ตามที่มีข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์หลายฉบับระบุว่า ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องการวินิจฉัยเงินบริจาคโครงการช่วยชาติโดยหลวงตามหาบัวฯ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ขอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาวินิจฉัย และมีผลทำให้การวินิจฉัยดังกล่าว ไม่เหมาะสมและขัดกฎหมาย นั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทย ขอชี้แจงข้อเท็จจริง ดังนี้
1. ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นกรรมการกฤษฎีกา ลำดับที่ 13 ในจำนวน 93 ราย เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2543 แทนคณะกรรมการชุดเดิมที่หมดวาระลง
2. นายกรัฐมนตรี ในฐานะ ประธานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ออกคำสั่ง ที่ 3/2543 เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2543 กำหนดแบ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาทั้งหมดที่ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ออกเป็น 11 คณะ โดย ม.ร.ว.จัตุมงคลโสณกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ได้รับการแต่งตั้งเป็นหนึ่งในกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 3) เพื่อดูแลเรื่องกฎหมายเกี่ยวกับการเงิน การคลังและภาษีอากร โดยมีนายปลั่ง มีจุล เป็นประธานกรรมการ
3. ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้เสนอเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเงินบริจาคโครงการช่วยชาติโดยหลวงตามหาบัวฯ ให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา มีการประชุมทั้งสิ้น จำนวน 8 ครั้ง แบ่งเป็นการประชุม 6 ครั้งแรก เมื่อวันที่ 4 ,9,11และ23 พฤษภาคม 2543 และวันที่ 8และ13 มิถุนายน 2543 ซึ่งเป็นการประชุมของคณะกรรมการกฤษฎีกา ชุดเดิม (คณะที่ 1) ในขณะนั้น ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ยังไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นกรรมการ
4. การประชุมของคณะกรรมการกฤษฎีกา อีก 2 ครั้ง ในวันที่ 4 และ 9 มกราคม 2544 ซึ่งเป็นการประชุมของคณะกรรมการกฤษฎีกา ชุดใหม่ (คณะที่ 3) นั้น ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ได้เข้าร่วมการประชุมทั้งสองครั้ง เนื่องจาก ต้องการให้กระบวนการพิจารณาและวินิจฉัยของกรรมการกฤษฎีกาเป็นไปอย่างโปร่งใสที่สุด และปราศจากการแทรกแซงใด ๆ ทั้งสิ้นจากธนาคารแห่งประเทศไทย
อนึ่ง สำหรับการที่หนังสือพิมพ์บางฉบับ รายงานว่า เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ถูกเชิญมาเป็นกรรมการธปท.เพื่อประสานเรื่องนี้ นั้น ขอเรียนว่า เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการธปท. ทุกท่านต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2518 จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งสิ้น 7 ท่าน โดยเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ปัจจุบัน (นายชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์) ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการธปท. เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/25 มกราคม 2544--
-ยก-
ธนาคารแห่งประเทศไทย ขอชี้แจงข้อเท็จจริง ดังนี้
1. ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นกรรมการกฤษฎีกา ลำดับที่ 13 ในจำนวน 93 ราย เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2543 แทนคณะกรรมการชุดเดิมที่หมดวาระลง
2. นายกรัฐมนตรี ในฐานะ ประธานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ออกคำสั่ง ที่ 3/2543 เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2543 กำหนดแบ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาทั้งหมดที่ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ออกเป็น 11 คณะ โดย ม.ร.ว.จัตุมงคลโสณกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ได้รับการแต่งตั้งเป็นหนึ่งในกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 3) เพื่อดูแลเรื่องกฎหมายเกี่ยวกับการเงิน การคลังและภาษีอากร โดยมีนายปลั่ง มีจุล เป็นประธานกรรมการ
3. ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้เสนอเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเงินบริจาคโครงการช่วยชาติโดยหลวงตามหาบัวฯ ให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา มีการประชุมทั้งสิ้น จำนวน 8 ครั้ง แบ่งเป็นการประชุม 6 ครั้งแรก เมื่อวันที่ 4 ,9,11และ23 พฤษภาคม 2543 และวันที่ 8และ13 มิถุนายน 2543 ซึ่งเป็นการประชุมของคณะกรรมการกฤษฎีกา ชุดเดิม (คณะที่ 1) ในขณะนั้น ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ยังไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นกรรมการ
4. การประชุมของคณะกรรมการกฤษฎีกา อีก 2 ครั้ง ในวันที่ 4 และ 9 มกราคม 2544 ซึ่งเป็นการประชุมของคณะกรรมการกฤษฎีกา ชุดใหม่ (คณะที่ 3) นั้น ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ได้เข้าร่วมการประชุมทั้งสองครั้ง เนื่องจาก ต้องการให้กระบวนการพิจารณาและวินิจฉัยของกรรมการกฤษฎีกาเป็นไปอย่างโปร่งใสที่สุด และปราศจากการแทรกแซงใด ๆ ทั้งสิ้นจากธนาคารแห่งประเทศไทย
อนึ่ง สำหรับการที่หนังสือพิมพ์บางฉบับ รายงานว่า เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ถูกเชิญมาเป็นกรรมการธปท.เพื่อประสานเรื่องนี้ นั้น ขอเรียนว่า เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการธปท. ทุกท่านต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2518 จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งสิ้น 7 ท่าน โดยเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ปัจจุบัน (นายชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์) ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการธปท. เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/25 มกราคม 2544--
-ยก-