธบัตรสกุลริงกิต ซึ่งจะช่วยให้ผู้ออกพันธบัตรที่ได้รับการค้ำประกันสามารถออกพันธบัตรที่มีอัตราดอกเบี้ย (coupon rate) ต่ำลง และพันธบัตรได้รับการจัดอันดับเครดิตที่ดีขึ้น
เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2544 ธนาคารกลาง มาเลเซียประกาศยกเลิกภาษี exit tax ที่เรียกเก็บจากการส่งกลับกำไรจากการลงทุนในหลักทรัพย์ของชาว ต่างชาติ ในกรณีที่เป็นการส่งกลับหลังระยะเวลา 12 เดือนนับจากวันที่ทำกำไร (realized) โดยมีผลตั้งแต่ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2544 ทั้งนี้ จะเรียกเก็บเฉพาะ การส่งกลับกำไรจากการลงทุนในหลักทรัพย์ภายในระยะเวลา 12 เดือน นับจากวันที่ทำกำไรเท่านั้น ก่อนหน้านี้ นาย Daim Zainuddin รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เคยแถลงว่าจะมีการยกเลิก exit tax ดังกล่าวไป ครั้งหนึ่งแล้วในการเสนองบประมาณประจำปี 2544 ต่อสภาเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว
เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2544 ธนาคารกลาง อินโดนีเซียประกาศปรับลดวงเงินการทำธุรกรรม forward ให้กู้ยืมเงินรูเปียห์ระหว่างธนาคารในประเทศ (domestic banks) กับผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (non-residents) ลงเหลือ 3 ล้านดอลลาร์สรอ. หรือเทียบเท่า ต่อธุรกรรมต่อธนาคาร จากเดิมที่กำหนดไว้ที่ 5 ล้านดอลลาร์สรอ. หรือเทียบเท่า และห้ามธนาคารพาณิชย์ทำธุรกรรมโอนเงินรูเปียห์ให้กับ non-residents วัตถุประสงค์เพื่อลดการเก็งกำไรค่าเงินรูเปียห์ แต่กฎระเบียบใหม่
ดังกล่าวไม่ได้บังคับใช้กับธุรกรรมเพื่อคุ้มครองความเสี่ยง (hedging) การลงทุนของ non-residents ในอินโดนีเซีย ทั้งนี้ ระเบียบดังกล่าวให้มีผลย้อนหลัง (backdated) ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2544 ซึ่งสร้างความสับสนให้ตลาดอย่างมากเนื่องจากไม่มีรายละเอียดชัดเจน ต่อมาเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2544 นาง Miranda Goeltom รองผู้ว่าการธนาคารกลางได้ออกมาแถลง เพิ่มเติมว่าธนาคารกลางอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ ในประเทศให้สินเชื่อเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างวัน (intraday overdraft) แก่ธนาคารพาณิชย์ในต่างประเทศได้ โดยมีเอกสารรับรอง และยังผ่อนผันให้กระทำธุรกรรมเงินรูเปียห์ระหว่าง residents กับ non-residents เพื่อส่งมอบภาระผูกพันที่มีอยู่ได้จนถึงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ศกนี้
การส่งออกรวมของสิงคโปร์ในเดือนธันวาคม 2543 ขยายตัวร้อยละ 9.4 (ในสกุลดอลลาร์สิงคโปร์) และการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.1 โดยการส่งออกสินค้าที่มิใช่น้ำมัน (Non oil Domestic Exports : NODX) หดตัวลงร้อยละ 4.9 ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.0 หลังจากขยายตัวสูงมาตลอด 18 เดือน ในขณะที่การส่งออกน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.9 ทำให้สิงคโปร์ขาดดุลการค้า 188 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (108 ล้านดอลลาร์สรอ.) ในเดือนธันวาคม เทียบกับเดือนพฤศจิกายนที่เกินดุลการค้า 920 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (527 ล้านดอลลาร์ สรอ.) ทั้งนี้ ปัจจัยที่สำคัญของการหดตัวลงดังกล่าว ได้แก่ การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของสิงคโปร์ ส่งผลให้ NODX ไปยังสหรัฐฯ ในเดือนธันวาคมหดตัวลงร้อยละ 10.9 เช่นกัน (เทียบกับขยายตัวร้อยละ 5.7 ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา) นอกจากนี้ มูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์หดตัวลงร้อยละ 11.8 ในเดือนธันวาคม
ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ในตลาดให้ความเห็นว่า การชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของสิงคโปร์เร็วและรุนแรงกว่าที่คาด และคาดการณ์ว่าจะทำให้การขยายตัวของภาคเศรษฐกิจ ของสิงคโปร์ชะลอตัวลงต่อเนื่องไปจนถึงกลางปี 2544 ซึ่งทางการคาดว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัวในอัตราระหว่างร้อยละ 5-7 ชะลอลงจากในปี 2543 ที่คาดว่า จะขยายตัวร้อยละ 10.1
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
เดือนมกราคม 2544 ธนาคารกลางสหรัฐฯปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ลงร้อยละ 1 จากร้อยละ 6.50 เป็นร้อยละ 5.50 เนื่องจากความมั่นใจผู้ผลิตและ ผู้บริโภคยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานซึ่งส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของทั้งผู้บริโภคและผลกำไรของภาคธุรกิจ และทำให้ยอดขายปลีกและการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนลดลง ภาคการผลิตยังคงหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง ดัชนีการสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการ (NAPM) ในเดือนมกราคมอยู่ที่ระดับ 41.2 ต่ำสุดนับตั้งแต่ ช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปี 2534 การผลิตสินค้า อุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือน ที่ 3 ยอดการสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม ที่เป็นดัชนีชี้นำการผลิตในช่วง 1-2 ไตรมาสข้างหน้านั้นขยายตัวเพียงร้อยละ 0.8 ต่อปี สำหรับการบริโภคของประชาชนมีแนวโน้มชะลอตัวลงอย่างชัดเจน ผลการสำรวจความมั่นใจของผู้บริโภคปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือน ที่ 4 ไปอยู่ที่ระดับ 114.4 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือนธันวาคม 2539 โดยดัชนียอดขายสินค้าปลีกในเดือนธันวาคมขยายตัวร้อยละ 3.4 จากปีก่อนหน้า เทียบกับ ที่ขยายตัวร้อยละ 5.2 ในเดือนพฤศจิกายน
อัตราการว่างงานในเดือนมกราคมขยายตัวร้อยละ 4.2 เพิ่มสูงขึ้นจากระดับร้อยละ 4.0 ในเดือนตุลาคม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงภาวะการจ้างงานที่เริ่มคลายความตึงตัว
ดัชนีราคาผู้บริโภคที่ไม่รวมราคาของหมวดอาหารและพลังงาน (Core CPI) ในเดือนธันวาคมปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 และ 2.6 ต่อปีตามลำดับ ซึ่งใกล้เคียงกับที่นักเศรษฐศาสตร์ได้คาดการณ์ไว้และใกล้เคียงกับระดับของเดือนก่อนหน้า ส่วนแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ จากระดับราคาสินค้าและวัตถุดิบยังอยู่ในระดับที่ไม่น่าวิตก
ยุโรป
ในช่วงที่ผ่านมา เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ ยูโร 11 มีสัญญาณของการชะลอตัวลง โดย GDP ขยายตัวร้อยละ 3.4 ต่อปีในไตรมาสที่ 3 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 3.7 ในไตรมาสที่ 2 และคาดว่าจะ ปรับตัวลดลงต่อเนื่องในไตรมาสที่ 4 เนื่องจากราคา น้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงดังกล่าว ตลอดจนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของโลกโดยเฉพาะในประเทศสหรัฐฯ ได้ชะลอตัวลง ส่งผลลบต่อทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและค่าเงินยูโรที่อ่อนลง ในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ดัชนีราคาผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ ร้อยละ 2.6 ต่อปีในเดือนธันวาคม (เทียบกับร้อยละ 2.9 ต่อปีในเดือนพฤศจิกายน) ซึ่งนับเป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกันที่สูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 2 ของทางธนาคารกลางยุโรป อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาผู้บริโภคในกลุ่มประเทศยูโร มีแนวโน้มที่จะปรับตัวลดลง แต่ยังคงสูงกว่าเป้าหมายของธนาคารกลางยุโรปไปจนถึงสิ้นไตรมาสแรกของปีนี้
สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคหลัก (core CPI) ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ต่อปีในเดือนธันวาคมเป็นเดือน ที่ 3 ติดต่อกัน เทียบกับระดับที่ร้อยละ 1.5 ต่อปีในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา สำหรับดัชนีผู้ผลิตได้ปรับตัวลดลงจากระดับร้อยละ 6.3 ต่อปีในเดือนพฤศจิกายนมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.4 ต่อปีในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา
ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 4.75 ในการประชุมเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นไปตามที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ จากครั้งล่าสุดที่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 4.75 ในวันที่ 5 ตุลาคมในปีที่ผ่านมา นักวิเคราะห์คาดว่า ECB จะยังรอดูสภาพเศรษฐกิจ ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในอนาคต (Neutral Bias)
เอเชียตะวันออก
การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเริ่มแสดงสัญญาณการชะลอตัวลง โดยรัฐบาลได้ประกาศปรับลดตัวเลขการขยายตัวของ GDP ไตรมาสที่ 3 ของปี 2543 จากเดิมที่ร้อยละ 1.5 เป็นร้อยละ 0.6 ต่อปี โดยปัจจัยสำคัญมาจากการปรับตัวเลขการลงทุนของภาคธุรกิจ จากที่ขยายตัวร้อยละ 9.7 ต่อปี เป็นร้อยละ 3.3 ต่อปี
ขณะเดียวกันเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 ที่ประชุม BOJ Policy Board ได้มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ย Overnight Call Rate ไว้ที่ร้อยละ 0.25 ต่อปีเช่นเดิม แต่มีมติให้ลดอัตราดอกเบี้ย Official Discount rate (ODR) ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ BOJ ให้กู้กับธนาคารพาณิชย์จากร้อยละ 0.5 ต่อปีเป็นร้อยละ 0.35 ต่อปี การลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวนี้ถือเป็นการลด Discount rate เป็นครั้งแรกนับจากเดือนกันยายน 2538 เป็นต้นมา นอกจากนี้ BOJ ยังได้ประกาศมาตรการเสริม สภาพคล่องในช่วงก่อนการปิดบัญชีประจำปีในเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความตึงตัวของตลาดเงิน โดยกำหนดให้มี Standby Credit Facility ที่อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์เข้ามาขอกู้เงินได้หากเกิดการขาดสภาพคล่องขึ้นในช่วงดังกล่าว นอกจากนี้ BOJ ยังจะเพิ่มการซื้อตั๋วเงินคลังแบบ Outright จากที่ได้เคยหยุดไปนับตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2543
ผู้ว่าการธนาคารกลางจีน Dai Xianglong ได้ตั้งเป้าหมายที่จะลดระดับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (non-performing loans : NPLs) ในธนาคารพาณิชย์ของรัฐขนาดใหญ่ 4 แห่ง ได้แก่ Industrial & Commercial Bank of China (ICBC), Bank of China, China Construction Bank และ Agricultural Bank of China ซึ่งปัจจุบัน NPLs มีอยู่ประมาณร้อยละ 30 ของเงินกู้ทั้งหมดให้เหลือเพียงร้อยละ 20 ภายใน 3 ปี โดย ICBC และ Bank of China จะทยอยลดระดับ NPLs เฉลี่ยปีละประมาณร้อยละ 3 และ China Construction Bank จะลด NPLs เฉลี่ยร้อยละ 2 ต่อปี ส่วน Agricultural Bank of China จะลด NPLs ลงเฉลี่ยร้อยละ 3-4 ต่อปี
นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ของรัฐทั้ง 4 แห่งจะต้องเพิ่ม capital adequacy ratio เพื่อให้สามารถแข่งขันกับธนาคารต่างชาติได้เมื่อจีนเปิดเสรีภาคการเงิน โดย ICBC, Bank of China และ China Construction Bank จะปรับปรุง capital adequacy ratio ให้ได้ร้อยละ 8 ตามมาตรฐานสากลภายในก่อนสิ้นปีนี้ ส่วน Agricultural Bank of China ที่มีฐานะการเงินอ่อนแอที่สุดใน 4 แห่งจะปรับเพิ่ม capital adequacy ratio เป็นร้อยละ 5 ในปีนี้
เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2544 ทางการฮ่องกงประกาศตัวเลขการส่งออกเดือนธันวาคมขยายตัวร้อยละ 4.6 ชะลอลงจากเดือนพฤศจิกายนที่ขยายตัวร้อยละ 8.7 (yoy) โดยการส่งออกไปยังสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และประเทศกลุ่มเอเชียตะวันออกชะลอลงในเดือนธันวาคมเช่นกัน ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่าผลกระทบจากการชะลอลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ส่งผลต่อการส่งออกของฮ่องกงเร็วกว่าที่คาด และคาดว่าการส่งออกจะชะลอลงต่อไปอีกใน 2-3 เดือนข้างหน้า อย่างไรก็ตาม การส่งออกที่ชะลอลงจะส่งผลกระทบต่อความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของฮ่องกงไม่มากนัก เนื่องจากยังมีปัจจัยบวกอื่นที่สามารถส่งเสริมฐานะทางเศรษฐกิจของฮ่องกงต่อไปได้ เช่น ระดับอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศที่ลดลง และการเข้าเป็นสมาชิกองค์การ การค้าโลกของประเทศจีน
เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2544 ธนาคารกลางฮ่องกง (HKMA) ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานสำหรับการให้กู้ยืมแก่ธนาคารพาณิชย์ประเภทข้ามคืน (base rate) ลงร้อยละ 0.5 จากร้อยละ 7.5 เป็นร้อยละ 7.0 ตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed Fund ของสหรัฐฯ ที่ลดลงร้อยละ 0.5 จากร้อยละ 6.0 เป็นร้อยละ 5.5 เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2544 เนื่องจากเงินดอลลาร์ฮ่องกงผูกค่ากับเงินดอลลาร์ สรอ. ภายใต้ระบบ currency board
เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2544 สมาคมธนาคารในไต้หวันประกาศจะจัดตั้งบริษัท financial asset service ขึ้น เพื่อทำหน้าที่เป็นบุคคลที่สามในการขายสินทรัพย์ที่ได้มาจากการซื้อหนี้เสียของบริษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) โดยบริษัท financial asset service จะได้รับคำสั่งจากบริษัท AMC และจะได้รับมอบอำนาจจากทางการในการขายสินทรัพย์ดังกล่าว ซึ่งคาดว่าการจัดตั้งบริษัท financial asset service จะต้องใช้เงินประมาณ 18.2-30.3 ล้านดอลลาร์สรอ. และจะเริ่มดำเนินการได้ในปลายเดือนมีนาคม 2544 โดยแผนในเบื้องต้นคือธนาคารพาณิชย์ ในประเทศเป็นเจ้าของร่วมกันเป็นจำนวน 2 ใน 3 ของ ทุนจดทะเบียน และส่วนที่เหลือจะให้เป็นของหุ้นส่วน ชาวต่างชาติ
ในการประชุมแถลงข่าวที่จัดขึ้นเป็นพิเศษ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2544 ธนาคารกลางไต้หวัน ได้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย discount rate และ accommodation with collateral rate (อัตราดอกเบี้ย ที่ธนาคารกลางให้กู้แก่ธนาคารพาณิชย์เพื่อปล่อยกู้แก่ภาคเศรษฐกิจที่ได้รับการส่งเสริม) ลงร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 4.375 และ 4.75 ตามลำดับ โดยให้เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2544 เป็นต้นไป เพื่อช่วยกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไต้หวัน เนื่องจากเห็นว่าอัตราการว่างงานได้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา นอกจากนี้ ตลาดหุ้นและค่าเงินดอลลาร์ของไต้หวันในขณะนี้มีเสถียรภาพดี จึงเป็นโอกาสเหมาะที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงดังกล่าว
การส่งออกของไต้หวันในเดือนมกราคม 2544 มีมูลค่า 9.9 พันล้านดอลลาร์สรอ. ลดลงร้อยละ 17 จากเดือนเดียวกันปีก่อน นับเป็นการหดตัวครั้งแรก ในรอบ 23 เดือน และหดตัวมากที่สุดในรอบ 3 ปี โดยมีสาเหตุมาจาก (1) ฐานการคำนวณสูงในปีที่แล้วเนื่องจากเทศกาลวันหยุดตรุษจีนในปีนี้ตกอยู่ในเดือนมกราคม แต่ปีที่แล้วอยู่ในเดือนกุมภาพันธ์ จึงทำให้จำนวนวันที่บริษัทเปิดทำงานในปีนี้มีน้อยกว่าปีที่แล้ว และ (2) การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่เป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ของไต้หวัน ส่งผลให้ความต้องการซื้อสินค้าจากไต้หวันลดน้อยลง
ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 9.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 15 (yoy) เนื่องจากผู้ผลิตเริ่มลดกำลังการผลิตลงตามความต้องการสินค้านำเข้าในไต้หวันที่ลดลง ทำให้ดุลการค้าเกินดุลเพียง 546 ล้านดอลลาร์สรอ. ลดลงถึงร้อยละ 40 (yoy)
เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2544 ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย overnight call rate จากร้อยละ 5.25 เป็นร้อยละ 5.0 นับเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2543 การปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้มีปัจจัยสำคัญดังนี้ 1) แนวโน้มการลดลงของการส่งออกโดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ตามแนวโน้มการชะลอลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ 2) การชะลอลงของอุปสงค์ในประเทศ โดยการผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอลงอย่างต่อเนื่องในตลอด 4 เดือนที่ผ่านมา 3) การปรับโครงสร้างภาคธุรกิจและสถาบันการเงินอาจส่งผลให้มีการปลดจำนวนพนักงานมากขึ้นซึ่งจะกระทบต่อการบริโภคในประเทศ โดยยอดขายปลีกและขายส่งในเดือนธันวาคมที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.9 เดือนเดียวกันปีก่อน
อาเซียน
ในช่วงที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายการเงินของฟิลิปปินส์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานของทางการลงร้อยละ 0.5 ติดต่อกัน 4 ครั้ง มีผลในวันที่ 15 มกราคม, 29 มกราคม, 5 กุมภาพันธ์ และ 12 กุมภาพันธ์ 2544 ตามลำดับ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย overnight borrowing rate ลดลงจากร้อยละ 13.0 เป็นร้อยละ 11.0 และ overnight lending rate ลดลงจากร้อยละ 15.25 เป็นร้อยละ 13.25 (ซึ่งเป็นระดับเดียวกับในช่วงก่อนเกิดวิกฤติการเมืองภายในประเทศเมื่อปลายปีที่แล้ว) โดยธนาคารกลางได้ให้เหตุผลต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยว่าเนื่องจากตลาดการเงินมีเสถียรภาพมากขึ้น และแรงกดดันด้านเงินเฟ้อลดลง
เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2544 ทางการฟิลิปปินส์ประกาศตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 4 ขยายตัวร้อยละ 3.6 (yoy) ซึ่งเป็นไปตามความคาดหมายของตลาด รวมทั้งปรับลด GDP สำหรับไตรมาสที่ 3 จากร้อยละ 4.8 เป็นร้อยละ 4.6 (yoy) ส่งผลให้ GDP สำหรับปี 2543 ขยายตัวร้อยละ 3.9 (yoy) เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 3.2 ในปี 2542
การส่งออกสินค้าของฟิลิปปินส์ในปี 2543 ขยายตัวร้อยละ 8.7 (yoy) มีมูลค่ารวม 38.1 พันล้านดอลลาร์สรอ. เทียบกับ 35.0 พันล้านดอลลาร์สรอ. ในปี 2542 โดยการส่งออกในเดือนธันวาคมขยายตัว ร้อยละ 18.8 เร่งขึ้นจากเดือนพฤศจิกายนที่ร้อยละ 7.9 หลังจากหดตัวต่อเนื่องในเดือนกันยายนและตุลาคมตามการชะลอลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของฟิลิปปินส์ ทั้งนี้ การส่งออกที่ขยายตัวสูงขึ้นนั้นเป็นผลจากการฟื้นตัวของการส่งออกสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ (ขยายตัวร้อยละ 15.6 (yoy) ในเดือนธันวาคม) ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 60 ของการส่งออกสินค้ารวมของประเทศ
เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2544 ทางการฟิลิปปินส์ประกาศตัวเลขอัตราเงินเฟ้อประจำเดือนมกราคม 2544 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 (yoy) ซึ่งนับว่าสูงที่สุดในรอบ 22 เดือน เทียบกับร้อยละ 6.6 (yoy) ในเดือนธันวาคม 2543 ทั้งนี้ เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดอาหาร และเครื่องอุปโภคบริโภค และผลจากการอ่อนค่าลงของเงินเปโซ อนึ่ง นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่า แรงกดดันด้านเงินเฟ้อจะเริ่มชะลอลงในราวเดือนเมษายนเนื่องจากค่าเงินเปโซและภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นภายใต้การบริหารงานของคณะรัฐบาลชุดใหม่ อนึ่ง ทางการฟิลิปปินส์คาดอัตราเงินเฟ้อในปี 2544 ที่ร้อยละ 6.0-7.0 เทียบกับร้อยละ 4.4 ในปี 2543
ทางการมาเลเซียมีแผนจัดตั้งบริษัทค้ำประกันการออกพันธบัตร (insurance guarantee firm for bonds) มูลค่า 500 ล้านริงกิต (131.6 ล้านดอลลาร์สรอ.) เพื่อช่วยในการพัฒนาตลาดพันธบัตร โดยคาดว่ากระทรวงการคลังจะเป็นผู้ถือหุ้นหลักในบริษัทดังกล่าว และมีผู้ถือหุ้นใหญ่อีก 2 รายคือ Amanah Capital Partners Bhd และ Malaysian National Reinsurance Bhd ทั้งนี้ บริษัทค้ำประกันที่จะจัดตั้งใหม่ดังกล่าวจะให้การค้ำประกันกับพันธบัตรสกุลริงกิต ซึ่งจะช่วยให้ผู้ออกพันธบัตรที่ได้รับการค้ำประกันสามารถออกพันธบัตรที่มีอัตราดอกเบี้ย (coupon rate) ต่ำลง และพันธบัตรได้รับการจัดอันดับเครดิตที่ดีขึ้น
เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2544 ธนาคารกลาง มาเลเซียประกาศยกเลิกภาษี exit tax ที่เรียกเก็บจากการส่งกลับกำไรจากการลงทุนในหลักทรัพย์ของชาว ต่างชาติ ในกรณีที่เป็นการส่งกลับหลังระยะเวลา 12 เดือนนับจากวันที่ทำกำไร (realized) โดยมีผลตั้งแต่ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2544 ทั้งนี้ จะเรียกเก็บเฉพาะ การส่งกลับกำไรจากการลงทุนในหลักทรัพย์ภายในระยะเวลา 12 เดือน นับจากวันที่ทำกำไรเท่านั้น ก่อนหน้านี้ นาย Daim Zainuddin รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เคยแถลงว่าจะมีการยกเลิก exit tax ดังกล่าวไป ครั้งหนึ่งแล้วในการเสนองบประมาณประจำปี 2544 ต่อสภาเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว
เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2544 ธนาคารกลาง อินโดนีเซียประกาศปรับลดวงเงินการทำธุรกรรม forward ให้กู้ยืมเงินรูเปียห์ระหว่างธนาคารในประเทศ (domestic banks) กับผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (non-residents) ลงเหลือ 3 ล้านดอลลาร์สรอ. หรือเทียบเท่า ต่อธุรกรรมต่อธนาคาร จากเดิมที่กำหนดไว้ที่ 5 ล้านดอลลาร์สรอ. หรือเทียบเท่า และห้ามธนาคารพาณิชย์ทำธุรกรรมโอนเงินรูเปียห์ให้กับ non-residents วัตถุประสงค์เพื่อลดการเก็งกำไรค่าเงินรูเปียห์ แต่กฎระเบียบใหม่
ดังกล่าวไม่ได้บังคับใช้กับธุรกรรมเพื่อคุ้มครองความเสี่ยง (hedging) การลงทุนของ non-residents ในอินโดนีเซีย ทั้งนี้ ระเบียบดังกล่าวให้มีผลย้อนหลัง (backdated) ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2544 ซึ่งสร้างความสับสนให้ตลาดอย่างมากเนื่องจากไม่มีรายละเอียดชัดเจน ต่อมาเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2544 นาง Miranda Goeltom รองผู้ว่าการธนาคารกลางได้ออกมาแถลง เพิ่มเติมว่าธนาคารกลางอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ ในประเทศให้สินเชื่อเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างวัน (intraday overdraft) แก่ธนาคารพาณิชย์ในต่างประเทศได้ โดยมีเอกสารรับรอง และยังผ่อนผันให้กระทำธุรกรรมเงินรูเปียห์ระหว่าง residents กับ non-residents เพื่อส่งมอบภาระผูกพันที่มีอยู่ได้จนถึงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ศกนี้
การส่งออกรวมของสิงคโปร์ในเดือนธันวาคม 2543 ขยายตัวร้อยละ 9.4 (ในสกุลดอลลาร์สิงคโปร์) และการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.1 โดยการส่งออกสินค้าที่มิใช่น้ำมัน (Non oil Domestic Exports : NODX) หดตัวลงร้อยละ 4.9 ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.0 หลังจากขยายตัวสูงมาตลอด 18 เดือน ในขณะที่การส่งออกน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.9 ทำให้สิงคโปร์ขาดดุลการค้า 188 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (108 ล้านดอลลาร์สรอ.) ในเดือนธันวาคม เทียบกับเดือนพฤศจิกายนที่เกินดุลการค้า 920 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (527 ล้านดอลลาร์ สรอ.) ทั้งนี้ ปัจจัยที่สำคัญของการหดตัวลงดังกล่าว ได้แก่ การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของสิงคโปร์ ส่งผลให้ NODX ไปยังสหรัฐฯ ในเดือนธันวาคมหดตัวลงร้อยละ 10.9 เช่นกัน (เทียบกับขยายตัวร้อยละ 5.7 ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา) นอกจากนี้ มูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์หดตัวลงร้อยละ 11.8 ในเดือนธันวาคม
ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ในตลาดให้ความเห็นว่า การชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของสิงคโปร์เร็วและรุนแรงกว่าที่คาด และคาดการณ์ว่าจะทำให้การขยายตัวของภาคเศรษฐกิจ ของสิงคโปร์ชะลอตัวลงต่อเนื่องไปจนถึงกลางปี 2544 ซึ่งทางการคาดว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัวในอัตราระหว่างร้อยละ 5-7 ชะลอลงจากในปี 2543 ที่คาดว่า จะขยายตัวร้อยละ 10.1
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-